ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Hot Well Drilling Management

Hot Well Drilling Management – หลุมที่มักเจอความท้าทายนี้ คือ หลุมนำความร้อนจากใต้พื้นโลกมาใช้ (Geothermal well) และ หลุมผลิตก๊าซ ผมได้เขียนเรื่องนี้ไว้แล้ว 4 ตอน แต่เป็นภาพกว้างๆในทุกๆมิติของการขุดเจาะ

วันนี้จะมาลงลึกถึงการบริหารจัดการเรื่องนี้ในขณะที่เรากำลังเจาะ ว่าจะทำอย่างไรให้เจาะไปได้ โดยใช้อุปกรณ์มาตราฐานที่ทนความร้อนได้ 175 องศาซี

เอาเบสิกก่อน ว่าทำไมเราแคร์เรื่องนี้ … ถ้าเป็นสมัยก่อน ที่เราขุดแบบโง่ๆ ใช้ เหล็กโง่ๆ (Dumb Iron) ขุด มันก็ไม่มีปัญหาเนอะ หัวเจาะก็เหล็ก ก้านเจาะก็เหล็ก drill collar, stabilizer อะไรๆก็เหล็กไปหมด

ทุกวันนี้เรามี PDM (Positive Displacement Motor – Mud Motor) ซึ่งข้างในเป็นยาง เรามีอุปกรณ์ไฮโซที่เป็นอิเลคทรอนิกส์สารพัด เช่น RSS, MWD, PWD, LWD

งั้นเราอัพเกรดอุปกรณ์พวกนี้ไม่ได้เหรอ ใช้ยางดีๆ ให้อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ดีๆ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

คำตอบ คือ มันก็ได้แหละ แต่มันมีขีดจำกัดของเทคโนโลยี และ ที่สำคัญมันแพง ไม่ใช่แพงแบบธรรมดา แต่แพงแบบก้าวกระโดด ไม่ใช่ก้าวคนกระโดดด้วย ก้าวจิ้งโจ้กระโดดทีเดียว

ก่อนเข้าเรื่อง อยากให้ไปอ่านนี่ก่อน จะได้เข้าใจ BHCT (Bottom Hole Circulating Temperature) และ BHST (Bottom Hole Static Temperature) ว่าคืออะไร

BHCT BHST คืออะไร ทำไมหลุมตรงหลุมเอียง BHCT ต่างกัน เพราะอะไร

ถ้าใครอ่านแล้ว ก็มาเข้าเรื่องกัน …

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ผมแบ่งการจัดการเป็น 2 กรณีนะครับ กรณีหลุมอยู่นิ่งๆ (Static) และ กรณีกำลังขุด (Drilling)

กรณีนี้ เราใช้สำหรับการหยั่งธรณีด้วยสายเคเบิ้ล เพื่อจะตอบคำถามหลักว่า เรามีเวลาทำงานจากก้นหลุม ถึง ปลายท่อกรุ (casing shoe) กี่นาที กี่ชม. จนกว่าอุณหภูมิจะเกิน 1750 องศาซี ที่เครื่องมือเราทนได้

ไม่ยากครับ เพราะเรารู้สิ่งต่อไปนี้

  • 1.BHST – ถามเพื่อนซี้นักธรณีเราเอา ค่านี้จะไม่เปลี่ยน เป็นอุณหภูมิชั่วนิรันดร์ของชั้นที่ที่ตรงนั้น
  • 2.BHCT – คำนวนเอาได้ มีสูตร ขึ้นกับความลึก คุณสมบัติน้ำโคลน อัตราการปั๊มน้ำโคลน ฯลฯ หรือ ถ้ามี MWD เราก็วัดเอาดื้อๆตรงๆเลย
  • 3.ความลึกปลายท่อกรุที่ใกล้ก้นหลุมที่สุด
  • 4.ความลึกก้นหลุม
  • 5.อัตราการเพิ่มอุณหภมิ vs. เวลา ส่วนมากไม่เชิงเส้น เป็นกราฟโค้งๆหลายๆเส้น ให้เราเล็งๆ เอาดินสอแหลมๆจุดๆเอา สมัยนี้คาดว่าน่าจะเป็นซอฟแวร์หมดแล้ว
  • 6.เรารู้เวลาที่หยุดขุด

แค่นี้ เราก็จิ้มๆลงไปในกราฟ หรือ จิ้มๆกรอกเข้าซอฟแวร์ ก็จะบอกได้ว่า เรามีเวลา ถอนก้าน + R/U wireline + RIH wireline เท่าไร มีเวลาทำงาน (logging) เท่าไร

ในทางกลับกัน เรารู้ว่าเราใช้เวลา ถอนก้าน + R/U wireline + RIH wireline เท่าไร เวลาทำงานเท่าไร (ระยะหลุมเปิด open hole length ที่ต้องสำรวจ หารด้วยอัตราสาวสายเคเบิ้ล cable speed) … ป้อนกลับเข้าไปในกราฟ หรือ ซอฟแวร์ เราก็คำนวนกลับได้ว่า ก่อนถอนก้านเจาะขึ้นมา BHCT ต้องเป็นเท่าไร เป็นต้น

อันนี้ถ้าต้องหยั่งธรณีรอบเดียว (1 run) แต่ถ้ามี 3 – 4 รอบ (run) ก็บวกเวลาไปเรื่อยๆ โดยปักหลักไว้ว่า อุณหภูมิก้นหลุม (BHT) ตอนนั้นต้องไม่เกินอุณหภูมที่เครื่องมือที่จะใช้ทำงานรอบสุดท้ายทนได้ซึ่งก็มักจะ 175 องศาซี

ทีนี้แหละ BHCT จะต้องเป็นเท่าไรก่อนถอนก้านเจาะ …. นี่แหละความท้าทาย ซึ่งจะรวมคุยกันกรณีต่อไป คือ กรณีกำลังขุด ว่าจะลด BHCT ให้ได้ตามเป้าเราได้อย่างไร

กรณีหลุมนิ่งๆ คือ น้ำโคลนอยู่นิ่งๆ ความยาวหลุมก็คงที ไม่มีอะไรเคลื่อนไหวในหลุม

กรณีกำลังขุดนี่ มั่วไปหมด

  • หลุมก็ยาวขึ้นๆ – BHST เปลี่ยน กราฟที่ใช้พล๊อตก็เปลี่ยน BHCT ก็เปลี่ยน
  • น้ำโคลนก็ไหล – นี่มั่วเลย ความร้อนถ่ายเทไปทั่วระบบ
  • ก้านเจาะก็หมุนเสียดสีไปกับท่อกรุเหล็ก และ ผนังหลุมที่เป็นหิน – เกิดความร้อนจากแรงเสียดทานเพิ่มขึ้นอีก
  • หัวเจาะก็กัดหิน – หัวเจาะแบบ roller cone ให้วิธีทุบบดให้ให้แตก (crunch) เกิดความร้อนน้อยกว่าแบบ PDC ที่ใช้การเฉือน (shear) ขนาดหัวเจาะต่างกัน ชั้นหินต่างชนิด … สารพัดเป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดความร้อนเพิ่มขึ้นมา
  • Drilling Parameters หรือ พลังงานที่ใส่เข้าไปในก้านเจาะ ก็ไม่คงที่ – WOB (Weight On Bit – น้ำหนักที่กดหัวเจาะ) RPM (ความเร็วในการหมุนก้าน รอบต่อนาที Round Per Minute) Flow rate (อัตราการไหลน้ำโคลน) … ค่าต่างๆเหล่านี้มีผลทั้งสิ้นต่อปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นขณะขุด
  • ROP – Rate Of Penetration คือ ขุดช้า ขุดเร็ว

ตอนผมเรียนเทอร์โมไดนามิกส์ เรื่องปวดตับที่สุดของความร้อน คือ มันไม่เชิงเส้นครับ เราไม่สามารถใช้สามัญสำนึกเชิงเส้นได้เลยว่า ถ้า ก. เพิ่ม 1 เท่า ข. เพิ่ม 4 เท่า เราบอกได้แค่ว่า ถ้า ก. เพิ่ม ข. จะเพิ่ม … บอกได้แค่นี้

ดังนั้นด้วยปัจจัยมากมายที่ว่ามาทั้งหมดจึงมะรุมมะตุ้มกันเกินกว่า ปากกา กระดาษกราฟ และ เครื่องคิดเลข จะจัดการได้

เหนื่อยไหมครับ จุดอับสัญญาณ Wi-Fi ในบ้าน หรือ ที่ทำงาน ตัวขยายสัญญาณ Wi-Fi คือ คำตอบ

Tplink Wi-Fi Range Extender AC1750 RE450 มือสอง สภาพภายนอก 90% ทดสอบแล้ว ใช้งานได้ทุกโหมด

https://raka.is/r/POPwl

ลองคิดตามเล่นๆนะครับ …

ผมกำลังขุดที่ความลึก 3000 เมตร หัวเจาะ 6.125″ ใช้ก้านเจาะ OD 5″ ขนาด 53.7 ppf (pound per foot) ID ก็เท่ากับ 3″ (ไม่ได้คำนวณเอง เปิดตารางสเป๊กก้านเจาะเอา) ปั๊มน้ำโคลนด้วยอัตรา 2000 lpm (ลิตรต่อนาที)

ความเร็วน้ำโคลนในท่อ = 2000 x 0.001 / 0.00456 = 438.6 เมตร ต่อ นาที

3000 / 438.6 = 6.84 นาที ที่น้ำโคลนวิ่งในท่อจากปากหลุมไปโผล่ที่หัวเจาะก้นหลุม

ทีนี้ระหว่างน้ำโคลนไหลในท่อ ก็จะรับความร้อนจากก้านเจาะซึ่งเป็นเหล็กเข้ามาในอัตราที่ต่างกัน เพราะตื้นๆก้านเจาะจะไม่ร้อนมาก ชั้นหินไม่ร้อนมาก ลึกลงไปการถ่ายเทความร้อนยิ่งมากขึ้นๆ

พอน้ำโคลนไปออกปลายหัวเจาะไหลย้อนขึ้นมา ก็ไปรับความร้อนมาจากหัวเจาะที่กำลังขุด และ ชั้นหินย้อนขึ้นมาปากหลุมอีก … วนๆไป

ซอฟแวร์อย่างเดียวเลยครับ ถึงจะรู้ว่าต้องขุดอย่างไร BHCT ถึงจะไม่สูงกว่า 175 องศาซีตลอดเวลาขุด หรือ ก่อนถอนก้านเจาะ BHT จะต้องเป็นเท่าไร ถึงจากหยั่งธรณีได้สำเร็จตามโปรแกรม

บางครั้งสุดความสามารถจริงๆเพราะต้องหยั่งธรณีหลายๆรอบ (run) อาจจะต้องแบ่งครั้ง หยั่งธรณี 2 runs ก่อน เอาก้านเจาะลงไปเป่าน้ำโคลนที่ก้นหลุมให้ BHCT ต่ำลงให้ได้ตามต้องการ ถอนก้านเจาะขึ้น แล้วค่อยหยั่งธรณีอีก 2 runs.

ทีนี้เจ้าซอฟแวร์เนี้ย มันก็เถรตรง มันคิดแทนเราไม่ได้หรอกครับ มันแค่คำนวนอะไรๆที่ซับซ้อนให้เรา ถ้าเราให้ค่าอะไรโง่ๆเข้าไป ถามอะไรโง่ๆ มันก็จะตอบอะไรโง่ๆออกมาให้เรา

เรารู้ว่ามีตัวแปรมากมายที่กำหนดว่า BHCT จะเป็นเท่าไร ณ.เวลาหนึ่งๆ ใช่ไหมครับ ดังนั้นเราก็สามารถเล่นกับตัวแปรต่างๆได้ว่า เราต้อง ใช้ WOB RPM Flow เท่าไร ขุดด้วยหัวเจาะอะไร น้ำโคลนต้องคุณสมบัติประมาณไหน ฯลฯ BHCT ถึงจะไม่เกิน 175 องศาซี

ถ้าเราไปกำหนดอะไรที่มันเป็นไปไม่ได้ (ใส่ค่าโง่ๆ) ซอฟแวร์มันก็จะให้ค่าโง่ๆตลกๆเราออกมา

เช่น ถ้าอยากให้ได้ตามข้อจำกัดโง่ๆที่เราใส่ไป ต้องใช้เจาะขนาด 8 นิ้ว หรือ น้ำโคลนที่ปั๊มลงหลุมต้องอุณหภูมิ 4 องศาซี ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะเราไม่มีก้านเจาะเบอร์นั้น แล้วเราก็ไม่ได้ผสมน้ำโคลนกับน้ำแข็งได้เย็นเจี๊ยบขนาดนั้น เป็นต้น

มันก็ต้องอะลุ่มอล่วยกัน มาเจอกันตรงกลางๆ

ถ้าทำทั้งหมดข้างบนก็แล้ว อะไรก็แล้ว BHCT ยังไม่ได้ต่ำตามต้องการ ก็ต้องจ่ายเงินเพิ่มล่ะ

มี 2 ตัวช่วยให้ได้เสียตังค์ … ไม่ได้ค่าสปอนเซอร์น้าาา (อ้อ … ซอฟแวร์ที่ใช้ข้างบนที่เล่ามานั่นก็ไม่ฟรีนะครับ)

Mud cooler/ chiller

มันคือ heat exchanger ดีๆนี่เอง คิดง่ายๆก็เหมือนรังผึ้งหม้อน้ำรถนั่นแหละครับ เอาน้ำโคลนบางส่วนมาผ่านรังผึ้งนี่ก่อน แล้วค่อยผสมลงไปกับเพื่อนๆมัน น้ำโคลนที่ปั๊มลงไปก็จะอุณหภูมิลดลงประมาณหนึ่ง

Hot Well Drilling Management
mud cooler

ผมเคยสงสัยว่าทำไมไม่เอาน้ำโคลนทั้งหมดที่ขึ้นมาผ่านเจ้ารังผึ้งนี่ แต่พอไปเห็นเจ้ารังผึ้งนี่แหละ แฮ่ๆ มันรับไม่ไหวหรอก ถ้าต้องการปริมาตรไหลผ่านมากๆก็ต้องหลายๆรังหน่อย หลายรังก็หลายตังค์ครับ

Insulated drill pipe

เป็นก้านเจาะพิเศษข้างในเป็นท่อฉนวน น้ำโคลนไม่ได้สัมผัสเหล็กโดยตรงลดการถ่ายเทความร้อนจากก้านเจาะไปที่น้ำโคลนได้ประมาณหนึ่ง

Hot Well Drilling Management

เราไม่ต้องใช้ก้านเจาะฉนวนนี่ทั้งยวงตั้งแต่ปากหลุมยันก้นหลุมก็ได้ครับ แพงเกิ้น เอาเฉพาะเท่าที่ซอฟแวร์คำนวนมาเพื่อให้ได้ BHCT ที่ต้องการก็พอ

Mud cooler และ Insulated drill pipe มีให้เช่าครับ e-mail ไป เดี๋ยวก็ได้ใบเสนอราคาแล้ว

เอาล่ะครับ ฟังผมฝอยมานานพอล่ะ อยากรู้อะไรเพิ่มเติมก็ใส่ไว้ในช่องความเห็นข้างล่างได้นะครับ … บาย


ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------