ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

How to Call TD

How to Call TD – TD ย่อมากจาก Total Depth

Call TD แปลว่า หยุดขุดขนาดหลุมที่กำลังขุดอยู่ เพื่อจะอะไรก็แล้วแต่ เช่น เพื่อหยั่งธรณีด้วยสายเคเบิ้ลก่อนขุดต่อขนาดหลุมเดิม (intermediate wireline logging) หรือ เพื่อเอาท่อกรุลงหลุมแล้วซีเมนต์ จบขนาดหลุมนั้นๆ (section TD)

การจะหยุดขุดเมื่อไรนั้น และ จะใช้วิธีไหนเพื่อบอกว่า พอแล้วนะ หยุดขุด ก็จะอยู่ในโปรแกรมการขุด (Drilling Program)

เราไม่ได้พูดถึงการหยุดขุดแบบซวย หรือ ภาคบังคับนะ เช่น สูญเสียน้ำโคลนจนเอาไม่อยู่ หรือ ก้านติด ต้องตัดก้าน ฯลฯ

Mud Cap Drilling MCD ขุดแบบ Total Loss Circulation

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

วิธีที่จะตัดสินใจหยุดขุด (Call TD) มีหลายวิธี

มาไล่กันไปทีล่ะวิธี ข้อดี ข้อจำกัด

How to Call TD

Call TD by Depth

แบบนี้ง่ายสุด หยุดเมื่อถึงความลึกที่ต้องการ ไม่ว่าจะใช้ MD หรือ VD ส่วนมากวิธีนี้ใช้กับจุดหยุดขุดที่ไม่มีความเสี่ยงอะไรมากในทางธรณี ดังนั้นหยุดตรงไหนก็ไม่ต่างกัน

โดยมากใช้วิธีนี้เมื่อขุดอยู่ในชั้นการขุดกลางๆ เช่น intermediate section คือ ยังเป็นชั้นที่ไม่เข้าถึงชั้นกักเก็บ และ เหตุผลในการหยุดขุด จะเป็นเรื่องของการทำงาน (operation) เช่น ระยะหลุมยาวมากไป น้ำหนักท่อกรุจะมาก หลุมจะเริ่มเอียง ทำให้ทำงานลำบาก หรือ มีความเสี่ยงในการทำงาน แรงดันปั๊มน้ำโคลนเอาไม่ไหว ฯลฯ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

พอถึงความลึกที่คำนวนได้ว่าเริ่มไม่ไหว ก็หยุดเถอะ เอาท่อกรุลง แล้ว ค่อยเอาหัวเล็กกว่าลงไปต่อ อะไรทำนองนี้

Bit Balling – Causes, Prevention & Correction

Call TD by Cutting/ Gas

วิธีนี้จะเน้นว่าเราต้องหยุดขุดก่อน(หรือระหว่างอยู่ใน)ชั้นหินหนึ่งๆที่นักธรณีเล็งไว้ เป็นวิธีคลาสิกดั่งเดิม

นักธรณีสนาม (Well Site Geologist – WSG) จะไปจ้วงเอาเศษหินจากตะแกรงร่อน (shale shaker) เอามาล้างน้ำโคลนออก ส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ และ/หรือ หยดกรดลงไป เพื่อดูว่าเป็นหินอะไร ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากเครื่องตรวจวัดก๊าซ ที่จะบอกว่า มีก๊าซอะไรขึ้นมาบ้าง (C1 ก๊าซมีเทน C2 ก๊าซอีเทน C3 ก๊าซโพรเพน)

นักธรณีสนามก็จะบอกได้ว่า อ้อ ตอนนี้ ถึงชั้นหินนี้นั้นแล้ว

ข้อจำกัดของวิธีนี้ คือ กว่าเศษหิน หรือ ก๊าซ จะขึ้นมาปากหลุมให้ส่องให้วัด หัวเจาะผมมันก็ไปโน้นแล้ว เช่น สมมุตินะกว่าเศษหิน หรือ ก๊าซ จะขึ้นมา ใช้เวลา 0.75 ชม. ผมขุดด้วยอัตรา 10 ม. ต่อ ชม. ผมก็ไปโน้นแล้ว 7.5 เมตร ก่อน เศษหิน หรือ ก๊าซ จะขึ้นมาปากหลุม

วิธีแก้ไข คือ ผมต้องหยุดขุดแป๊บ … แล้วปั๊มน้ำโคลนไปชิวๆ 0.75 ชม. เราเรียกว่า geological circulation พวกเราน่าจะคงเห็นคำนี้ผ่านตามาบ้างนะใน DDR (Daily Drilling Report)

Bit Trip Decision – Should We Pull For Bit Change Now?

ก็ไม่เป็นไร ตราบเท่าที่คุยกันไว้ก่อนตอนเขียนโปรแกรม (ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องอนุมัติ – ผมเองในกรณีนี้) ไม่ใช่มาวิงวอนขอร้องกันหน้างาน เพราะว่า การหยุดขุดโดยไม่จำเป็นมีความเสี่ยง และ มีราคา

ค่าใช้จ่ายเหมารวมทุกอย่าง (spread cost) ของการขุดเจาะ แท่นบกราวๆ 50,000 เหรียญ (0.75ชม.) ก็ 1,562.5 เหรียญ ถ้าแท่นเจาะนอกชายฝั่ง แท่นเจาะน้ำลึกก็ไปคำนวนเอาเอง

LWD (Logging While Drilling)

ก่อนโน้น ตอนไม่มี LWD ถ้าจะเอาชัวร์ๆก็ต้อง หยุดขุด ถอนหัวเจาะขึ้นมา เอา wireline ลงไปหยั่งธรณี ช้ามาก (geological circulation ใช้เวลาน้อยกว่าเยอะ) ข้อจำกัดอีกอย่าง คือ จุดที่วัด (bottom sensor) ไม่ได้อยู่ที่ปลายตูดเครื่องมือเสียทีเดียว แปลว่า เครื่องมือมันไม่ได้อ่านค่าที่ต้องการที่ก้นหลุมจริงๆ ขึ้นกับยี่ห้อเครื่องมือนั้นๆ เช่น อาจจะสูงกว่าก้นหลุม 0.5 – 4 เมตร เป็นต้น

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

Logging while drilling (LWD) – PetroWiki

ต่อมาเรามี LWD โอ้วววว สบายขึ้นเยอะ ขุดไปวัดไป แต่ก็ยังมีข้อจำกัด bottom sensor เหมือนเดิม คือ ค่าที่วัดได้มันไม่ได้อยู่ที่หัวเจาะ มันจะอยู่สูงถัดขึ้นมาหน่อย แล้วแต่เครื่องมือแล้วแต่ยี่ห้อ ตอนนี้เท่าที่เราทำได้ ก็มี GR (Gamma Ray) at Bit ก็ไม่ at bit เสียทีเดียว มันถัดขึ้นมาหน่อย ราวๆ 0.5 -1 ม. แล้วแต่ยี่ห้ออีก

Wireline vs LWD เปรียบมวยวันนี้ … มวยคู่เอกมหาอมตะนิรันด์กาล

ก็ดูดีสุดล่ะทุกวันนี้ แต่ไม่มีอะไรฟรีน้าาา จ่ายตังค์จ้า แล้วมีความเสี่ยง ถ้าติดแล้ว แล้วเสียหายระหว่างกู้ (fish) ขึ้นมา ต้องซ่อมคืนให้ผู้รับเหมา ถ้ากู้ ไม่ขึ้น ต้องตัดก้านฝังไว้ก้นหลุม LIH (Lost In Hole charge) ก็หลายตังค์อยู่

LWD Engineer (Logging While Drilling) อาชีพบนแท่นที่น่าสนใจนะ

How to Call TD

TD parameters

วิธีนี้ใช้สมมุติฐานที่ว่าชั้นหินเปลี่ยน “รูปแบบ” และ “ปริมาณพลังงาน” ที่ใช้ในการขุดเปลี่ยน

สมมุติว่าก่อนเข้าชั้นหินเป้าหมาย เราหมุนก้าน a RPM (รอบต่อนาที) ให้น้ำหนักลงหัวเจาะ (WOB) b ตัน และ ปั๊ม c ลิตรต่อนาที (LPM) … ทั้งหมด คือ input ที่เราควบคุมได้ ใส่เข้าไปในการขุด เราเรียก drilling parameters หรือ ในทางคณิตศาสตร์จะเรียกว่า ตัวแปรต้นก็ได้


WOB Weight On Bit – Concept and calculation

ที่ปากหลุมเราอ่านแรงบิดได้ x ฟุตปอนด์ อัตราการขุด (ROP) y เมตรต่อชม. และ แรงดันน้ำโคลน z psi … ทั้งหมด คือ การตอบสนองของชั้นหินที่เราวัดได้ หรือ ตัวแปรตาม

ถ้าเรายังใช้ drilling parameters ชุดเดิม แล้ว ตัวแปรตามเปลี่ยน แปลว่า บางอย่างเปลี่ยนข้างล่างนั่น จริงไหมครับ

เช่น … ROP เพิ่ม (ทุกอย่างเหมือนเดิม) แปลว่า ชั้นหินใช้ “ปริมาณพลังงาน” ในการทำลายน้อยลง

เช่น … แรงบิด เพิ่ม (ทุกอย่างเหมือนเดิม) แปลว่า ชั้นหินใช้แรงบิดในการทำลายมากขึ้น นั่นคือ “เปลี่ยนรูปแบบพลังงาน” ในการทำลายชั้นหิน ชั้นหินบางอย่างทุบให้แตกง่ายกว่าเฉือน ชั้นหินบางอย่าง เฉือนง่ายกว่าทุบ เป็นต้น

Gunk Plug – If all else fails to cure loss circulation

ข้อจำกัดของวิธีนี้ คือ …

1 หลุมต้องเนียน คือ drilling parameters ต้องนิ่งก่อนที่จะเข้าชั้นหินเป้าหมาย ไม่ใช่แกว่ง (fluctuate) ไปมา มี slip stick มี washout มี drag ฯลฯ ดังนั้น ก่อนจะเข้าชั้นหินเป้าหมาย เราก็จะ recipocate (ดึงหัวเจาะขึ้นๆลงๆช้าๆ) ปั๊มน้ำโคลนทำความสะอาดหลุม ปรับหา parameters ที่นิ่งๆ เอาให้ชัวร์ ก่อนขุดเข้าหาเป้า … พิธีกรรมนี้ ไม่เน้นเร็ว แต่ เน้นชัวร์

2 หลุมต้องไม่เอียงมาก เพราะตัวแปรตามที่เราอ่านได้ เราอ่านจากเครื่องวัด (sensors) ที่ปากหลุม ถ้าเอียงมาก ค่าต่างๆมันโดนดูซับ (absorb) โดยพนังหลุม และ ความยาวของก้านเจาะไปหมด เราจะตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงไม่ค่อยได้

3 สมมุติฐานที่ว่าชั้นหินเปลี่ยน “รูปแบบ” และ “ปริมาณพลังงาน” ที่ใช้ในการขุดเปลี่ยน ต้องเป็นจริง ถึงแม้จะพบได้น้อยแต่ในบางกรณีธรรมชาติ ไม่ยอมให้เราตรวจจับง่ายๆครับ ชั้นหินไม่เปลี่ยน แต่รูปแลลและพลังงานที่ใช้ขุดเปลี่ยนก็มี หรือ ตรงข้าม ชั้นหินเปลี่ยน แต่รูปแลลและพลังงานที่ใช้ขุดไม่เปลี่ยนก็มี

ทุกการตัดสินใจมีราคาและความเสี่ยง(ที่จะพลาด) หัวใจสำคัญที่จะลดราคาและความเสี่ยงอยู่ที่ company man และ นักธรณีสนาม ถ้าสองคนนี้ทำงานร่วมกันดี ไม่ตบตีกัน มีประสบการณ์ในบริเวณที่ขุด(field)นั้นๆ ก็ไม่จำเป็นต้องเสียเงินเสียเวลามาก

ของดีราคาถูกไม่มีครับ … company man และ นักธรณีสนาม ที่เก่งๆ ค่าตัวมักแพง แต่ก็คุ้มครับ ถ้าคิดจะประหยัดด้วยการลดสเป็คลดค่าตัว company man และ นักธรณีสนาม ในความเห็นผมนะ ไม่เป็นความคิดที่ดีเลย จะเข้าตำรา เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย


ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

2 comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------