Abnormal Normal E&P Project Investment – ปกติที่ไม่ปกติ … วันนี้จะชวนคุยเรื่องใหญ่ๆหน่อยครับ
เคยสังเกตุไหมครับว่า โครงการร่วมทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียม มีลักษณะการลงทุนที่แปลกๆไปกว่าการลงทุนประกอบธุรกิจอย่างอื่นในหลายมิติ
มิติที่โดดเด่นที่สุด คือ เป็นการลงทุนแบบสัมปทานที่โดนควบคุมโดยรัฐฯ ไม่ได้เป็นการประกอบธุรกิจแข่งขันกันตามระบบตลาด แบบเปิดร้านก๋วยเตี๋ยวปากซอย
ซึ่งผมว่าโอเคในหลักการนะ เพราะปิโตรเลียมเป็นสาธารณะสมบัติ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องก็ควรจะถูกควบโดยรัฐฯ เพื่อประโยชน์สูงสุดของรัฐฯนั้นๆ
Abnormal Normal E&P Project Investment

รูปแบบหนึ่งของการทำธุรกิจสัมประทาน คือ การก่อตั้งบริษัทร่วมทุนปฏิบัติการ หรือ ที่เรียกกันทั่วไปย่อๆว่า JOC (Joint Operating Company)
ชวนมองในภาพใหญ่ๆก่อนว่า ทำไมรัฐฯนั้นๆผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรยอมให้ตั้ง JOC ขึ้นมา ในเมื่อทรัพยากรก็เป็นของรัฐฯ ทำเองผลิตเองขายเองไม่ดีกว่าเหรอ
เหตุผลหลักๆ มี 2 อย่างครับ
อย่างแรก คือ ไม่มีเทคโนโลยี ทุน และ คน ที่มีความสามารถเพียงพอ
อย่างที่สอง คือ การพัฒนามีความเสี่ยงที่จะไม่ได้ผล หรือ ได้ผลต่ำกว่าที่คาดหวัง
-------------------------------------------------------
ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ
กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น
ลองคิดดูดีๆนะครับว่า ถ้ารัฐฯมีทุน มีเทคโนฯ มีคน และ ไม่เสี่ยง รัฐฯไหนๆก็ทำเองดีกว่าจริงไหม ทำไมต้องแบ่ง
เอาล่ะ สมมุติว่าจำเป็นต้องมี JOC ขึ้นมาเพราะเหตุผลอะไรก็ตาม หลักการของ JOC คือ อะไร …
ออกตัวว่าผมไม่ใช่นักกลยุทธ์ ผมแค่จำๆและสังเกตุเอาจากการทำงานเท่านั้นว่า JOC มักมีถูกออกแบบ และ มีลักษณะการทำงานประมาณนี้
- รัฐฯลงขันน้อยที่สุด ส่วนมากไม่เกิน 10%
- ผู้มาร่วมทุนกับรัฐฯ (ต่อไปนี้เรียกสั้นๆว่า partners) เน้นเช่า ไม่เน้นสร้าง ถ้าต้องสร้าง สร้างให้น้อยที่สุด สเป็กต่ำที่สุดที่ใช้งานได้จนหมดอายุสัมประทาน
- มี partner 1 เจ้า หรือ มากกว่า แต่จะไม่มีเจ้าใดลงขันเกิน 50%
- รัฐฯเน้นสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างอสังหาริมทรัพย์สเป็คแบบจัดเต็ม
- การตัดสินใจลงทุน หรือ ใช้จ่าย จะต้องเป็นระบบฉันทมติ (ไม่ใช้เสียงผู้ถือหุ้นข้างมาก) นั่นทำให้รัฐฯที่ถือหุ้นน้อย แต่ก็สามารถกำหนดทิศทางการใช้เงินได้ ที่เรียกว่า minority rule
ไม่ผิดครับ ทุกๆ JOC เป็นแบบนี้ครับ
ตัวอย่างง่ายๆ ถ้ารัฐฯลงขัน 10% รัฐฯออกตังค์ 1 ล้าน ได้หลุมราคา 10 ล้าน อยู่บนแผ่นดินตัวเอง สเป็คฯก็จัดให้เต็ม ท่อกรุหนาๆ เกรดเหล็กดีๆ อายุใช้งานนานๆ ยิ่งนานเกินอายุสัมประทานยิ่งดี เพราะเมื่อ partners กลับบ้านไป หลุมยังใช้ได้ต่อ จะขุดเฉียง (sidetrack) หรือ เปลี่ยนไปเป็นหลุมอัดน้ำ (water injector) ก็ยังใช้ได้ เหมือนได้หลุมมือสองมาใช้ฟรีๆ
ชุดนอน รองเท้า Business Class Qatar Airways มี 2 ไซด์ L และ M
ตังนั้นเราจะเห็นว่า JOC โดนบีบให้ สร้างอสังหาฯที่เกินความจำเป็น ดูแปลกๆงงๆว่า สร้างไปทำไมฟ่ะ สร้างแบบอลังการเสียด้วย เช่นอะไรบ้างล่ะ
เช่น air strip (สนามบินเล็ก ฐานจอด ฮ.) เครื่องเอ๊กซ์เรย์ ท่าเรือ แคมป์ บ่อบาดาล โรงแยกฯ platforms สำรวจคลื่นเสียงสั่นเสทือน (โดยไม่จำเป็น) หรือ แม้แต่ สนามฟุตบอล สระว่ายน้ำ เอาทุกเม็ดว่างั้น
ภาระกิจที่รู้กันต่อมา คือ สร้างคน สร้างงาน สร้างอาชีพ บางเรื่องก็เนียนๆ บางเรื่องก็โจ่งแจ้ง เช่น รถดับเพลิง ต้องมีพนักงานดับเพลิงประจำคันล่ะ 8 คัน มี 4 คัน ก็ 32 คน วันๆไม่ต้องทำอะไร นั่งเกาไข่ไถมือถือ อะไรแบบนี้
ในมุมของรัฐฯ คือ JOC จะผลิตปิโตรเลียมขายได้หรือไม่ได้ เงินต้องลงมาจม
https://www.drillingcourse.com/
ในขณะที่ partners พยายามอีกแบบหนึ่ง ที่ตรงกันข้าม คือ เงินลงทุน (จม) CAPEX (Capital Expense) ต้องให้น้อยที่สุดแล้วปัดให้เป็นค่าใช้จ่ายดำเนินการ (OPEX – Operating Expense) ให้มากที่สุด
เหนื่อยไหมครับ จุดอับสัญญาณ Wi-Fi ในบ้าน หรือ ที่ทำงาน ตัวขยายสัญญาณ Wi-Fi คือ คำตอบ
Tplink Wi-Fi Range Extender AC1750 RE450 มือสอง สภาพภายนอก 90% ทดสอบแล้ว ใช้งานได้ทุกโหมด
อธิบายง่ายๆสำหรับมือใหม่ … เงินลงทุน คือ เงินที่ลงไปตอนต้น เช่น ขุดหลุม สร้างสนามบิน ผลิตปิโตรเลียมขายได้หรือไม่ได้ เงินลงไปแล้ว พูดง่ายๆ คือ เป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้เกิดการผลิต
ค่าใช้จ่ายดำเนินการ คือ ถ้าผลิตค่อยจ่าย ไม่ผลิต ก็ไม่ต้องจ่าย เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแรง ค่าน้ำมันรถขนของ
เห็นไหมครับว่า 2 ฝ่ายมองไม่เหมือนกัน แต่ก็ต้องพยายามอยู่ด้วยกันให้ได้ เพราะต้องพึ่งพากัน
ดังนั้นตราบใดที่รัฐฯได้บ้าง partners ได้ด้วย ก็ไปต่อกันได้
ในการทำงานแบบ JOC ไม่มีคำว่า Maximum Return มีแต่คำว่า Optimum Return แปลไทยเป็นไทยได้ว่า ได้กำไรพอหอมปากหอมคอก็พอแล้ว ไม่ต้องเอากันให้สุดๆ
ทำให้นึกถึงโครงการอีกแบบนี้มีลักษณะคล้ายๆกัน คือ โครงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานโดยใช้เงินกู้จากต่างประเทศ เช่น ประเทศ ก. ให้เงินกู้ ประเทศ ข. เพื่อสร้างเขื่อนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ
เงินกู้พวกนี้มักจะมาด้วยเงื่อนไขต่างๆมากมายเพื่อแลกกับดอกเบี้ยต่ำๆ เช่น เทคโนฯ ข้าวของ วัสดุ อุปกรณ์ คน ผู้รับเหมา ต้องเอามาจากประเทศเจ้าของเงินกู้ ดังนั้น แทนที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างงานสร้างอาชีพในประเทศที่สร้างเขื่อน กลายเป็นส่งเสริมงานและอุตสาหกรรมของประเทศเจ้าของเงินกู้
กลับมาเรื่องของเรา …
ดังนั้นเวลาพวกเราไปทำงาน JOC แล้วเห็นการลงทุน หรือ การใช้เงินที่ดูๆขัดๆกับสามัญสำนึกทางธุรกิจ ก็ให้คิดถึงบทความนี้ล่ะกันครับ ว่ามันมีปัจจัยอื่นที่กำหนดแนวทางการใช้เงินอยู่
ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ
(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)
![]() |
![]() |