Concession 101 – สังคมมักมองว่า สัมปทาน เป็นเรื่อง ซับซ้อน เข้าใจยาก เป็นเรื่องกฏหมาย เป็นเรื่องของรัฐ ปวดหัว เลยพาลไม่พยายามทำความเข้าใจ
วันนี้จะมาเล่าให้ฟังแบบง่ายๆครับ
Concession 101
สัมปทาน คือ สัญญาประเภทหนึ่ง ที่ นาย ก. ให้เช่าสิทธิ์เหนือทรัพย์หรือเหนือสิทธิ์ของตน ให้ นายข. เอาไปทำมาหากิน ภายในเวลา หรือ เงื่อนไข หนึ่งๆ โดยแบ่งผลประโยชน์ตามที่ตกลงกัน … เรื่องมันก็มีเท่านี้เองครับ
ทรัพย์หรือสิทธิ์ที่ว่านี้ อาจจะจับต้องได้ หรือ ไม่ได้ เช่น ที่ดิน ตึก คลื่นสัญญาวิทยุ อากาศบริสุทธิ์ กระแสลม แสงแดด น้ำบาดาล ปลา ฯลฯ
เมื่อสัมปทานเป็น “สัญญา” ประเภทหนึ่ง ก็ไปเปิดกฏหมายเพ่งเลยครับว่า สัญญา คือ อะไร เกิดได้อย่างไร บังคับใช้ อย่างไร หมดอายุอย่างไร ต่ออายุอย่างไร ฯลฯ
ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล
โดยมากเราใช้คำนี้ในความหมายสัญญาระหว่าง รัฐ กับ เอกชน ในการจัดทำประโยชน์เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ
แต่เพื่อให้เราคิดแบบไม่ลำเอียง ผมอยากให้เรามองเป็นสัญญาระหว่าง นาย ก. กับ นาย ข. จะดีกว่า
ถ้าเราเป็น นาย ก. เราต้องการอะไร นอกจากรายได้ที่นาย ข. เอามาแบ่งให้
อย่างแรกเลย คือ นาย ก. ต้องการการลงทุนเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้ โยกย้ายไม่ได้ หรือ ที่เรียกว่า fix tangible asset เช่น ถนน สะพาน บ่อน้ำมัน ตึก สนามบิน รันเวย์ เสาคลื่นสัญญาณ ท่าเรือ ฯลฯ เพราะว่า เมื่อหมดระยะเวลาเช่า นาย ข. ขนเอาของเหล่านี้กลับไปไม่ได้
-------------------------------------------------------
ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ
กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น
อย่างที่สอง จ้างงานคนของ นาย ก. ไม่ว่าจะคนในพื้นที่นั้นๆ หรือ คนนอกพื้นที่ เพราะนาย ก. จะได้ไม่ต้องควักตังค์เลี้ยงดู หรือ หางานให้ทำ
อย่างที่สาม ใช้สินค้าและบริการที่ นาย ก. เป็นคนผลิตหรือให้บริการ นาย ก. จะได้กำไรอีกทางหนึ่งด้วย
อย่างที่สี่ องค์ความรู้ เพราะเมื่อหมดสัญญา นาย ก. และ พวกพ้องจะได้ทำเองได้
สิ่งที่ นาย ก. ควรปักธง คือ นาย ข. หิ้วเงินมา เอาองค์ความรู้มา ที่เหลือให้มาเอาจากนาย ก. ให้หมดเลย ทำมาหากินภายในในช่วงเวลาที่ตกลงกัน แบ่งผลประโยชน์กัน แล้วจับมือร่ำลากัน
ทีนี้ให้เราถอดหมวกนาย ก. ออก เอาหมวก นาย ข. ใส่
เหลือ L สองชุด M 1 ชุด นะคร๊าบ
นาย ข. ต้องการอะไร เมื่อ หิ้วเงิน และ องค์ความรู้มาทำสัญญากับ นาย ก.
อย่างแรกเลย … ใช้เงินลงทุนในรูปของสินทรัพย์ที่จับต้องได้ โยกย้ายไม่ได้ ให้น้อยที่สุด และ ใช้เงินในรูปของค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด ถ้าเลี่ยงไม่ได้ต้องลงทุนรูปของสินทรัพย์ที่จับต้องได้ โยกย้ายไม่ได้ ให้รีบลงทุนตั้นแต่ปีแรกๆ
ตัวอย่างง่ายๆ ถ้าต้องสร้างโรงงาน และ ซื้อเครื่องจักร สร้างให้น้อยที่สุด สร้างให้เร็วๆตั้งแต่เริ่มแรกของสัญญา เพราะ ในทางบัญชี จะได้รีบตัดค่าเสื่อมราคาไปเป็นค่าใช้จ่ายได้หมดเหลือศูนย์ก่อนหมดสัญญาสัมปทาน
ส่วนอุปกรณ์ต่างๆถ้าจะซื้อก็ต้องรีบซื้อ ด้วยเหตุผลการตัดค่าเสื่อมราคาให้หมดเช่นกัน แต่ถ้าไปกลางๆหรือปลายๆระยะเวลาสัมปทานแล้ว นาย ข. ไม่ควรซื้อ เช่าเอาดีกว่า
ส่วนเรื่อง จ้างคน ซื้อ สินค่า และ บริการ นั้น มีหลายประเภท หลายระดับ นาย ข. ต้องดีดลูกคิดเอาเองว่า ใช้ของนาย ก. หรือ ขนเอามาจากบ้าน นาย ข. แบบไหนถูกกว่า
เรื่ององค์ความรู้นั้น นาย ข. ต้องหวง เพราะเป็นท่าไม้ตายที่ใช้ต่อรองกับนาย ก.
หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)
ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้
ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)
เอาเข้าจริง เหตุผล 2 ข้อ ที่นาย ก. ไม่ทำเอง ต้องยอมให้นาย ข. มาเหมารับทำนั้น ก็เพราะ 1. ไม่มีทุน 2. ทำไม่เป็น นี่แหละ
Why concession ทำไมต้องสัมปทาน … ทำเองไม่ได้หรือไง
ดังนั้น ถ้า นาย ข. อุบ องค์ความรู้ไว้ นาย ก. ก็ไม่มีวันเตะก้นนาย ข. ได้ เป็นหมัดเด็ดที่นาย ข. เอาไว้ต่อรองเพื่อต่อสัญญาสัมปทาน และ ต่อรองแบ่งปันผลประโยชน์ให้เข้าทาง นาย ข. ให้ได้มากที่สุด
ตังอย่างง่ายๆ เราไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตรถยนต์ และ ฮาร์ดิส รายใหญ่ เราเป็นผู้รับจ้างประกอบรถยนต์ และ ฮาร์ดิส รายใหญ่ ต่างหาก เพราะวันนี้ เอาเข้าจริง เราก็ผลิตอุปรณ์ที่เป็นหัวใจของรถยนต์ และ ฮาร์ดิสเองไม่ได้ … แบบนี้เป็นต้น
เงินทุน ก็คือ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำๆ ซึ่งใครๆก็หาได้ เข้าถึงได้ ดังนั้น เงื่อนไขเดียวที่ นาย ข. มี เหนือ นาย ก. คือ องค์ความรู้ ครับ ซึ่งคงความรู้ในที่นี้ไม่ใช่องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิศกรรมศาสตร์ และ เทคโนโลยี เท่านั้น แต่หมายถึง องค์ความรู้ความเชี่ยชาญทางการบริการจัดการด้วย เช่น บริหารจัดการอย่างไร ให้ได้คุณภาพออกมาดีที่สุดโดยใช้เงินน้อยที่สุด
เมื่อหมดสัญญาแล้ว นาย ก. มีทางเลือกอะไรบ้าง
1.ต่อสัญญา โดยมากก็ไม่ฟรีครับ นาย ข. ต้องลงทุนสร้าง เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้ โยกย้ายไม่ได้ เพิ่ม ใช้สินค้าและบริการของนาย ก. เพิ่ม จ้างคนของ นาย ก. เพิ่ม แลกกับการที่ได้สัมปทานต่อ นาย ข. ก็ต้องไปดีดลูกคิดแหละ ว่าคุ้มป่ะ
วิธีแรกนี่ เหมาะกับ(แต่ก็ไม่เสมอไป)กิจการที่ต้องลงทุนใหม่ๆ เพิ่มสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้รายได้เข้ามาต่อเนื่อง และ/หรือ ถ่ายทอดองค์ความรู้ยาก เช่น สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ สื่อสารดาวเทียม คือ ต้องขุดหลุมปิโตรเลียมไปเรื่อยๆ ต้อง ยิงดาวเทียมไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้รายได้ เพราะ ทั้งหลุม และ ดาวเทียม มีอายุการใช้งานจำกัด
2.ทำเอง วิธีนี้เหมาะกับ กิจการที่ลงทุนครั้งเดียว ทีเหลือเก็บกินไปยาวๆ เช่น สะพาน ทางด่วน ที่พักอาศัย รถไฟฟ้า พูดง่ายๆ คือ ไม่มี CAPEX (ลงทุน) เพิ่ม มีแต่ OPEX (ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน) และ ไม่ต้องใช้องค์ความรู้อะไรมากในการดำเนินการ
3.หาเจ้าใหม่มาทำต่อ อาจจะโดยประมูล หรือ เจรจาเป็นรายๆไป นาย ก. เลือกวิธีนี้เมื่อต่อลงต่อสัญญากับนาย ข. ไม่ได้ และ ไม่อยากทำเอง
โดยมาก เมื่อใกล้ๆ หมดสัญญาสัปทาน นาย ก. ที่ดี โปร่งใส จะต้อง เอาทั้ง 3 ทางเลือก นี้มาวางบนโต๊ะ และ ทำการศึกษาความคุ้มค่าทุกทางเลือก ซึ่งถ้าในกรณีรัฐ ความคุ้มค่าที่ว่านี้จะไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว
ทำไมผมถึงเอาเรื่องนี้มาคุยยืดยาว
เดี๋ยวนี้มีสื่อออกมาเยอะที่โจมตีกันไปมาเรื่องสัมปทาน จึงอยากติดอาวุธทางปัญญาอย่างกลางๆให้รู้จักคำว่าสัมปทาน
เช่น เมื่อหมดสัมปทานแล้ว นาย ก. ควรเอามาทำเองไหม
ผมมองว่าไม่มีคำตอบที่ถูกต้องเสมอไปว่า นาย ก. ควรเอามาทำเอง ควรประมูลใหม่ หรือ ควรต่อสัญญากับเจ้าเดิม ความสำคัญมันอยู่ที่ นาย ก. ต้อง ประเมินทุกทางเลือก อย่างโปร่งใส เป็นธรรม และ ทำให้มีการแข่งขัน ครับ
ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ
(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)
https://raka.is/r/qlzXR | https://raka.is/r/gP7GV |