ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

รื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม รัฐและ เอกชน ต้องเจรจาบนหลักของความเป็นธรรม

รื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม รัฐและเอกชน ต้องเจรจาบนหลักของความเป็นธรรม – สร้างขึ้นมาแล้ว ใช้งานเสร็จแล้ว ก็ต้องรื้อถอน เป็นสัจธรรมครับ แต่ปัญหาคาใจคือ … ใครจ่าย …

รื้อถอนแท่นผลิต โอกาส หรือ อุปสรรค Offshore decommissioning

ผมจะไม่เท่าความหลังไปยาวให้เสียเวลา พวกเราคงรู้ที่มาที่ไปอยู่แล้ว

วันนี้จะชวนคุยเรื่องหลักการคร่าวๆว่า “ใครจ่าย” และ “จ่ายกันอย่างไร” ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้หรอกนะครับ แต่จะมาเล่าให้ฟังเท่าที่เคยได้ยินมาเท่านั้นว่า เขาทำแบบไหนกันบ้าง

สรุปไว้เลยว่า ไม่มีแบบอย่างมาตราฐานสากลว่า ใครต้องจ่าย และ จ่ายอย่างไร เรื่องนี้เป็นเอกสิทธิ์ส่วนตั๊วส่วนตัวของผู้ให้สัมประทาน ที่จะทำสัญญากับผู้รับสัมประทานเท่านั้น อาจจะลอกของคนอื่นมาใช้และดัดแปลงเอาให้เหมาะเจาะกับสัมประทานนั้นๆก็ว่ากันไป

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

เท่าที่เห็นนะ มีปัจจัยหลักๆ และ รูปแบบที่จะกำหนดทิศทางข้อตกลงประมาณนี้

จำนวนแท่นที่ต้องรื้อถอน

ถ้าไม่กี่แท่น และ การรื้อถอนไม่แพงนัก + รายได้จากแท่นเหล่านั้นเยอะแยะ คนที่รับสัมประทานไม้สุดท้ายก็รับไปก็แล้วกัน เพราะว่าไม่ได้ลงทุนค่าสร้างนิ ก็จ่ายค่ารื้อถอนไปก็แล้วกัน

หารเท่าจำนวนปี

แท่นพวกนี้ก็เหมือนสิ่งก่อสร้างทางวิศวกรรมทั้งหลายแหล่ที่มีอายุการใช้งาน ถ้าอายุการใช้งานแท่นหมดลง หรือ แหล่งกักเก็บตรงนั้นผลิตจนหมดลง ก็ต้องรื้อแท่นออกไป ซึ่งอายุการใช้งานของแท่น กับ อายุแหล่งฯ นั้นเราพอประมาณได้ด้วยหลักการทางวิศวกรรม

ก็เอาจำนวนปีหารไปเลย เช่น มีอายุ 20 ปี ก็ประมาณมาว่าค่ารื้อถอนเท่าไร เช่น ค่ารื้อถอนโหรงโจ้งแล้ว 100 บาท ใครได้สัมประทานก็ลงขันมาเลย ปีล่ะ 100/20 = 5 บาท

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ถ้าหมดสัมประทานก่อนอายุแท่น อายุแหล่งฯ ก็ไม่เป็นไร คนที่ประมูลได้คนต่อไปก็จ่ายปีล่ะ 5 บาท

หารจำนวนผลผลิต

การหารด้วยจำนวนปี เจ้าที่มารับสัปประทานหลังๆอาจจะบอกไม่แฟร์ เพราะเจ้าแรกๆดูดขายไปเยอะแล้วนิ แต่หารค่ารื้อถอนเท่ากัน ไม่ยอมๆ ไม่แฟร์ (แต่ที่ตอนเจ้าแรกเขาลงทุนสร้าง แล้วตัวเองไม่ได้จ่าย กลับหุบปากเงียบ 555)

ต้องหารจำนวนผลผลิตสิถึงจะแฟร์ .. น่านนน ว่าไปนั่น

เจ้าของสัมประทานก็ต้องประมาณไว้ล่ะว่า แหล่งนี้ตลอดอายุจะผลิตกี่ถัง เช่น น่าจะผลิตน้ำมันได้ 100 ถึง ค่ารื้อถอน 100 บาท ก็ ถังล่ะ 1 บาท ดังนั้น ทุกๆถังที่ผู้รับสัมประทานดูดมาขาย ต้องจ่ายเป็นค่ารื้อถอน 1 บาท เป็นต้น

อัตราตายตัวไปเลย

อีกแบบที่ผมเคยเห็นมารู้มาคือ เจ้าของสัมประทานกำหนดตายตัวไปเลย คล้ายหักค่าเสื่อมราคาทางบัญชีของสินทรัพย์

เช่น ประมาณค่าค่ารื้อถอนไว้ 100 บาท

5 ปีแรกปีล่ะ 8 บาท

5 ปีต่อมามีล่ะ 6 บาท

5 ปีต่อมา ปีล่ะ 4 บาท

5 ปีต่อมา ปีล่ะ 2 บาท

ก็ครบ 100 บาท ใน 20 ปีพอดี โดยไม่สนล่ะว่าอายุแท่น อายุแหล่งฯ จะเท่าไร ใครมารับสัมประทานท้ายๆก็จ่ายน้อย หรือ ไม่ต้องจ่ายเลย

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ข้อสังเกตุ

ไม่ว่าจะวิธีไหน ก็ต้องมีการประมาณกันทั้งนั้น ประมาณ อายุแท่น อายุแหล่งฯ และ ค่ารื้อถอน ซึ่งในความเป็นจริง อายุแท่นก็อาจจะไม่เป๊ะ ส่วนมากจะทำ lift extension ได้เมื่อถึงปีท้ายๆของอายุขัย ก็คือการซ่อมนั่นแหละครับ เพื่อให้ใช้งานต่อได้ (ถ้าแหล่งฯยังไม่หมด)

อายุแหล่งฯนี่ก็ยิ่งเอาแน่ไม่ได้ ขึ้นกับราคาปิโตรเลียมขณะนั้น เทคโนโลยีการเอาปิโตรเลียมขึ้นมา (recovery technique) บลาๆ

ส่วนค่ารื้อถอนนั้นก็ยิ่งประมาณกันยาก ใครจะไปรู้ว่าค่าใช้จ่ายในอีก 20 ปีข้างหน้าเป็นเท่าไร ไหนจะเทคโนโลยีที่ต้องใช้อีกล่ะ อาจจะเปลี่ยนไป ไหนจะกฏบัตรกฏหมายสิ่งแวดล้อมอีกล่ะ อาจจะหลวมขึ้น หรือ รัดแน่นขึ้นก็ได้ มีผลต่อค่ารื้อถอนทั้งนั้น

ซึ่งวิธีคิดอาจจะมีมากกว่านี้ ผมก็ไม่ได้รู้ไปหมด แค่เล่าให้ฟังเท่าที่ได้ยินได้เห็นมา

แน่นอนว่า แต่ล่ะวิธีมีข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกันไป แต่ข้อสำคัญที่สุดคือ ต้องตกลงกันให้ได้บนพื้นฐานของความเข้าใจธุรกิจและหน้าที่ของแต่ล่ะฝ่าย อย่าตั้งแง่กันเยอะ ไม่งั้นจะตกลงกันไม่ได้ หรือ ลากกันยาว แล้วจะเสียหายกันทั้ง 3 ฝ่าย (รัฐในฐานะผู้ให้สัมประทาน ผู้รับสัมประทานรายเดิม และ ผู้รับสัมประทานรายใหม่)

เอาล่ะ ไปอ่านข่าวกันได้ … 🙂

รื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม

รัฐและเอกชน ต้องเจรจาบนหลักของความเป็นธรรม

ที่มา … ประเด็นรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม

ทำความเข้าใจกันก่อนว่า เรื่องของการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม ของบริษัทผู้รับสัมปทานเมื่อสิ้นสุดอายุสัญญาสัมปทาน นั้นเป็นสิ่งที่ทั้งรัฐคือ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และเอกชนคือบริษัทผู้รับสัมปทานในแหล่งผลิตปิโตรเลียม ได้มีการเตรียมการและเจรจาหารือกันมาระยะหนึ่งแล้ว

ล่าสุดคือการลงนามความร่วมมือในการนำร่องรื้อถอนแท่นหลุมผลิตจำนวน 8 ขาแท่น ไปจัดวางเป็นปะการังเทียม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล บริเวณเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่าง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ร่วมกับบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด (เชฟรอนประเทศไทย) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2562 ที่ผ่านมา

แต่ที่กลายเป็นประเด็นที่สื่อมวลชนให้ความสนใจ จนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต้องลงมาสั่งการในเรื่องนี้ ก็เพราะมีกระแสข่าวออกมาว่า การเจรจาระหว่างรัฐและบริษัทผู้รับสัมปทาน ในการวางหลักประกันรื้อถอนสิ่งติดตั้งทั้งหมด ตามประกาศกฎกระทรวง ปี 2559 ทำท่าจะไม่ได้ข้อยุติโดยเร็ว และเอกชนกำลังจะยื่นฟ้องต่ออนุญาโตตุลาการ เพื่อขอความเป็นธรรม

โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์จากฝั่งประชาสังคมว่า รัฐอาจจะต้องเสียค่าโง่ให้เอกชนในเรื่องดังกล่าวอีกหรือไม่ เหมือนข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนในกรณีอื่นๆ ที่อนุญาโตตุลาการมีคำตัดสินออกมา

ในกฏหมายปิโตรเลียม ปี 2514 ที่ได้มีการทำสัญญาให้สิทธิเอกชนเข้ารับสัมปทานในแหล่งปิโตรเลียมนั้น มาตรา80/1และมาตรา80/2 (แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี2550) กำหนดให้ ผู้รับสัมปทานต้องวางหลักประกันและจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียมเมื่อสิ้นสุดอายุสัมปทาน แต่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด

Decommissioning การรื้อถอนสิ่งติดตั้งกิจการสำรวจและผลิตปิโตรฯ

โดยมาระบุในตอนหลัง เป็นกฏกระทรวง เมื่อปี 2559 ที่ออกตาม พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ว่า ผู้รับสัมปทานจะต้องจัดทำแผนงาน ประมาณการค่าใช้จ่าย และหลักประกันในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียมทั้งหมด ต่อกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เต็มตามจำนวนสิ่งติดตั้งที่มีอยู่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นส่วนของแท่นผลิตกลาง หรือแท่นหลุมผลิตอื่นๆ ที่โอนให้เป็นทรัพย์สินของรัฐแล้วก็ตาม

โดยในการปฎิบัติตามกฏหมายจะไม่เป็นประเด็นปัญหา หากในการประมูลเพื่อให้สิทธิเอกชนเข้าบริหารจัดการประโยชน์แหล่งปิโตรเลียม เอราวัณ และบงกช เมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา ภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตนั้น ได้ผู้ชนะเป็นบริษัทผู้รับสัมปทานรายเดิม เพราะถึงแม้จะใช้แท่นผลิตเดิม ผลิตปิโตรเลียมต่อไปอีก 10 ปี จนจบกระบวนการไม่ใช้งานต่อแล้ว ความรับผิดชอบตามกฏหมายในการรื้อถอนก็ยังคงมีอยู่

แต่เมื่อเอกชนผู้ชนะการประมูลทั้งสองแหล่ง เป็นกลุ่มบริษัท ปตท.สผ. ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานรายเดิมเฉพาะแหล่งบงกช

จึงกลายเป็นประเด็นที่ต้องมีการเจรจากันให้ได้ข้อยุติคือ ในช่วง 10 ปี หลังจากสิ้นสุดอายุสัมปทาน แท่นผลิตของแหล่งเอราวัณที่ยังสามารถใช้งานได้ต่อ และถูกถ่ายโอนให้เป็นทรัพย์สินของรัฐ ตามที่รัฐระบุไว้ในกฏหมาย และรัฐนำไปให้เอกชนรายใหม่ใช้ประโยชน์ต่อนั้น รัฐและเอกชนรายใหม่ควรจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนแท่นผลิตที่นำไปใช้ประโยชน์ใน 10 ปีหลังนี้ด้วยหรือไม่ และ ถ้าต้องรับด้วย จะคิดคำนวณเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ จึงจะเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

https://nongferndaddy.com/first-offshore-decommissioning/

เมื่อพิจารณาถึงลักษณะของการให้สัมปทาน จากรัฐที่เป็นลักษณะการลงทุนด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ในกรณีอื่นๆ ที่เรียกว่า BOT (Build Operate and Transfer) เหมือนกรณีของสัมปทานปิโตรเลียม ซึ่งเอกชนได้รับสิทธิตามสัญญาสัมปทานจากรัฐบาลในการลงทุนก่อสร้าง และดำเนินงานเพื่อหาผลตอบแทนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้

โดยในระหว่างการดำเนินงานดังกล่าว กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นจะเป็นของภาคเอกชน แต่หลังจากการสิ้นสุดอายุสัมปทาน กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่ลงทุนจะถูกโอนให้แก่รัฐบาล เพื่อเป็นการตอบแทน เช่น กรณีของทางด่วน น้ำประปา โรงไฟฟ้า จะเห็นว่าเอกชนนั้นโอนเฉพาะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไปให้รัฐ แต่ความรับผิดชอบเรื่องของการบริหารจัดการให้กิจการนั้นดำเนินต่อไปได้ เป็นเรื่องของรัฐที่จะต้องให้เอกชนรายใหม่เข้ามาบริหารจัดการต่อภายใต้สัญญาฉบับใหม่ หรือไม่เช่นนั้นรัฐก็จะใช้วิธีการขยายอายุสัญญาสัมปทานออกไปอีก

ดังนั้นเมื่อกลับมาพิจารณาสัญญาสัมปทานปิโตรเลียม เอกชนผู้รับสัมปทานจึงมีสิทธิ์ที่จะบอกรัฐได้ว่า จะรับผิดชอบการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม เฉพาะที่รัฐสั่งให้รื้อถอนออกไปเท่านั้น แต่ส่วนของแท่นผลิตที่รัฐนำไปให้เอกชนรายอื่นใช้ประโยชน์ต่อ ความรับผิดชอบการรื้อถอนควรจะเป็นของรัฐและเอกชนรายใหม่นั้นด้วย

ประเด็นปัญหาดังกล่าว นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ส่งสัญญาณออกมาแล้วว่า ต้องการให้มีการเจรจากันให้เป็นที่ยุติที่เป็นประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย

สอดคล้องกับความเห็นของ ดร.คุรุจิต นาครทรรพ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการว่าเป็นอดีตข้าราชการที่มีความรู้และประสบการณ์เรื่องของการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมดีที่สุดของประเทศไทยคนหนึ่ง มองว่า ถ้าต่างฝ่ายต่างตั้งการ์ดสูง คือ ผู้รับสัมปทานเดิม จะไม่ยอมรับภาระค่ารื้อถอนในแท่นผลิตส่วนที่โอนให้กับรัฐเลย หรือฝ่ายรัฐจะโยนให้ผู้รับสัมปทานต้องรับภาระค่าใช้จ่ายการรื้อถอนทั้งหมด โดยวางหลักประกันล่วงหน้าเต็มจำนวน การเจรจาคงจะไม่ได้ข้อยุติ เพราะไม่มีใครยอม และจะนำไปสู่การฟ้องร้องอนุญาโตตุลาการ ตามที่กฏหมายเปิดช่องไว้ในที่สุด

ดร.คุรุจิต เสนอทางออกเรื่องนี้ว่า ต้องถามก่อนว่ารัฐต้องการอะไร อะไรคือเป้าหมายสุดท้ายที่อยากจะเห็น

ถ้าเป้าหมายของรัฐต้องการที่จะให้มีการรื้อถอนสิ่งติดตั้งออกไปทั้งหมด เมื่อไม่มีการผลิตปิโตรเลียมแล้ว ก็ต้องมาดูต่อว่าแล้วใครจะเป็นผู้ดำเนินการ ก็เจรจากัน ที่สำคัญทั้งสองฝ่ายคือรัฐและเอกชน อย่าพยายามหาช่องที่จะเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ผู้รับสัมปทานอย่าเอาเปรียบรัฐ และ รัฐอย่าเอาเปรียบผู้รับสัมปทาน โดยอาจจะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยดูเมื่อลงลึกไปในรายละเอียด

เขายกตัวอย่างในต่างประเทศที่ใช้ระบบสัมปทานอย่างอังกฤษ ที่ผู้รับสัมปทานสามารถยอมรับที่จะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนทั้งหมด ก็เพราะจำนวนแท่นผลิตเขามีไม่มาก และค่าใช้จ่ายไม่สูง

แต่ในกรณีของอ่าวไทย เรามีแท่นผลิตปิโตรเลียม มากกว่า 200 แท่น จึงมีค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสูง รัฐจึงต้องมาพิจารณาว่ากฏหมายที่ออกมาที่ให้เอกชนต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนทั้งหมด เป็นธรรมหรือไม่ หรือ สามารถที่จะบังคับใช้แบบยืดหยุ่นได้หรือไม่ ถ้ารัฐบอกว่ากฏหมายออกมาแล้วยืดหยุ่นไม่ได้ และเอกชนมองว่าไม่เป็นธรรม ก็คงต้องรอให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้คดี แล้วค่อยมาดำเนินการกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะให้เกิดขึ้น

ต้องบอกว่าประเด็นเรื่องของการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม ถือว่ามีความสำคัญที่รัฐพยายามจะให้การเจรจา 3 ฝ่าย คือ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ผู้รับสัมปทานรายเดิม ผู้รับสัญญารายใหม่ ได้ข้อยุติภายในสิ้นปีนี้

โดยจะต้องมีความชัดเจนว่า จะมีแท่นผลิตจำนวนกี่แท่น ที่ผู้รับสัมปทานจะโอนเป็นทรัพย์สินของรัฐเพื่อให้ผู้รับสัญญารายใหม่ได้ใช้งานต่อ และเมื่อใช้งานจบแล้วใครจะต้องมารับภาระค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนอย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้ผู้รับสัญญารายใหม่ได้มีเวลาเตรียมความพร้อมในการผลิตก๊าซให้มีความต่อเนื่อง ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากสัญญาสัมปทานมาสู่สัญญาแบ่งปันผลผลิต

กรณีดังกล่าวหากปล่อยให้มีการฟ้องร้องไปถึงอนุญาโตตุลาการ และกลายเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ยืดเยื้อ ก็เชื่อว่าจะไม่เป็นผลดีกับทุกฝ่าย ทั้งผู้รับสัมปทานเดิม ผู้รับสัญญาใหม่ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแล และอาจจะกระทบกับความต่อเนื่องในการผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย ในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่าง ผู้รับสัมปทานรายเก่า และผู้รับสัญญาใหม่ภายใต้ระบบแบ่งปันผลผลิต โดยหากการผลิตปิโตรเลียมมีการหยุดชะงัก สุดท้ายผู้ที่จะต้องมารับภาระต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นก็คือ ประชาชนผู้ใช้พลังงาน นั่นเอง

ไม่ต้องวางหลักประกัน การรื้อถอน … ผ่านร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

ไม่ต้องวางหลักประกัน การรื้อถอน … ผ่านร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------