ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Offshore travelling การเดินทางในการทำงานนอกชายฝั่ง

Offshore travelling การเดินทางในการทำงานนอกชายฝั่ง – ว่างๆวันนี้ไม่มีไรทำ พักนาน ว่าง 555 ชวนคุยเรื่องการเดินทางนอกชายฝั่งกันดีกว่า

พวกเราในอ่าวไทย คุ้นชินกับการเดินทางไปทำงานด้วย ฮ. ซึ่ง พวกเราคิดว่าเป็นปกติ เพราะวันแรกที่เราทำงานกัน เราก็ “สบาย” กันแบบนี้อยู่แล้ว

อีกอย่างหนึ่ง เราไม่แยกชนชั้น บ.น้ำมัน บ.แท่นเจาะฯ บ. service ได้ขึ้น ฮ.หมด

Crew change day … ก่อนกลับฝั่ง 24 ชม. เรา(ผม)ทำอะไรกันบ้าง

Offshore travelling

การเดินทางในการทำงานนอกชายฝั่ง

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ผมเริ่มทำงานแรกที่แท่นบกกลางทะเลทรายก็จริง แต่ด้วยความที่สถานะลูกจ้าง บ. service ของผมตอนนั้นเป็น international mobile (IM) จึงต้องจรลีไปเรื่อยตามชื่อสถานะ

งานนอกชายฝั่งแรกที่ผมฝังตัวเก็บประสบการณ์ คือ แหล่ง (field) ที่เรียกว่า Bombay High นอกชายฝั่งตะวันตกของ อินเดีย … ดินแดนแห่งวรรณะ และ ชนชั้น

แท่นเจาะมีหลายประเภท … ทางเทคนิค … อย่างที่ทราบๆกัน แต่ที่นั่น เราแบ่งย่อยลงไปเป็น แท่นเจาะ expat (expat rig) กับ แท่นเจาะ National (Indian rig)

expat rig คือ แท่นเจาะที่ บ.น้ำมันแห่งชาติอินเดีย (ONGC) เช่ามาใช้งาน บริหารจัดการโดยบ.เจ้าของแท่น ซึ่งโดยมากก็ อเมริกา ยุโรป อเมริกาใต้

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

Indian rig คือ แท่นเจาะที่เป็นของ ONGC เอง บริหารจัดการโดย ONGC สมัยผมทำงานที่นั่น มีแท่นเจาะราวๆ 30 แท่นเจาะ เป็น expat rig เสียประมาณ 10 แท่นฯ ก็ 1/3 นั่นแหละ

แน่นนอนว่า บนแท่นเจาะแต่และแบบก็มีการบริหารจัดการชั้นวรรณะที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่

  1. expat หรือ Indian rig
  2. ไผเป็นไผ คนของ บ.อะไร บ.น้ำมัน บ.แท่น หรือ ลูกกระจ๊อก บ. service
  3. ตำแหน่งอะไรใน บ. นั้นๆ (วิศวกร หรือ ช่างเทคนิค หรือ คนงานบริการ ไร้ทักษะ)
  4. คนอินเดีย หรือ ไม่ใช่คนอินเดีย

ซับซ้อนดีไหมครับ ระบบชั้นวรรณะของที่นั่นในสมัยนั้น

ห้องอาหาร ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องสันทนาการ กล่องรับส่งเอกสาร ฯลฯ ก็จะแบ่งชนชั้นให้ใช้ได้แตกต่างกัน ซึ่งผมจะไม่ลงรายละเอียด เพราะนอกเรื่องที่ผมจะชวนคุย คือ เรื่องการเดินทาง

ในขณะที่อ่าวไทยเราเป็นการอะไรที่ค่อนข้างเสมอภาค เราเดินทางด้วย ฮ. กันตะบันราด สมัยผมเริ่มชีวิตนอกชายฝั่งที่นั่น เวลาเดินทางไปทำงาน คน บ.service อย่างพวกผมในตอนนั้น ตั้งจับฉลาก (ยิ่งกว่าบัตรคิว) ในการเดินทางด้วย ฮ. ออกไปทำงาน (หรือ กลับฝั่ง)

การไปรอ standby ที่ ฐานจอดฮ.ของพวกเราตั้งแต่เช้ามืด รอกันทั้งวันแล้วหิ้วกระเป๋ากลับมาเปิดเบียร์กินตอนบ่ายๆเย็นๆ เป็นเรื่องปกติสำหรับพวกเราชาว service companies

เมื่อโดนเตะออกจาก ฮ. ได้ครั้งสองครั้ง แต่งานยังต้องการคนทำ เราก็ต้องโดนหย่อนลงเรือ ซึ่งก็ไม่ใช่เรือโดยสาร เป็นเรือรับส่งของ ที่เรียกว่า supply boat ที่มีเข้าออกยังกับคิวรถบขส.และรถตู้ขนส่งหมอชิต คือ เยอะมาก ลองมโนดู เฉพาะแท่นเจาะก็ปาเข้าไป 30 แท่นฯ แท่นผลิตอีก 4 – 5 แท่น ไหนแท่นที่อยู่อาศัยอีกล่ะ เรือสนับสนุน แพทะเลอีกล่ะ …

ผมเดาๆเอานะว่าคนเป็นพันๆคนล่ะครับ ที่อยู่นอกชายฝั่ง Bombay High ในช่วงเวลาหนึ่งๆขณะนั้น

เจ้า supply boat นี่ มันก็สมชื่อครับ มันถูกสร้างมาให้ขนส่งของ ไม่ใช่ขนส่งคน

ดังนั้นมันจึงไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายทั้งสิ้นทั้งหลายทั้งปวงสำหรับคน ไล่ไปตั้งแต่ ที่นั่ง ที่นอน ห้องอาหาร ห้องน้ำ ฯลฯ supply boat บางลำเราต้องนอนในห้องอาหารไปตลอด 12 – 24 ชม. แล้วแต่ว่าเราต้องไปไกลแค่ไหน

อีกอย่างหนึ่งที่พวกเราลำบากกันมาก คือ เราไม่ใช่คนเรือ ที่นั่นเรือขนของเนี้ย เหมือนรถบรรทุกของหนักครับ โช้คมันไม่นิ่ม คือ มันโคลงเป็นแปลญวนโดนลม และมันวิ่งช้าเป็นเต่า … ทนไม่ไหวก็ไปกราบเรือแล้วล้วงคอ โก่งคออ้วกโรตีให้อาหารปลาแขก ก็เท่านั้น

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ถึงแท่นเจาะ พวกเราก็ข้ออ่อนเข่าทรุดแทบหมดแรง … แต่ก็นะ บ่อยๆเข้ากระเหรี่ยงอีสานอย่างผมก็ชิน 555 (เหมือนเพลง ตังเก ของน้าหมู พงษ์เทพ)

ที่ชวนคุยเนี้ย จะบอกว่า อิจฉา พี่พ้องน้องเพื่อนในอ่าวไทย ที่ขึ้น ฮ.กันเป็นว่าเล่น 555 … แถมเรือก็เป็นเรือขนคน ไม่ใช่ขนของ

พอดีว่าได้คลิปของเรือ crew boat มาคลิปหนึ่ง จาก Uniwise Offshore ดูหรูหราไฮโซ ไม่รู้ว่าอ่าวไทยเรามีแบบนี้สักลำไหมนะ ถ้ามีนี่ ผมอิจฉาแย่เลย อิอิ

Offshore travelling

ชวนไปดูรูปคร่าวๆกัน ดูแล้วได้แต่เอาตีนก่ายหน้าผากแล้วคิดว่า ทำไมรุ่นตู 34 ปีก่อน …ไม่มีแบบนี้ว่ะ

ตัดจากคลิปมาให้บางรูป

เทียบกับสมัยผมที่บรรยายมาแล้วเหมือนหน้ามือกับหลังเท้าเลย

Offshore travelling
ห้องโดยสาร

ไงครับ เทียบกับสมัยผมที่ต้องนอนในห้องกินข้าว supply boat วันดีคืนดีก็มีหนูวิ่งไปมาจากในครัวเป็นเพื่อนหลังเที่ยงคืนด้วย

รุ่นใหม่ๆที่ทะเลเหนือนี่ผมได้ข่าวว่า มี USB ทุกเก้าอี้ มี wifi ให้ด้วย แต่ฟรีหรือเปล่านี่ไม่ทราบนะครับ

Offshore travelling
โยกได้ชดเชยคลื่น กระโดดง่ายขึ้นเยอะ

เวลาเราไปทำงานตามแท่นหลุมเจาะ (unman wellhead platform – WHP) เราต้องกระโดด หรือ โหนเชือกขึ้น ถ้าเรือกากๆ เราก็ต้องวัดดวง อาศัยความชำนาญๆกะๆเอา แต่สำหรับเรือที่ทำมาเฉพาะรุ่นใหม่ๆ จะมีระบบที่ชดเชยเรือกระเพือมขึ้นลงเนื่องจากคลื่นลม ทำให้เดินขึ้นลงสบายประหนึ่งเดินในห้างเลย (นี่ก็เว่อร์ไปนิดนะ 555)

Offshore travelling
ห้องพักผ่อน ดริ้งค์ได้ แต่ไม่มีแอลกอฮอล์นะ

ไงล่ะ มีเล้าจ์นด้วย หุหุ เอาเข้าไป มันจะใกล้เรือสำราญไปเต็มทีแล้วน้องๆ

Offshore travelling
ห้องอาหาร

ห้องอาหารยังหรู นั่งโซฟาด้วย ชักจะมากไปแล้วนะ (ตาร้อน) คงขาดแต่เด็กนั่งคริ๊งค์ หุหุ

Offshore travelling
ห้องนอน

ถึงจะนอนคู่ แต่ก็ไม่อัด 4 หรือ นอนในห้องอาหาร นอนข้างทางเดิน แบบสมัยผม

มีอีกหลายรูปครับ ผมตัดมาเรียกน้ำย่อย ไปดูคลิปเต็ม (1 นาที 11 วินาที เองครับ) ที่ลิงค์ข้างล่าง

ปิดท้าย … ตัดสเป็คคร่าวๆมาให้ดูครับ

ผมไม่ใช่คนเรือ แต่เอามาแปะให้ดูขลังเท่านั้นแหละครับ (เผื่อพี่พ้องน้องเพื่อนคนเรืออยากรู้ลึกๆ)

สเป็คที่เหลือก็ไปดูเอาตามนี้ครับ … Flex-42X | Penguin International Limited

ขอบคุณคลิป และ ข้อมูลจาก Uniwise Offshore อีกครั้งไว้ ณ. ที่นี้ ที่ทำให้ผมอิจฉาตาร้อนน้องๆรุ่นหลัง 555

ส่งท้าย

การเดินทางต่างๆมันก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของอาชีพเรา เราไม่ได้เดินทางเป็นอาชีพ แต่อาจจะคุยได้ว่า อาชีพอย่างพวกเรา ได้เดินทางชีพจรลงเท้าแบบไม่น้อยหน้าใครเลยทีเดียว

อ้อ … บทความตอนนี้ไม่ได้ค่าโฆษณาแต่อย่างใดนะครับ ที่เอ่ยชื่อ และ โลโก้ บ.เจ้าของเรือก็เพื่อให้เครดิต คลิปและภาพตามมารยาทที่ดีในการนำเสนอข้อมูลเท่านั้น

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------