ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Rush print in 1989 งานที่ต้องส่งหลัง rig down wireline logging

Rush print in 1989 งานที่ต้องส่งหลัง rig down wireline logging – จะดึกดื่นเที่ยงคืนแค่ไหน หลัง rig down (เอาของ เครื่องมือ ลงจาก rig floor) งานหยั่งธรณีโดยใช้สายเคเบิ้ล (wireline logging) เราต้องทำ rush print ส่ง

  • rush แปลว่า เร่งรีบ เร่งด่วน
  • print แปลว่า พิมพ์

รวมแล้ว แปลว่า พิมพ์ด่วน

SP Spontaneous Potential เพราะความบังเอิญ Wireline logging แรกของโลก

วิศวกร wireline รุ่นนี้คงมองว่า มันก็ง่ายๆ หาไอคอนเครื่องพิมพ์ดีดบนหน้าจอ คลิ๊ก ก็จบ ทำไมพี่นกต้องทำเป็นเรื่องมาเล่าตั้งตอนนึง

Rush print

in 1989 งานที่ต้องส่งหลัง rig down wireline logging

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ก่อนอื่นเลย ต้องอธิบายกระบวนการที่ให้ได้มาซึ่งการพิมพ์เสียก่อน เรากำลังพูดถึงกระดาษยาวๆพับๆไปมาเหมือนตำราใบลาน หน้ากว้าง 8 นิ้วนิดๆ (เอ 4 แหละ)

หน้าตาประมาณนี้ครับ

Rush print
logging print

ส่วนความยาวก็แล้วแต่ว่าหลุมลึกแค่ไหน อัตราส่วนเท่าไร มาตราฐานที่เราใช้กันมาจนทุกวันนี้ก็ 1/200 1/500 และ นานๆที เราก็พิมพ์ 1/1000

ถ้าหลุมลึก 3500 เมตร ปลายท่อกรุอยู่ที่ 2500 เมตร แล้ว เราบันทึกข้อมูลเผื่อเข้ามาในท่อกรุสัก 50 เมตร (มาตราฐานๆ)

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ช่วงระยะที่เราเก็บข้อมูลคือ 3500 – 2500 + 50 = 1050 เมตร ถ้าเราพิมพ์ 1/200 กระดาษจะยาว 1050/200 = 5.25 เมตร (โคตรยาว)

สมัยโน้นเราใช้ฟิล์ม

เราไม่มีเครื่องพิมพ์ต่อเเนื่อง dot matrix (ที่ธ.ชอบใช้พิมพ์รายงาน) หรือ thermal printer แบบร้านสะดวกซื้อ ใช้พิมพ์ใบเสร็จ แบบทุกวันนี้ เราใช้ม้วนฟิลม์ครับ กระดาษหน้ากว้างเท่าไร ฟิลม์ก็หน้ากว้างเท่านั้น ม้วนยาวๆ จำไม่ได้แล้วว่าม้วนนึงยาวเท่าไร 50 – 75 เมตรได้มัง

ฟิล์มเราบันทึกเป็นสีขาวดำ สัญลักษณ์เส้นบน log จึงต้องใช้ เส้น เบา หนา บาง ปรุ ขีด ไข่ปลา สารพัดที่จะคิดกัน เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ก็เพราะเราไม่สามารถใช้สีได้

ค่าปิโตรฟิสิกส์ส่วนใหญ่จะมีมาตราฐานลักษณะเส้น ตำแหน่งใน log (track ซ้าย ขวา กลาง) ประเภท scale (log, linear) และ ค่า scale (min max) แบบที่ไม่ต้องดูหัว log (header) เลย คนกันเองก็จะทราบว่าเส้นนั้นมันแทนค่าอะไร และ ขอบซ้ายขวาอะไร (min max หรือ max min เพราะบางเส้นก็กลับ scale เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการแสดงผล ไม่ไปทับกับเส้นอื่น)

เนื่องจากสมัยผมทำงาน ค่าปิโตรฟิสิกส์มันไม่ได้มีมากมาย พิศดาร อะไร เครื่องไม้เครื่องมือก็เบสิกๆ ระบบการแสดงผลแบบนั้นก็ตอบโจทย์ เราก็หาพลังงานป้อนโลกด้วยวิทยาการ low tech แบบนั้นเสมอมา 555 🙂

กลับมาที่ฟิล์ม เราต้องแกะฟิล์มออกจากกล่อง จัด (load) ใส่กระบอกฟิล์ม (cartridge) ของเครื่องอ่าน อย่างรอบคอบ และ ระมัดระวัง เราทำขบวนการนี้ทั้งหมด ในห้องมืดเล็กๆที่อยู่ใน logging unit ถ้าเราประมาท สับเพร่า ความชิบหาย (fuck up) แรกเลย คือ แสงลอดเข้าไปในกระบอกฟิล์ม เหมือน กล้องถ่ายรูปสมัยก่อนแหละ ที่พาสายไปถ่ายรูปแล้ว พอแกะฟิล์มาล้างอัด ออกมาดำปี๋ เพราะแสงเข้ากล้องตอนใส่ฟิลม์

ล้างฟิลม์

หลังจากเราผจญปัญหาอุปสรรคสารพัดกว่าจะ log เสร็จ rig down เก็บข้าวของ ตัวมอมแมม เหนื่อยแค่ไหน เราก็ต้องเข้ามาห้องมืดอับๆเพื่อถอดกลักฟิล์ม (unload) ออกมาจาก กระบอกฟิล์ม (cartridge) แกะออกมาล้าง

ในห้องมืด จะมีกะบะเล็กๆ กว่างกว่าหน้ากว้างของฟิล์มเล็กน้อย ก้นกะบะมนๆ

ซ้ายบนกับขวาล่างเป็นน้ำเปล่า ซ้ายล่างเป็น developer ขวาบนเป็น fixer (โคตรจำแม่นเลย 555) ซึ่งเราต้องผสมเองหน้างานด้วยเคมีเป็นผงๆด้วยสัดส่วนที่กำหนดไว้ข้างซองเคมี (จำได้ตอนนั้นใช้ยี่ห้อโกดัก เพราะซองเหลืองเต็มถังขยะทุกที)

การจัดวางกะบะที่ว่าต้องเป๊ะตำแหน่ง เพราะตอนเราเหนื่อยๆ เพลียๆ ง่วงๆ เราขาดความสามารถสามารถทางสัมผัสว่าในกะบะไหนมันใส่อะไร ขืนวางกะบะสลับก็ฉิบหายรอบสอง (ไม่ฮา)

การล้างฟิล์ม เราเริ่มจาก น้ำ (ซ้ายบน) developer (ซ้ายล่าง) fixer (ขวาบน) แล้วจบที่ น้ำ (ขวาล่าง)

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

เวลาเบลอๆง่วงๆก็ท่องเอาไว้ว่าแนวการล้างเป็นรูปตัว n เล็ก (ถ้า N ใหญ่นี่ก็ฉิบหายล่ะ 555) เสร็จแล้วเราก็เอาไปตากบนราวเล็กๆเบียดๆเสียดๆอยู่ในห้องมืดแคบๆนั่นแหละ

รอจนแแห้ง ระหว่างนั้น ผมมักจะออกไปช่วยลูกน้อง (operators) เก็บของ เช็คโน้นนี่

ฟิล์มที่ล้างเสร็จก็จะเป็นแผ่นพลาสติกหนาๆ ส่วนที่เป็นเส้นก็จะสีดำ ส่วนที่ไม่ต้องการให้เป็นเส้น ก็จะโปร่งใส

ความยาวก็ขึ้นกับว่าระยะหลุมที่เราบันทึกนั้นกี่เมตร อัตราส่วนเท่าไร และ กี่เครื่องมือวัด (กี่ run) ที่เราทำในงานนั้น

เพื่อความสะดวกเราก็จะตัดออกเป็นท่อนๆช่วงๆ ตามที่เราจะพิมพ์

กระดาษพิมพ์

กระดาษที่เราใช้พิมพ์จะแพ็คมาเป็นปึก พับทบไปมาเหมือนคัมภีร์ใบลาน ใส่มาในซองพลาสติกหนากันแสง เพราะกระดาษนี้จะเคลือบสารไวแสง และ แอมโมเนีย

คุณสมบัติสารเคมีที่เคลือบก็เบสิก

  • โดนแสงปุ๊บ สารเคมีระเหยหายปั๊บ
  • โดนไอแอมโมเนียปุ๊บ สารเคมีเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินปั๊บ

เครื่องพิมพ์แอมโมเนีย

ตอนพิมพ์เราก็จะเอาแผ่นฟิล์มวางทาบลงบนกระดาษพิมพ์ ประกบกันในดีๆ จัดในอยู่ในแนวเดียวกัน ค่อยๆสอดดัน (feed) เข้าไปในเครื่องพิมพ์แอมโมเนีย ที่ในนั้นจะมีแสงสีม่วงสว่างๆ กับ เครื่องผลิตไอแอมโมเนีย

คล้ายๆแบบนี้ แต่เล็กกว่านี้ 1/3 ได้

นึกถึงเครื่องเคลือบบัตร หรือ เครื่องบดปลาหมึกย่างข้างทาง นั่นแหละครับ มีลูกกลิ้งขับด้วยมอเตอร์ค่อยๆดูดแผ่นฟิล์ม และ กระดาษเคมีที่เราบรรจงประกบเข้าไปในเครื่อง

ยี่ห้อยอดฮิตสมัยผมทำงานคือ bambino (แปลว่าเบบี้) ป่านนี้คงไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์แล้วครับ ผมกูเกิลไม่เจอเลย

ถ้าอยากได้สีเส้น log เข้มๆ ก็ปรับให้เครื่องหมุนดูดเข้าไปช้าหน่อย เพิ่มเวลาให้ไอแอมโนเนียทำปฏิกริยากับเคมีบนกระดาษ แต่ถ้าช้าไป แสงก็จะไปทำลายสารเคมีบนกระดาษจนทำให้สีจางได้เช่นกัน เอาว่า แต่ล่ะเครื่อง แค่ล่ะคน ก็มีเทคนิคเฉพาะตัวเพื่อให้ได้งานออกมาดีก็แล้วกัน

นึกถึงว่า คุณเอาม้วนกระดาษชำระ 2 ม้วน ม้วนนึงเป็นฟิลม์เซลูลอยด์พลาสติก อีกม้วนเป็นกระดาษ ประกบกันแล้วบรรจงสอดเข้าไปในเครื่องบดปลาหมึกที่หมุนตลอดเวลา สอดเข้าไปแล้วก็ต้องเลยตามเลย หมุนย้อนกลับมาก็พัง ต้องเปลี่ยนกระดาษใหม่ ค่อนข้าง one way ticket ว่างั้นเถอะ

สติต้องอยู่กับตัวตลอดเวลา เพราะถ้าเบี้ยว หรือ เหลือมกันนิดเดียวต้องคอยดึงกลับช้าๆนิ่มๆ เพื่อไม่ให้ฟิล์มไปทาง กระดาษเคมีไปทาง

งานแบบนี้ถ้าทำตอน เพิ่งตื่นนอน จิปกาแฟ เปิดเพลงชิวๆฟัง มันก็ไม่เท่าไร แต่งานนี้ ไฟล์ทบังคับ เราต้องทำตอนเสร็จงาน ไม่สามารถต่อรองหรือผลัดผ่อนได้

นึกภาพ ทั้งลุ้นกับคุณภาพ ปัญหาหน้างานสารพัด เหนื่อยแสนเหนื่อย ง่วงแสนง่วง เลอะเทอะน้ำโคลน น้ำมันไฮดรอลิกส์ จารบี ไปทั้งตัว ต้องมาล้างฟิลม์ กลิ่นน้ำยาเคมีคลุ้ง ยืนสำลึมสะลือประคองฟิล์มกับกระดาษยาวเหยียดเข้าเครื่องพิมพ์แอมโมเนีย แถมกลิ่นแอมโมเนียแม่งคลุ้งไปทั้ง logging unit

ผมพิมพ์เล่าไปนี่ กลิ่นแอมโมเนีย กลิ่น developer ปนกลิ่นเหงื่อ กลิ่นน้ำโคลน จารบี WD40 และ กลิ่นน้ำมันไฮดรอลิกส์ โชยมาในความทรงจำเลย … มันหลอนอ่ะ 🙂

กลับมาที่ rush print

ขึ้นกับสัญญาที่ บ. logging ทำกับลูกค้าว่า เมื่อเสร็จงาน จะต้องให้ logging ที่พิมพ์บนกระดาษ ที่หน้างาน อัตราส่วนอะไร อย่างล่ะกี่สำเนา และ เมื่อนำฟิล์มกลับไปที่สำนักงานในเมืองแล้วต้องตรวจแก้ และ พิมพ์นำส่งอีกกี่สำเนา

สำเนาที่เราเอาให้ลูกค้าหน้างาน เราเรียก rush print สำเนาที่เราเอาให้ลูกค้าหลังตรวจแก้เพิ่มเติมให้สมบูรณ์ในเมือง (หรือ หน้างาน ขึ้นกับสัญญา) เราเรียก final print

เส้นค่าปิโตรฟิสิกส์ต่างๆ สัญลักษณ์ของเส้น ประเภท และ ค่า scale บน rush print จะต้องถูกต้อง 100% ส่วน ข้อมูลพวก หัว log (header) หมายเหตุ (remark) และ คำบรรยายขยายบนเส้น (annotation) อาจจะมี หรือ ไม่มี อาจจะสะกดไม่ถูกต้องบ้างก็ได้

จุดประสงค์ของ rush print ก็เพื่อการตัดสินใจทำงานที่ต่อเนื่องหน้างาน

สมัยนั้น การสื่อสาร การขนส่ง ไม่สะดวกสะบายอย่างทุกวันนี้ คนตัดสินใจขั้นตอนการทำงานทั้งหมด จะอยู่หน้างาน ไม่ใช่นั่งเก้าอี้เอนนอนในห้องติดแอร์ กระดิกเท้ารออีเมล์ รอไฟล์ หรือ real time monitor แบบทุกวันนี้

งานประมาณปริมาณซีเมนต์ งานวางตำแหน่งท่อกรุช่วงถัดไป งานเลือกช่วงความลึกเพื่อยิงระเบิดชั้นหินเพื่อผลิตหรือเพื่อกระตุ้นการไหล การตัดสินใจจะฝังกลบปิดหลุม การตัดสินใจสำคัญๆเหล่านี้ หน้างานจัดหมดครับ หน้างานเป็นคนตัดสินใจ และ ถือว่าเป็นเด็ดขาด พวก ผจก. หรือ นายๆ บนฝั่ง ในเมือง ไม่ต้องยุ่ง

rush print ก็เพื่อแจกจ่ายให้กับ นักธรณี วิศวกรแหล่งกักเก็บ วิศวกรผลิต วิศวกรทดสอบหลุม วิศวกรซีเมนต์ company man และ หลายๆฝ่ายบนแท่นขุดเจาะ

สังเกตุว่าเราไม่มีข้อมูลไฟล์ดิจิตอลใช้หน้างาน ซอฟแวร์ simulator ใช้กัน เราใช้ กระดาษลอกลาย ดินสอ เครื่องคิดเลข และ ไม้บรรทัด วัดเอาจาก rush print นี่แหละครับ

ดังนั้น ผมอยากแสดงความเห็นเล็กๆตรงนี้เอาไว้ว่า คุณภาพคนหน้างานโดยเฉพาะความเคี่ยว และ ความมั่นใจในการตัดสินใจสมัยก่อนนั้นเหนือกว่าสมัยนี้มาก ก็เพราะเราไม่มีเทคโนโลยีการสื่อสารสนับสนุนที่ดีนั่นแหละ เหมือนกับทุกงานสนามในทุกอุตสาหกรรมน่ะครับ โดยเฉพาะงานทหารในสงคราม

แต่ก็นั่นแหละ มันก็ได้อย่างเสียอย่างเสมอ เอาไว้เราไปถกกันทีหลังเนอะ

Trick (ลูกเล่น)

ลูกค้าบางบ.เจ้าเล่ห์ ทำสัญญาแบบเอา rush print เยอะๆ แล้ว ไปเอา final print น้อยๆ เพราะโดยมาก rush print คิดราคารวมไปกับค่าทำงานหน้างานไปแล้ว พูดง่ายๆคือ พิมพ์ให้ฟรี แต่ final print มักจะเสียตังค์ต่อสำเนา ดังนั้น ก็มักจะมาจู้จี้กับพวกเราที่หน้างาน ต้องทำให้ถูกต้องสมบูรณ์ (โคตรเซ็ง ถ้าเจอแบบนี้ กรรมล้วนๆ)

ความถี่ และ การขนส่ง ระหว่างแท่นขุดเจาะถึงฝั่ง (หรือเมืองกรณีแท่นบก) ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้งานเราจะนรกแค่ไหน

ถ้าความถี่มาก เราก็ต้องรีบทำงานให้เสร็จไวๆ เพราะเดี๋ยวก็จะมีเที่ยวรถ หรือ เที่ยว ฮ. แวะมาเอาฟิล์ม พิมพ์กระดาษ (print) และ ตลับเทป

แต่ล่ะแท่นแต่ล่ะที่ก็ไม่เหมือนกัน ผมคงเล่ามิตินี้ได้ไม่ทุกที เอาที่ที่ผมทำงานสมัยอยู่นอกชายฟังอินเดีย (Bombay High) ก็แล้วกัน

ปกติจะมี ฮ.มาลง สัปดาห์ล่ะลำ แต่ถ้าแท่นขุดเจาะอยู่ในแหล่งพัฒนา คือ มีแท่นหลุมเจาะ (WHP WellHead Platform) เต็มไปหมด และ มีแท่นผลิตกลาง (CPP Central Processing Platform) ก็จะมี ฮ.ที่บินกันว่อนทั้งวัน นักธรณีบ.น้ำมัน (ลูกค้า) สามารถวิทยุเรียก ฮ. มาได้ตลอด เหมือนเรียก grab เรียก Line แท๊กซี่

ถ้าแท่นขุดเจาะอยู่นอกๆหรือขอบๆแหล่งพัฒนา ผมก็สบาย ฮ.มาลงสัปดาห์ล่ะวัน ถ้าไม่ซวยงานเสร็จเป๊ะกับวันฮ.มาลง ผมก็ไม่ต้องรีบทำ final product อันประกอบไปด้วย

  • ตลับเทปกลมๆใหญ่ๆที่แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
  • final print (สัญญาบ.ที่ผมทำงานด้วยที่นั่นตอนนั้น ให้เราทำให้เสร็จที่หน้างานเลย แต่คิดตังค์ต่างหาก)
  • ฟิล์มที่แก้ไขตัดต่อให้เรียบร้อย
rush print
ตลัปเทปแม่เหล็กที่เราใช้บันทึกข้อมูล logging

นี่ยังไม่นับรายงานกระดาษของบ.ตัวเองอีกบานตะไท (ฮา)

เครื่องบันทึก(อ่าน)ก็ขนาดน้องๆตู้เย็นสมัยนี้

ดังนั้นถ้าความสัมพันธ์ระหว่างเรากับนักธรณีของบ.น้ำมัน(ลูกค้า)ดี ไม่ทะเลาะกันไรกัน เราก็มักจะเจรจาให้ชีวิตเราง่ายขึ้นได้ เช่น ฮ.เที่ยวนี้ ส่งไปแค่นี้ก่อนนะ ขอหลับสักคืน พรุ่งนี้จะมาทำต่อให้แบบแจ่มแมวเลย อะไรเงี้ย

ในทางกลับกัน ถ้าเจอลูกค้าไร้เหตุผล (โดยเฉพาะมือใหม่กร่างบ้าอำนาจ) หรือ พวก อวดรู้ กวนตีน เรื่องไม่รีบ ไม่ด่วน (กู)ก็จะเอาเดี๋ยวนี้ เอาให้ทัน ฮ.บ่ายนี้ หรือ จู่ๆก็เรียก ฮ.มาจะเอาดื้อๆงั้นแหละ … ชีวิตคน บ. service อย่างพวกเราก็นรกไปทั้งทริป

เมื่อวันก่อนสะสางกรุสมบัติโบราณ เจอที่คั่นหนังสือ ทำเอาไว้ให้ตัวเองในคืนปีใหม่ที่ไม่ได้กลับบ้าน ผมทำจากฟิล์มที่ใช้บันทึก logging นั่นแหละ

ที่คั่นหนังสือ ทำจากฟิล์มที่ใช้ logging

แถมไปเจอนามบัตรรุ่นแรกๆที่เริ่มทำงาน รุ่นหลังๆจะไม่เห็นโลโก้แบบนี้แล้ว เพราะมีการควบรวมบ. (M&A Merging and Acquisition) แบ่งแยกบ. (Spin off) จึงทำโลโก้ออกมาสารพัดเวอร์ชั่น ต่างกรรมต่างวาระ

สมัยนั้นตอนผมทำงาน แต่ล่ะสินค้า และ บริการแยกกันเป็นเอกเทศ

rush print
นามบัตรรุ่นดึกดำบรรพ์

ฟังคนแก่เล่าความหลังมาพอสมควรแก่เวลาแล้วนะ คงไม่ได้ประโยชน์อะไรกับงานปัจจุบันของพวกเราเท่าไร

แต่อย่างน้อย ก็ได้เป็นแรงบรรดาลใจให้พวกเราฮึดสู้กับอุปสรรค์ต่างๆ เพราะว่าสมัยก่อนพวกผมลำบากกว่าพวกคุณเยอะ อย่าางน้อยก็ตอนทำ rush print ล่ะ 555 🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------