ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Work Life in Desert ชีวิตและการทำงานในทะเลทราย

Work Life in Desert ชีวิตและการทำงานในทะเลทราย – ไม่รู้ว่าเป็นเวรเป็นกรรมอะไรของอาชีพวิศวกรสนามในอุตสาหกรรมนี้ … ปิโตรเลียมมักจะไปอยู่ที่ๆกันดารๆ เข้าถึงยาก

ถ้าไม่ป่าดงดิบ ก็ลุ่มน้ำขัง ปากแม่น้ำ ไม่งั้นก็โน้น ทะเล หรือ ทะเลทราย

นั่นทำให้เราต้องถ่อเดินทางไปให้ถึง และ ใช้ชีวิตอยู่ให้ได้

วันนี้ครึ้มๆ ว่างๆ เลยจะเล่าสู่กันฟังว่า เราใช้ชีวิตกันอย่างไรกับงานในทะเลทราย ในฐานะ expat คือ ในฐานะคนนอก ที่ต้องเดินทางไปๆมาๆ เราเดินทางอย่างไร เรากินอยู่อย่างไร เราปรับตัว(ปรับใจ) อย่างไร

Work Life in Desert
สีเขียวมีก็ประมาณนี้ครับ

ทั้งหมดที่ผมกำลังจะเล่านี่ คือ รวมๆมาแล้วทั้งกับประสบการณ์ตรงในอัฟริกา ดินแดนอาหรับตะวันออกกลาง และ ออสเตรเลีย ยำรวมๆกับ ที่ได้ยินได้ฟังมา

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

Work Life in Desert

ชีวิตและการทำงานในทะเลทราย

ผมขอแบ่งคุยเป็นเรื่องๆล่ะกันนะครับ

การเดินทาง

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

โดยมากเลยนะครับ เราจะเดินทางกันราวๆ 3 – 4 ทอดกว่าจะถึงหน้างาน (rig)

  1. กรุงเทพ –> เมืองหลวงของประเทศนั้นๆ
  2. เมืองหลวง –> เมืองเล็ก
  3. เมืองเล็ก –> แคมป์ (หรือ ไป rig เลย)
  4. แคมป์ –> หน้างาน (rig)

เทียบง่ายๆแบบนี้ครับ

  1. ฝรั่งจากลอนดอน มากรุงเทพ
  2. กรุงเทพไปสงขลา (หรือพิษณุโลก)
  3. จากสงขลา ขึ้น ฮ. ไป rig ในอ่าวไทย (หรือ นั่งรถจากพิษณุโลกไป rig ที่ลานกระบือ)

งานในทะเลทรายก็ไม่ต่างกันครับ โดยมาก จาก กทม.กว่าจะไปถึงเมืองหลวง ก็ปาเข้าไป 15 – 18 ชม. เพราะรวมต่อเครื่องบ้างไรบ้าง เช่น ถ้าไปไกลถึงอัฟริกาโดยที่ไม่มีเที่ยวบินตรง แต่ถ้าแค่ตะวันออกกลางหรือออสเตรเลียก็สบายก้นหน่อย

แต่ถ้ามีบินตรง เราอาจจะต่อไปเมืองเล็กได้ในวันเดียวกันที่เครื่องลงเมืองหลวง ดังนั้น โดยมากเราก็จะพักสลบกันไม่เมืองหลวงก็เมืองเล็ก ก่อนจะฟื้นแล้วต่อช๊อตที่สอง

ปล. สมัยหนุ่มๆน่ะ ไม่สลบหรอกครับ สร่างเมาจากบนเครื่องก็มาเมาต่อที่โรงแรม โดยเฉพาะถ้า โรงแรมในเมืองหลวง พลาดได้ไง (ฮา) เดี๋ยวไม่มีดื่มกินอีกนาน

ถ้าเมืองเล็กกับ rig ไม่ห่างกัน เราก็มักจะเดินทางตรงไปเลยได้ เช่น เครื่องบินเล็กที่เราเรียกว่า fixed wing หรือ ขับรถไปกัน

แต่ถ้าเมืองเล็กอยู่ห่างจาก rig มากๆ fixed wing บินรวดเดียวไม่ไหว ก็มักจะมีแคมป์ (หรือ เรียกว่า เมืองจิ๋วก็ได้ 555) อยู่กลางทะเลทรายที่บริหารจัดการโดยบ.น้ำมันหรือบ.ผู้รับเหมาที่บ.น้ำมันจ้างมา เราก็ต้องเดินทางจากเมืองเล็กไปแคมป์ที่ว่าโดย fixed wing หรือ ขับรถไปกัน

Work Life in Desert
Australia Rig Road

เราก็จะเข้าพักที่แคมป์ แล้วค่อยเดินทางต่อไปทำงานที่ rig อีกทอดด้วย fixed wing หรือ ขับรถไปกัน

บางตำแหน่งงานเราก็ค้างอยู่ที่ rig เลย บางตำแหน่งงานเราก็ทำที่ rig แล้ว กลับมาพักที่เมืองเล็ก หรือ แคมป์ (แล้วแต่ว่าต้นทางเราไป rig จากไหน)

ข้อสังเกตุอย่างหนึ่ง คือ ผมไม่ค่อยเห็นใช้ ฮ. ในทะเลทรายนะครับ ส่วนมากเป็น fixed wing คือ เครื่องบินเล็ก 5 – 20 ที่นั่ง อารมณ์เหมือนขึ้นรถไฟเหาะอ่ะครับ โยกไปโยนมา ถ้ามีพายุทะเลทรายก็ต้องไม่บิน ส่วนรันเวย์ (air strip) ก็นะ ไม่ราบเรียบเท่าไร แอบมีลุ้นตอนร่อนลง ถ้าสะดุดก้อนหินหัวเครื่องบินคงปักจึ๊กคารันเวย์ 555

ผมเดาว่าคงเป็นเรื่อง maintenance และ กัปตัน น่ะครับ เพราะ ฮ. น่าจะหากัปตันยากกว่า และ ค่าบำรุงรักษา ฮ. น่าจะสูงกว่า fixed wing ซึ่งต่างจาก offshore ที่ ฮ.เป็นทางเลือกเดียวเพราะสร้าง รันเวย์ (air strip) ในทะเลไม่ได้ 555

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ที่อยู่อาศัย

หลักๆคือ ถ้าเราไม่อยู่เมืองเล็กก็อยู่แคมป์ครับ เรื่องที่จะอยู่เมืองหลวงน่ะ สำหรับวิศวกรรมกรท้ายแถวอย่างเราๆฝันไปเถอะครับ ถ้าโชคดีก็อาจจะเป็นตอนต่อรอเครื่องบิน ขาไปขากลับ เมืองเล็ก เท่านั้น

ที่พักในเมืองเล็ก โดยมาก มี 2 แบบ ขึ้นกับ บ.จัดหาให้ ถ้าไม่อยู่บ้านรวมของบ. ก็อยู่โรงแรม

ถ้าอยู่แคมป์ก็นะ อยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ (สมัยนี้น้องๆเล่าว่ามี wifi ด้วย … เริ่ด) มีห้องน้ำในตัว มีห้องอาหาร ห้องออกกำลังกาย บางแคมป์มีสระว่ายน้ำ แคมป์เล็กใหญ่ต่างกัน มีตั้งแต่กระทัดรัดขนาดสนามฟุตบอลเดียว ไปจนถึง 10 สนามฟุตบอล

อาหารการกิน

โดยมากประเทศทะเลทรายจะเป็นกลุ่มประเทศอาหรับ ซึ่งไม่ทานหมู อาหารเนื้อหลักๆ คือ แพะ กับ แกะ หาไก่ หรือ วัว ทานได้บ้าง ตามร้านอาหารจีน ซึ่งก็ไม่มีทุกเมือง โดยเฉพาะเมืองเล็ก ส่วนแคมป์ไม่ต้องพูดถึง อดครับ จบข่าว (ฮา)

เรื่องหมูๆที่ไม่หมู … ถ้าอยู่รวมกันในบ้านรวมของบ. เราก็อาจจะเอาหมูแช่แข็งจากกทม.ไปแบ่งกันทำกินได้ แบบแอบๆ หรือ เปิดเผย ขึ้นกับความเคร่งครัดของแต่ล่ะพื้นที่

เราสามารถซื้อเนื้อหมูสดได้จากร้านอาหารจีนในเมืองหลวง หรือ เมืองเล็ก (ถ้ามี) แต่ปัญหา คือ เราไม่ไว้ใจความสะอาด เพราะว่าหมูที่นั่นไม่ได้เลี้ยงแบบฟาร์มเศรษฐกิจแบบบ้านเราที่เลี้ยงเป็นล่ำเป็นสัน สะอาดถูกอนามัย (+ ยาปฏิชีวนะ และ ฮอร์โมน เป็นของแถม 555)

สรุปว่า ถ้าเรื่องหมูๆ ก็เอาไปจากบ้านเราปลอดภัยสุด ไม่ก็อดบ้างไรบ้าง คงไม่ถึงกับลงแดงหมู (ฮา)

เรื่องกินเรื่องต่อมาที่ไม่พูดถึงไม่ได้ คือ แอลกอฮอล์ ขอพูดแบบรวมๆล่ะกัน หลายประเทศเคร่งครัด จริงจังมาก แต่หลายประเทศก็ปากว่าตาขยิบ มือขวาห้าม มือซ้ายทำ ผ่านระบบตลาดมืด

แต่โดยรวมแล้ว มีให้ดื่มได้ตามเมืองใหญ่ อาจจะไม่ครบทุกประเภท ทุกยี่ห้อ แต่รับรองว่าขึ้นชื่อว่าแอลกอฮอล์ ผมรับประกันได้ว่ายี่ห้อไหนก็เมาแน่นวล พิสูจน์มาแล้ว เอิ๊กๆ

ส่วนเมืองเล็กนี้โดยมากนะ มีแต่เบียร์กับไวน์ท้องถิ่น และ เฉพาะในโรงแรมด้วย ส่วนแคมป์กับหน้างานที่แท่นเจาะ ไม่ต้องพูดถึง เหมือนแท่นนอกชายฝั่งครับ สุขภาพตับดีกันถ้วนหน้า เพราะไม่มีให้ดื่มแน่นอน

ผัก ผลไม้ ก็แนวๆทะเลทราย จะหาผลไม้ชุ่มน้ำ แบบแตงโม สัปปะรด องุ่น ก็อาจจะยาก แต่ก็พอมีนะ ไม่ใช่ไม่มี ส่วนมากก็จะนำเข้า

แต่จะว่าไป ผลไม้ทะเลทรายหลายๆอย่างก็อร่อยนะครับ โดยเฉพาะผลไม้แห้ง หลากหลาย หน้าตาแปลกๆมากมาย มีประโยชน์ มีคุณค่าทางอาหารสูงมากๆ ประเภทที่เอามาอัดกระป๋อง หรือ แพ็คขายบ้านเรา เพิ่มราคาแบบคิดไม่ถึงเชียว ทั้งที่ที่นั่นซื้อกันถูกๆ ขายเป็นกองๆ ตามตลาด หรือ ข้างทาง

การสื่อสาร

สมัยผมอยู่หน้างานอาจจะเป็นประเด็น แต่เข้าใจว่าสมัยนี้ ความยากลำบากเรื่องนี้คงลดลงไปเยอะ

ผมหมายถึงการสื่อสารกลับบ้านที่กทม.นะครับ เรื่องการสื่อสารในการทำงานจะคุยในหัวข้อถัดไป

หน้างานก็ประมาณนี้

เท่าที่คุยกับน้องๆ ปัจจุบันนี้สัญญาณ 3 – 4 จี เข้าถึงหมดแล้วนะครับ เอาว่าขั้นต่ำ ในแคมป์ กับ ที่แท่นเจาะ ก็มี 3 จีล่ะ อาจจะไลฟ์สด วีดีโอคอลไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็โทรคุยด้วยเสียงได้ล่ะ (แค่นี้ก็สวรรค์แล้วเมื่อเทียบกับสมัยผม)

Lost in desert เมื่อผมหลงทางในทะเลทราย เฉียดไปแล้วตู

แต่ปัญหาของแคมป์กับที่แท่นเจาะไม่ใช่เรื่องความเร็ว แต่เป็นเรื่องความเสถียร เพราะสัญญานมักถูกรบกวนด้วยไฟฟ้าสถิตจากพายุทะเลทรายที่มักจะก่อตัวแบบไม่แจ้งล่วงหน้า

ส่วนในเมืองเล็ก และ เมืองใหญ่ ความเร็ว และ ความเสถียร ก็ขึ้นกับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองนั้นๆ แต่โดยมากก็ 4 จี หมดแหละ

ความท้าทายเฉพาะถิ่น

ผมจะยำๆรวมๆกันไปก็แล้วกันนะครับ

ตลาดมืดเงินตรา – บางประเทศที่ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราเข้มงวด ต้องระวัง และ ศึกษา ทำการบ้าน ให้ดีว่าควรมีเงินสดสกุลอะไรติดไปเท่าไรต่อ 1 ทริปการเดินทาง บัตรเครดิตอะไรใช้ได้ไม่ได้ที่ไหนบ้าง

ที่ใดมีข้อจำกัด ตลาดถูกแทรกแซง ที่นั่นมีตลาดมืด อย่าสุ่มสี่สุ่มห้าไปแลก ถามคนที่อยู่มาก่อนว่าใครเชื่อได้ไม่ได้ โดยมากพวก expat จะมีแหล่งที่เชื่อถือได้อยู่ อย่าริเริ่มหาแหล่งใหม่เอง (ฮา) เพราะถ้าไม่โดนล่อซื้อ แล้วรีดไถ ก็โดนแบงค์ปลอม หรือ แบงค์จริงแต่ตกรุ่นใช้ไม่ได้

วันๆก็เห็นกันอยู่เท่านี้

ผู้หญิง – เหมือนแอลกอฮอล์ และ ตลาดมืด ครับ หลายประเทศเคร่งครัด จริงจังมาก แต่หลายประเทศก็ปากว่าตาขยิบ มือขวาห้าม มือซ้ายทำ … อย่าริเริ่มอะไรใหม่ๆ อย่าหาทำอะไรแปลกๆ

ขอเตือนสำหรับประเทศที่จริงจัง ผมเคยแค่ผิวปากก็โดนตำรวจศาสนาเรียกไปตักเตือน แต่ก็รอดมาได้เพราะบอกว่าเป็นชาวต่างชาติ

การสื่อสาร – สมัยผม ภาษาเป็นปัญหาหลัก คนอาหรับพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ผมเคยอยู่ในแคมป์กลางทะเลทรายที่มีคนเป็นร้อย แต่มีคนอาหรับพูดภาษาอังกฤษได้ไม่ถึง 10 คน แถมยังไม่ค่อยรู้เรื่อง (เขาคงคิดว่าไอ้กะเหรี่ยงตาตี่นี่ก็พูดไม่รู้เรื่องเช่นกัน … ฮา)

แต่สมัยนี้ มีบ.ต่างชาติมากมาย ทั้ง จีน เวียดนาม เข้าไปสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกันมาก คนอาหรับรุ่นใหม่ๆ สามารถพูดภาษาอังกฤษได้มากกว่าเดิมเยอะ

นอกจากนี้เรายังมีแอปแปลภาษาในมือถือด้วย จะซื้อหาอะไรจะสื่อสารอะไรกับคนท้องที่ก็แก้ขัดไปได้เยอะ ไม่ต้องเมื่อยมือใช้ภาษาใบ้ ขออย่างเดียว ชาร์จแบตฯให้เต็ม ติดตั้ง app ที่สามารถใช้ offline ได้ (บางที่อาจจะอับสัญญาณ) และ พก power bank ไว้ตลอดเวลา

ทัศนคติ ผู้คน – ค่านิยม และ วัตร ปฏิบัติ แบบมุสลิม เป็นอะไรที่เราต้องเคารพและท่องจำไว้ว่า อย่าไปฝืน แย้ง ท้าทาย ออกความเห็น (ถึงจะเป็นการออกความเห็นแบบสร้างสรรค์ก็ตาม) เพราะเป็นเรื่องใหญ่มากๆ

อาจจะมีมุสลิมที่ไม่เคร่งมาก เฮฮาปาจิงโก๊ะกับเรานอกเวลา แต่พอเป็นงานเป็นการอยู่ท่ามกลางเพื่อนพ้องมุสลิมด้วยกัน เขาอาจจะไม่สามารถฝืนแรงค่านิยมกลุ่มได้ (peer pressure)

นอกจากเรื่องศาสนาแล้ว ด้วยนิสัยของคนอาหรับจะ easy going คือ เป็นคนที่ง่ายๆไปหมด จนดูเหมือนทำงานช้า และ ไม่จริงจังในสายตาพวกเรา ไม่เหมือน ทำงานกับคนจีน หรือ เวียดนามที่ กระฉับกระเฉง แต่ก็นั่นแหละ สไตล์แบบนั้น ก็อย่าไปจี้มากไรมาก เพราะเดี๋ยวจะมองหน้ากันไม่ได้ และ ทำงานกันยาก ไม่มีสูตรสำเร็จ ต้องหมั่นสังเกตุ ปรับตัวให้ไว

โดยเฉพาะการสวดมนต์ 5 เวลา (ละหมาด) บางประเทศจริงจังมาก หยุดทำงานกันทั้งแท่นเจาะก็มีให้เห็น ไม่ใช่เรื่องแปลกที่นั่น

ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ – หน้างานจะหาสีเขียวให้ดูแบบท้องนาลานกระบือบ้านเราคงยาก มีแต่สำน้ำตาลตุ่นๆ แดงๆ เทาๆ ไปสุดลูกหูลูกตา

อากาศก็แบบทะเลทราย คือ กลางวันร้อนมาก กลางคืนเย็นจัดถึงขึ้นหนาว อย่าริอาจไม่คลุมตัวคลุมหน้าตาตอนออกไปไหน หรือ โดยเฉพาะทำงานกลางแจ้ง เพราะจะเป็นลมเอาง่ายๆ ความชื้นต่ำมาก ร่างกายเสียน้ำแบบไม่รู้ตัว ช็อคเพราะขาดน้ำแบบไม่รู้ตัว ไม่รู้ด้วยนะ

ผมนี่แหละ ประสบการณ์ตรง สมัยเป็นเด็กหนุ่ม คิดว่ากูแน่ เกือบช็อค เพราะใส่เสื้อยืดขาสั้นทำงานกลางแดดตอนทริปแรกของชีวิตที่เหยียบทะเลทราย เข็ดเลย เข้าใจเลยว่าทำไมชาวทะเลทรายต้องคลุมหน้าตามิด คือ นอกจากกันฝุ่นทรายแล้วก็เรื่องความชื้นนี่แหละ

ความปลอดภัย – อันตรายมีทั้งจากธรรมชาติและจากมนุษย์ด้วยกัน นอกจากอุณหภมิแล้ว ธรรมชาติทะเลทรายยังท้าทายเราในหลายเรื่อง โดยเฉพาะ สัตว์มีพิษ เช่น งูทะเลทราย แมงป่องทะเลทราย ที่มักจะมาซุกหลบร้อนตามร่มเงาในแท่นเจาะฯ และ พายุทราย เป็นต้น

อันตรายจากมนุษย์ก็เป็นบางพื้นที่ที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่เรื่องเขตแดน และ ลัทธิศาสนา บางทีก็ สลัดทะเลทราย (หมายถึงโจรสลัดนะครับ ไม่ใช่อาหาร)

บางพื้นที่ expat จะเดินทางไปไหนในทะเลทราย ต้องใช้เครื่องบิน fixed wing เท่านั้น หรือ ถ้าใช้รถ ก็ต้องมีรถทหารนำหน้า และ ปิดท้าย (ฟังแล้วเสียวโดน RPG แบบในหนัง ชอบกล)

การออกนอกบริเวณแคมป์ หรือ แท่นเจาะ เป็นอะไรที่ อย่าทำเด็ดขาด

การที่คิดว่าตอนเย็นอากาศดีๆจะออกไปวิ่งออกกำลังกายนอกแคมป์ หรือ ขับรถ 4WD ไต่เนินทรายชมพระอาทิตย์ตก… อย่าคิดครับ

ส่วนมากพวกเราก็เป็นเด็กดีครับ ถึงแคมป์ก็อยู่แคมป์ ถึง rig ก็อยู่ rig

นั่นทำให้การเดินทางไปไหนมาไหนแต่ล่ะครั้ง (นอกเหนือจากตารางการเดินทางประจำวัน หรือ ประจำเดือน) ต้องวางแผน และ แจ้งผู้เกี่ยวข้องล่วงหน้า โดยเฉพาะทหาร ไม่ใช่คิดจะไปก็คว้ากระเป๋าไป

ปตท.สผ.

ก่อนจาก ขออวย บ.สำรวจและผลิตฯของไทยอย่าง สผ.หน่อยครับ

ปตท.สผ.ได้มีการไปดำเนินการสำรวจและผลิตกลางทะเลทราย ประเทศอัลจีเรีย ด้วยนะครับ ไม่ใช่ขี้ๆนะครับ สผ.เราเนี้ย

ตอนนี้ มี 2 โครงการ

Algeria 433a & 416b Project – อยู่ในขั้นตอนการผลิต ในฐานะผู้ร่วมทุน (partner) กับ เวียดนาม และ เจ้าของประเทศ (Sonatrach) คลิ๊กลิงค์ข้างล่างเพื่อดูรายละเอียดได้ครับ

Algeria 433a & 416b Project

Algeria Hassi Bir Rekaiz Project – อยู่ในขั้นตอนการผลิต ในฐานะผู้ดำเนินการ (operator) ร่วมกับเจ้าของประเทศ (Sonatrach) คลิ๊กลิงค์ข้างล่างเพื่อดูรายละเอียดได้ครับ

Algeria Hassi Bir Rekaiz Project

ที่ยกมาปิดท้าย ก็เพราะผมภูมิใจครับ

วันที่ผมทำงานวันแรกในทะเลทรายกลางๆปี 1989 ผมยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า วันหนึ่ง ผมจะมีโอกาสทันได้เห็น ธงไตรรงค์ของประเทศเราได้โบกสะบัดอยู่ในทะเลทราย

… อยากให้พวกเราอย่าด้อยค่าความสามารถพวกเรากันเอง อย่าดูถูกกันเอง

วิศวกรไทย ช่างเทคนิคไทย เรามั่นใจ เราเก่ง เราทำได้ ภูมิใจเถอะครับ

ขอบคุณ ปตท.สผ. ที่นำธงไทยมาปักไว้กลางทะเลทราย เราไม่แพ้ จีน หรือ เวียดนาม ในสมรภูมินี้แน่นอน … เย้ๆ … 🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------