ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Well insurance ครอบคลุมอะไรบ้าง อะไรจ่าย อะไรไม่จ่าย

Well insurance ครอบคลุมอะไรบ้าง อะไรจ่าย อะไรไม่จ่าย – ผมได้เอกสารมาชุดหนึ่งเกี่ยวกับการทำประกันหลุมเจาะปิโตรเลียม คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับพวกเราครับ

หลุมเจาะปิโตรเลียมก็ถือเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่ง เหมือน บ้าน หรือ รถยนต์ ที่ถ้าจำเป็นต้องบริการจัดการความเสี่ยงถ้าเกิดความเสียหายขึ้นในช่วงต่างๆของอายุสินทรัพย์ การประกันภัยเป็น 1 ในหลายๆวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management)

รายละเอียดของการประกันหลุมเจาะปิโตรเลียมมีมากมาย ผมคงไม่เอามาเล่าหมด ขอหยิบเอาประเด็นสำคัญๆมาเล่าก็แล้วกันครับ

Well insurance
Deepwater Horizon

Well insurance

ครอบคลุมอะไรบ้าง อะไรจ่าย อะไรไม่จ่าย

การประกันภัยหลุมอยู่ในหมวด “การประกันภัยเพิ่มเติมพิเศษ” ของผู้ประกอบการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ขอย่อว่า บ.น้ำมัน)

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

นั่นหมายความว่า โดยปกติแล้ว บ.น้ำมัน ทำการประกันหลักๆอยู่ล้านแปดรายการ เรื่องการประกันหลุมเจาะของเรา เป็นติ่งหนึ่งของการประกันทั้งหมดภายใต้การประกันภัยจากการดำเนินการ (operation insurance)

จุดประสงค์หลัก – เราประกัน กรณี “ไม่สามารถควบคุมหลุมได้” (well out of control)

ประเภทของหลุมที่เราประกัน

  1. Drilling well – หลุมที่กำลังขุด
  2. Producing well – หลุมที่กำลังผลิต
  3. Shut in well (suspended well –
    temporary plugged and abandon – P&A) – หลุมที่ปิดไว้ชั่วคราว
  4. Workover well – หลุมที่กำลังซ่อม
  5. Permanent P&A well – หลุมที่ปิดถาวร

หลุมแต่ล่ะประเภทมีความเสี่ยงแตกต่างกันไป บางบ.น้ำมันอาจจะไม่ทำประกันหลุมทุกประเภท เช่น ถ้าคิดว่า หลุมที่ปิดภาวรไปแล้วความเสี่ยงต่ำ ก็ไม่ต้องทำประกัน เกิดอะไรขึ้นก็รับผิดชอบเอง เป็นต้น

ความคุ้มครอง (coverage)

  1. well control cost
    1.1 จ้าง well control specialist
    1.2 Fire fighting
    1.3 ขุด relief well (หลุมควบคุมแรงดัน)
    1.4 อื่นๆ
  2. Re-drilling cost ค่าใช้จ่ายขุดหลุมใหม่ ในกรณีหลุมเดิมเสียหาย ขุดต่อ หรือ ใช้งานต่อไม่ได้
  3. Seepage and pollution, clean-up and containment cost กำจัดมลภาวะ สิ่งปนเปื้อน ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบ

Wait and Weight Method – Well Control

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

โดยที่รวมค่าใช้จ่ายทั้ง 3 ประเภทนี้แล้ว ต้องไม่เกินทุนประกันที่ทำไว้ ก็อารมณ์เดียวกับประกันชีวิต ประกันสุภาพแหละครับ แยกย่อยออกเป็นหลายหมวดหมู่ที่เอาประกันได้ แต่รวมแล้วก็ต้องไม่เกินทุนประกัน

สัญญาคุ้มครองพ่วง

นั่นว่าถึงเรื่องหลักๆ เหมือนเนื้อหาในกรมธรรม์หลัก ที่เล่าต่อนี้ก็เหมือนสัญญาคุ้มครองพ่วงนั้นแหละ (endorsements) เสริมเป็นทางเลือกเข้ามา ถ้าบ.น้ำมันเห็นว่า คุ้มค่าเบี้ยก็จะทำ เช่น …

  1. การควบคุมหลุมหากเกิด underground blowout (คือ ของไหลความดันสูงไม่ได้พุ่งขึ้นมาปากหลุม แต่ไหลเข้าไปในชั้นหินที่แข็งแรงน้อยกว่า)
  2. ค่าใช้จ่ายในการทำให้หลุมปลอดภัยจากความเสียหายของโครงสร้างหรืออุปกรณ์ที่อยู่เหนือปากหลุมจากภัยที่ระบุในกรมธรรม์ (making well safe) ยกตัวอย่าง เช่น พายุพัดเอาทำให้ platform เสียหาย ต้องเอาแท่นเจาะฯเข้าไปปิดหลุมชั่วคราว (temporary P&A) เทียบเคียงก็เหมือนค่ารักษาพยาบาลจากโรคที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์นั่นแหละครับ
  3. CCC (Care, Custody or Control) ประกันทรัพย์สินที่เกี่ยวของในงานของบ. ข้อนี้ไม่มีอะไร แค่ประกันทรัพย์สินในรายการที่กำหนดตกลงกันไว้ธรรมดาๆ
  4. Extended re-drilling and restoration คล้ายข้อ 2 ครับ แต่แทนที่จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ทำหลุมให้ปลอดภัยอันเนื่องจากภัยที่ระบุ ก็เป็นค่าขุดหลุมใหม่จากภัยที่ระบุ รายการนี้เทียบกับคนไม่ได้ เพราะคนตายแล้วตายเลย แต่พอเทียบกับ รถ หรือ บ้านได้ ครับ ก็คือ ซื้อเปลี่ยน สร้างเปลี่ยน ให้ใหม่จากภัยที่กำหนด
  5. อื่นๆ … เนื่องจากเป็นสัญญาพ่วงเพิ่มเติมจากสัญญาหลัก ก็แล้วแต่ว่า บ.ประกันจะคิดสินค้าอะไรมาเพิ่ม ถ้าที่เรารู้จักกันดีเรื่องใกล้ๆตัว ก็เช่น โควิด เจอจ่ายจบ 5 โรคร้าย จ่ายชดเชยรายวัน อะไรพวกนี้

ไม่คุ้มครองอะไรบ้าง (Exclusion)

  1. Loss of petroleum while well out control – การสูญเสียปิโตรเลียมที่คาดว่าจะผลิตได้ระหว่าง well out of control อันนี้ก็ปกติครับ ประกันภัยรถยนต์ ก็ไม่คุ้มครองรายได้ที่หายไปจากการใช้รถเช่นกัน
  2. Loss / damage of reservoir ความเสียหายของแหล่งกักเก็บ นี่ก็ปกติครับ ไม่มีใครจะรับประกันตรงนี้ได้ เหมือนรับประกันความเชื่อถือของลูกค้าเรา ระหว่างเราเอารถเข้าซ่อมน่ะครับ ใครจะไปรับประกันได้
  3. อุปกรณ์ติดหรือสละทิ้งในหลุม ที่ไม่อยู่ในช่วงของ well out of control อันนี้ก็แหง๋ล่ะครับ แต่ถ้าติดหรือสละทิ้งในช่วงที่ well out of control ก็คุ้มครอง แต่ถ้าอุปกรณ์ติดหรือสละทิ้งในหลุมเนื่องจากกรณีภัยอื่นๆ เช่น พายุ แผ่นดินไหว ไฟไหม้ หรือ อื่นๆ ที่กำหนดไว้ ก็จะได้รับการคุ้มครองจากกรรมธรรม์อีกประเภทที่เรียกว่า การประกันทรัพย์สินเสียหาย (Property Damage – PD)
  4. อื่นๆ – ก็พวกดอกจันกับตัวหนังสือเล็กๆที่ต้องใช้แว่นขยายอ่าน น่ะครับ

วิธีคิดทุนประกัน

  1. 3 – 5 เท่าของ AFE (Authorization for Expenditure – งบต่อหลุมนั่นแหละ)
  2. ประมาณคสามเสียหายสูงสุด … ว้าว บรรเจิดเลย อะ อนะทุนประกันสูง เบี้ยประกันก็มโหฬารไปด้วย

กรณีต้องเจาะหลุมใหม่ จ่ายแค่ไหน

  1. จ่ายแค่ขุดไปถึงความลึกในแนวดิ่งเดิม (VD Vertical Depth เดิม ก่อนเกิด well out of control) ก็แหง๋ล่ะ ซ่อมให้ แต่ไม่ได้เปลี่ยนล้อแมกซ์ให้สักหน่อยถ้าของเดิมก่อนชนไม่มีล้อแมกซ์ 555
  2. ขุดลงไปในแหล่งกักเก็บเดิม อันนี้ชัวร์ ไม่ใช่ขุดไปแล้วทำท่าจะไม่เจอ หรือ ผลิตจนจะเกลี้ยง แล้ว พอเกิดเหตุ จะไปขุดแหล่งใหม่ คงไม่มีใครจ่าย
  3. ต้องเจาะใหม่ภายใน 540 วัน (ราวๆ 18 เดือน) นับจากวันเกิดเหตุ (ไม่ใช่วันที่ควบคุมเหตุได้) หรือ วันที่กรรมธรรม์หมดอายุ แล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นทีหลัง และ บ.น้ำมันต้องทำประกันที่ให้หลุมที่จะเจาะใหม่นี้เพิ่มเติมด้วย

แท่นเจาะไหม้ไปด้วย หรือ จมลงก้นทะเล จ่ายป่ะ

  1. ปกติสัญญาเช่าแท่นเจาะฯจะให้แต่ล่ะฝ่ายดูแลทรัพย์สินของตัวเอง หรือ ที่เรียกว่า knock for knock แปลว่า ตัวใครตัวมันจ้าาาาาาาา นอกจากนั้น กรรมธรรม์จำพวกนี้จะไม่คุ้มครองแท่นขุดเจาะฯอยู่แล้วครับ

นอกจากนี้ ก่อนทำประกัน บ.ประกันมักจะตรวจสอบ (audit) มาตราฐานการทำงานของเราในด้านต่างๆก่อน เพื่อประกอบการคำนวนนำเสนอเบี้ยประกัน

ก็อารมณ์คล้ายๆกัยการตรวจสุขภาพก่อนนำเสนอเบี้ยประกันนั่นแหละครับ ดูแลสุภาพไม่ดี กินเหล้า ไม่ออกกำลังกาย บลาๆ ก็มีความเสี่ยงสูง เบี้ยประกันก็สูงตาม

วิศวกร คนทำงาน ตำแหน่งสำคัญๆ ผ่านการฝึกอบรมที่จำเป็นไหม ใบอนุญาติหมดอายุไปยัง แผนการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไง (ERP – Emergency Response Plan) ซ้อมถี่บ่อยแค่ไหน ฯลฯ

Review IWCF well control course ประเภทใบรับรอง เนื้อหา การสอบ

เอาล่ะครับ พอหอมปากหอมคอประมาณนี้ครับ

ขอบคุณ และ เครดิตข้อมูล หน่วยงานประกันภัย ปตท.สผ.

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------