ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Review IWCF well control course ประเภทใบรับรอง เนื้อหา การสอบ

Review IWCF well control course ประเภทใบรับรอง เนื้อหา การสอบ – จากที่ได้ไปสอบเอาใบรับรอง IWCF well control มาอีกรอบเป็นรอบที่ 3 (ปีหน้าต้องกลับเข้าสู่ยุทธจักร หลังจากที่หลบมาพักร้อนอยู่นาน 555)

ก็เลยคิดว่า น่าจะเอามารีวิวฝากบันทึกเอาไว้บ้าง เผื่อเป็นแหล่งเริ่มต้นสำหรับผู้ที่สนใจ

ผมเคยเขียนเอาไว้คร่าวๆในเพจเรื่อง IWCF vs. WellCAP หลายเดือนมาแล้ว อยากให้เข้าไปอ่านก่อน จะได้เข้าใจพื้นฐานได้ดีขึ้นว่า IWCF คือ อะไร

คลิ๊ก … IWCF vs. WellCAP

Review IWCF well control course

ประเภทใบรับรอง เนื้อหา การสอบ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

IWCF well control certificate ก็เหมือนในอนุญาติการทำงานอื่นๆในเกือบจะทุกๆอุตสาหกรรมน่ะครับ เช่น ใบอนุญาติทำงานกับเครื่องจักรกลหนัก (เช่น เครน รถบรรทุกพ่วงหนักๆ) ที่ต้องมีมาตราฐานตามหน่วยงานที่ควบคุมของประเทศ และ อุตสาหกรรมนั้นๆ รวมไปถึง ผลต่อเนื่องทางกฏหมาย เช่น การจ้างงาน และ การจ่ายสินไหมประกันภัย

IWCF website

เรื่องที่เราจะ review IWCF กัน ประมาณนี้ครับ

  1. เรื่องทั่วๆไป
  2. ประเภทใบรับรอง
  3. เนื้อหาที่อบรม
  4. การสอบ
  5. ผู้ให้การอบรมในประเทศไทย
Review IWCF

สิ่งที่ควรทราบทั่วๆไป

  • ไม่ทุกคนที่ทำงานเกี่ยวกับหลุมเจาะ จะต้องมีใบรับรอง well control นี้ … คนที่จะต้องมีใบรับรองนี้ คือ
  1. Driller ซึ่ง คือคนที่ควบคุมการขุดเจาะหน้างาน
  2. คนที่ควบคุม ดูแล สั่งงาน driller ที่เราเรียกว่า รวมๆว่า supervisor ซึ่งอาจจะเป็น tool pusher, OIM, Company man, Rig superintendent, Drilling manager

Oil rig jobs งานบนแท่นขุดน้ำมัน อธิบายตำแหน่งงานบนแท่นขุดเจาะ (Oil Rig)

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

  • โดยมากถ้าเป็นพนักงานประจำของบ. – บ.จะเป็นผู้ส่งไปอบรม สอบ และ รับผิดชอบค่าใช้จ่าย แต่ถ้าเป็น มือปืนรับจ้าง (consultant) ก็มักจะต้องควักกระเป๋าจ่ายเอง
  • หลักสูตรคลาสตัวเป็นๆปกติ ก็ประมาณ 4000 – 5000 เหรียญ แล้วแต่ว่าจะที่ไหน ส่วนถ้าออนไลน์ ก็เหลือราวๆ 1800 – 2200 เหรียญ ระยะเวลาอบรม เท่ากัน 5 วัน เต็ม
  • ใบอนุญาติเหล่านี้มีอายุ – สำหรับ IWCF นั้น มีอายุ 3 ปี
  • IWCF ไม่ใช่เจ้าเดียวที่ออกใบอนุญาตินี้ อย่างที่ได้ให้อ่านไปแล้วตอนต้น IWCF vs. IADC ว่ายังมี IADC และ ผู้ออกใบอนุญาติ ในระดับประเทศ และ ภูมิภาค อีกบางราย ที่สามารถออกให้ได้ เปรียบไปก็เหมือน ใบขับขี่สากล กับใบขับของของแต่ล่ะประเทศ นั่นแหละครับ จะไปทำงานที่ไหนก็ต้องดูกฏเกณฑ์ของที่นั้นๆ
  • เพื่อให้เกิดความยุติธรรม โปร่งใส่ และ ตรวจสอบได้ (check and balance) บ.ที่จัดฝึกอบรมจึง มีหน้าที่อบรมเท่านั้น ส่วนการสอบ จะมีข้อสอบส่งมาจาก IWCF ส่วนกลาง รายละเอียดจะกล่าวถึงในหัวข้อเรื่อง การสอบ
  • อย่าไปหวังเรียนอะไรมากจากคอร์ส เพราะในคอร์สจะเป็นเหมือนกัย ติวรวบรัด กับ เก็งข้อสอบ มากกว่าที่จะสอนจริงๆ เราต้องเรียนไปล่วงหน้า 100% พอเข้าคอร์ส ก็นั่งฟังทบทวน และ ตั้งใจว่า ผู้อบรมจะบอกว่า ตรงไหนที่จะออกสอบ เพราะติวเตอร์ เขาจะรู้แนวโน้มแต่ล่ะยุคสมัยว่า IWCF ช่วงนี้ เน้นเรื่องอะไร

ประเภทใบรับรอง

อย่างที่เกริ่นไว้ว่า มีคน 2 กลุ่มที่ต้องใช้ใบรับรองนี้ คือ driller กับ supervisor

นอกจากแยกตามกลุ่มผู้ใช้งานแล้ว ยังแยกย่อยออกเป็นประเภทของแท่นเจาะด้วย คือ surface BOP กับ subsea BOP

โดย surface BOP นั้น หมายถึง BOP ที่ติดตั้งอยู่บนแท่นเจาะ เช่น แท่นบก และ แท่นนอกชายฝั่งประเภท jack up, TADR (Tender Assist Drilling Rig) – แท่นเจาะที่เอาแท่นใส่แพทะเล (หรือ โป๊ะ) ลาก แล้วยกไปวางบนแท่นหลุมผลิต (wellhead platform)

ส่วน subsea BOP ก็คือ BOP ที่วางไว้บนพื้นทะเล แท่นเจาะจำพวกนี้ก็จะเป็น drill ship และ semisubmersible

ดังนั้น ใบรับรองที่เราจะเห็นทั่วๆไปในอุตสาหกรรมเรา คือ

  • Surface BOP – Driller
  • Surface BOP – Supervisor
  • Subsea BOP – Driller
  • Subsea BOP – Supervisor

เนื่อหาของหลักสูตร

ผู้สมัครเข้าอบรมทั้ง 4 ประเภท จะเข้าอบรมร่วมกัน พร้อมๆกัน ผู้อบรมจะบอกเป็นช่วงๆว่า เนื้อหาตรงไหน เป็นของใคร และ ใคร สามารถออกไปนั่งพักกินกาแฟ งีบหลับ ได้ตอนช่วงไหน (เพราะไม่เกี่ยว และ ไม่ออกสอบสำหรับ กลุ่มนั้นๆ 555)

เนื้อหาก็แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ

  1. Principle and procedure ซึ่งจะครอบคลุม ทฤษฎี คำนวน หลักการ และ ขั้นตอนการทำงาน การสั่งงาน
  2. Equipment ก็ตรงไปตรงมา เป็นเรื่อง อุปกรณ์ต่างๆ ล้านแปด ที่ต้องจำ อะไรอยู่ตรงไหน ทำงานอย่างไร บลาๆ
  3. Simulator ฝึกการควบคุมหลุมกับเครื่องจำลอง

การสอบ

แต่ละคนก็จะได้รับข้อสอบแตกต่างไปตามใบรับรองที่สมัครเข้ามา

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

  • Surface BOP – Driller
  • Surface BOP – Supervisor
  • Subsea BOP – Driller
  • Subsea BOP – Supervisor

การสอบเป็นข้อสอบเป็น 3 ส่วน

  1. Principle and procedure ข้อสอบจะมี 68 ข้อ บวก/ลบ นิดหน่อย มีทั้ง ปรนัย และ อัตนัย
  2. Equipment ข้อสอบจะมี 52 ข้อ บวก/ลบ นิดหน่อย มีทั้ง ปรนัย และ อัตนัย
  3. Simulator สอบควบคุมหลุมกับเครื่องจำลอง เป็น role play (บทบาทสมมุติ) เริ่มด้วยขั้นตอนการสั่งงาน การทำงานจริง ระหว่างการทำงาน ผู้สอบจะจัดปัญหามาให้ เราต้องสังเกตุจากมาตรวัด และ อาการต่างๆของหลุม และ แก้ไขให้ถูกวิธี เหมือน flight simulator ของนักบินนั่นแหละครับ … ใครทำหลุมระเบิดก็สอบตก 555

ข้อสอบ principle and procedure กับ equipment จะออกโดยส่วนกลางของ IWCF

ถ้าเป็น คอรส์ปกติก่อนโควิด จะเป็นกระดาษใส่ซองซีลมาอย่างดี แล้ว จ้างคนคุมสอบท้องถิ่น ซึ่งส่วนมากก็เป็น อ.มหาวิทยาลัยในพื้นที่ สอบเสร็จ ก็ตรวจ แล้วบอกคะแนนเบื้องต้น

กระดาษคำตอบจะส่งไปที่สำนักงานใหญ่ IWCF ในพื้นที่ แล้วประกาศผลเป็นทางการอีกที

แต่ช่วงโควิด ที่อบรมกันออกไลน์ ก็สอบกันออนไลน์ โดยใช้คนคุมสอบส่วนกลางผ่าน app V3 (กูเกิลเพิ่มเติมเอาเองครับว่า V3 คืออะไร ใช้งานอย่างไร) สอบปุ๊บ รู้ผลเป็นทางการปั๊บ ไม่ต้องลุ้น ได้ใบรับรองอิเลคทรอนิกส์ทันที ทันใจวัย 5จี (e-certificate)

สำหรับการสอบ simulator สมัยก่อน เราต้องสอบกับเครื่องจำลองขนาดใหญ่ในศูนย์ฝึก มีปุ่มกด มีคันโยก มีปุ่มหมุน มีอะไรๆเหมือนอยู่บน rig floor จริงๆ โดยผู้สอบที่ได้ใบรับรองจาก IWCF ยืนข้างๆ ตัวเป็นๆ

แต่ปัจจุบัน เราสอบโดย simulator ออนไลน์ ล๊อกอินเข้า server หน้าจอเหมือนเล่นเกมส์เลยครับ คนสอบ ก็เปิดกล้องคุยกัน ให้โจทย์ เล่นบทบาทสมมุติ และ สอบเราจากหน้าจอ

เกณฑ์ผ่านของทั้ง 3 หมวด คือ 70% โดยที่ไม่สามารถจะเอาคะแนนมาชดเชยระหว่างหมวดได้ คือ ต้องผ่าน 70% ทั้ง 3 หมวด

โดยปกติแล้ว คนที่ทำงานหน้างานจริง จะฟาดเรียบคะแนนส่วน Equipment ส่วน วิศวกร ก็มักจะฟาดเรียบส่วน Principle and procedure

ส่วน simulator นั้น ก็ไปวัดดวงเอา ตัวใครตัวมัน ว่าใครจะหัวไว สังเกตุ และ แก้ปัญหา ได้ดีกว่ากัน

Hard shut in vs Soft shut in กับ revised well control system rules

ผู้ให้การอบรมในประเทศไทย

เท่าที่ผมทราบมี 2 ผู้ให้การอบรมครับ

เท่าที่ผมทราบๆว่า คุณภาพไม่ต่างกัน เราไม่ได้หวังอะไรมาก เพราะเราต้องเตรียมพื้นฐานกันไปเอง 100% อยู่แล้ว คนคุมสอบ และ ข้อสอบ ก็เป็น IWCF ส่วนกลาง ผู้ให้การอบรม มีหน้าที่ เตรียมเราให้พร้อม และ เก็งข้อสอบ เท่านั้น

สรุป

Well control certificate ก็เหมือนกับใบขับขี่ครับ มีสอบทฤษฎี มีสอบปฏิบัติ มีคอรส์รับจ้างสอน และ ควบคุมดำเนินสอบโดยเจ้าของใบรับรอง

แต่อย่างไรก็ตาม IWCF ก็เป็นเพียงกรอบคร่าวๆของอุตสาหกรรม

เมื่อเราไปทำงานกับ บ.ไหน ประเทศอะไร ก็จะมีกฏยิบย่อยที่แตกต่างกันออกไปที่เรา “จำเป็น” ต้องทำตาม ซึ่ง อาจจะต่างจาก IWCF ที่เราอบรมและสอบมา

ส่วนสำนัก IADC ที่มี WellCAP หรือ WellSHARP ออกมานั้น ผมไม่ค่อยทราบเท่าไรว่าเน้นเนื้อหาไปทางไหน และ สอบอย่างไร

แต่เท่าที่ฟังจากเพื่อนๆน้องๆที่ไปอบรมและสอบมา ได้ยินมาว่า จะเน้นแนวทางปฏิบัติมากกว่าจะลงลึกในทฤษฎี ทำนองว่า เน้น “ทำอย่างไร เมื่อเกิดอะไร” มากกว่า “เกิดอะไร เพราะอะไร”

ใครมีประสบการณ์ก็สามารถเมล์ nongferndaddy@hotmail.com หรือ ให้ความเห็นท้ายโพสต์นี้แบ่งปันกันได้นะครับ


IWCF vs. WellCAP

ลิงค์ของเพจ อยู่ข้างล่างนี้ครับ

https://www.facebook.com/nongferndaddy/posts/1505893699769708

ถ้าลิงค์เสียก็มีสำเนาอยู่ข้างล่างนี้ครับ

IWCF vs. WellCAP เม้าส์มอยๆ มวยคู่เอก

เราๆที่ทำมาหากินกับหลุมเจาะปิโตรเลียม จะรู้จักมักคุ้นกันดี กับ Well control certificate 2 ยี่ห้อนี้ IWCF และ WellCAP

ก่อนอื่น ต้องปูพื้นสั้นๆก่อนว่า well control คือ อะไร

เวลาเราทำงานกับหลุมเจาะนี่ จับผลัดจำผลู ถ้าความดันในชั้นหินมันเอาชนะความดันของน้ำโคลน หรือ น้ำเกลือ ที่เราใส่เอาไว้ในหลุม แล้วมีของไหลแปลกปลอม (influx) เข้ามาในหลุม สิ่งเกิดขึ้นก็คือ จะมีความดันของ influx มาโผล่ที่ปากหลุม

ขบวนการเฉพาะหน้าที่รับมือกับสิ่งนี้ และ วิธีการนำหลุมกลับเข้าสู่สถานะที่ “ควบคุมได้” นี้ เราเรียกว่า well control

เพื่อจัดทำมาตราฐานในเรื่องนี้ ในปี 1992 มีการก่อตั้ง Well Control Forum ที่ยุโรป ต่อมา ปี 1994 เปลี่ยนชื่อเป็น International Well Control Forum ที่เรา คุ้นลิ้น เอ๊ย เรียกกันติดปากว่า IWCF

IWCF ก็ได้จัดทำมาตราฐานต่างๆมากมายในขั้นตอนต่างๆ ของการทำหลุมเจาะ เช่น drilling, completion, well service ต่างๆ เช่น coil tubing เพราะแต่ล่ะงาน มีรายละเอียดในเรื่องนี้แตกต่างกันไป

มี certificate สำหรับคนที่ทำงานในประเภทต่างๆ เช่น คนทำงานบนแท่นเจาะ เช่น driller หรือ คนที่เกี่ยวข้อง อย่าง drilling engineer นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นงานแท่นบก แท่นนอกชายฝั่ง และ งานที่ต้องใช้อุปกรณ์น้ำลึก เช่น subsea ต่างๆ

การสอบเพื่อให้ผ่านนี้ ต้องผ่านทั้งทฤษฎี และ ปฏิบัติ (simulator) โดยทฤษฎีต้องผ่าน 70% เชียวล่ะ ไม่หมูๆ แถมใบ cert มีอายุนะ ต้องต่ออายุ ทุก 3 หรือ 5 ปี แล้วแต่ประเภท แล้วแต่ระดับ

ตัวผมเองก็มีใบ cert ที่ว่านี้สำหรับงานน้ำลึก สำหรับ drilling engineer ต่ออายุอยู่พักใหญ่ จนไม่ได้ทำงานใกล้ชิดโดยตรง ก็ขี้เกียจไปอบรม และ สอบ จนตอนนี้ก็ขาดอายุไปแล้ว ลุ้นๆอยู่ว่าถ้าต้องไปอบรม และ สอบใหม่จะอายเด็กมันไหม (ฮา)

สมัยแรกๆ ผมต้องบินไปอบรมและสอบถึง สิงคโปร์ หรือ อเมริกา แต่สมัยนี้ ประเทศไทยก็มีแล้ว แถมโควิด 19 แบบนี้ อบรม และ สอบกัน ออนไลน์แล้วจ้า

IWCF ครองตลาดอยู่หลายปี โดยมีเสียงวิจารณ์มากมายทางเทคนิค และ การเมืองอยู่หลายประเด็น จนในที่สุด พี่ใหญ่อีกฝากแอตแลนติกทนไม่ไหว

ในปี 1999 Association of Drilling Contractors (IADC) ออกมาบอกว่า จะตั้ง Well Control Accreditation Program (WellCAP) ขึ้นมา นัยว่าเหมาะสมกับการปฏิบัติงานจริงมากกว่า (ก็ว่าไป)

แน่อนว่า บ. อเมริกัน ก็ต้องเกาะ IADC ส่วน บ.ที่ไม่ใช่อเมริกันก็ เลือกเอา แต่ส่วนมากก็ยังยึด IWCF

ตัวผมเองยังไม่เคยไปสอบ WellCAP นะครับ ใครเคยสอบแล้วทั้ง IWCF และ WellCAP มาแบ่งปันประสบการณ์ความเห็นกันได้ครับ

ตอนนี้ในโลกใบกลมๆของเราเลยแบ่งเป็น 2 ค่าย บ.ไหนรักใครชอบใครก็ว่ากันไป

อย่างไรก็ตาม เหมือนเข็มขัดมวยโลก เมื่อมีหลายสถาบัน ก็ย่อมมีการควบรวม Alliance for Well Control Program (IAWC) ก็เกิดขึ้น ในเดือน พ.ค. 1997 โดยการจับมือระหว่าง IWCF และ IADC

Well control มีรายละเอียดมากมาย มีหลายวิธี เหมาะกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป

คลิ๊ก –> กลับหน้าหลัก

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------