2006 meters a day – New world record by CNPC – พี่จีนเราสร้างสถิติใหม่อีกแล้วครับ ขุด 2006 เมตร ใน 24 ชม. เท่ากับเฉลี่ยความเร็ว 83.58 เมตร ต่อ ชม.
หลุมชื่อ Ha13-H9 อยู่ในพื้นที่ Tarim Oilfield ใน Shaya County of Aksu Prefecture (Prefecture ก็ประมาณจังหวัดของเรา), Xinjiang (มณฑลซินเจียง ก็หลายๆจังหวัดมารวมกันมัง) Uygur Autonomous (เขตปกครองตนเองอุยกูร์ – ที่มีข่าวละเมิดสิทธิมนุษยชนนั่นแหละครับ)
ผมหาข้อมูลทางเทคนิคไม่ได้เลยว่ารายละเอียดของหลุมเป็นอย่างไร ซึ่งก็ไม่แปลก ส่วนมากเรื่องพวกนี้เป็นความลับครับ ไม่ออกมาทางกูเกิลแน่นอน
เท่าที่หาข้อมูลได้มีแค่ว่าใช้เทคโนโลยี 3 อย่างเป็นหลักในความสำเร็จครั้งนี้ คือ ก้านเจาะชนิดแข็งแรงพิเศษ น้ำโคลนที่ทนอุณหภมูิได้สูงถึง 220 องศาเซลเซียส และ เครื่องมือหยั่งธรณีที่ทำงานได้ที่ความลึกมากๆ
งั้นเปลี่ยนแนวดีกว่า เป็นว่าวันนี้จะคุยให้ฟังว่า เราวัดความเร็วในการขุดอย่างไร มีกี่แบบ แล้ว 83.58 เมตร ต่อ ชม. มันคืออีหยั่งฟ่ะ
ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล
แฟนเว็บไซด์ที่เป็น drilling engineer กดปิด window ไปเลยก็ได้ครับ มันเป็น ปฐม ก. กา ครับ น่าจะเดาได้ว่า 83.58 เมตร ต่อ ชม. มันคืออะไร … ไม่มีอะไรใหม่สำหรับพวกคุณ 555
2006 meters a day – New world record by CNPC
เอาจากเบสิก วัดกันหยาบๆที่สุดก่อนเลย
Well construction rate
คิดง่ายๆว่า ขับรถผ่านหน้างานก่อสร้างคอนโดฯทุกวันตอนเช้าไปทำงาน
หน้าพื้นที่ทำงาน มีป้ายเขียนข้อมูลการก่อสร้าง สร้างอะไร สร้างโดย บ.อะไร บลาๆ แล้วก็จะมีข้อมูลว่า แล้วเสร็จในกี่วัน คอนโดฯกี่ชั้น สูงกี่เมตร สมมุติว่า 30 ชั้น สูง 100 เมตร เสร็จใน 400 วัน
-------------------------------------------------------
ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ
กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น
นับจากก่อนวันที่เขาถมที่กั้นรั้ว 1 วัน เป็นวันที่ 0 ความสูงก็ 0 เมตร ขับรถผ่านทุกวัน เราก็วัดความสูงไปเรื่อยๆ ทุกๆวัน
เราจะพบว่า บางช่วงสัปดาห์ก็มีความสูงเพิ่มทุกวัน บางช่วงสัปดาห์ความสูงนิ่งไม่ขยับ ถ้าเราจะเอาความสูง ณ.วันที่เราสังเกตุได้หารจำนวนวันที่เราขับรถผ่าน ก็จะเป็นอัตราเพิ่มความสูง หรือ construction rate เราจะพบว่า construction rate ไม่เท่ากันสักวัน
แต่ถ้าสร้างเสร็จแล้ว ใช้เวลาไป 500 วัน แปลว่า construction rate คำนวนวันสุดท้าย คือ 100/500 = 0.2 ม. ต่อ วัน แต่มันเป็นทศนิยม ก็เลยไม่นิยมเรียนกัน ส่วนมากก็จะพูดว่า 5 วัน ต่อ เมตร
หลุมเราก็เหมือนกันครับ แทนที่จะสร้างสูงขึ้นเหนือพื้นดิน เราก็สร้างลงไปในพื้นดินแทน
Flat time vs. drilling time
การขุดหลุมลงใต้ดินของเราไม่เหมือนสร้างคอนโดฯขึ้นไปบนฟ้าตรงนี้แหละครับ คือ ช่วงไหนนิ่ง ก็นิ่งนาน ช่วงไหนจะเพิ่มความลึกก็เพิ่มกันยาวๆ
เหลือ L สองชุด M 1 ชุด นะคร๊าบ
ข้างบนนั้น เราเรียก Depth Time Curve หรือ ย่อๆว่า DTC จากรูปจะเห็นว่า ช่วงไหนขุด เส้นก็จะชันๆ เราเรียก drilling time (กล่องสีแดงใหญ่ๆในรูปข้างบน) ช่วงไหน ไม่ขุด เช่น ถอนก้าน เอาท่อกรุลง ทำซีเมนต์ เอาก้านลงเพื่อเจาะต่อ เส้นก็จะแบนราบๆ คือ วันเพิ่มแต่ความลึกไม่เพิ่ม เราเรียก flate time (กล่องสีแดงเล็กๆในรูปข้างบน)
ถ้าเราลากเส้นประ จากวันที่ 0 ความลึกที่ 0 เมตร ลงไปแตะที่จุดใดๆ ความชันนั่นก็คือ construction rate ซึ่ง จะไม่เท่ากันสักวัน ดูที่เส้นประ 3 สี ในรูปข้างล่างซิครับ
On bottom ROP
ROP คือ Rate Of Penetration ความเร็วในการขุดนั่นแหละ พูดง่ายๆ On bottom ROP ก็คือ ความเร็วที่เราเห็นบนเข็มไมล์บนหน้าปัทม์รถยนต์นั่นและครับ คือ ตอนที่รถวิ่งจริงๆ หรือ ตอนที่เราเจาะกันจริงๆ เราวัดได้จากวัดอัตราการเคลื่อนที่ของ traveling block หรือ hook ที่ต่ำลงเรื่อยๆ ตอนเราขุด
Travelling Block
IADC ROP
รถแข่งเวลาวิ่งรอบสนามนี่ต้องเข้าหลุมเพื่อเปลี่ยนยางและโน้นนี่ แล้ววิ่งต่อใช่ไหมครับ เวลาเราเจาะหลุมก็เหมือนกัน เราเจาะไป 1 stand (3 ก้านเจาะ) เราก็ต้องหยุดเจาะแป๊บเพื่อเอาอีกอีก 1 stand มาต่อ เราเรียกเวลาที่เราใช้ต่อก้านเจาะว่า connection time
ถ้าเราเอาระยะทางทั้งหมดที่ขุดได้หารเวลาที่รวมการต่อก้านเจาะ เราจะเรียกว่า ROP with connection หรือ IADC ROP
หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)
ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้
ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)
IADC คือ International Association of Drilling Contractor แปลเป็นไทยง่ายๆคือ สมาคมผู้ให้เช่าแท่นเจาะสากล
สมมุติตัวเลขให้เข้าใจง่ายๆ
ขุดไป 1 stand 30 ม. ใช้เวลา ขุด 1 ช.ม. on bottom ROP = 30 ม. ต่อ ช.ม. ตรงไปตรงมา
พอขุดเสร็จ ใช้เวลาต่อก้าน 10 นาที IADC ROP = 30/(1 ช.ม. + 10 นาที) ได้เท่าไรไปกดเครื่องคิดเลขเอาเอง
แล้วจะใช้อัตราเร็วไหนดี
คำตอบ คือ มันขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการจะประเมินอะไร ถ้าสังเกตุดีๆการวัดมันวัดตั้งแต่เล็กไปใหญ่
ถ้าจะประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการเจาะ (อัตราการไหล น้ำหนักที่กดหัวเจาะ ความเร็วรอบ) หรือ ประเมินคุณภาพหัวเจาะ เราก็ต้องใช้ on bottom ROP
WOB Weight On Bit – Concept and calculation
ถ้าเราต้องการจะดูประสิทธิภาพคนทางงาน driller + floor man (Roughneck) ประกอบด้วย ก็ต้องดูที่ IADC ROP
ถ้าถ้าจะวัดภาพใหญ่จริงๆของผู้จัดการแผนก(คือผมนี่แหละ 555) ว่าบริหารจัดการได้ดีแค่ไหน ก็ต้องวัด construction rate คือ รวมมันทุกอย่างเข้าด้วยกัน
ข้อสังเกตุ
โดยธรรมชาติ ยิ่งขุดลึก flat time ยิ่งมาก เพราะกว่าจะถอนก้าน กว่าจะเอาท่อกรุลงหลุม บลาๆ มันก็ใช้เวลานานจริงไหม ความชั้นช่วง drilling time ก็จะน้อย (ลาดเอียงเยอะ) เพราะหินยิ่งแข็ง ก็ขุดช้า
เวลาคำนวนค่าเฉลี่ย เราไม่เอามาบวกกันหารจำนวนแบบที่ทำกันปกติ เราจะเอาผลรวมระยะที่ขุดได้หารผลรวมเวลาที่ใช้ เรียกภาษาคณิตศาสตร์ว่า เฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก (weighted average)
ROP ขึ้นกับ อะไรหลายๆอย่าง ทั้งที่ควบคุมได้ เช่น การเลือกหัวเจาะ รุปแบบพลังงานที่ใช้ (ปั๊มน้ำโคลน หมุนก้าน แรงกด) ชนิดและองค์ประกอบน้ำโคลน ฯลฯ และ ส่วนที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ชนิด ประเภท คุณสมบัติ ของชั้นหิน ชนิด ประเภท คุณสมบัติ และ แรงดัน ของของไหลที่อยู่ในชั้นหิน ฯลฯ
Flat time แยกเป็น 2 ส่วนเช่นกัน คือ ควบคุบได้ เช่น ทักษะคน อุปกรณ์ ที่ใช้ และ กระบวนการที่ใช้ (personnel, equipment and procedure) และ ควบคุมไม่ได้ ก็เหมือน ROP แหละ คือ อะไรๆที่เกี่ยวกับชั้นหิน
2006 meters a day คือ อีหยัง
ถ้าคิดเป็น on bottom ROP เท่ากับเฉลี่ยความเร็ว 83.58 เมตร ต่อ ชม. ซึ่งก็ไม่ได้เร็วอะไร แต่ที่ทำได้ 2006 เมตร ใน 1 วัน นี่ ชั้นหินต้องอำนวยด้วย คือ ทั้งแรงดันของไหลในชั้นหิน ชนิด และ คุณสมบัติ ชั้นหิน คือ ไม่ต้องลงท่อกรุคั่น
แต่ถ้าเป็น IADP ROP แปลว่า on bottom ROP ต้องเร็วกว่า 83.58 เมตร ต่อ ชม. จริงไหมครับ เพราะตัวหารที่เป็นเวลามันน้อยกว่า เนื่องจากหักเวลาต่อก้านเจาะออกไปจาก 24 ชม.
คิดไวๆ 2006 เมตร จับหาร 30 เมตร ก็ 67 stands เท่ากับ ต่อก้าน 66 ครั้ง สมมุติว่า ต่อก้านใช้เวลาครั้งล่ะ 7.5 นาที ก็ 8.25 ชม. แปลว่า เวลาที่หัวเจาะ on bottom ขุดจริงๆ เหลือ 24 – 8.25 = 15.75 ชม.
on bottom ROP ก็น่าจะประมาณ 2006/15.75 = 127 เมตร ต่อ ชม.
เนื่องจาก 1 stand ยาว 30 เมตร แปลว่า 1 stand ใช้เวลา 30 x 60/127 = 14.17 นาที … แปลว่าถ้าเราจิบกาแฟยืนมองที่ปากหลุม 1 stand ค่อยๆไหลลงไปหมดใน 14 นาที ซึ่งก็ไม่ได้แปลกอะไรนะ อ่าวไทยเราตอนขุดชั้น 8.5″ ก็เห็นกันบ่อยๆ ไม่แปลกตาอะไร
เนื่องจากเวลาวัดกันแค่ 1 วัน well construction rate ก็จะเท่ากับ IADC ROP นั่นแหละ
ดังนั้น ถ้าให้ผมเดานะ 2006 meters a day คือ IADP ROP ที่ประมาณ 84 เมตร ต่อ ชม. หรือ on bottom ROP ที่ประมาณ 127 เมตร ต่อ ชม.
ความเห็นส่วนตัวผมนะ ผมไม่ค่อยตื่นเต้นกับความเร็วในการขุดประมาณนี้เท่าไร เพราะมันเป็นไปได้ แต่ที่ผมตื่นเต้น คือ ชั้นหินที่มีคุณสมบัติเหมาะที่จะให้ขุดได้ยาวๆแบบนี้รวดเดียวมากกว่าครับ
ชมวีดีโอเพิ่มเติม
อ่านเพิ่มเติม
https://interestingengineering.com/energy/china-world-record-drilling-exploration
https://english.www.gov.cn/news/202408/08/content_WS66b42351c6d0868f4e8e9cb3.html
ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ
(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)
https://raka.is/r/qlzXR | https://raka.is/r/gP7GV |