ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Chevron return to arbitrator เชฟรอน ล้มเจรจารื้อถอนแท่นปิโตรเลียม

Chevron return to arbitrator เชฟรอน ล้มเจรจารื้อถอนแท่นปิโตรเลียม – งานนี้ยาวครับพูดเลย ไม่ใช่เรื่องใหม่ เราๆก็คงทราบเรื่องนี้มาพอสมควรแล้ว เรื่องของเรื่องคือ ความไม่ชัดเจนในสัญญาตั้งแต่แรก

ขอขมวดเรื่องให้สั้นที่สุด สำหรับพวกเราที่อาจจะกำลังโหนรถขนส่งสาธารณะอ่านกันอยู่

สัญญาสัมปทานเดิมที่เชฟรอนทำกับผู้ให้สัมปทาน(ก็ไทยแลนด์นี่แหละ)นั้น พูดไว้กว้างๆเกี่ยวกับหลักการรื้อถอนคืนเมื่อหมดสัมประทาน ไม่ได้กำหนดรายละเอียด เช่น กรณีที่ผู้ให้สัมปทานเอาแท่นฯไปใช้ต่อ การนับจำนวนแท่นฯ สัดส่วนการคิดค่ารื้อถอน (ตามจำนวนปี จำนวนอายุ จำนวนปิโตรเลียม ฯลฯ คิดได้ล้านแปดวิธี) การคำนวนค่ามัดจำ (หรือ จ่ายเต็มล่วงหน้า) ฯลฯ … คือ เยอะครับที่สัญญาไม่ได้กำหนดไว้

ตามความเห็นผมนะ การไม่กำหนดไว้ชัดเจนแต่แรกนั้น ก็อาจจะคิดในแง่ดีก็ได้ว่า

  1. จงใจเปิดกว้างๆ เพื่อดึงดูให้บ.ต่างๆเข้ามาประมูล ให้ได้ผลตอบแทนสูงๆ เพราะถ้าไปกำหนดยุบยิบหยุมหยิม ก็จะไปกระทบกับตัวแบบทางเศรษฐศาสตร์ แล้วทำให้ผลตอบแทนน้อย บ.ผู้เข้าร่วมประมูลก็จะยื่นผลประโยชน์ให้ผู้ให้สัมปทานน้อย
  2. ไม่จำเป็นต้องกวนน้ำให้ขุ่นตั้งแต่วันแรกๆ เพราะไม่รู้ว่าอีกหลายสิบปีต่อมา ผู้ได้สัมปทานคนแรกที่ได้ไปอาจจะสำรวจและผลิตจนแหล่งหมด ไม่เกิดกรณีที่ต้องเปลี่ยนมือ และ ต้องเก็บแท่นฯบางส่วนไว้ เรียกว่า ผลักปัญหาไปในอนาคตให้ลูกให้หลานไปลุ้นเอาว่างั้น

แต่ถ้าคิดแบบแง่ลบ ก็อาจจะคิดได้ว่า

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

  1. เอาง่ายๆเลยคือ “ลืม”
  2. หรือไม่ก็ “ไม่รู้” จะเขียนให้ชัดเจนอย่างไร อาจจะเป็นเพราะในตอนนั้นก็ไม่มีแหล่งไหนที่ต้องรื้อถอนให้เป็นตัวอย่างให้ก๊อปสูตรเงื่อนไขการรื้อถอนอย่างละเอียด (เดาเอา)

ที่นี่ พอใกล้ๆหมดสัญญาสัมปทาน แล้วมีโอกาสจะเกิดกรณีที่ต้องเปลี่ยนมือผู้รับสัมปทาน และ เอาแท่นฯบางส่วนไปใช้ต่อ ผู้ให้สัมปทานก็กำหนดหลักการจ่ายค่ารื้อถอนขึ้นมาฝ่ายเดียว โดยที่ไม่ควักมือเรียกเชฟรอนมาแก้สัญญาสัมปทานที่ถืออยู่ให้เห็นเรื่องเป็นราวเป็นกิจจะลักษณะ

เชฟรอนก็บอกว่า ไม่รับรู้ที่ผู้ให้สัมปทานกำหนดหลักการจ่ายค่ารื้อถอนขึ้นมาฝ่ายเดียวภายหลัง และ ไม่ยอมจ่ายค่ารื้อถอนแท่นฯที่ผู้ให้สัมปทานนำไปใช้ต่อสักบาท (ไม่ว่าผู้ให้สัมปทานจะใช้สูตรไหนมาคำนวน)

ฝ่ายผู้ให้สัมปทานก็ย้อนกลับไปเอาข้อกำหนดกว้างๆดั้งเดิมที่ว่าผู้รับสัมปทานต้องรื้อถอน ฯลฯ เอาขึ้นมาสู้

นั่นแหละ เรื่องของเรื่องมันก็มีแค่นี้ (หรือ ตั้งแค่นี้ 555)

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

เรื่องแบบนี้เอาหลักนิติศาสตร์มาจับฝ่ายเดียวไม่ได้หรอกครับ ต้องใช้ รัฐศาสตร์ และ เศรษฐศาสตร์ เข้าประกบด้วย ก็คือ ต้องเจรจากัน เอาตัวประกอบอื่นๆเข้ามาในสมการมากขึ้น เพื่อให้หาจุดที่ลงตัวกันได้ ให้ ชนะ-ชนะ กันทั้งคู่

ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไว้ละเอียดเลยใน 2 ตอนนี้ คลิ๊กลิงค์ไปอ่านได้

รื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม รัฐและเอกชน ต้องเจรจาบนหลักของความเป็นธรรม

สนธิรัตน์ เผยเจรจา เคลียร์ปัญหารื้อถอนแท่นปิโตรเลียมหมดอายุ มีแนวโน้มที่ดี

ผลกระทบที่ตามมาในช่วงเปลี่ยนผ่านผู้รับสัมปทาน

การยื้อเยื้อออกไปแบบนี้ แปลว่าอะไรครับ ก็แปลว่า ผู้รับสัมปทานต่อ (ปตท.สผ.) ก็ยังเข้าพื้นที่เอราวัณไม่ได้ การผลิตก๊าซก็จะไม่ต่อเนื่องตามสัญญา แต่ไม่ใช่ความผิดของ ปตท.สผ. เพราะ ไม่ใช่ว่าไม่อยากหรือไม่พร้อมเข้าพื้นที่ ทราบจากเพื่อนพี่น้องที่อยู่ปตท.สผ. พวกเขาอยากเข้าพื้นที่ตั้งแต่เมื่อวานซืนแล้วด้วยซ้ำ แต่เข้าไม่ได้ เพราะว่าเรื่องรื้อถอนยังไม่ได้ข้อสรุปนี่ไงครับ ยังไม่นับเรื่องการส่งต่อข้อมูลหลุมและแหล่งตามสัญญาที่ต้องส่งมอบที่ก็นะ ไม่พูดดีกว่า 555 🙂

นั่งชมกันต่อไปครับว่ากรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะเอาไพ่ใบไหนออกมาเล่นต่อไป … โปรดติดตาม

ผมก็แอบอดคิดไม่ได้ว่าในทางกลับกัน ถ้าปตท.สผ.ต้องส่งต่อบงกช ให้เชฟรอน เหตุการณ์จะเป็นแบบนี้ไหม …

ไปอ่านข่าวกันครับ …

Chevron return to arbitrator

เชฟรอน ล้มเจรจารื้อถอนแท่นปิโตรเลียม

Chevron return to arbitrator

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ที่มา … https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/451454

เชฟรอนฯ ล้มเจรจารื้อถอนแท่นปิโตรเลียม กดปุ่มให้อนุญาโตตุลาการ นำข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการพิจารณา หลังเจรจาเกือบปี ไม่ได้ข้อยุติ ยันไม่ยอมสูญกว่า 4 หมื่นล้าน วางหลักประกันค่ารื้อถอนแท่นที่รัฐนำไปใช้ประโยชน์ต่อ พลังงานพร้อมสู้คดี

กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีก เมื่อบริษัทเชฟรอน คอร์ปอเรชั่น ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของสหรัฐอเมริกา บริษัทแม่ของ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจ และ ผลิต จำกัต ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงพลังาน เมื่อช่วงปลายเตือนกันยายน 2563 ที่ผ่านมา เพื่อแจ้งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติให้ทราบว่าเชฟรอนฯ ได้แจ้งเรื่องไปยังอนุญาโตตุลาการ เพื่อขอให้นำข้อพิพาทหาผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียมในแหล่งเอราวัณ เข้าสู่กระบวนการทางอนุญาโตตุลาการอีกครั้ง หลังจากที่บริษัทได้ระงับกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการเป็นการชั่วคราว ไปเมื่อช่วงเตือนพฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา เพื่อให้กลับมาสู่กระบวนการเจรจาให้ได้ข้อยุติ

การกลับมาเจรจาดังกล่วมีนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังาน เป็นหัวหน้าคณะทำงานร่วมกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กำหนดระยะเวลาการเจรจาให้ได้ข้อยุติภายใน 180 วัน หรือ ราวสิ้นเดือนพฤษภาคม 2563 ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การเจรจาดูเหมือนจะมีความคืบหน้าในบ้างเรื่อง เช่น จำนวนแท่นผลิตปิโตรเลียมของแหล่งเอราวัณเมื่อสิ้นสุดสัมปทานในปี 2565 รัฐจะเก็บไปใช้งานต่อจำนวน 142 แท่น และ จะต้องรื้อถอน จำนวน 49 แท่น (ปัจจุบันรื้อถอนไปแล้ว 7 เแท่น)

ขณะที่การเจรจากรณีที่จะให้เชฟรอนรับผิดชอบค่ารื้อถอนรวมทั้งการวางหลักประกันค่ารื้อถอน สำหรับแท่นที่รัฐจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อนั้น ยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะต่างฝ่ายถือกฎหมายกันคนละฉบับ ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของตัวเองสูงสุด เมื่อข้อพิพาทไม่ได้ข้อยุติ จึงต้องอาศัยคนกลางเป็นผู้ไกล่เกลี่ยต่อไป

เชฟรอนฯไม่รับข้อเสนอ

แหล่งข่าววงการขุดเจาะสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ตลอดระยะเวลาเกือบจะ 1 ปี ที่ทั้ง 2 ฝ่ายมีการเจรจาค่ารื้อถอน และ วางหลักประกันค่ารื้อถอนที่คืนให้กับรัฐ ไม่สามารถหาข้อยุติลงได้ แม้ว่าทางกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จะผ่อนปรนเงื่อนไขในการวางหลักประกันค่ารื้อถอน ตามสัดส่วนปริมาณปิโตรเลียมที่เชฟรอนฯ ผลิตไปแล้ว ส่วนปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่เหลือ และ ผลิตต่อในอนาคตรัฐจะรับผิดชอบในการรื้อถอนเอง ซึ่งจะทำให้เชฟรอนฯไม่ต้องวางหลักประกันค่ารื้อถอนเต็มจำนวน 142 แท่น แต่เชฟรอนๆ ไม่รับเงื่อนไขนี้

ทั้งนี้ เชฟรอนฯ เห็นว่าค่าใช้จ่าย และ หลักประกันในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. 2559 เป็นการออกกฎหมายภายหลัง จึงไม่มีผลบังคับย้อนหลัง และ รัฐบาลไม่เคยขอแก้ไขสัญญาสัมปทานเดิม เพื่อให้เป็นไปตามกฎกระทรวงที่ออกมาในภายหลัง ดังนั้น การวางหลักประกันกาารื้อถอนที่คืนให้กับรัฐไปแล้ว จึงไม่มีผลบังคับใช้กับคู่สัญญา และ ยังเห็นว่า เมื่อรัฐนำแท่นผลิตปิโตรเลียมไปใช้ประโยชน์ต่อนั้น เป็นหน้าที่ของรัฐ หรือ ผู้รับสัมปทานรายใหม่ จะต้องรับผิดชอบ เพราะได้ส่งมอบแท่นผลิตปิโตรเลียมคืนให้กับรัฐไปแล้ว

ส่วนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเห็นว่า การดำเนินการรื้อถอนแท่นที่รัฐนำไปใช้ประโยชน์ต่อ เป็นหน้าที่ผู้รับสัมปทานรายเดิม มีการระบุไว้ชัดเจนในกฎกระทวง ที่อยู่ภายใต้พ.ร.บ.ปิโตรเลียม จะต้องดำเนินการรื้อถอน และ ต้องวางหลักประกันค่ารื้อถอนไว้ในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งในทะเล

ไม่ยอมเสีย 4 หมื่นล.

ดังนั้น เมื่อระยะเวลาล่วงเลยมา และมีแนวโน้มว่าการเจรจาจะไม่ได้ข้อยุติทางเชฟรอน จึงตัดสินใจที่จะเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ เพื่อให้ได้ข้อสรุป ซึ่งอาจจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี

ทั้งนี้หากเซฟรอนฯต้องรื้อถอน และ วางหลักประกันในส่วนแท่นผลิตปิโตรเลียมที่รัฐนำไปใช้ประโยชน์ต่อจำนวน 142 แท่นนั้น คาคว่จะต้องใช้เงินกว่า 4.1 หมื่นล้านบาท เป็นคำรื้อถอน หรือต้องวางหลักประกันคำรื้อถอนไว้เต็มจำนวนเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ถือว่าเป็นภาระทาการเงิน และ ไม่เป็นธรรมกับผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม

ลุยรื้อถอน 42 แท่น

แหล่งข่าวกล่าวว่า ส่วนการรื้อถอน 42 แท่นของแหล่งเอราวัณ ที่รัฐไม่นำไปใช้ประโยชน์ต่อนั้น ทางเชฟรอนฯได้ส่งแผนการรื้อถอนเบื้องต้น และ ประมาณการค่าใช้จ่าย ไป ให้กรมเชื้อพลิงธรรมชาติตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 โดยประเมินค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้กว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติแผนดังกล่าว ซึ่งหากได้รับอนุมัติ เชฟรอนจะต้องมาวางหลักประกันตามจำนวนค่าใช้จ่ายที่ได้ประเมินไว้ในการรื้อถอนตามจำนวน 42 แท่น และ จะต้องส่งรายงานการพิจารณาวิธีการรื้อถอนที่เหมาะสมที่สุต โดยระบุรายละเอียดโครงสร้างแท่นแต่ล่ะประเภทจะนำไปจัดการอย่างไร จากนั้นต้องส่งแผนงานการรื้อถอนโดยละเอียด และ ประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนให้กรมเชื้อเพลิงพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งการรื้อถอนดังกล่าวคาดว่าจะเริ่มได้ในช่วงเดือน มีนาคม 2564

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่วว ข้อพิพาทดังกล่าว ทางเชฟรอนได้นำกลับมาเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลการอีกครั้ง หลังจากระงับไปเมื่อช่วงปลายปี 2562 ซึ่งขณะนี้กระทรวงพลังาน ได้เตรียมความพร้อมในการต่อสู้คดีครั้งนี้ไว้แล้วไม่ว่าจะเป็นการตั้งคณะดำเนินงานอนุญาโตตุลาการขึ้นมาพิจารณา มีตัวเอง เป็นประธาน รวมทั้งตั้งที่ปรึกษาทางกฎหมายทั้งในและต่างประเทศ มาช่วยในการสู้คดี แต่ขณะนี้คงยังไม่สามารถให้รายละเอียดได้ว่าการดำเนินงานจะเป็นอย่างไร เพราะเกรงว่าจะเสียรูปคดี

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทางเชฟรอนฯ จะนำข้อพิพาทกลับข้ากระบวนการอนุญาโตตุลาการ แต่ก็เปิดช่องให้มีการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่ายเกิดขึ้นระหว่างที่อนุญาโตตุลาการพิจารณา

ส่วนบริษัทโททาล ยักษ์ใหญ่น้ำมันฝรั่งเศสผู้ถือหุ้นในแหล่งก๊าชบงกช 33.3 % ซึ่งต้องวางหลักประกันคำรื้อถอนแท่นที่ส่งคืนรัฐ 46 แท่น ตามสัดส่วนการถือหุ้นได้นำข้อพิพาทนี้เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ และ ได้ระงับกระบวนการไปเช่นเดียวกัน ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นเจรจา และ ยังไม่มีการแจ้งเรื่องเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการอีกครั้ง

ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวทางกระทรวงพลังานได้เตรียมงบที่จะใช้ต่อสู้คดีนี้ไว้ราว 450 ล้านบาท ในการจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมายทั้งใน และ ต่างประเทศ

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------