ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

รื้อถอนแท่นผลิต โอกาส หรือ อุปสรรค Offshore decommissioning

รื้อถอนแท่นผลิต … แท่นผลิตก็เป็นสิ่งก่อสร้างประเภทหนึ่ง ที่สร้างมาแล้ว ใช้ประโยชน์แล้ว เมื่อหมดอายุการใช้งาน หรือ หมดประโยชน์ อันเนื่องจากแหล่งผลิตหมด หรือ ไม่คุ้มทุนที่จะผลิต (ด้วยปัจจัยอะไรก็ตาม) ก็ต้องมีการรื้อถอน หรือที่เรียกว่า decommissioning

ที่เรามักเรียกกันสั้นๆติดปากว่า decom (อ่าน ดี-คอม) นั่นแหละครับ มือใหม่ไปดูความหมายภาคภาษาอังกฤษกันครับ —>  http://petrowiki.org/Offshore_decommissioning

แล้วนี่ก็ลิงค์ภาคภาษาไทยๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ผมเคยเม้าส์มอยเอาไว้ ตามไปอ่านปูพื้นกันได้ครับ ผมจะไม่เกริ่นซ้ำนะครับ เข้าประเด็นกันไปเลย

Decom คืออะไร – มารู้จัก Offshore decommissioning Masters degree กัน

เปิดชิงแหล่งปิโตรฯก.พ.61-ข่าว

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

หลักเกณฑ์ในการดำเนินงานรื้อถอนสิ่งติดตั้งในกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม

รื้อถอนแท่นผลิต

เรื่องของเรื่องที่ทำให้ผมแวะมาชวนคุยเรื่องนี้ก็คือว่า ผมบังเอิญได้อ่านรายงานฉบับหนึ่งของบ.ที่ปรึกษาเจ้าหนึ่งที่ชื่อ Wood Machenzie เขาทำรายงานเกี่ยวกับ อนาคตของการรื้อถอนแท่นฯนอกชายฝั่งทั่วโลกในอีก 10 ปีข้างหน้า

พี่ Wood Mac เอามูลค่าที่ใช้ในการรื้อถอนมาจัดอันดับกัน ตัวเลขมันมาสะกิดใจตรงอ่าวไทยเราติดอันดับ 5 เชียวนะครับ … หุหุ …

รื้อถอนแท่นผลิต โอกาส หรือ อุปสรรค

ผมก็ไม่รู้ล่ะนะครับว่า พี่ Wood Mac ไปเสกตัวเลขพวกนี้มาได้อย่างไร จริงๆผมก็ไม่ค่อยในน้ำหนักบ.ที่ปรึกษาพวกนี้มากเท่าไรในเชิงความแม่นยำ โดยมากก็จับแพะชนแกะมา แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ในมิติของ “แนวโน้ม” ของภาพใหญ่ๆ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

เช่น ตัวเลข อาจจะไม่อลังการขนาดนี้ เพราะตัวเลขพวกนี้มันโดนปั้นมาโดยสมมุติฐานเยอะแยะ แต่แนวโน้มว่า อีก 10 ปี เรื่องนี้จะเป็นเรื่องใหญ่แน่ๆ อันนี้จริง

แถมพี่ Wood Mac ยังจัดอันดับอีกครับว่า รัฐบาลแต่ล่ะประเทศต้องไปมีเอี่ยวในค่ารื้อถอนเท่าไรตามระบบสัมปทานที่ถืออยู่

รื้อถอนแท่นผลิต โอกาส หรือ อุปสรรค

ในรายงานฉบับเต็มนั้น พี่ Wood Mac ได้พูดถึงประเด็นที่ว่า ใครควรจะจ่ายส่วนไหน อย่างไรบ้าง เอาไปหักจากต้นทุนการดำเนินงานตามสัญญาสัมปทานได้ไหม ได้แค่ไหน ในโลกเราตอนนี้มีกี่ระบบที่ใช้กันในเรื่องนี้ แต่ล่ะระบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ซึ่งผมอ่านแล้ว แฮ่ๆ มึนตึ๊บ เพราะไม่ได้จับเรื่อง petroleum fiscal term มาใช้ทำมาหากินมานาน สนิมขึ้น อีกทั้งไม่ค่อยมีเวลา ยุ่งๆ ก็เลยได้แค่อ่านข้ามไปข้ามมา

Download รายงานฉบับเต็ม Click –> Upstream decommissioning: where’s next and who pays?

แต่ประเด็นที่จะชวนคุยคือ มันเป็น อุปสรรค หรือ เป็นโอกาส สำหรับพวกมดงานตัวจ้อยๆอย่างพวกเรา

อุปสรรค หรือ โอกาส

จะว่าไปมันก็ขึ้นกับมุมมองน่ะครับ เรื่องนี้ทำให้ผมคิดถึงตัวอย่างระดับคลาสิกตัวอย่างหนึ่งที่เรียนวิชาการตลาดเบื้องต้น(ตอนสมัย ป.โท ที่ มธ.)

ผจก.บริษัทขายรองเท้าแห่งหนึ่ง อยากเปิดตลาดในแอฟริกา ก็เลยส่งเซลส์แมนไปสำรวจตลาด และ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ ผจก.จึงส่งเซลส์แมนไปสองคนในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยที่แต่ล่ะคนไม่ทราบว่ามีเพื่อนมาสำรวจตลาดเดียวกัน

คนแรกกลับมาเขียนรายงานว่า คนที่นั่นไม่ใส่รองเท้ากันเลย ไม่มีโอกาสทางการตลาดหรอก ไม่น่าจะขายได้

คนที่สองกลับมาก็เขียนรายงานคล้ายคนแรก คนที่นั่นไม่ใส่รองเท้ากันเลย ดังนั้น โอกาสทางการตลาดสูงมาก ต้องรีบมาตั้งโรงงาน จะได้เป็นเจ้าแรก

พวกเราก็คงเคยได้ยินตัวอย่างอะไรทำนองนี้

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ผมว่านะ เรื่องการรื้อถอนเจ้าแท่นผลิตนี่ก็เหมือนกัน บางคนกลัวว่า เฮ้ย เดี๋ยวไม่มีงาน ไม่มีแท่นผลิตให้ทำงาน เพราะแท่นจะต้องน้อยลง

แต่บางคนมองว่า เฮ้ย โอกาสดีเลย เราทำงานบนแท่นผลิตอยู่แล้ว ลงทุนไปเรียนต่อคอร์สระยะสั้นๆอีกนิด จะได้จบมาเป็นคนไทยคนแรกๆที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้จริงจัง เมื่อเวลามาถึง จะได้อัพค่าตัว

น้องๆหลานๆก็สามารถศึกษาเล่าเรียนเฉพาะทาง ดักหน้าไว้เลย เพราะไม่ว่าจะอย่างไร การรื้อถอนแท่นผลิตนี้มันมาแน่ๆ และ เยอะด้วย …

จริงๆแล้ว ถ้าจะทำกับแบบลูกทุ่งๆหรือมวยวัด ด้วยทัศนคติประมาณว่า สร้างได้ ก็ต้องรื้อเป็น แบบนั้นมันก็โอเคแหละ ลองผิดลองถูกกันไป เปิดตำราไปทำไป

แต่จริงๆแล้วมันมีหลายมิติ หลายเรื่องที่ต้องดูแบบเป็นองค์รวม (แอบไปแง้มหลักสูตรมาเม้าส์) เช่น เรื่องความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม กฏหมายสิ่งแวดล้อม กฏหมายทางทะเล ประชาคม เทคโนโลยีด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง การนำเอาแท่นที่ถอดออกมาแล้วไปกำจัด วิธี และ ทางเลือกในการรื้อถอน ทางเลือกในการกำจัด หรือ จะเอาไปใช้ต่อได้อย่างไร ฯลฯ

เท่าที่ทราบ ที่ต่างประเทศ ตอนนี้ก็มีหลายที่เริ่มทะยอยเปิดสอนเรื่องนี้รองรับกันแล้ว ในเมืองไทยนั้นคงอีกพักใหญ่ๆ แต่การหาความรู้ความเข้าใจจากแหล่งข้อมูลออนไลน์มากมายสมัยนี้ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่เลวทีเดียว อีกทั้งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในบริษัทตัวเองนั้น ก็ไม่ควรมองข้าม

วารสารทางเทคนิคของวงการ เช่น IADC หรือ SPE ก็มักจะมีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาตีพิมพ์เป็นระยะๆ ฟรีด้วย ขึ้นกับว่า พวกเราจะใส่ใจอ่านกันไหมเท่านั้น

อย่างองแงนะว่า มันเป็นภาษาอังกฤษ ขืนงองแง ลุงจะดุให้เลย ถ้าอ่านภาษาอังกฤษไม่ออกก็ยากนะ จะทำงานในวงการนี้ได้

ข่าวดีคือ เราเรียนเพิ่มเติมได้ ออนไลน์ ฟรี มากมาย เพิ่งอ่านข่าวเร็วๆนี้ว่า วินมอเตอร์ไซด์ ศึกษาเองจนเป็นล่าม แล้วตอนนี้ กลับบ้านไปเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ … เขาทำได้ไง … แล้วเราล่ะ …

ของเก่าโดนรื้อโดนโล๊ะ ถ้าใต้ดินยังมีก๊าซให้ผลิตต่อไหว ก็ต้องมีแท่นใหม่มาตั้ง

ส่วนแท่นฯที่สร้างใหม่ก็คงเป็นแท่นที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีทันสมัยมากมาย แท่นฯเก่า เทคโนโลยีเก่า ก็คงไปกับ คนงานแท่นฯรุ่นเก่า (ที่ไม่ยอมปรับตัว) ถ้าไม่ยอมปรับตัว แท่นฯใหม่ๆเหล่านี้ก็เป็นอุปสรรคกับอาชีพการงาน แต่ถ้าปรับตัวรับ แท่นฯใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ ก็จะเป็นโอกาสของเรา

คิดเสียว่า ยังไงมันมาแน่ๆ อายุงานเราก็ยังเหลือพอจะได้เจอกับมัน เราเตรียมตัว ฝึกทักษะเรารับมัน จะไม่ดีกว่าหรือ

โลกเรามันก็หมุนไป เทคโนโลยีในงานของเรา มันก็หมุนตาม มดงานตัวจ้อยอย่างเรา จะรอให้หลุดวงโคจร หรือ จะปรับทักษะเรา เรียนรู้ และ หมุนไปกับโลก กับงานของเรา …

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------