ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

STOIIP Stock Tank Oil Initially In Place คืออะไร

STOIIP Stock Tank Oil Initially In Place คืออะไร – หลังไมค์ถามมาว่า ค่า Bo ในสูตร STOIIP มันคืออะไร …

ฮ่วย … ผมเป็นวิศวกรหลุมเจาะนะครับ STOIIP เนี้ย เป็นธุระปะปังของ วิศวกรแหล่งกักเก็บโดยเฉพาะเลย

แต่เอาเถอะ อาศัยว่าผมเคยเป็นวิศวกร wireline พอมีความรู้ formation evaluation (หยั่งธรณี) + ครูพักลักจำมาได้บ้าง ก็พอตอบได้เล็กน้อย เอาเท่าที่รู้แบบเป็ดๆล่ะกัน วิศวกรแหล่งกักเก็บตัวจริงผ่านมาเจอ ก็ชี้แนะได้นะครับว่าตรงไหนผมอธิบายผิดไป

STOIIP

Stock Tank Oil Initially In Place

STOIIP ชื่อแปลกๆนี่ เราชอบออกเสียงกันว่า “สะ – โต – อิบ” มันย่อมาจาก Stock Tank Oil Initially In Place … แปลเป็นไทยอีกทอด คือ ปริมาตรน้ำมันที่อยู่ในถัง(บนผิวโลก)ที่อยู่แหล่งกักเก็บในตอนแรก

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ไม่ต้องกังวลถ้าคุณฟังแล้วงง ผมได้ยินตอนแรกก็งง … ขออธิบายแบบบ้านๆก็แล้วกัน

  • เรารู้ว่า น้ำมัน เมื่ออยู่ภายใต้ความดัน และ อุณหภูมิ ที่ต่างกัน ปริมาตร มันจะต่างกัน ตาม กฏของเทอร์โมไดนามวย เอ๊ย ไดนามิก ที่ว่า P1V1/T1 = P2V2/T2
  • คนทั่วไป ไม่อยากรู้หรอกครับว่า มีน้ำมันอยู่ใต้ดินเท่าไร คนทั่วไป อยากรู้ว่า ไอ้ที่มีอยู่ในแหล่งกักเก็บใต้ดินน่ะ เมื่อเอามาอยู่ข้างบนดินที่ ความดัน และ อุณภูมิ มาตราฐาน (60F and 14.7 psia) จะมีปริมาตรเท่าไร จะได้เอามาคูณราคาขาย ได้เป็นเงิน สะดวกๆ ไงครับ

ไอ้เรานักเทคนิคน่ะ คำนวนได้อยู่แล้วว่าในแหล่งกักเก็บเราจะมีน้ำมันอยู่ปริมาตรเท่าไร ซึ่งผมก็ได้เคยอธิบายแบบละเอียดยิบไปแล้วในตอน “สมการหาน้ำมันตัวพ่อ Archie’s Law มาทำความรู้จักกันครับ” ไปอ่านย้อนหลังฟื้นความเข้าใจกันได้ที่ลิงค์ข้างล่างบทความนี้ครับ

ส่วน STOIIP นี้ จะเป็นการต่อยอดจาก ปริมาตรน้ำมันที่เรารู้ว่าอยู่ในแหล่งกักเก็บเท่าไรนั้น แปลงให้มาเป็น ปริมาตรน้ำมันที่อยู่ในถังที่ ความดัน และ อุณภูมิ มาตราฐาน ง่ายนิดเดียว เราก็เอาค่าๆหนึ่งที่เราตั้งชื่อให้มันว่า Oil volume factor (Bo) เอาไปหาร ปริมาตรของน้ำมันที่เรารู้ว่าอยู่ในแหล่งกักเก็บ เราก็จะได้ ปริมาตรน้ำมันที่อยู่ในถังที่ ความดัน และ อุณภูมิ มาตราฐาน

Bo คือ อัตราส่วนปริมาตรของน้ำมันที่อยู่ในแหล่งกักเก็บต่อปริมาตรของน้ำมันที่อยู่บนผิวโลกที่ ความดัน และ อุณหภูมิ มาตราฐาน หน่วยของมันคือ reservoir barrel / stock tank barrel ก็คือ ไม่มีหน่วยนั่นแหละ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

เช่น Bo = 1.3 แปลว่า น้ำมัน 1.3 บาเรลในแหล่งกักเก็บพอเอาขึ้นมาบนผิวโลกที่ ความดัน และ อุณหภูมิ มาตราฐาน แล้ว มันจะเหลือแค่ 1 บาเรล

สมมุติว่า จากบทความ Archie’s Law ผมคำนวนได้ว่ามีน้ำมันที่อยู่ในแหล่งกักเก็บใต้ดิน 1.2 ล้าน บาเรล ถ้า Bo = 1.2 แปลว่า ถ้าผมเอาเจ้า 1.2 ล้านบาเรลที่มีในวันแรก (initial) ที่ผมค้นพบ ขึ้นมาใส่ถัง (stock tank) ที่ ความดัน และ อุณหภูมิ มาตราฐาน ผมจะมีน้ำมันเอาไปขาย = 1.2 ล้านบาเรล / 1.2 = 1 ล้านบาเรล

จะสังเกตุว่า Bo จะมากกว่า 1 หรือ น้อยกว่า 1 ขึ้นกับว่า ในน้ำมันนั้นมีก๊าซอยู่เยอะไหม และ น้ำมันนั้นมี compressibility (ความสามารถในการหดตัวเนื่องจากโดนอัดความดัน) มากน้อยแค่ไหน

ความดันใต้ดินเยอะ ปริมาตรก็น้อย พอเอาขึ้นมาที่ผิวโลก ความดันผิวโลกน้อยปริมาตรก็เยอะ (สมมุติให้อุณภูมิคงที่) แต่ พอความดันที่ผิวโลกน้อย ก๊าซที่ละลายอยู่ในน้ำมันก็ปุดๆออกไป ปริมาณเนื้อน้ำมันก็เลยน้อยลง มันจะเจ๊า ไม่เจ๊า ชดเชยอะไรกันได้แค่ไหน สุทธิมันก็จะสะท้อนออกมาที่ค่า Bo นี่แหละ

นั่นคือที่มาของคำว่า Stock Tank Oil Initially In Place หรือ STOIIP

Volumetric Method To Estimate Volume In Place and Reserves

STOIIP

ถามผมต่อซิว่า แล้ว Bo เนี้ย ผมไปเสกมาจากไหน แฮ่ๆ ผมก็หมุน (สมัยนี้กด หรือ ไลน์) โทรศัพท์ไปถามวิศวกรแหล่งกักเก็บอะดิ 555 🙂

ผมก็ไปลักจำแอบถามมาอีกว่า วิศกรแหล่งกักเก็บ เขารู้ได้ไง

วิธีแรกเลย เขาเทียบเคียงกับค่า Bo ของน้ำมันที่อยู่ในแหล่งใกล้เคียงที่เชื่อมต่อแหล่งที่เรากำลังศึกษา วิธีนี้เราเรียกเป็นศัพท์วิชาการเท่ๆว่า analogy แปลเป็นภาษาบ้านๆ คือ ก๊อปมานั่นแหละ 555 🙂

ถ้าไม่มีแหล่งข้างเคียงให้ก๊อปจะทำไง

ก็ต้องเก็บตัวอย่างน้ำมันเอาไปเข้าห้องทดลอง แปลงความดัน และ อุณหภูมิ หลายๆค่า แล้วพล๊อตค่า PVT ที่ค่าต่างๆออกมา ก็จะได้ค่า Bo ถ้ามีเครื่องมือครบ เด็กมัธยมก็ทำได้ครับ ไม่ยากอะไร ก็ทำแล็บ PVT ธรรมดาๆนี่แหละ

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ส่วนวิธีเก็บตัวอย่างก็ทำได้ 2 วิธี คือ เอาเครื่องมือ wireline ลงไปดูดจ๊วบๆเก็บจากแหล่งกักเก็บใต้ดินแล้วสาวขึ้นมา หรือ เก็บที่ถังแยกของไหล (separator) ตอนทำการทดสอบการไหล (well test)

ไงครับ พอเข้าใจ STOIIP หรือยังครับ

แล้ว GIIP ล่ะ คืออะไร เดี๋ยวก็มีคนถามอีก มันก็หลักการเดียวกันครับ GIIP ก็คือ Gas Initially In Place

ความหมายและหลักการเดียวกันเดี๊ยะ แค่เปลี่ยนจาก Oil volume factor (Bo) เป็น Gas volume factor (Bg) แทนที่หน่วยจะเป็นบาเรล ก็เป็น ลูกบาก์ศฟุต เท่านั้นเอง

สงสัยอีกซิว่า ทำไม ก๊าซ ไม่มี ST (Stock Tank) นำหน้า อ้าว ก็เราไม่ได้เอาก๊าซใส่ถัง(เปิด)กองๆเป็นสต๊อกแบบน้ำมันนี่นา จริงป่ะ

เอาแค่นี้ไปก่อนนะครับ เดี๋ยววิศวกรแหล่งกักเก็บตัวจริงจะค้อนผมเอา 😛

พ่อน้องเฟิร์นและน้องภัทร

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------