ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

24 hrs after landed เฮลิคอปเตอร์ จอดฝั่งแล้ว เราทำอะไรกัน (18+)

24 hrs after landed เฮลิคอปเตอร์ จอดฝั่งแล้ว เราทำอะไรกัน (18+) – เป็นภาคต่อจากครั้งก่อนที่เม้าส์มอยไปว่า 24 ชม. ก่อนกลับฝั่ง ผมทำอะไรบ้าง

ตามไปอ่านกันได้ครับ (ถ้ายังไม่ได้อ่าน)

ถ้าไม่ได้อ่านตอนก่อนหน้า อาจจะไม่เข้าใจ บริบทของสภาพแวดล้อมที่ผมอ้างอิง เช่น ปี ประเทศ เมือง สภาพการทำงาน ตำแหน่ง งาน บริษัทฯ บลาๆ

24 hrs after landed

เฮลิคอปเตอร์ จอดฝั่งแล้ว เราทำอะไรกัน

สมมุติว่าอ่านตอนก่อนหน้ากันมาแล้วนะครับ ผมจะไม่เกริ่นซ้ำ … ไปต่อกันเลย 🙂

24 hrs after landed
เอ้า เครื่องลงแล้ว ไปทำไรกันดี 🙂

Dark side

บอกก่อนนะครับว่า สายโลกสวย สายธรรม สายขาว อาจจะไม่ถูกใจ อาจจะเคืองกัน ทำไมพี่นก อานก ลุงนก ถึงเป็นคนแบบนี้

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ก็แค่มันโลกส่วนหนึ่งของคนกลุ่มหนึ่งในสมัยที่จะไม่บรรลุธรรม สมัยที่กร่าง โสด และ เขลา

ก็เหมือนหลายๆคนที่มักจะทำอะไรที่ไม่ถูกใจแม่ หรือ ที่พ่อห้ามไม่ให้ทำ 555 🙂

โปรดใช้วิจารณญานในเสพนะครับ 🙂

พาหนะคู่ใจ

เนื่องจากนโยบาย บ.ที่ผมทำทำงานให้ตอนนั้น ไม่ให้วิศวกรนำเข้า (expat) ขับรถที่ในประเทศอินเดีย จึงมีรถพร้อมคนขับให้

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

โดยใช้ระบบแบ่งปัน ถ้าตำแหน่งมากหน่อย อาวุโสหน่อย ก็จะได้รถไปเลยคันหนึ่งคนเดียว แต่ถ้าลดหลั่นลงมาก็ตามขั้นๆไป

สำหรับผมในตอนนั้น อยู่ในเกณฑ์วิศวกรนำเข้า (expat) 4 คน ต่อ 1 คันครับ

ในทางปฏิบัติแล้ว เราก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร เพราะโอกาสที่ 4 คน จะอยู่พร้อมกันบนฝั่งแทบจะไม่เคยเกิดขึ้นเลย ไปๆมาๆ อย่างเก่งก็ 3 คน เท่านั้น ส่วนมากก็ 2 คน ที่อยู่ฝั่งพร้อมๆกัน ไม่ออฟชอร์ ก็ พักร้อน

พนักงานที่ดูแลเรื่องรถ จะรู้ว่าใครจะไป จะกลับ ฮ.เที่ยวไหน ก็จะให้รถของเรามารับที่ฐานจอด ฮ. (ที่นั่นเราเรียก Heli-base)

ก่อนจะเล่ากันว่าเราไปไหนกัน ถึงตรงนี้ก็อดที่จะคุยสั้นๆถึงพาหนะยอดฮิตที่เราใช้ประจำถ้าไม่มีรถของบ.

ตุ๊กๆ หรือ 3 ล้อเครื่อง ที่นั่นเราเรียก rickshaw ครับ หน้าตานางก็ประมาณนี้

Mumbai Rickshaw

ต้องขอชื่นชมและปรบมือให้วิศวกรอินเดียที่ออกแบบตุ๊กๆ ใน 2 เรื่องที่ผมสังเกตุเห็นว่า fit for purpose จริงๆ

อย่างแรก ก็คือ น้ำหนักเบา ถ้าจะเปลี่ยนยาง เปลี่ยนล้อ แค่ผู้ชายร่างกายขนาดมาตราฐาน ก็สามารถยกข้างหนึ่งให้เอียง หรือ ผลักให้ล้อข้างที่จะเปลี่ยนเอียงขึ้นได้สบายๆ แล้วหาเศษหินมารองตัวถังเอาไว้ ผมลองมาแล้ว ยก หรือ ผลักได้แบบชิลๆ

อย่างที่สอง คือ ไม่มีระบบน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ แต่ใช้น้ำมันหล่อลื่นใส่ผสมไปกับน้ำมันเชื้อเพลิงเลยครับ 2 อิน 1 เครื่องยนต์จึงมีนน.เบา แต่ก็มีข้อเสียมากๆ คือ ไอเสียที่ออกมาจะมีเขม่าน้ำมันเครื่องออกมาด้วย ทำให้อากาศในบอมเบย์แย่มากๆ

ปี 1989 ที่ผมทำงานอยู่ที่นั่น แท๊กซี่ สามล้อเครื่องบ้านเรา ยังไม่มีระบบมิเตอร์ แต่ที่นั่นมีแล้วครับ

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

24 hrs after landed
มิเตอร์ รถตุ๊กๆ และ แท๊กซี่ (ในสมัยนั้น)

เป็นระบบกลไกฟันเฟืองล้วนๆ โดยการส่งผ่านรอบหมุนจากล้อมมาที่มิเตอร์โดยสายลวดคล้ายๆสายเบรคจักรยานน่ะครับ

เวลาคิดเงิน ก็ต้องเอาตัวเลขที่มิเตอร์ไปเทียบกับตารางในการ์ดที่รถทุกคันจะมีติดรถไว้

24 hrs after landed
ตารางแปลงมิเตอร์เป็นค่ารถตุ๊กๆ

ส่วนแท๊กซี่ก็ใช้ระบบเดียวกันครับ แต่การ์ดที่แปลงตัวเลขมิเตอร์เป็นราคา จะต่างกันเท่านั้นเอง

หน้าตานางในยุคนั้นก็จะประมาณนี้ครับ

Mumbai Taxi

ในยุคนั้น รถทั่วๆไปไม่ติดแอร์ครับ คิดดูล่ะกันว่า ด้วยอากาศที่อุณหภูมิ และ ความชื้นประมาณกรุงเทพฯ แล้วมีเขม่าจากน้ำมันเครื่องรถตุ๊กๆเต็มถนน เรียกว่า PM 2.5 สมัยนี้ที่กลัวๆกัน กลายเป็นเรื่องเด็กๆไปเลยครับ

บอมเบย์ใน 5 นาที (เอาเฉพาะที่เกี่ยวกับผม)
24 hrs after landed
Mumbai (Bombay) นางอยู่ตรงนี้ครับ

คราวนี้ zoom เข้ามาดูหน่อย สังเกตุ scale นะครับ อยู่ มุมขวาล่าง จะได้เข้าใจว่า ใกล้ไกลแค่ไหน

Mumbai

เอาล่ะครับ ชีวิตผมในตอนนั้น หลายปีก็วนเวียนอยู่แถวนั้นแหละครับ 🙂

Let’s drink

เมื่อเราได้พาหนะแล้ว อย่างแรกที่ทำคือ กลับไปเปลี่ยนชุดที่ bachelor house (แปลกันตรงตัวคือ บ้านคนโสด) นั่งรถที่มารับ ไม่ทันก้นร้อน ก็ถึงแล้ว

บ.จะเช่าบ้านหลังใหญ่ๆ มีหลายห้องนอนเอาไว้สำหรับวิศวกรนำเข้า (หรือ วิศวกรท้องถิ่นที่ไม่มีบ้านในบอมเบย์)

ชุดที่เราใส่มาจากแท่นขุดเจาะฯมันก็นะ เน่าๆ และ ส่วนมากเราก็ใส่ชุดหมีขึ้น ฮ. กลับมา ก็ต้องเปลี่ยนหน่อย

โรงแรมติดสนามบิน

กลับขึ้นไปดูแผนที่ซิครับ heli-base กับ bachelor house อยู่ไกลจาก downtown เกือบ 30 กม. อะ อะ อย่าคิดถึง 30 กม. ในกทม.และปริมณฑล แบบมีทางด่วน นะครับ

คิดใหม่ๆ นึกถึงกทม.ยุคก่อนมีทางด่วน ถนนเลนเดียว รถติดบรรลัย ในเวลาปรกติ จาก heli-base มา downtown ต้องมี 2 ชม. เป็นอย่างต่ำ ถ้าช่วงเวลาเร่งด่วน 3 – 4 ชม. ครับ

ถ้าจะมา down town ต้องคิดดีๆ ในสมัยนั้นนะ

กลับมาที่ รร.ติดสนามบินของเรา ไม่อยากจะเอ่ยชื่อ รร. เพราะเดี๋ยวจะคุยถึงธุรกิจสีเทา เอาเป็นว่าเป็นโรงแรมหรูสุดๆสมัยนั้นที่อยู่ใกล้ๆสนามบินนานาชาติบอมเบย์ล่ะกัน

เนื่องจาก Heli-base อยู่ใกล้สนามบิน รร.นี้จึงเป็นรร.หรูสุดในระเวกที่ไม่ต้องนั่งรถตากเขม่าน้ำมันเครื่องรถตุ๊กๆเข้าไปย่านกลางเมือง จึงเหมากับการอุ่นตับให้พร้อม 🙂

ชั้นล่างจะเป็นบาร์ มีนักร้อง ซึ่งส่วนมากก็นำเข้าจากฟิลิปปินส์ ให้เราได้อุ่นเครื่องกัน แอลกอฮอล์ ก็มีครบ แต่ราคาแพงบรรลัยสำหรับคนท้องถิ่น มีแต่นักธุรกิจที่เดินทางไปมา เศรษฐีในพื้นที่ แล้วก็พวกเรา expat ที่ทำงานที่บอมเบย์เท่านั้นแหละ ที่เป็นลูกค้า

ผ่านมานานแล้ว คิดว่าน่าจะเปิดเผยเงินเดือนได้ ตอนนั้น จบใหม่ เริ่มต้นที่ เดือนล่ะ 4000 เหรียญ สมัยนั้น เหรียญ ล่ะ 25 บาท ก็คูณกันเอา มีค่า % จากการงานที่เก็บจากลูกค้า เทียบได้กับค่า คอมมิชชั่นนั่นแหละ อีกนิดหน่อย มากน้อย ก็ขึ้นกับว่าเดือนนั้นทำงานเยอะ งานยาก ไหม เฉลี่ยๆ เดือนหนึ่งก็ 5000 เหรียญ

มาต่อเรื่องอุ่นเครื่อง …

สุรา และ เมรัย นำเข้า สารพัดยี่ห้อ จะมีแต่ที่รร.หรูๆพวกนี้เท่านั้น

เบียร์อินเดียยอดนิยมสมัยนั้นก็ต้องยี่ห้อนี้เลยครับ

ของโปรดผมเลยครับ

สมัยนั้น บัตรเครคิตยังไม่แพร่หลายนัก ทำบัตรเครดิตน่ะไม่ยากหรอก แต่ร้านที่รับบัตรเครดิตแทบไม่มีเลย

cash is king ครับ ในสมัยนั้น ส่วนมากเราก็จะแลกเงินสกุลแข็งๆไปจากบ้านเรา บ้านใครบ้านมัน อย่างผมก็แลกบาทเป็นเหรียญอเมริกาที่ดอนเมือง แล้วก็ไปแลกเป็นเงินรูปีในตลาดมืด

พวกเรารู้กันดีว่าอยู่ที่ไหน ก็ร้านขายพรมชั้นใต้ดินที่โรงแรนนี้นั่นแหละ

ลงรถหน้าล๊อบบี้ ก็ทักทายพนักงานเปิดประตู พนังงานต้อนรับ แคชเชียร์ ไปเรื่อย เพราะคุ้นลิ้น เอ๊ย คุ้นหน้ากันดี ลงชั้นใต้ดินก่อนเลย ลงไปแลกเงินรูปี

แล้วก็ไปอุ่นเครื่องที่บาร์ นั่งเม้าส์มอยกับบาร์เทนเดอร์แบบสนิทสนม เพราะมากันประจำ

นักร้องฟิลิปปินส์ร้องเพลงเสร็จ พัก ก็มานั่งแกล้งจีบกันไปจีบกันมา ไม่สามารถทำอะไรได้กับสาวๆนักร้องที่โรงแรม เพราะส่วนมากเลย พวกนี้ ไม่ยุ่งกับแขกต่างชาติ

เขามาทำมาหากิน ส่งเงินกลับบ้านอย่างเดียว และ โดยมากก็จะมีแฟนอยู่ในวงเดียวกัน หรือ สังคมเดียวกัน พูดง่ายๆว่ามีเจ้าที่คุมว่างั้น

ผมถึงใช้คำว่าอุ่นเครื่องไงครับ รอเวลา เวลาอะไรเหรอครับ เวลารถไม่ติดไงครับ ก็โน้นแหละ ที่พอจะลงใต้ไป downtown ได้ก็ต้องหลัง 4 ทุ่ม เป็นอย่างต่ำ

แวะกลางทางดีไหม

เกือบๆครึ่งทางระหว่าง รร. ไป downtown จะผ่านเขต Bandra (ผมไม่รู้เรียกว่าอะไรในการแบ่งผังเมือง เรียก เขต ก็แล้วกัน)

พูดตรงๆเลย ก็คือ มีสำนักโคมแดง ก็ซ่องนั่นแหละ ก็ต้องตัดสินใจว่าจะแวะดีไหม ถ้าไม่แวะขาไป ก็ค่อยแวะขากลับ (ถ้ายังไม่เมาหัวทิ่ม)

สมมุติว่าคืนนี้ผมตัดสินใจลงไปเมาต่อ downtown แล้วค่อยแวะสำนักโคมแดงตอนขากลับก็แล้วกัน

ถึงตอนนี้พวกคุณอาจจะสงสัยว่า โดยมากผมไปเที่ยวกับเพื่อนๆวิศวกรด้วยกันหรือไปคนเดียว

คำตอบคือ ครึ่งๆครับ ถ้ามีเพื่อนวิศวกรที่ใส่ใจบันเทิงในแนวเดียวกันก็จะหอบหิ้วกันไป หรือ บางทีก็ operator ที่ทำงานด้วยกันนั่นแหละ พวกที่คะนองๆโสดๆ ถ้าจังหวะดี กลับฝั่งตรงกันก็หอบหิ้วกันมา

ดังนั้น ทักษะในการหาความสุขอย่างหนึ่ง คือ “อย่าเยอะ” อย่าเรื่องมาก คุยสนุก เฮฮาปาจิงโก๊ะ (แต่ต้องระวังตัวเสมอ คนไม่ดีมีทุกที่ ทุกชาติ ทุกภาษา)

ถ้าจะปิดปากเงียบ ขี้อาย ไม่พูดไม่จา … มึงนั่งแดกเหล้าอยู่ bachelor house ก็ได้ ตับพังอย่างเดียว ไม่ต้องเอาปอดไปสูดเขม่าคราบน้ำมันเครื่องตุ๊กๆ เสี่ยงมะเร็งปอด 555 🙂

มีอะไรที่ Downtown

มีทุกอย่างครับ ผมรัก (เรียกว่ารักเลย) บอมเบย์ เพราะว่า เป็นเมืองที่มีทุกอย่าง โดยเฉพาะความไม่เป็นระเบียบ ผมไม่อึดอัด 555 อยากทำอะไรตรงไหน ไม่มีใครว่า (สมัยนี้ไม่รู้ แต่ตอนนั้นเป็นแบบนั้น)

มีทั้ง high end แถวๆ ถนนเลียบอ่าว (marine drive) และ Malabar Hill ไปจนถึง low end ตามซอกตามมุมสถานีรถไฟ Chhatrapati Shivaji Maharaj Terminus ชื่อเดิม Victoria terminus (ประมาณหัวลำโพงบ้านเรา)

Chhatrapati Shivaji Maharaj Terminus

แล้วแต่เลยครับ บางคืน ผมก็อยากหรู หิ้วสูท เดินลอยไปลอยมาแถว marine drive นั่งฟังเพลงไปไรไป มีสาวสังคมไฮโซ มานั่งจิบเครื่องดื่ม ชมวิวกันเยอะ เป็นย่านหรูว่างั้น

แต่ส่วนใหญ่ ผมชอบแบบกลางๆมากกว่า

ในย่าน downtown จะมีโซนหนึ่งที่คล้ายๆกับ ถนนข้าวสาร + สีลม อาหารไม่แพง ได้ทานของอร่อยๆพื้นถิ่นดีๆสะอาดๆ เสียแต่ตอนนั้น ไม่มีแอลกอฮอล์หลากหลายให้เลือก ส่วนมากก็เบียร์ Kingfisher กับ วอดก้า และ ค่ายยุโรปเป็นหลัก เพราะตอนนั้นพี่บังไม่ค่อยญาติดีกับพญาอินทรีเท่าไร ขนาด Coke Pepsi ยังไม่มีขายเลย

บางครั้งก็โชคดี ได้สาวๆที่มีจุดประสงค์เดียวกันร่วมค่ำคืนถึงเช้า เอามันส์อย่างเดียวเลยนั่นแหละ

ข้อดีอีกอย่างตอนนั้นคือ มีรถส่วนตัวพร้อมคนขับ ไม่ต้องกังวลเลยว่าจะเมาขนาดไหน สาวๆจะชอบมาด้วยมากกว่าคนอินเดียนักเที่ยวด้วยกันในวัยเดียวกันที่ขับมอเตอร์ไซด์เป็นหลัก หรือ นักท่องเที่ยวแบกเป้ที่ไม่มีรถ

ขออย่างเดียว อย่าเมาจนหาทางกลับมาที่จอดรถไม่ถูกก็แล้วกัน เพราะว่าสมัยนั้นไม่มีเพจเจอร์ ไม่มีมือถือ ให้โทรฯตามกัน แต่โดยมากคนอินเดียจะพูดภาษาอังกฤษได้ เกือบ 70 – 80% แบบพอรู้เรื่อง จึงไม่เดือดร้อนเท่าไร

คำถามยอดฮิตคือ ผู้หญิงมานอน bachelor house ได้ไหม คำตอบที่เป็นทางการคือ ไม่ได้ คำตอบที่ไม่เป็นทางการคือ ได้ แต่ต้องระวังมิจฉาชีพที่แฝงมา เพราะเคยมีของห้องเพื่อนๆในบ้านหลังเดียวกันหาย

วิศวกรนำเข้าบางคนนะ ก็คบจริงจัง แบบว่า อยู่กับเป็นคู่ใน bachelor house เวลาที่ผู้ชายกลับฝั่ง แต่ถ้า ผู้ชายออกไปทำไงาน เธอก็ต้องไม่อยู่นะ

แต่ผมไม่นิยมแบบนั้น จิตใจไม่แข็งพอครับ พูดตรงๆ จะระแวงว่า ตอนเราไปทำงาน เธอจะเป็นไง ทำตัวอย่างไร ยิ่งการสื่อสารแย่ๆด้วย บลาๆ เอาว่า เป็นครั้ง เป็นคราว ไปดีกว่า

กลับมาที่ถนนข้าวสารของบอมเบย์ ที่ผมชอบอีกอย่างก็คือ ได้มีโอกาสซื้อของใช้ราคากันเองจากนักท่องเที่ยวที่เอามาปล่อย โดยเฉพาะหนังสือท่องเที่ยวดีๆที่เป็นคู่มือนักเที่ยว ที่ฮ๊อตสุดตอนนั้นก็ต้อง Lonely planet ของ Tony Wheeler เรียกได้ว่าเป็นคัมภีร์สำหรับนักท่องเที่ยวแบบแบกเป้เลยทีเดียว

ย่านนั้นเหมือนตลาดนัดปนๆกับผับบาร์กลายๆ ผมยังไม่เห็นว่าเมืองไทยมีบรรยากาศแบบนั้นที่ไหน ถึงบอกว่าคล้ายๆ ถนนข้าวสาร + สีลม ไม่ low end ที่มีแต่นักท่องเที่ยวแบบ backpack อย่างเดียว แบบกลางๆ มีตลาดแลกเปลี่ยน และ มีคนท้องที่มาเที่ยวปนๆกันไปด้วย

ย่าน downtown จะไม่มีการให้บริการทางเพศ (อย่างน้อยก็เท่าที่ผมทราบ ในสมัยนั้น) แต่สามารถเป็นแหล่ง “เก็บเกี่ยว” กันได้ตามความสามารถเฉพาะตัว ผมเองก็นะ หน้าเอเชียๆ ตาตี่ๆ อัตราความสำเร็จก็จะหนักไปทาง สาวญี่ปุ่นที่มาเที่ยวคนเดียว และ สาวแขกอกหัก เป็นหลัก

ถ้าวันไหน fishing เก็บเกี่ยวไม่ได้ ก็จะแวะ สำนักโคมแดง ย่าน Bandra

สำนักโคมแดง

ถ้านักเที่ยวรุ่นที่รู้จัก โรงแรมศรีทอง ถนนเพชบุรี คงไม่ต้องอธิบายมาก บรรยากาศนั้นเลย

ห้องทึมๆ ไฟสลัวๆ มีน้องนางหลายระดับเข้ามาให้เลือกทีล่ะชุดๆ

ชุดแรกจะเยอะหน่อย ราวๆ 10 – 15 คน พอเราไม่ชอบ ขอดูรอบต่อไป จำนวนก็จะน้อยลง และ ราคาก็จะสูงขึ้นๆ คนเชียร์ก็จะบรรยายสรรพคุณกันไปเรื่อยๆ

เข้าไปแล้ว ออกมามือเปล่ายาก เพราะคนเชียร์ เจ้าของสำนัก มักจะยื้อสุดฤทธิ์

ก็มีบ้างที่ผมไม่มีอารมณ์ ไม่ถูกใจจริงๆ ก็ใช้วิธีซื้อความรำคาญ เลือกๆมาคนนึง ปิดห้อง สั่งเบียร์มากินขวดนึง ดูทีวีหนังแขกวิ่งเต้นระบำรอบเขารอบต้นไม้สัก 2 – 3 เพลง แล้วก็กลับ

นานๆทีก็จะมีแปลกๆอย่างสาวรัสเซีย หรือ ยุโรปตะวันออกมาให้เลือก ด้วยราคาที่สุดเอื้อม ก็เลยไม่เอื้อม เพราะไม่สมเหตุผลเอาเสียเลย

สนนราคาสมัยนั้นนะครับ ค่าบริการ ณ.จุดขาย รวมทุกอย่างแล้วราวๆ 1500 – 3500 รูปี สมัยนั้น อัตราแลกเปลี่ยนผ่านดอลล่าร์ตลาดมืดตกราวๆ 1 บาท ได้ 1.5 – 2.0 รูปี แต่ถ้าแลกแบบถูกกฏหมาย ก็ 1 รูป เท่ากับ 1 บาท พอดี

ส่วนใหญ่ผมไม่ชอบ ณ.จุดขาย เพราะดูสภาพแวดล้อมมันไม่ค่อยสะอาด และ ต้องเร่งรีบ

ผมมักจะใช้ออปชั่น 2 คือ พากลับมา bachelor house แบบ ชิลๆสบายๆ ดีกว่า แน่นอนว่าสนนราคาก็จะมากขึ้นเกือบๆ 2 เท่าตัวทีเดียว เพราะต้องชดเชยการขาดรายได้ทั้งคืน

แต่ผมก็ต้องดูด้วยว่า คืนนั้น มีเพื่อนๆอยู่ bachelor house เยอะไหม ถ้าเยอะ อาจจะไม่เหมาะ และ คนที่อยู่ มีทัศนคติอย่างไร สายบันเทิงเดียวกันไหม ต่างจิตต่างใจนะคนเรา ถ้าไม่อยากให้เกิดเรื่องดูซ้ายดูขวาดีๆหน่อย

โดยมากก็ไม่มีอะไรหรอก เพราะพวกที่อยู่ bachelor house ก็มักจะสายๆเดียวกัน 🙂

เอาเข้าจริงนะ พูดเลย ส่วนมากก็อยู่คนเดียวทั้งบ้าน ถ้าไม่พักร้อน ก็อยู่นอกชายฝั่งกันหมด ผมอยู่คนเดียวทั้งบ้านบ่อยเหมือนกัน

นั่นแหละ กว่าจะเสร็จสมอารมณ์หมาย และ สร่างพอลุกได้(แต่อาจจะไม่หายดี 555) ก็เช้า

มื้อเช้าไม่ต้องพูดถึง กาแฟในครัวแก้วเดียว เสื้อยืด กางเกงยีนส์รองเท้าผ้าใบ หิ้วกระเป๋าออฟชอร์โยนโครมใส่หลังรถ เข้าออฟฟิต

ตกเย็นก็จะหิ้วเบียร์กลับมาแช่เย็น ชิลต่อกันเองที่ ห้องรับแขก ไม่ก็แวะไปเคาะประตูบ้านข้างๆ เผื่อมีใครอยู่ (บ.เช่าไว้ 3 หลัง อยู่ในรั้วเดียวกัน) จะคุยกับข้างฝามันก็นะ เดี๋ยวบ้า

ปาร์ตี้กับกลุ่มแอร์โฮสแตสของ Japan Airline

นานๆที ก็จะมีปาร์ตี้กับกลุ่มแอร์โฮสแตสของ Japan Airline ที่รู้จักกัน ก็จัดกันที่ bachelor house นั่นแหละ

เรื่องของเรื่องคือ Air India มีเส้นทางบิน บอมเบย์ นาริตะ โดยแวะ ดอนเมือง ตามกฏของญี่ปุ่นในสมัยนั้น ถ้ามีสายการบินต่างชาติที่มาลงญี่ปุ่น จะต้องมีแอร์โฮสเตสญี่ปุ่น อย่างน้อย 1 คน ต่อไฟล์ท

ผมก็ใช้บริการ 3 สายการบินตอนนั้น เวลากลับบ้าน ก็มี เจ้าป้า คาร์เธ่ย์ และ แอร์อินเดีย นี่แหละ

ด้วยหน้าตาที่ตี๋ๆ แอร์ฯญี่ปุ่นนางนึงบนไฟล์ท Air India นึกว่าผมเป็นคนญี่ปุ่น ก็เลยบริการกันเต็มที่ ขนาดที่ได้แลกไลน์ไอดีกัน เอ๊ย ไม่ใช่ นางให้เบอร์โรงแรมที่พักในกทม.ที่สายการบินให้ลูกเรือพัก ตอนนั้นจำได้ว่าเป็นโรงแรมแม่น้ำ อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ผมมาทราบทีหลังว่าที่นางให้บริการผมดีมากเป็นพิเศษบนไฟล์ทที่ทำให้รู้จักกันเพราะว่า ผมเป็นคนโซนหน้าตี๋คนเดียวบนไฟล์ทนั้น นางเลยโมเมกับเพื่อนร่วมงานว่าเป็นคนญี่ปุ่น เพื่อจะได้ไม่ต้องไปบริการผู้โดยสารอินเดีย (ที่นางบอกว่าเยอะสิ่ง – demanding)

พอถึงดอนเมืองก็แยกย้าย วันต่อมาผมก็โทรฯไปเสนอตัวพานางเที่ยวกทม. ก็เลยติดต่อกันมาเรื่อย นางก็มีเพื่อนที่เป็นแอร์ฯสายการบิน Japan Airline ที่พักต่อเครื่องที่บอมเบย์ ก็แนะนำต่อๆกันกับเพื่อนก๊วนวิศวกรนำเข้าของผม

พอจังหวะเหมาะ ที่ฝั่งสาวๆแอร์ฯพักต่อเครื่องพอสมควร ฝั่งผมมีคนกลับจากออฟชอร์พอ ก็นัดมาปาร์ตี้กัน ก็ไม่มีอะไรไปมากกว่านั้น (หรือมีแต่ผมอาจจะไม่รู้ 555)

ถ้าปะเหมาะโอกาสวนไปเวียนมาตรงกัน ผมก็นัดนางดินเนอร์ที่บอมเบย์ หรือ ที่กทม. แล้วแต่ตารางงาน ตารางออฟชอร์ และ พักร้อนผมจะอำนวย ไปตรงกับ ตรางรางงานนางที่ต้องพักต่อเครื่องที่บอมเบย์ หรือ กทม.

ส่วนมากเราก็จะอยู่ฝั่งกันราวๆ 1 สัปดาห์ +/- นิดหน่อย แล้ววงจรเดิมก็เริ่มใหม่ หิ้วกระเป๋า ไป heli-base อีกรอบ

อย่างที่บอกตอนต้นครับ

ที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านมาแล้ว กลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้ ชีวิตมี ใช้ให้คุ้ม ที่เล่าให้ฟังก็เป็นส่วนเสี้ยวเล็กๆ ในช่วงชีวิตงานสนามเมื่อเริ่มต้นอาชีพในวงการฯนี้

หลายๆเรื่องที่เล่าให้ฟัง เอาเยี่ยงได้ แต่อย่าเอาอย่าง

เรื่องที่ไม่ดี ไม่น่าทำ ก็อย่าเอาอย่าง เล่าให้ฟังเป็นอุทาหรณ์ว่าอย่าทำตามนะ 555

เรื่องที่ดี เป็นเยี่ยง ก็ให้เอาตัวอย่างแล้วทำตาม

โปรดใช้วิจารณญาน ในการเสพข้อมูล (ฮา) …

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------