ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

ไม่ต้องวางหลักประกัน การรื้อถอน … ผ่านร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

ไม่ต้องวางหลักประกัน การรื้อถอน … ส.น.ช. ผ่านร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ไปเรียบร้อยเมื่อศุกร์ที่แล้ว (21 ก.ย.) โดยตัดมาตรา 4 กับ มาตรา 8 ออกไป ซึ่งวันนี้ ถึงแม้ว่าผมจะอยู่ในฐานะปลายทางของการได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ ผมขอเป็นฝ่ายไม่เห็นด้วยครับ

มาดูกันว่า มาตรา 4 และ 8 มันคืออะไร

โดยมาตรา 4 เป็นบทบัญญัติว่า การให้เอกชนผู้รับสัมปทานหรือสัญญาในการสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียม ต้องวางเงินเป็นหลักประกันในการรื้อถอนแท่นที่หมดสภาพการใช้งานแล้วหลังหมดอายุสัมปทาน หรือ สัญญาการสำรวจผลิตปิโตรเลียม

ส่วนมาตรา 8 เป็นเนื้อหาที่ว่าด้วยการให้เอกชนต้องวางเงินหลักประกันเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดปัญหาจากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม 

ไปอ่านรายละเอียดสาเหตุที่ตัดเอาเองครับ แต่ผมขอสรุปง่ายๆเลยว่าสาเหตุที่ตัด 2 มาตรานี้ออกไปนั้น อยู่บนสมมุติฐานข้อเดียวคือ ผลประกอบการสัมปทานของธุรกิจปิโตรเลียมช่วงปลายสัมปทาน มักจะประสบกับผลขาดทุน

พอไปปักธงแบบนี้ ก็เลยมีผลตามมาว่า รัฐจะไม่สามารถเก็บภาษีได้ เพราะตามหลักการทางบัญชี และ ทางภาษี มันเป็นแบบนั้น ซึ่งเรื่องนี้ผมไม่เถียง เพราะที่ไหนๆ ก็เสียภาษีจากกำไร ถ้าไม่มีกำไร ก็ไม่ต้องเสียภาษี (รบกวนไปอ่านรายละเอียด เหตุผล และ ตัวอย่างในเนื้อข่าวข้างล่าง)

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ในฐานะผู้เสียภาษีให้รัฐฯ

ผมขอตั้งคำถาม 2 ข้อ โตๆ ให้ท่านๆมาตอบหน่อย

  1. เอามาตรา 4 และ 8 ออกไปไม่ว่า แล้วท่านจะไม่มีกลไกอะไรมาทดแทนหรือครับ ผมไม่ใช่กูรูด้านนี้ ที่จะนำเสนอได้ว่าถ้าไม่เอามาตรา 2 มาตรานี้แล้วจะเสนออะไรมาทดแทน แต่ผมรู้แน่ๆว่า ผู้ประกอบการต้องการกำไร ลดค่าใช้จ่าย ปลูกสร้างอะไรที่ หมกเม็ด เอาง่ายเข้าว่า ได้ประโยชน์ระยะสั้น ราคาถูก แต่อาจจะ รื้อถอน ยาก มีผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะไปโทษเขาไม่ได้ เขามีผู้ถือหุ้นต้องรับผิดชอบ มันเป็นระบบการทำธุรกิจ เจ้าของบ้านต่างหากที่จะต้องออกกฏกติกาที่รัดกุม แต่ต้องสามารถจูงใจการลงทุน
  2. แล้วกรณีศึกษาจากแหล่งอื่น ประเทศอื่นๆที่ปลายสัมปทานเหมือนกัน เขาไม่มีหลักประกันกันแบบนี้กันทุกประเทศทุกแหล่งเหรอครับ รบกวนท่านทำการบ้านให้ผมหน่อยครับ เพราะในที่สุดแล้ว เชื่อเลยว่า เมื่อไม่มีหลักประกัน มีปัญหาตอนจบสัมปะทานแน่นอน แล้วจะเอาเงินใครล่ะจะมารื้อถอน ก็เงินพวกผมนี่แหละครับ

พูดตรงๆ บริษัทน้ำมันที่เป็นแขนเป็นขาให้รัฐน่ะ ผมไม่ห่วงหรอก เพราะในที่สุด รัฐฯจนแต้มเสียค่าฉลาดน้อยขึ้นมาจริงๆ ก็บริษัทน้ำมันที่เป็นแขนเป็นขาให้รัฐฯ นี่แหละ ที่จะมาปัดกวาดเช็ดถู (ด้วยเงินภาษีผมอยู่ดี) ถ้าบ.นั้นได้สัมปทานไป บ.เขาก็คงไม่ทำอะไรชุ่ยๆไว้หรอก เพราะเขาก็รู้อยู่ว่าในที่สุด เขาก็ขว้างงูไม่พ้นคอ

จะเช่าบ้าน เช่ารถ เช่าเรือกสวนไร่นา เช่าอะไรมาทำมาหากิน ก็ต้องวางหลักประกันกันค่าเสียหายตอนส่งมอบทรัพย์นั้นคืนเจ้าของทั้งนั้นครับ … ตรองดูนิ๊สนุงนะท่านๆ

ท่านส.น.ช.ครับ ท่านมีบ้าน หรือ มีอสังหาริมทรัพย์ไหมครับ ผมขอเช่าอสังหาริมทรัพย์ท่านมาทำมาหากินสัก 5 ปี แต่ไม่ขอวางเงินประกันค่าเสียหายตอนส่งมอบอสังหาริมทรัพย์นั้นคืนท่านนะครับ 🙂

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

สมมุติฐานว่าขาดทุน …

ไม่มีผู้ประกอบการคนไหนยอมประกอบการแล้วขาดทุนหรอกครับ ถ้ายื่นประมูลได้งาน ทำแล้วขาดทุน เขาจะเข้ามาประมูลหรือ อาจจะขาดทุน ช่วงปลายจริง แต่ช่วงแรกก็กำไรไปแล้ว และ โดยวิสัยของการตัดสินใจประมูลแล้ว ก็ต้องทำศึกษาประเมินระยะยาวตลอดอายุสัมปะทานว่ารวมแล้วกำไร (ถึงแม้ตอนปลายขาดทุน) ดังนั้นผมไม่เห็นด้วยกับการตั้งสมมุติฐานแบบนี้ครับ

ขนาดผมมีกิจการเล็กๆ บางปีผมขาดทุน ยื่นภาษีท่านสรรพากรไปว่าขาดทุนสองปีติด ซึ่งจริงๆโดยสัจเลยครับ มันขาดทุนจริงๆสองปีนั้น พอยื่นภาษีไป สรรพากรเรียกไปคุย บอกไม่เชื่อ ผมก็แสดงหลักฐานทั้งหมด ก็ยังไม่เชื่ออีก พูดเหมือนกัน เหมือนท่องมาทั้งกรมฯว่า ถ้าขาดทุนคุณจะทำไปทำไม ดังนั้น คุณนกคุณเสียภาษีให้สรรพากรมาเสียดีๆ 555

เชื่อเถอะครับ อายุขัยผมอาจจะอยู่ไม่ถึงตอนหมดสัมปทานงวดนี้ แต่ผมอยู่ในวงการนี้มานานพอที่จะเชื่อได้ว่า แหล่งอย่างบงกช เอราวัณ ไม่มีทางขาดทุนครับ

เพื่อนพี่น้องอย่าเพิ่งโกรธกันนะว่า ทำไมงวดนี้ผมแทงไม่ถูก เอ๊ย งวดนี้ผมไม่เห็นด้วยทั้งๆที่ฝ่ายอุตสาหกรรมเราได้ประโยชน์ ผมขอใช้สิทธิ์สวมหมวกคนไทยที่เสียภาษีเต็มทุกเม็ดออกความเห็นครับ

ไปอ่านเนื้อข่าว และ เหตุผลที่ส.น.ช.ท่านชี้แจงได้เลยครับ

ไม่ต้องวางหลักประกัน การรื้อถอน …

ที่มา … มติเอกฉันท์ ‘สนช.’ เห็นชอบร่างพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

https://www.thaipost.net/main/detail/18113

21 ก.ย. 61 – ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเอกฉันท์ 164 คะแนนเห็นชอบให้ร่างพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ทั้งนี้ ระหว่างการประชุมได้มีสมาชิกสนช.อภิปรายสอบถามถึงสาเหตุที่คณะกรรมาธิการวิสามัญได้ตัดเนื้อหาในมาตรา 4 และ มาตรา 8 ออกไป

โดยมาตรา 4 เป็นบทบัญญัติว่าการให้เอกชนผู้รับสัมปทานหรือสัญญาในการสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียม ต้องวางเงินเป็นหลักประกันในการรื้อถอนแท่นที่หมดสภาพการใช้งานแล้วหลังหมดอายุสัมปทานหรือสัญญาการสำรวจผลิตปิโตรเลียม

ส่วนมาตรา 8 เป็นเนื้อหาที่ว่าด้วยการให้เอกชนต้องวางเงินหลักประกันเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดปัญหาจากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพราะอาจทำให้รัฐเสียประโยชน์

ด้าน พล.ร.อ.ชัยวัฒน์ เอี่ยมสมุทร สมาชิกสนช.และประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ กล่าวคณะกรรมาธิการได้พิจารณาลงในรายละเอียด มีเหตุผลที่ต้องตัดมาตรา 4 ออกไปด้วยเหตุผล 3 ประการ

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

1.โดยข้อเท็จจริงผลประกอบการสัมปทานของธุรกิจปิโตรเลียมช่วงปลายสัมปทาน มักจะประสบกับผลขาดทุน เพราะผลผลิตน้อย หากเกิดผลขาดทุนก็จำเป็นต้องเอาผลของการขาดทุนมาหักออกจากหลักประกันที่จะนำมาเป็นรายได้ก่อน

ยกตัวอย่าง ในปีที่ผู้รับสัมปทานมาขอคืนหลักประกัน 1 แสนล้านบาท ปรากฎว่าบริษัทมีผลขาดทุน 5 หมื่นล้านบาท จะต้องนำผลขาดทุนหักออกจากมูลค่าหลักประกัน ซึ่งจะเหลือกำไรสุทธิ 5 หมื่นล้าน โดยเมื่อคิดภาษีเงินได้ 40 % เท่ากับ 2 หมื่นล้านบาท

ดังนั้น แทนที่รัฐจะได้รับภาษีเต็มจำนวนประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ยิ่งไปกว่านั้นถ้าผลการขาดทุนเพิ่มมากขึ้นจนเท่ากับหรือมากกว่ามูลค่าหลักประกันที่นำมาวางไว้ จะทำให้รัฐไม่ได้รับภาษีส่วนนี้คืนเลย

พล.ร.อ.ชัยวัฒน์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ การขอคืนหลักประกันและนำมาเป็นรายได้ ยังจะเป็นภาระค่าจ่ายทางภาษีของบริษัท ซึ่งการที่บริษัทประกอบกิจการในช่วงปลายสัมปทาน เมื่อประสบผลขาดทุนและยังต้องมีภาระทางภาษีอีก ก็จะไม่เป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับบริษัททำผลกำไร

ยกตัวอย่าง ถ้าบริษัทมีผลประกอบการขาดทุนปีนั้น 5 หมื่นล้านบาท เมื่อขอคืนหลักประกันจำนวน 1 แสนล้านบาท บริษัทก็จะมีกำไร 5 หมื่นล้านบาท จึงจำเป็นต้องพยายามไปหาเงินมาเสียภาษีอีก 2 หมื่นบาท ซึ่งจะไม่เกิดแรงจูงใจเพื่อจะประกอบธุรกิจให้มีกำไร

ดังนั้น คณะกรรมาธิการฯส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐมีโอกาสสูญเสียรายได้จากภาษีเงินได้ค่อนข้างสูง โอกาสที่จะได้ภาษีมีน้อยมาก

2. โดยข้อเท็จจริงแล้วค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนแท่นผลิตและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทหรือผู้รับสัมปทานสามารถนำมาหักและนำมาคิดเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษีเงินได้ได้อยู่แล้ว

หมายความว่า ถ้ารื้อถอนไปแล้วและบริษัทมีค่าใช้จ่าย 1 แสนล้านบาท ก็นำเงินจำนวนนี้มาเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อหักภาษี และจะได้รับเงินภาษีคืนไป 4 หมื่นล้านบาท เหมือนกับบริษัทจ่าย 6 หมื่นล้านบาท และรัฐจ่าย 4 หมื่นล้านบาทในการรื้อถอน

พล.ร.อ.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า ดังนั้น หากมีกรณีที่ต้องจ่ายภาษีในส่วนของหลักประกันเพิ่มขึ้นอีก เท่ากับว่ารัฐต้องสูญเสียรายได้ในส่วนนี้เป็นต่อที่สอง เช่น ถ้าบริษัทขาดทุนจนไม่ได้รับเงินคืนเลยแทนที่รัฐจะเสีย 4 หมื่นล้านบาทร่วมกับบริษัท รัฐจะเสีย 8 หมื่นล้านบาท หรือ 80 % ของมูลค่าทั้งหมด ซึ่งรัฐเกือบจะเป็นผู้ดำเนินการรื้อถอนแต่เพียงผู้เดียว

3. การนำหลักประกันมาเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีนั้นไม่เคยมีการดำเนินการมาก่อนในประเทศไทย ถ้าตราเป็นกฎหมายออกไปจะเป็นตัวอย่างให้ธุรกิจสัมปทานประเภทอื่นๆนำมาเป็นแบบอย่าง และจะเป็นปัญหาทางภาษีหรือรายได้ของรัฐต่อไปในอนาคต

พล.ร.อ.ชัยวัฒน์ กล่าวสรุปว่า เมื่อคณะกรรมาธิการพิจารณาทั้ง 3 เหตุผลแล้ว จึงเห็นควรให้ตัดมาตรา 4 และ มาตรา 8 ออกจากร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้คณะกรรมาธิการได้พยายามทางออกอื่นๆ เช่น การแก้ไขให้เก็บภาษีเต็มจำนวนโดยไม่นำเรื่องผลกำไรขาดทุนมาเกี่ยวข้อง แต่ได้รับคำชี้แจงจากกระทรวงการคลังว่าจะเป็นปัญหาในการเก็บภาษีในอนาคต.

บทความที่เกี่ยวข้อง

กฎกระทรวง กําหนดแผนงาน ประมาณการค่าใช้จ่าย และหลักประกันในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. 2559
https://law.dmf.go.th/public/law/index/detail/id/38

ความเห็นและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับกรณีการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมในทะเลไทยที่หมดอายุการใช้งาน
อังคารที่ 11 มกราคม 2548

https://www.ryt9.com/s/ryt9/24177

ที่มา: สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
www.nesac.or.th, โทร.02-612-9222 ต่อ 118, 119 โทรสาร.02-612-6918-9

การฝังกลบและสละหลุม (Well Plug and Abandon – P&A) ทำอย่างไร

Decommissioning การรื้อถอนสิ่งติดตั้งกิจการสำรวจและผลิตปิโตรฯ

รื้อถอนแท่นผลิต โอกาส หรือ อุปสรรค Offshore decommissioning

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------