ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

5 driller nightmares ฝันร้ายของชาวขุดเจาะหลุมปิโตรเลียม

5 driller nightmares ฝันร้ายของเราชาวขุดเจาะหลุมปิโตรเลียม – ทุกอาชีพ ทุกงาน มีอุปสรรคที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นทั้งนั้น หรือ ที่เรียกว่า “ฝันร้าย”

… อาชีพพวกผมก็ไม่ต่างกัน

แต่ล่ะคนก็อาจจะมีฝันร้ายที่แตกต่างกันไป หรือ แม้แต่การจัดเรียงลำดับก็อาจจะแตกต่างกันไปด้วย ขึ้นกับประสบการณ์ของแต่ล่ะคน

วันนี้จะเล่า่ให้ฟังว่า สำหรับผม ฝันร้ายเหล่านั้นมีอะไรบ้าง

  1. ก้านเจาะติด รูหัวเจาะตัน (drill string stuck above jar/ no jar in string with plug nozzles or pack off)
  2. ท่อกรุติด (casing stuck, shoe plugged or pack off)
  3. ช่องว่างระหว่างท่อกรุกับผนังหลุมตันขณะทำซีเมนต์ (casing pack off while cement)
  4. สูญเสียการไหลเวียนของน้ำโคลนโดยสิ้นเชิง (total loss circulation)
  5. Well Control
5 driller nightmares

5 driller nightmares

ฝันร้ายของชาวขุดเจาะหลุมปิโตรเลียม

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ผมคงไม่ลงรายละเอียดหรอกนะครับว่า แต่ล่ะฝันร้ายมัน 1. เกิดขึ้นได้อย่างไร และ 2. จะแก้อย่างไร เพราะถ้าจะทำอย่างนั้น ก็คงเขียนเป็นตำราได้เป็นเล่มๆเลยทีเดียวในแต่ล่ะหัวข้อ

เอาว่าผมจะอธิบายคร่าวๆว่า ฝันร้ายแต่ล่ะอย่างมันเป็นอย่างไร

ก้านเจาะติด รูหัวเจาะตัน (drill string stuck above jar/ no jar in string with plug nozzles or pack off)

หัวข้อแรกนี้แบบเบาะๆ … ก้านเจาะติด หมายถึงการที่เราดึงก้านเจาะไม่ขึ้น มันติดอะไรสักอย่างในหลุม

มันเป็นอะไรที่เกิดขึ้นได้ เรื่องปกติๆที่คาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นบ้างไรบ้าง เรามีวิธีสารพัดที่แก้ไข ขึ้นกับว่า ใน BHA เรามีอะไร หลุม ลึก เอียง ใหญ่ คด แค่ไหน ฯลฯ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

BHA links … รวม links เกี่ยวกับ BHA (Bottom Hole Assembly)

ตราบเท่าที่เรายังสามารถหมุนก้านได้ ปั๊มน้ำโคลนลงไปแล้วได้น้ำโคลนกลับคืนมา ที่เหลือมันก็เรื่องจิ๊บๆ เราก็รับมือกับปัญหาไปตามลักษณะหน้างาน

ที่จะเข้าข่ายฝันร้าย ก็คือเมื่อรูที่หัวเจาะตัน หรือ ช่องว่างระหว่างก้านเจาะกับผนังหลุมตัน (annulus packed off) เราไม่สามารถไหลเวียนน้ำโคลนได้ นี่เข้าขั้นวิกฤติเลย เหมือน เราจะรักษาคนไข้อย่างไร ถ้าระบบเลือดคนไข้ไม่ไหลเวียน มีอะไรไปอุดเส้นเลือดแดงใหญ่

ที่ซวยเพิ่มขึ้นไปอีก คือ จุดที่ก้านเจาะติด อยู่เหนือ jar หรือ เราไม่มี jar อยู่ในก้านเจาะ ทำให้เราไม่สามารถใช้ jar ช่วยส่งแรงกระชากลงไปถึงก้านเจาะ (ณ. จุดที่ติด) แรงๆได้

Jar คือ อะไร ตามอ่านได้จากลิงค์นี้ครับ …

Jar BHA Bottom Hole Assembly พระเอกในยามก้านติด

ท่อกรุติด (casing stuck, shoe plugged or pack off)

ท่อกรุติดนี่ก็ปัญหาปวดตับไม่ต่างจากก้านเจาะติด แต่ที่ผมจัดอันดับให้ฝันร้ายขั้นกว่า ก็เพราะว่า

  1. ท่อกรุมันบอบบาง ทั้วตัวท่อ และ เกลียว ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทนแรงดึงแรงกด แรงบิด มากมายอะไร
  2. แถมยังไม่มี jar สำหรับท่อกรุ (ไม่มีใครทำขาย)
  3. ไม่มีหัวเจาะอยู่ที่ก้นหลุม มีแต่ตูดมนๆที่เรียกว่า shoe ที่มี รู 1 รู เหมือนรูตูดน่ะ แล้วถ้ารูนี้ตัน มีอะไรไปอุดอีกก็เอวัง
  4. ช่องว่างระหว่างท่อกรุกับผนังหลุม (annulus) ก็แคบนิดเดียว
  5. จะหมุนท่อกรุก็ไม่ได้ เดี๋ยวเกลียวขาด อย่างที่บอกในข้อ 1 มันบอบบาง ไหนจะ centralizer เป็นสิบๆตัวที่ติดเอาไว้ที่ท่อกรุอีกล่ะ ถ้าขืนหมุนท่อกรุก็ป่นปี้กันหมด

ซีเมนต์ไม่เกาะท่อกรุ ปัญหาปวดตับ … Poor or No Cement bond

ช่องว่างระหว่างท่อกรุกับผนังหลุมตันขณะทำซีเมนต์ (casing pack off while cement)

การทำงานกับท่อกรุเนี้ยมันต้องลุ้นเยอะ ด้วยเหตุผล 5 ข้อ ที่กล่าวไปแล้วในหัวข้อที่แล้ว

ปัจจัยหลักสำคัญตอนที่เราทำซีเมนต์ยึดท่อกรุกับผนังหลุมเนี้ย เราต้องชัวร์ล้านเปอร์เซ็นต์ว่า รูตูด (shoe) และ ช่องว่างระหว่างท่อกรุกับผนังหลุม (annulus) ไม่อุดตัน ปัั๊มของเหลวผ่านครบวงจรได้สะดวกโยธิน

ดังนั้น ก่อนเราจะเริ่มทำซีเมนต์หลุม เราจะปั๊มแล้วปั๊มอีก ปั๊มด้วยอัตราการไหลต่างๆกัน (สมมุติอัตราไหลไว้หลายสถานการณ์) เป็นเวลานานพอสมควร เพื่อให้ชัวร์ติงกระดิ่งแมวว่า พอปั๊มเอาซีเมนต์ลงไป ไม่มีอะไรอุดตันระหว่างที่ยังซีเมนต์ไม่เสร็จ

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

Murphy law … If it can go wrong, it will.

แต่มันก็มีวันดีคืนซวย ที่โลกไม่ได้หมุนอย่างที่เราคาดหวัง เกิดอะไรอุดตันสักอย่าง ไม่ที่ shoe ก็ที่่ annulus

ซีเมนต์ที่เราปั๊มลงไปก็จะอยู่ผิดที่ผิดทาง แปลว่า ซวย ถ้าเราแก้ปัญหาไม่ทัน ซีเมนต์มันก็จะแข็งตัว ก็เอวัง โดนด่ากันตั้งแต่ยอดปิระมิด ไปยัน กรรมกรวัดท่อ

สูญเสียการไหลเวียนของน้ำโคลนโดยสิ้นเชิง (total loss circulation)

Balloon Loss Circulation Fracture Kick Blowout อะไรเป็นอะไรกันแน่

เราคุยเรื่องนี้ไปหลายต่อหลายหน โดยเฉพาะตอนที่เราคุยเรื่องการหลับตาขุด (blind drilling) ทั้ง 3 EP

Blind drilling EP1 หลับตาขุด คือ อะไร เสี่ยงอย่างไร และ มีกี่วิธี

Blind drilling EP2 หลับตาขุด คือ อะไร เสี่ยงอย่างไร และ มีกี่วิธี

Blind Drilling EP3 … มีกี่วิธี เราขุดกันอย่างไร

แต่ที่ผมยกให้เป็นรองอันดับหนึ่งของความปวดตับ และ ฝันร้ายก็ คือ สถานการณ์ที่ เราสูญเสียน้ำโคลน และ เรามีก๊าซแทรกเข้ามาในหลุมพร้อมๆกัน ที่เราเรียกว่า kick-loss

เมื่อเราเสียน้ำโคลนแบบสิ้นเชิ้ง ระดับน้ำโคลนในหลุมจะลดลง ทำให้ความดันเนื่องจากน้ำหนักน้ำโคลนที่เราใช้กดกของไหลเอาไว้ลดลง จนถึงระดับหนึ่งที่ความดันของไหลในชั้นหินมากกกว่าความดันเนื่องจากน้ำหนักน้ำโคลนในหลุม ของไหลความดันสูงกว่าก็จะไหลเขามาในหลุม ที่เราเรียกว่า influx และ จะปวดตับยิ่งถ้า influx เป็นก๊าซ – นั่นเป็นวงจรแรก

วงจรต่อมา – พอมีของไหล ไหลเข้ามา ไม่ว่าของไหลนั่นจะเป็นอะไร ระดับน้ำโคลนก็จะสูงขึ้น จนความดันของน้ำโคลนก้นหลุมมากพอจะกดของไหลไม่ให้ไหลเข้ามาเพิ่ม แต่ในขณะเดียวกัน ชั้นหินที่มันรั่ว มันก็จะถ่ายเอาน้ำโคลนไหลออกไป จนระดับน้ำโคลนลดต่ำลงถึงจุดที่กดความดันของไหลในชั้นหินไม่อยู่ ของไหลในชั้นหินก็จะไหลเข้ามา วนๆแบบนี้เรื่อยไป จนน้ำโคลนหายหมด (หายไปในชั้นหินที่รั่ว loss zone) แล้วทั้งหลุมก็จะมีแต่ของไหลในชั้นหิน

ถ้าเราปิดปากหลุม influx ก็จะดันน้ำโคลนเข้าไปในชั้นหินที่รั่วอยู่ก่อนหน้า (ไม่ขึ้นมาปากหลุม)

ดังนั้น เราจะทำตามตำรา การควบคุมหลุม (well control) โดยการปั๊มน้ำโคลนผ่านหัวเจาะเอา influx ขึ้นมาปล่อยทิ้งปากหลุม แล้ว เพิ่มนน.น้ำโคลน (kill mud weight) ปั๊มลงไปอีกรอบ เพื่อคุมสภาพหลุมไม่ได้ เพราะการไหลเวียนมันขาดตอน มันไปรั่วออกข้างผนังหลุม ที่ใดที่หนึ่ง

เปรียบเหมือนระบบไหลเวียนเลือดของเรา “รั่ว” หลอดเลือดเรารั่ว เราจะให้ยา ปรับสภาพเลือด อย่างไร ทั้งยา ทั้ง ความดัน ก็หายไปในจุดที่หลอดเลือดมันรั่ว ยามันไม่ถึงจุดของร่างกายที่ต้องการยา และ ยาไม่ไหลกลับมาที่หัวใจ (mud pump) อย่างที่ควรจะเป็น

Well Control

Well Control แบบเบื้องต้น ง่ายๆ ชิลๆ ตามผมมาครับ เข้าใจได้ไม่ยาก

ผมจะไม่ย้อนล่ะว่า well control คือ อะไร

โดยตัว well control เอง เรามีมาตราฐาน มีวิธีการรับมือกับมันอย่างเป็นระบบ มีการฝึก อบรม และ ซ้อม กัน ชนิดที่เรียกว่า จริงจังที่สุด เป็นมาตราฐานที่สุดของวิชาชีพเรา

แต่ ที่ผมยกมาเป็นสุดยอดฝันร้ายก็อีตรงที ถ้ามันเกิดขึ้นร่วมกับฝันร้ายอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้นนี่ซิ พระเดชพระคุณ เช่น ขณะที่ก้านติด รูหัวเจาะตัน หรือ annulus (ก้านเจาะ – ผนังหลุม) ตัน หรือ ที่เรียกว่า pack off

ขณะเดียวกัน ก็มีก๊าซปุดๆแทรกเข้ามาในหลุม เราแทบจะทำอะไรไม่ได้เลย

สรุป

ปัญหาหน้างาน ยังไงๆก็ไม่สามารถเอามาเขียนเป็นตำราได้หมด ถ้าหลักๆ อาจจะพอไหว เช่น well control, pipe stuck, loss circulation ฯลฯ

ถ้าปัญหาต่างๆเกิดขึ้นโดดๆ อุปกรณ์ สภาพหลุม เครื่องไม้เครื่องมือ ครบตามตำรา เด็กจบใหม่ที่ไหนมันก็เปิดตำราแก้ปัญหาได้ ส่วนจะแก้ได้บางไม่ได้บ้าง ผิดบ้างถูกบ้าง ก็ว่าไป

แต่ถ้าปัญหาต่างๆมันเกิดพร้อมๆกัน ไม่ต้อง 3 ปัญหา เอาแค่ 2 ปัญาพร้อมๆกัน ก็จะบ้าตายอยู่แล้ว ยิ่ง ถ้าอุปกรณ์ สภาพหลุม เครื่องไม้ เครื่องมือ ไม่พร้อม ไม่ครบ ตามตำรา นี่ซิ ประสาทรัปทานเอาง่ายๆ

อย่างไรก็ตาม อยาจะให้หลักการพื้นฐานข้อหนึ่งในการแก้ปัญหาแบบหน้างาน

listen to the well แปลว่า ฟังสิ่งที่หลุมมันบอกเรา แล้วแก้ปัญหาไปตามหน้างาน เหมือนรักษาโควิดน่ะ สังเกตุอาการคนไข้ แล้วรักษาไปตามอาการ เช่น ปั๊มน้ำโคลนลงไปช้าๆแล้วลองหมุนก้านเจาะ แรงบิดมากขึ้น (ฝืด) แปลว่า อะไร สันณิฐานว่าอะไร ฟังสิ่งที่หลุมมันบอกเรา

แก้แบบ ก. (ให้ยา ก.) แล้วหลุมตอบสนองอย่างไร ถ้าตอบสนองไปทางที่เราตั้งสมมุติฐานไว้ แปลว่า เราให้ยาถูก แบบนี้เป็นต้น

Physic – เน้นย้ำๆอีกที วิธีข้างบน เราจะใช้ได้ดี เราจะต้องแน่นปั๊กในหลักฟิสิกส์ต่างๆที่เกี่ยวกับปัญหาของเรา ไม่ใช่ trial and error ตามดวง

เราต้องมีสมมุติฐาน มีตัวแบบ ในใจ ในสมอง ที่ทีมงานเห็นพ้อง ก่อนที่จะลงมือ และ ต้องเอาผลลัพท์ที่ได้กลับมาวิเคราะห์ ก่อนจะลองทำอะไรขั้นต่อไป

ท้ายสุด คือ สติ ครับ ไม่สติแตก ไม่เสียสติ ควบคุมสติให้อยู่ จัดลำดับความสำคัญให้ถูก อย่าให้ฝ่ายบริหารจัดการ หรือ สื่อ เข้ามาแทรกแซง

ใครจัดลำดับอย่างไร ผมไม่สน สำหรับผม ผมจัดลำดับความสำคัญแบบนี้ครับ ในการแก้ปัญหา

  1. คนบนแท่นเจาะของผมต้องปลอดภัย (people)
  2. หลุมต้องปลอดภัย (well)
  3. แหล่งกักเก็บต้องปลอดภัย (reservoir)

จบเสียที ราตรีสวัสดิ์ครับ

ผมคงอวยพรให้ฝันดี ปราศจากฝันร้ายไม่ได้ เพราะมันฝืนกฏธรรมชาติ ที่ผมพอทำได้ คือ ขอให้คุณมีสติเมื่อเผชิญกับฝันร้าย

🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

One comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------