ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Life in Oil Camp EP1 ชีวิตในแคมป์คนงานน้ำมัน

Life in Oil Camp EP1 ชีวิตในแคมป์คนงานน้ำมัน – ทุกๆอาชีพก็มีสถานที่อาศัยและที่ทำงานที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป เช่น ครู พยาบาล ทหาร ตำรวจ คนงานน้ำมันก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น เราก็มีที่อยู่ที่กินที่ทำงานที่แตกต่างไปจากอาชีพอื่นๆ

ผมเคยคุยให้ฟังแล้วว่า ชีวิตบนแท่นขุดเจาะเราทำอะไรกันบ้างในรอบวันๆ 24 ชม.

การทำงานบนแท่นขุดเจาะนอกชายฝั่งใน 24 ชม.

ในชีวิตนี้ ผมผ่านชีวิตในแคมป์คนงานน้ำมัน (oil camp) มา 3 ครั้ง (รวมครั้งนี้) ครั้งแรกในทะเลทรายประเทศตะวันออกกลาง ครั้งที่สอง ป่าชนบทในประเทศอินเดีย และ ครั้งนี้ ทะเลทรายซาฮารา อัฟริกาเหนือ

2 ครั้งแรกอยู่ใน oil camp ฐานะคนของบ. service ส่วนครั้งนี้ ในฐานะ คนบ.น้ำมัน

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

Work & Life in desert

วันนี้จะมาเล่าให้ฟังว่า เรากินอยู่หลับนอน และ ทำงานกันอย่างไรใน oil camp

Life In Oil Camp EP1
An Oil Camp in Saudi Arabia (ภาพตัวอย่าง)

Life In Oil Camp EP1

เพื่อความที่ผมจะได้ไม่งงๆเอง ผมจะแบ่งเป็นหมวดๆตามนี้นะครับ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ที่อยู่ – life in oil camp ep1

โดยมากเราเรียกส่วนนี้ว่า accom ย่อมาจาก accommodation หรือ LQ ย่อมาจาก Living Quarter ในบทความนี้ผมจะเรียกว่า LQ ล่ะกัน พิมพ์ง่ายดี

ที่นอนใน LQ จะมีทั้งแบบถาวร เป็นตึก (โดยมากชั้นเดียว อย่างมากก็ 2 ชั้น) หรือ แบบ เป็นตู้คอนเทนเนอร์ เจาะหน้าต่างติดแอร์ หรือ ผสมๆกัน ขนาดห้อง ขนาดตู้ ก็มักจะมีลำดับชั้นลดหลั่นกันไป ก็แหม นิ้วมือคนเรายังไม่เท่ากันเลย

ก็ไล่ไปตามลำดับว่าเป็น ขึ้นกับความอาวุโส และ บ.น้ำมันหรือ บ. service ในบางที่ แยกแคมป์ของ บ.น้ำมัน กับ บ.service เป็นคนล่ะแคมป์ด้วยซ้ำ

อุปกรณ์ในห้องพักก็ไม่มากมายอะไๆ มาตราฐานก็แอร์ เครื่องทำความร้อน โต๊ะทำงาน เตียง โซฟา ตู้เย็นเล็กๆ กาน้ำร้อน พัดลม ส่วนจะเล็กใหญ่ ใหม่เก่า ก็ว่าไปตามลำดับอาวุโส และ ประเภทของบ.อย่างที่ว่าไป

เสื้อผ้าก็มีคนเอาไปซักให้ ยกเว้นบางแคมแ์ที่เราต้องซักกางเกงใน และ ถุงเท้าเอง แต่ที่ทุกแคมป์เหมือนกัน คือ เสื้อผ้าที่ส่งไปซักแล้ว จะกลับมาในสภาพที่ไม่ยืดก็หด เพราะซักกันด้วยอุณหภูมิที่ไม่เป็นมิตรกับเนื้อผ้า ดังนั้น เวลาจะเอาเสื้อผ้าไปใช้ในแคมป์ก็ต้องเอาชนิดที่ เดนตายหน่อยๆ ที่ ภาษาทหารเรียกว่า จำหน่ายได้ แทงสูญได้ หรือ dispensable นั่นแหละ

ที่กิน

ที่กินเป็นส่วนหนึ่งของ LQ ส่วนจะเรียกว่าอะไรก็หลากหลายแล้วแต่ที่ไหนจะตั้งชื่อกันไป เช่น kitchen, galley, restaurant, mess hall ฯลฯ โดยมากก็อยู่ในระยะที่เดินไปได้จาก ที่อยู่ที่พัก

บางแคมป์ก็แบ่งที่กินตามอาวุโส และ ประเภทของบ. บางแคมป์ไม่แบ่ง แต่แบ่งโซน กับ ประเภทอาหารให้เลือก

ส่วนอาหารก็แน่นอนว่าส่วนใหญ่ก็ต้องตอบโจทย์คนท้องที่เห็นหลัก และ มีเมนูให้ expat ที่อนุมานว่าเป็น ฝรั่ง ส่วน แขก จีน ยุ่น กระเหรี่ยง และ อื่นๆ ก็ปรับตัวปรับลิ้นเอา เพราะเป็นส่วนน้อย

อาหารก็จะมีให้ 3 มื้อ คนที่จะออกไปทำงานที่หลุมเจาะ (ไม่ใช่แท่นเจาะนะ) เช่น well service, site construction, road maintenance และ อื่นๆอีกมาก ก็สามารถขอใส่กล่องมื้อเที่ยงหิ้วไปได้

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ตอนผมอยู่แคมป์น้ำมันที่อินเดีย กล่องมื้อเที่ยงคลาสิก แต่ผมชอบ คือ ใช้ปิ่นโตครับ ลดขยะได้ดี กินเสร็จไม่ต้องล้าง ตอนเย็นก็หิ้วกลับมาวางไว้หลังครัว

ที่ทำงาน

โดยมากจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ใหญ่ๆครับ

กลุ่มแรก – ทำงานใน สนง. เป็นหลัก ก็จะทำงานในอาคาร หรือ ตู้ๆ ที่อยู่ใน LQ นั่นแหละครับ เช่น ผมในภารกิจปัจจุบัน วันๆก็จะ เดินวนๆเป็น 3 เหลี่ยม คือ ที่พัก-ที่ทำงาน-ห้องอาหาร วนๆไป 28 วัน

กลุ่มที่ 2 – ทำงานที่โรงงาน เอ๊ะ มีโรงงานอะไร

คืองี้ ปิโตรเลียมที่ผลิตได้จากหลายๆหลุมในบริเวณๆนั้น จะถูกนำมารวมๆกันไว้ที่ใดที่หนึ่ง แล้วปรับสภาพ แยกประเภทปิโตรเลียม (ก๊าซ น้ำมัน คอนเดนเสท) แยกน้ำ แยกสิ่งเจือปน พูดง่ายๆ คือ ทำให้อยู่ในสภาพที่ส่งลงท่อไปขายได้ หรือ ปั๊มใส่ถังหลังรถบรรทุก แล้วเอาไปขายได้

แต่ล่ะที่ เราเรียกแตกต่างกันไป แต่มันก็คือโรงงานที่ทำหน้าที่เดียวกัน บางทีเรียก central processing, production station, processing facility จะอะไรก็แล้วแต่ หน้าที่มันก็อย่างเดียวกันอย่างที่อธิบายไปแล้ว

เมื่อมีโรงงาน มันก็ต้องมีคนงานใช่ไหมล่ะครับ ก็กลุ่มที่ 2 นี่แหละ กินกับนอน ก็อยู่ที่ LQ กินมื้อเช้าเสร็จ ก็จะมีรถบัสไปพร้อมกัน หรือ บางแคมป์ก็ขับรถกันไปเอง ก็แล้วแต่ระบบการบริหารจัดการของแต่ล่ะที่ ตอนเย็นก็กลับมานอน LQ

เนื่องจากเป็นโรงงานที่ทำงาน 24 ชม. ดังนั้น ก็จะต้องมีพนักงานส่วนหนึ่งที่ต้องประจำที่โรงงาน บางแคมป์จะมีครัวมีที่พักไว้จำนวนหนึ่งที่โรงงาน แคมป์แรกที่ผมอยู่ จำได้ลางๆว่า มี LQ ต่างหากเลยด้วยสำหรับโรงงานนี่ เพราะมันใหญ่ และ มีคนเยอะมาก

ส่วนแท่นเจาะน้ำมันนั้น ไม่อยู่ในส่วนบทความตอนนี้ครับ คนที่ทำงานแท่นเจาะน้ำมัน จะกินอยู่ทำงานที่แท่นเจาะของใครของมันเลยครับ แต่ล่ะแท่นเจาะจะมีแคมป์เล็กๆเป็นของตัวเอง ก็ตู้ๆนั่่นแหละครับ ย้ายแท่นไปเจาะหลุมถัดไปก็หอบหิ้วตู้ไปด้วย 555

กลุ่มที่ 3 – กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มงาน well service, civil and construction คือ พวกที่ต้องออกไปทำงานที่หลุม ที่ถนน วางท่อ ก่อสร้าง บลาๆ

กลุ่มนี้โดยมากจะใช้ โรงงานของกลุ่มที่ 2 เป็น สำนักงานสนาม เป็น workshop แล้ว ขับรถตระเวนออกไปทำงานหน้างานทั้งวัน กลุ่มนี้ต้องหิ้วปิ่นโตเที่ยงออกไปกันเอง เพราะโดยมากจะไปกันไกลๆ ขับกลับมากินมื้อเที่ยงที่ LQ หรือ ที่โรงงาน ไม่ทัน

ส่งนวันเวลาทำงาน ก็แล้วแต่แคมป์เลยครับ กำหนดเอาเองตามวัฒนธรรมประเพณี และ ภูมิอากาศ ของพื้นที่ท้องถิ่นนั้นๆ

ยกตัวอย่างภารกิจปัจจุบันของผม …

เริ่มงานเจ็ดโมงเช้า พักเที่ยง 2 ชม. เลิกงาน ทุ่มนึง ทำงานทุกวันไม่มี ส. อา. แต่สำหรับงานที่ต้องติดต่อคนนอกแคมป์ ก็ต้องวันเวลาราชการของประเทศเจ้าบ้าน ซึ่ง วันทำงานราชการ คือ อา. – พฤ. ส่วน ศ. กับ ส. เป็นวันหยุด เริ่มงาน 0800 – 1200 พัก 1 ชม. เลิกงาน 1700

ดังนั้น ผมก็มักจะตื่นตี 5 ทำธุระส่วนตัว vdo call กลับบ้านรอบแรกของวัน (เวลาที่นั่นช้ากว่าที่นี่ 6 ชม. 6 โมงเช้าที่นั่นตรงกับที่นี่ก็เที่ยงวัน) เดินออกไปทานมื้อเช้าที่ห้องอาหาร หรือ ทำกินในห้องนั้นแหละ แล้วเดินไปทำงาน เที่ยงก็เดินจากที่ทำงาน ไปห้องอาหาร ทานมื้อเที่ยง กลับมาห้อง vdo call กลับบ้าน อีกรอบ บ่ายหนึ่งที่นั่นก็ตรงกับที่นี่ทุ่มนึง อาจจะหลับสักงีบ บ่ายสองก็เดินไปที่ทำงาน จนถึงทุ่ม ก็เดินกลับที่พัก … วนไปๆ 28 วัน

เนื่องจากผมเป็นคนไม่ทานมื้อเย็น ก็ไม่เดินไปโรงอาหารหลังเลิกงาน กิจกรรมหลังเลิกงานจึงแล้วแต่อารมณ์เลย บางวันก็ไปชู๊ตบาส วิ่ง เดิน ว่ายน้ำ ปิงปอง เปตอง ดูซีรี่ย์ อ่านนิยาย แล้วแต่อยากทำอะไร

ช่วงหลังเลิกงาน เป็นเวลาที่เหงาที่สุด เพราะจะตรงกับที่นี่หลังตีหนึ่ง เพื่อนๆ และ ครอบครัว ก็หลับกันหมดแล้ว

บางคนที่ผมรู้จัก มีอาชีพเสริม หรือ งานอดิเรกที่ทำออนไลน์ได้ ก็ทำตอนหลังเลิกงาน ก็มีครับ อย่างผมนี่ บางคืน ผมก็นั่งเขียนบทความลงเว็บให้พวกเราอ่าน หรือ โพสต์เล่าโน้นนี่ลงในเพจ

สันทนาการ

นี่ก็แล้วแต่ความอู้ฟูของบ.น้ำมันเจ้าของแคมป์ และ ราคาน้ำมัน 555 🙂 เรียกว่าเป็นเมืองย่อมๆกลางทะเลทราย หรือ ในป่า เลยก็ได้

สนามฟุตบอล เทนนิส บาส ลู่วิ่ง เปตอง คอร์ดแบด สระว่ายน้ำ ฟิตเนส ปิงปอง หมากกระดาน ห้องสมุด ห้องฉายหนัง บอลโต๊ะ โต๊ะสนุกฯ (พูล / บิลเลียด) ไพ่ หมากกระดาน เกมบอร์ด ฯลฯ

เอาว่า ถ้าแคมป์ไฮโซๆช่วงราคาน้ำมันดีๆนี่ไม่มีเหงาครับ ขึ้นกับว่าเราจะออกมาใช้ ออกมาเล่นกับเพื่อนๆ หรือ จะนั่งจับจู๋ เอ๊ย จับเจ่าเหงาอยู่ในห้อง นั่นก็สิทธิ์ของเรา

สมัยนี้ อินเตอร์เน็ทเป็นภาคบังคับไปแล้ว ทุกแคมป์จะมีไวไฟให้บริการ ส่วนมากจะฟรี จึงอาจจะไม่มีคนมาใช้บริการ ห้องสมุด กับ โรงหนัง มากนัก สองอย่างนี้มักโดนยุบไป นอกจากจะช่วงกีฬาที่ต้องเชียร์กันเป็นกลุ่มถึงจะมันส์ เช่น บอล คริกเกต รักบี้ อเมริกันฟุตบอล มวย เป็นต้น ก็จะมีห้องเฉพาะกิจ เอาเครื่องฉายมาฉายให้เชียร์กีฬาตามฤดูกาล

ส่งท้าย

Three things are necessary for the salvation of man: to know what he ought to believe; to know what he ought to desire; and to know what he ought to do. (St. Thomas Aquinas)

นักบุญโทมัสกล่าวไว้นานแล้วว่า (แปลแบบไทยๆ) มี 3 อย่างที่เราต้องตระหนักรู้ 1. สิ่งที่เราเชื่อ 2. สิ่งที่เราปราถนา และ 3. สิ่งที่เราต้องทำ …

ทั้ง 3 อย่างนี้ หลายต่อหลายครั้งในชีวิตเรา ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน … อย่างที่ผมบอกไว้ก่อนหน้านี้ว่า If you can’t avoid it, (find ways to) enjoy it – ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็(หาทางที่จะ)มีความสุขกับมัน

ชีวิตแคมป์คนงานน้ำมันแบบนี้ เราอาจไม่ได้ต้องการจะอยู่แบบนี้ตลอดไป แต่ถ้า ณ.ตอนนี้ ชีวิตแบบนี้มันตอบโจทย์ของเราได้ (โดยเฉพาะโจทย์ทางการเงิน 555) ก็ต้องหาทางที่จะมีความสุขไปกับมัน เพราะ …

… ในที่สุดแล้ว (การใช้)ชีวิตไม่ใช่การหยุดรอให้พายุฝนพัดผ่านไป แต่(การใช้)ชีวิต คือ การเรียนรู้ที่จะเต้นรำท่ามกลางสายฝน …

… “Life isn’t about waiting for the storm to pass…It’s about learning to dance in the rain.” ― Vivian Greene

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------