ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Hot well challenge EP4 หลุมร้อนจุงเบย ทำไงดี

Hot well challenge EP4 หลุมร้อนจุงเบย ทำไงดี – เรื่องของความท้าทายในการจัดการกับหลุมก๊าซร้อนๆในอ่าวไทยเรา ลากมาถึงตอนที่ 4 จนได้ จากทีแรกคิดว่า 3 ตอนน่าจะจบ

ตอนที่ 1 เรื่อง การขุดแบบมีทิศทาง

ตอนที่ 2 เรื่อง ท่อกรุ

ตอนที่ 3 นี้ เราจะคุยถึงเรื่อง น้ำโคลน และ ซีเมนต์

ตอนที่ 4 นี้เราจะคุยกันเรื่อง การหยั่งธรณี BOP และ mud cooler

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

Hot well challenge EP4

หลุมร้อนจุงเบย ทำไงดี

การหยั่งธรณี (logging – formation evaluation)

อย่างที่ทราบๆกันดีว่าการหยั่งธรณีเพื่อให้ได้ค่าทางปิโตรฟิสิกส์ของชั้นหินเนี้ย เราทำกัน 2 วิธี หลักๆ

  1. หย่อนเครื่องมือลงไปด้วยสายเคเบิ้ล เราเรียกว่า wireline logging
  2. เอาเครื่องมือใส่ไว้ที่ปลายก้านเจาะเลย เราเรียกว่า LWD (Logging While Drilling)

ข้อดีข้อเสีย ก็เคยเปรียบมวยกันไปแล้ว แต่วันนี้จะมาคุยกันในแง่ของอุณหภูมิ

สรุปง่ายๆคือ ถ้าร้อนจริงๆละก็ wireline เอาไม่อยู่ เพราะว่า เราต้องถอนก้านเจาะขึ้นมา กับหย่อนเครื่องมือลงหลุม

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

เวลาตั้งแต่หยุดปั๊มน้ำโคลน ถอนก้านขึ้นมา หย่อนเครื่องมือหยั่งธรณีลงไปถึง casing shoe ก็นานโขอยู่

BHCT ก็ กลายเป็น BHST (ร้อนขึ้น)

BHCT BHST คืออะไร ทำไมหลุมตรงหลุมเอียง BHCT ต่างกัน เพราะอะไร

แต่ถ้าคิดว่า wireline ยังพอไหว เราก็ใช้วิธีเก็บข้อมูลตอนหย่อนเครื่องมือลงก้นหลุม หรือ log down เพราะเครื่องมือจะยังไม่ร้อนจัดมาก พอทำงานได้อยู่

(ปกติเราเก็บข้อมูลตอนสาวเครื่องมือขึ้นจากก้นหลุมมาปากหลุม ที่เรียกว่า log up)

log down นั่นก็วิธีหนึ่งล่ะ ที่พอกล้อมแกล้ม ไปได้ ถ้าต้องการใช้ wireline จริงๆด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม

ซึ่งแน่นอนว่า ต้องใช้เครื่องมือ (logging tools) ที่เป็นแบบทนความร้อนสูงได้เป็นพิเศษ ซึ่งก็ไม่มีทุกๆเครื่องมือวัด ขนาด และ บริษัทฯที่ให้เช่ามาใช้กัน

วิธีที่เป็นที่นิยมกว่า คือ LWD ซึ่งเป็นการเอาเครื่องมือเอาติดก้านเจาะลงไปเลย มีทั้งแบบปกติ และ ทนอุณหภูมิได้สูงเป็นพิเศษ ซึ่งก็ข้อจำกัดเดียวกับ wireline คือ ไม่มีทุกๆเครื่องมือ ขนาด และ บริษัทฯที่ให้เช่ามาใช้กัน

BOP (Blow Out Preventer)

อุปกรณ์ป้องกันการพลุ่ง

Hot well challenge EP4
BOP

คงไม่ต้องย้อนความกันเยอะ หน้าตามันก็ประมาณนี้ ติดตั้งไว้ที่ปากหลุม

What are in BOP ? มีอะไรอยู่ใน Blow Out Preventer

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ข้างใน BOP มี วัสดุอยู่ 2 ชนิด คือ โลหะ กับ อโลหะ พวกโลหะน่ะ ไม่มีปัญหาอะไรกับความร้อน แต่พวก อโลหะ ซึ่ง ก็คือ ยาง เทฟรอน สารสังเคราะห์ จารบี นี่ซิความท้าทาย

ของบรรดามีพวกนี้ เกรดปกติที่ใช้กับหลุมน้ำมัน น้ำโคลนที่ขึ้นมาปากหลุม มันไม่ร้อนเท่าไร

แต่พอหลุมก๊าซที่ร้อนมากๆ เราสามารถคำนวน + ประสบการณ์ ได้ว่า น้ำโคลนเรามาถึงปากหลุม มันจะร้อนประมาณไหน

เราต้องแน่ใจว่า ยาง เทฟรอน สารสังเคราะห์ จารบี พวกนี้ ไม่พัง เสื่อมสภาพ ไปเสียก่อน ดังนั้น ก็จะเอามาใช้ก็ต้องถามผู้ผลิต เปิดคู่มือกันหน่อย ถ้าตรงไหน ชิ้นไหน ทนไม่ไหว ก็เปลี่ยนซะ ก็เท่านั้น ไม่ยาก

แต่ไอ้ไม่ยากนี่แหละ บางทีนะ เราก็ลืม 555 🙂

ถ้าลืมก็เรื่องใหญ่ เพราะถ้าติดตั้งไปแล้ว ทดสอบความดัน + อะไรต่อมิอะไรไปแล้ว การจะเปลี่ยนอะไรสักชิ้น มันจะเป็นงานอภิมหาช้าง เพราะตัวมันใหญ่หนัก ต้องรื้อต้องไร ต้องทดสอบความดันกันใหม่ บลาๆ … อย่าลืมเป็นดีที่สุด

Mud cooler

มันคือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่วางเอาไว้บนแท่นขุดเจาะ ช่วยลดอุณหภูมิน้ำโคลนที่ขึ้นมาจากหลุม ก่อนที่จะเอาไปปรับแต่งคุณภาพ และ ปั๊มลงหลุมไปใหม่

เอางี้ คิดว่ามันเหมือนหม้อน้ำรถยนต์ก็แล้วกัน หลักการเดียวกันเดี๊ยะ แต่ขนาดใหญ่กว่าเยอะ

แหล่งกำเนิดความร้อน – เครื่องยนต์ (ชั้นหิน)

สื่อถ่ายเถความร้อน – น้ำมันเครื่อง (น้ำโคลน)

สารหล่อเย็น – น้ำในหม้อน้ำ – (น้ำทะเล)

ประสิทธิภาพก็ขึ้นกับ อัตราการไหล อุณหภูมิขาเข้า คุณสมบัติของน้ำโคลน อุณหภูมิของสารหล่อเย็น ฯลฯ

ถามว่าลดอุณหภูมิน้ำโคลนได้จริงไหมในการทำงานจริงๆ

ถ้าอัตราการไหลของการปั๊มน้ำโคลนตอนเราขุด (Drilling flow rate) เราช้าๆ มันก็โอเคแหละ ลดได้บ้าง แต่ปัญหาของเราก็คือ เราปั๊มน้ำโคลนกระกระฉูด อุณหภูมิเลยลดได้ไม่มาก เพราะเวลาในการถ่ายเทความร้อนน้อย (ก็ไหลเร็วนิ)

แต่ปัญหาที่จริงๆอยู่ใต้ดิน คือ geothermal gradient ของเราสูงมากอย่างที่เกริ่นไปแล้ว

น้ำโคลนที่อุตส่าห์ลดอุณหภูมิกันแทบตายบนแท่นขุดเจาะ กว่าไหลผ่านก้านเจาะลงไปถึงปลายหัวเจาะ มันก็ร้อนเท่าเดิม

ยิ่งพอไหลออกจากปลายหัวเจาะ สัมผัสชั้นหิน มันก็ไม่ต่างกันเท่าไรแล้วตอนนั้น

Mud Pit

ที่เราต้องคิดนอกกรอบเพิ่มเติมคือ เราต้องบริหารจัดการบ่อน้ำโคลนแบบใหม่ แบบ Thailand only ครับงานนี้

บ่อน้ำโคลนเราบนแท่นขุดเจาะนอกชายฝั่งของเรา จัดเรียงคล้ายๆตาหมากรุก ผนังบ่อเป็นเหล็ก ใช้ผนังบ่อเดียวกัน

เหมือนห้องในบ้านที่ใช้ผนังห้องร่วมกันนั่นแหละครับ

เราก็จัดเรียงบ่อน้ำโคลนแบบที่ให้น้ำโคลนที่เราเอาขั้นมาปรับสภาพถูกล้อมรอบด้วยบ่อที่เราเติมน้ำทะเลเย็นๆ เพื่อถ่ายเทความร้อนออกไปจากน้ำโคลนเรา แล้วเราคอยเปลี่ยนน้ำทะเลที่ล้อมรอบบ่อของเรา

เหมือนเอาไข่ต้มใหม่ๆแช่น้ำให้เย็นเร็วๆนั่นแหละ

ถ้าหลุมเราร้อนมาก และ เราจำเป็นต้องขุดจริงๆ เราก็ต้องเก็บทุกองศาล่ะ มีอะไรก็ต้องเอามาใช้ เพราะ ทุก 1 องศา หมายถึงความยาวหลุมที่เราจะสามารถเจาะลงไปได้เพิ่ม

สมมติว่า geothermal gradient หลุมเรา 5.5 องศา C ต่อ 100 เมตร ในแนวดิ่ง หลุมเราเอียง 50 องศา

1 องศา ที่เราลดลงได้ที่ปลายหัวเจาะ มีค่าเท่ากับความยาวหลุม (100 x 1/5.5)/cosine 50 degrees = 28.3 ม. เชียวนะครับ

ลดได้ 2 องศา ก็ 56.6 ม. ล่ะ (ตามสมมุติฐานข้างต้น) ไม่น้อยเลยนิ

ในทางปฏิบัติ ก็กลับมาที่ ค่าใช้จ่าย กับความคุ้มของปิโตรเลียม (ก๊าซ) ที่เราจะได้จากความยาวหลุมที่เพิ่มขึ้น ถ้าคุ้มพอดีก็อย่าขุดเลย

จะขุดก็ต้องกำไร จริงป่ะ 🙂

ในที่สุดแล้ว มันก็สูตรความคุ้มของการลงทุนดีๆนี่เอง

ตอนเริ่มวางแผนขุด รายได้รวม (total revenue) ต้องมากกว่าต้นทุนรวม (total cost) ไม่งั้นก็อย่าเริ่มลงมือขุดเลย ให้หลุมมันอยู่กระดาษ หรือ อยู่ในคอมพิวเตอร์ไปน่ะดีแล้ว

แต่ถ้าขุดไปแล้ว เกิดอยากขุดต่อเพราะมีข้อมูลเพิ่มระหว่างการขุด หรือ ใครมาเข้าฝัน ก็ตาม 555 สมการการตัดสินใจจะเป็นเป็น … รายได้ส่วนเพิ่ม (marginal revenue) ต้องมากกว่าต้นทุนส่วนเพิ่ม (marginal cost) จึงจะคุ้มขุดต่อ

จบเสียที ฟาดไป 4 ตอน เอาไว้มีอะไรใหม่ๆจะมาเพิ่มเติ่มก็แล้วกันครับ

อย่าลืมสมัครเป็นสมาชิกกันเอาไว้นะครับ จะได้รับอีเมล์แจ้งเตือนเวลาผมเขียนบทความใหม่ๆ 🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------