ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต ต่างกันอย่างไร พี่หมื่นขอแจง (นะออเจ้า)

แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต แท่นทั้งสองประเภทนี้แตกต่างกันอย่างไร สำหรับคนในวงการฯคงไม่ต้องอธิบายกันล่ะ เข้าใจกันดี แต่คนนอกวงการฯเรานี่ซิ สับสนกันจัง

สื่อมวลชนต่างๆด้วยก็เช่นกัน ประสบการณ์ตอบคำถามหลังไมค์หน้าไมค์ ที่คุยกับคนนอกวงการฯ ก็เคยมีประสบการณ์ประมาณ์ว่า ผม/หนู อยากทำงานแท่นฯ คุยไปคุยมา ผมเข้าใจว่าแท่นขุดเจาะฯเพราะมันใกล้ตัว น้องๆหลานๆหมายถึงแท่นผลิตฯ(ที่ผมมีความรู้จำกัด) เพราะเห็นภาพในสื่อบ่อยๆ เลยคุยกันแบบไปไหนมา สามวาสองศอก กว่าจะรู้เรื่องกันก็เหนื่อย 🙂

อย่ากระนั้นเลยนะออเจ้า พี่หมื่นขอแจงเสียหน่อยนะว่ามันเหมือนกันต่างกันอย่างไร

แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต

ในบรรดาแท่นฯต่างๆนอกชายฝั่งที่เกี่ยงดองหนองยุ่งกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเนี้ย แบ่งใหญ่ๆคร่าวๆออกเป็น แท่นขุดเจาะฯ กับ แท่นผลิตฯ ทั้งสองแท่นเนี้ย มีทั้งความเหมือน และ ความต่าง พี่หมื่นจะชวนออเจ้าคุยไปทีล่ะประเด็นๆว่า เหมือนตรงไหน ต่างตรงไหน

หน้าที่ (function) แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต

เอาเรื่องแรกก่อนนะออเจ้า หน้าที่ของแท่นต่างกัน แท่นขุดเจาะ ชื่อก็บอกอยู่แล้วนะว่า หน้าที่คือ ขุดเจาะหลุมปิโตรเลียม หรือ ที่เรียกรวมๆว่า well construction คือ ทำพื้นดินที่ตอนแรกไม่มีรูให้มันมีรูขึ้นมานั่นแหละ ส่วนแท่นผลิตฯก็ตามชื่อของมัน คือ เอาปิโตรเลียมที่ขึ้นมาจากรูเข้ามารวมๆกัน แล้วก็ปรับคุณภาพเบื้องต้นให้ตรงสเป็คของผู้ที่จะซื้อ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

เมื่อปรับสภาพเสร็จแล้ว ถ้าเป็นก๊าซก็อัดส่งเข้าท่อขึ้นฝั่ง ถ้าเป็นน้ำมัน หรือ ปิโตรเลียมเหลว (คอนเดนเสท condensate – ชื่อเล่น condy) ก็ปั๊มลงเรือขนเข้าฝั่ง พูดง่ายๆเลย แท่นขุดเจาะฯ คือ ไซด์งานก่อสร้าง เจาะๆ แล้วก็ไป แท่นผลิตฯ คือ โรงงาน ปักหลักผลิต นั่นแหละ

มาดูแท่นขุดเจาะกันว่า หน้าตาประมาณไหน

แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต

ว่ากันไปตามความลึกของน้ำหน้างานน่ะครับว่า จะใช้แท่นถึงขุดแบบไหนอย่างไร ผมจะไม่อธิบายซ้ำล่ะครับ ตามไปอ่านรายละเอียดกันได้  ลิงค์ข้างล่างนี่ผมสุ่มๆเอามาให้ดูว่า เราเคยคุยกันไปแล้ว ใครยังไม่เคยอ่านก็กลับไปอ่านๆทบทวนกันได้ครับ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ขุดหาน้ำมันกันอย่างไร? ตอน แท่นขุดเจาะ

แท่นขุดเจาะ แบบ Jack up vs. แบบ Tender barge เลือกแบบไหนมาใช้งานดี

ฟังความอีกข้าง – “ความลับกลางแท่นขุดเจาะ” โดยไทยพีบีเอส

กว่าจะเป็นคนบนแท่นขุดเจาะน้ำมัน ตอน 1

กว่าจะเป็นคนบนแท่นขุดเจาะน้ำมัน ตอน 2

24 ชั่วโมงบนแท่นขุดเจาะ กลางทะเล เราทำอะไรกันบ้าง

รูปข้างล่างนี่ก็เอามาแปะๆทวนความจำ เฉพาะประเภทที่เห็นกันเยอะๆก็แล้วกันครับ จริงๆมีประหลาดกว่านี้มาก แต่เอาแค่ที่เห็นๆบ่อยๆดีกว่า เดี๋ยวจะงง

แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต

แท่นบก (land rig)

แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต

แท่นแบบมีขาตั้งยกขึ้น (jack up)

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต

แท่นแบบกึ่งจม (semi submersible)

แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต

เรือขุด (drill ship)

แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต

แท่นแบบแพลาก (tender assist drilling unit – TADU)

ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของแท่นขุดเจาะฯคือเวลามองไกลๆจะเห็นเหมือนมีเสากระโดงโผล่ตั้งฉากขึ้นมา ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่เสาครับ เราเรียกโครงสร้างที่มองไกลๆเหมือนเสานั้นว่า Derrick

ลองซูมเข้าไปดูรูปข้างบนใกล้ๆจะเห็นว่า มันไม่ใช่เสาจริงๆด้วยเนอะ เป็นโครงถักทำด้วยเหล็กขนาดมหึมา ข้างในมีก้านเจาะวางผิงกันซ้อนๆเป็นตับๆ มีชุดรอก (travelling block) ขนาดเท่าลูกควายตัวย่อมๆ มีตะขอ (hook) ตัวบักเอ้บ (ภาษาอีสานบ้านผม แปลว่าใหญ่มาก)

ถ้าเห็นเจ้า Derrick นี่อยู่บนแท่นผลิตฯก็ไม่ต้องแปลกใจครับ เพราะแท่นผลิตหลายๆแท่นก็ออกแบบมาให้แยกส่วนเป็นจิ๊กซอ ขนขึ้นไปติดตั้ง เพื่อขุดเจาะเพิ่มเติม (infill) หรือ ซ่อมแซมหลุมเก่าๆ (workover) บนแท่นผลิตได้

การเคลื่อนที่ (Mobility) แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต

ลักษณะเด่นๆอันดับถัดมาคือ ความสามารถในการเคลื่อนที่ อย่างที่อธิบายออเจ้าไปแล้วว่า แท่นขุดเจาะฯ คือ ไซด์งาน ดังนั้น มันก็ไม่ต่างจากไซด์งานก่อนสร้างตึก อุโมงค์ สะพาน ฯลฯ ที่เสร็จงานหนึ่ง ก็ต้องจรลีไปสร้าง ไปขุดอีกที่หนึ่ง ดังนั้น แท่นขุดแบบนี้จะต้องเคลื่อนที่ได้ ไม่ว่าจะโดยตัวมันเอง โดนลากไป หรือ แยกเป็นชิ้นๆใส่แพ หรือ ใส่หลังรถบรรทุกไป

ส่วนแท่นผลิตฯนั่น หน้าที่มันก็คือผลิต รวบรวมเอาปิโตรเลียมมาปรับสภาพให้ได้สเป็ค มันจึงไปไหนไม่ได้ ธรรมชาติของมันคือโรงงานกลางทะเลดีๆนี่เอง เคลื่อนที่ไม่ได้ ซึ่งลักษณะพื้นฐานเรื่องการเคลื่อนที่ได้หรือไม่ได้ของแท่นทั้งสองนี้ จะเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งในการกำหนดลักษณะของคนทำงานบนนั้นด้วย ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป

ข้างล่างนี้ก็ก๊อปๆ รูปแท่นผลิตฯมาให้ดูนะครับว่าหน้าตาประมาณไหน

แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต

แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต

แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต

แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต

ออเจ้าจะเห็นว่าแท่นผลิตฯที่ดูเหมือนโรงงานนั้น มีสองแบบใหญ่ๆ คือ แบบที่สำนักงานและส่วนพักอาศัย (LQ – Living Quater) อยู่ติดกับส่วนการผลิต (CPP – Central Processing Platform พูดง่ายๆก็ตัวโรงงานนั่นแหละ) กับ อีกแบบคือ แบบพักอาศัยอยู่แยกส่วนกัน อยู่คนล่ะแท่น แต่มีสะพานเชื่อมกัน

ซึ่งแต่ล่ะแบบก็มีข้อดีข้อจำกัด วัตถุประสงค์แตกต่างกันไป ซึ่งผมไม่ลงลึกในบทความนี้ เหตุผลง่ายๆคือ ผมไม่รู้ แฮ่ๆ 🙂 เพราะผมมาจากส่วนขุดเจาะ รู้เรื่องแท่นผลิตแบบงูๆปลาๆเท่านั้นครับ

จำนวนคน (POB People On Board) แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต

แท่นขุดเจาะฯมักจะมีคนทั้งแท่น 80 – 200 คน  ขึ้นกับว่า แท่นขนาดเท่าไร แท่นบกเล็กๆ ก็ประมาณ 80 คน ถ้า แท่นกลางทะเล เรือขุดน้ำลึก ก็น่าจะถึง 200 คนได้ แท่นแบบแพ หรือ jack up ในอ่าวไทยก็ตกราว 100 – 120 คน ครับ

ส่วนแท่นผลิตฯนั้น มีคนหลัก 200 กว่าคนขึ้นไป อย่างแท่นเอราวัณ บงกช ในอ่าวของเราก็หลัก 300 คนขึ้น ทั้งคู่ครับ ที่เยอะเนี้ย นอกจากดูแลโรงผลิตที่อยู่บนแท่นผลิตแล้ว ยังมีพนักงานเทคนิคส่วนหนึ่งที่ต้องลงเรือ หรือ ขึ้น ฮ. ไปเช้าเย็นกลับ ไปทำงานดูแลซ่อมบำรุงหลุมต่างๆบนแท่นย่อยๆ (WHP – WellHead Platform) ที่ตั้งอยู่รอบๆแท่นผลิต

ดูเท่ห์ไม่หยอกเลยนะครับ ขึ้นฮ.บ้าง ลงเรือบ้าง ไปทำงาน เช้าเย็น เหมือนเราขึ้นรถไฟฟ้า รถเมล์ ไปกลับออฟฟิตเลย เราคนเมือง ลงรถเมล์ ก็เดินเข้าห้องทำงาน แต่พวกเขาลงฮ.ก็ไต่บันไดลงไปทำงาน ชิวๆสบายๆ

ส่วนถ้ามาทางเรือก็เสียวหน่อย ต้องโหนเชือก แบบทาร์ซาน จากเรือขึ้นไปบน WHP

แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต

ซึ่งต้องอาศัยการฝึกหัด และ กะจังหวะแม่นๆกันพอสมควร หรือ ไม่ก็พึ่งกระเช้า (transfer basket) เสียวแบบสูงๆ 🙂

แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต

ประเภทของคนงาน

โดยธรรมชาติๆของงาน ผมเทียบง่ายๆเลยนะ ว่าคนงานแท่นขุดเจาะฯจะมีทัศนคติ มีแรงจูงใจ มีค่านิยม แบบ “การก่อสร้าง” คือ สร้างของสิ่งหนึ่งขึ้นมา ไม่ต่างกับ ทัศนคติ แรงจูงใจ ค่านิยม คนงานก่อสร้างทั่วๆไป คือ ทำงานให้ปลอดภัย ไม่เจ็บ ไม่พัง ไม่ตาย สร้างให้เสร็จตามเวลา สร้างให้ดี ภายในงบฯที่ได้มา มีอะไรก็แก้ปัญหาหน้างานไป เครื่องมือบางชิ้นพังได้ก็พัง อดนอนบ้างก็ช่าง อึด ฮึด เพื่อให้งานสำเร็จให้ได้

ในทางการเงิน ฝ่ายนี้คือฝ่าย “รายจ่าย” หรือ “ต้นทุน” ทำไงให้น้อยสุด ถูกสุด

ส่วนคนงานแท่นผลิต ก็จะมี ทัศนคติ มีแรงจูงใจ มีค่านิยม แบบ “โรงงานผลิต” คือ ทำงานให้ปลอดภัย โรงงาน เครื่องมือไม่พัง ผลิตของให้ได้ตามบริมาณ คุณภาพ และ เวลา ที่ถูกกำหนดมา

ในทางการเงิน ฝ่ายนี้คือฝ่าย “รายได้” ทำไงให้ส่งปิโตรเลียม ลงท่อ หรือ ขึ้นเรือ ให้ได้มากที่สุด

แน่นอนว่า เมื่อคิดในแง่การเงินแล้ว มุมมองและทัศนคติ(ซึ่งจะเป็นต้นเหตุของนโยบายต่างๆ)ของงานบนแท่นทั้งสองในสายตาฝ่ายจัดการนั้นต่างกันครับ

ต้นสังกัด

คนงานบนแท่นเจาะ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ

คนงานของ บ.น้ำมัน (บริษัทน้ำมัน (Oil company) คือใครกันนะ … ) ซึ่งมีไม่กี่คน โดยมากก็ 2 – 5 คน ขึ้นกับขนาดของงาน ก็คือ Company Man ซึ่งมักจะมี 2 คน ผลัดกัน กลางวัน และ กลางคืน มีคนดูแลข้าวของ(ที่เป็นของบ.น้ำมัน)เข้าออกแท่นฯอีกคน ชื่อโดยทั่วๆไปก็คือ material man or store man นอกนั้นอาจจะมีผู้ช่วย company man วิศวกรฝึกงานบ้างไรบ้าง นิดหน่อย

กลุ่มที่สองคือ คนงานของบ.แท่นขุดเจาะฯ (บริษัทแท่นเจาะ (Rig Company) คือใคร …) บ.แท่นขุดเจาะฯคือเจ้าของแท่นขุดเจาะฯที่บ.น้ำมันจ้างมา ก็จะมีคนงานประจำแท่นมาจำนวนหนึงซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของคนบนแท่นขุดเจาะฯ สำหรับคนงานกลุ่มนี้แท่นขุดเจาะฯในอ่าวไทยเราก็ตกราวๆ 80 – 100 คน ต่อแท่น

กลุ่มที่สามคือ คนงานบ.ผู้รับเหมาย่อย หรือ ที่ผมชอบเรียกว่า บ.service (Service company คือใคร) เป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษในด้านต่างๆของการขุดเจาะฯ เช่น น้ำโคลน ซีเมนต์ การหยั่งธรณี การทดสอบหลุม ฯลฯ ซึ่งก็มีประเภทล่ะ ไม่กี่คน ส่วนมากก็ กลางวันชุดหนึ่ง กลางคืนชุดหนึ่ง ชุดหนึ่งก็อาจจะ คนเดียว หรือ เป็นทีม ทีมล่ะ 2 – 4 คน ขึ้นกับประเภทของงาน รวมๆคนงานกลุ่มนี้ก็ 15 – 25 คน

เนื่องจากความที่เป็นแท่นฯที่ย้ายไปไหนมาไหนได้ คนงานทั้ง 3 ส่วนนี้จึงต้องมีลักษณะอีกอย่างคือ สามารถย้ายไปไหนมาไหนได้ตามแท่นฯ เช่น ถ้าผลงานดีเข้าตาบ.ต้นสังกัด ถ้าหมดงานในอ่าวแล้ว ก็อาจจะต้องย้ายไปทำงานที่แท่นขุดเจาะฯอื่นๆที่บ.ต้นสังกัดมีงาน พูดง่ายๆก็มีโอกาสโกอินเตอร์ได้ ซึ่งก็หมายถึง รายได้ที่ตามมา แต่ก็ต้องจากครอบครัว ต้องปรับตัว บลาๆ

ดังนั้น ในแง่การบริหารจัดการของบ.น้ำมัน ซึ่งมีคนอยู่แค่คนเดียว (company man) ก็จะมีความท้าทายเฉพาะตัว เพราะต้องบริหารจัดการหน้างาน อันประกอบไปด้วยคนส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คนของบ.น้ำมัน เป็นทั้งศาสตร์ เป็นทั้งศิลป์ครับ

company man ไม่ใช่เจ้านายโดยตรงของคนกลุ่มใหญ่บนแท่น จะให้คุณให้โทษก็ไม่ถนัดถนี่ มีดาบก็เหมือนไม่มี หน้างานก็สำคัญ บลาๆ ไม่มีสูตรตายตัวครับ พูดเลย ผมก็เคยเป็น company man แม้แต่ช่วงสั้นๆก็เถอะ รู้รสชาติความลำบากใจดี งานเทคนิคก็ต้องแก้ ก็ต้องคุม คนร้อยพ่อพันแม่ก็ต้องดูแล

คนงานแท่นผลิตฯ

เนื่องจากผมไม่ได้เป็นคนแท่นผลิต ผมก็ไม่ทราบว่าจะแบ่งเป็นกี่กลุ่มอะไรอย่างไร ผมคิดว่า เมื่อไม่รู้ ก็อยากพูดแสดงความไม่รู้ออกมาจะดีกว่า เดี๋ยวจะขายหน้าเปล่าๆ ยอมบอกซื่อๆว่า ผมไม่รู้ น่าจะดีที่สุด แต่ก็เอาที่สักเกตุได้ก็แล้วกัน ผิดถูก ก็ยอมรับไปตามผิดถูกนั้นๆ

ส่วนใหญ่เกือบ 100% เป็นคนของบ.น้ำมันครับ เพราะแท่นผลิตฯเป็นของบ.น้ำมัน นอกจากเป็นคนบ.น้ำมันเกือบ 100% แล้ว ก็ยังเป็นคนพื้นที่เกือบ 100% ด้วย หมายถึง ถ้าแท่นอยู่ในอ่าวไทย ก็เป็นคนไทย ถ้าแท่นผลิตอยู่มาเลเซีย ก็เป็นคนมาเลเซีย

เหตุผลง่ายๆ คือ เรื่องกฏหมายสัมปะทานที่โดยมากบังคับให้มีการจ้างคนงานในประเทศเจ้าของทรัพยากร ธรรมชาติของงานที่เป็นงานโรงงานแยกปิโตรเลียมธรรมดาๆ และ ต้นทุนการจ้างงานที่แน่นอนว่าดึงดูดผู้ประกอบการมากกว่า ใช้คนพื้นที่ที่ค่าจ้างถูกกว่าแน่นอน

เพราะว่าแท่นผลิตปักหลักอยู่กับที่ เป็นโรงงานโรงงานหนึ่งกลางทะเล มีเจ้าของเดียวคือบ.น้ำมัน คนงานก็เป็นพนักงานของบ.น้ำมัน จึงไม่ต้องย้ายวิกไปไหน นอกจากสลับสับเปลี่ยนเนื้องาน หน้างาน ไปตามโรงงาน (แท่นผลิต) ต่างๆของบ.น้ำมันนั้นๆ ซึ่งอาจจะหมายถึงต่างประเทศด้วย ถ้าบ.น้ำมันนั้นมีแท่นผลิตต่างประเทศ เช่น แท่นผลิตซอติก้า ของปตท.สผ.

ส่วนเชฟรอนนั้นไม่ต้องพูดถึง มีแท่นผลิตต่างประเทศมากมาย ส่วนจะได้ไปหรือไม่นั้น นอกจากความสามารถแล้ว ยังขึ้นกับนโยบายของบ.ด้วยว่ามีนโยบายส่งพนักงานไทยออกไปประจำแท่นผลิตต่างประเทศไหม

ในส่วนการบริหารจัดการนั้น เนื่องจากแท่นผลิตมีธรรมชาติของความเป็นโรงงาน คนงานทั้งหมดในโรงงานมีฐานะเป็นพนักงานของบ.เจ้าของโรงงาน ดังนั้นผู้จัดการแท่นผลิตจึงมีธรรมชาติของงานที่เทียบเคียงกับผู้จัดการโรงงาน แต่ว่าเป็นโรงงานขนาดมหึมา ที่มีความซับซ้อนสูง ความเสี่ยงสูง และ ผลกระทบสูงหากส่งมอบผลิตภัณฑ์ไม่ได้อย่างที่ได้รับมอบหมาย พูดง่ายๆคือเดิมพันสูงว่างั้น

ความท้าทาย และ ศิลปะการบริหารจัดการ คนในโรงงานที่มีนายจ้างคนเดียวกันทั้งโรงงาน ก็แน่นอนว่าต่างจากการบริหารจัดการคนของผู้รับเหมาที่มาจากหลายๆบ.ในงานสนามหน้าไซด์งานก่อสร้าง

รวมๆแล้ว

ประเด็นแรงงานวิศวกรที่ต้องนำเข้านี้แตกต่างจากแท่นขุดเจาะฯที่มีวิศวกรที่ต้องนำเข้าโดยรวมในอัตราส่วนที่มากกว่าแท่นผลิตฯ เพราะการขุดเจาะยังเป็นวิศวกรรมการก่อสร้างที่ยังไม่แพร่หลายนักในประเทศเรา ไม่สามารถหาวิศวกรและช่างเทคนิคทดแทนจากอุตสาหกรรมใกล้เคียงได้

ดูง่ายๆ โรงงานแยกก็าซ โรงงกลั่น ของไทยบนบกมีมากมาย ด้านการศึกษา วิศวกรรมเคมี process engineering facility engineering structural engineering ฯลฯ ก็มีสอนกันหลายสภาบัน เราไม่ขาดแคลนแรงงานวิศวกรรมคุณภาพสูงเลยครับสำหรับแท่นผลิต

ในทางตรงกันข้าม บ้านเรายังมีสอนวิศวกรรมการขุดเจาะฯอยู่ไม่กี่ที่ ซึ่งก็สอนกันแบบกว้างๆ ที่เห็นคนไทยทำกันตอนนี้ส่วนมากก็แถๆกันมา ครูพักลักจำ จับผลัดจับผลู สมัครงานไปเป็น mud engineer บ้าง cementing engineer และ สารพัด engineer และ ช่างเทคนิค เช่น MWD LWD Well test wireline logging drilling engineer ฯลฯ

ไม่ต้องงงว่า ชื่อแปลกๆมันคืออะไร ช่างๆมันไปก่อน เห็นไหมครับ แค่ชื่อ คนนอกวงการฯยังงงๆ ไม่รู้จัก เรื่องทักษะแรงงานส่วนนี้จึงยังขาดอยู่ จึงทำให้ต้องมีวิศวกรชาวต่างชาติอยู่ในอัตราส่วนที่มากอยู่ (เมื่อเทียบกับแท่นผลิต)

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าดีใจที่สมัยนี้ผมเห็นคนไทยเข้ามาทำส่วนนี้มากขึ้น ต่างจากสมัยที่ผมทำงานใหม่ๆเมื่อปี 1989 (แอบบอกอายุ 555) ทั้งแท่นขุดเจาะฯมีแต่วิศวกรชาวต่างชาติ ส่วนคนในพื้นที่ก็เป็นผู้ช่วยบ้าง ช่างเทคนิคบ้าง คนงานใช้แรงงานบ้าง สมัยนี้ วิศวกรเฉพาะทางเป็นคนไทยเกือบ 100% แล้วครับ ไชโย 🙂

ออกนอกเรื่องนิด เงื่อนไขสัมประทานที่ว่า ต้องมีคนไทยเท่านั้นเท่านี้ % นั้น เนื่องจากแท่นขุดมีคนของบ.น้ำมัน(ผู้รับสัมประทาน)น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นคนของผู้รับเหมา ดังนั้น เงื่อนไขอัตราส่วนแรงงานไทยจึงไม่มีผลอะไรกับบ.น้ำมันบนแท่นเท่าไรครับ

การศึกษา และ การสมัครงาน
แท่นผลิต

อย่างที่เกริ่นไปแล้วครับ แท่นผลิตฯโดยเนื้องานแล้วเป็นขบวนการ (process) และ เทคโนโลยี เดียวกับโรงงาน process โรงแยกก๊าซ โรงกลั่น การก่อสร้าง การซ่อมบำรุงเครื่องจักร ดังนั้น สถาบันการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ และ ช่างเทคนิค ในประเทศเราผลิตคนออกมาได้ตรงความต้องการอยู่แล้ว ส่วนการสมัครงงานนั้น ก็ต้องไปที่บ.น้ำมันอย่างเดียวเลย เพราะคนงานทางเทคนิควิศวกรรมเป็นคนของบ.น้ำมันเป็นส่วนมาก

อาจจะมีที่ไม่ใช่คนงานทางเทคนิคหรือวิศวกรรมบ้าง ก็เช่น คนงานในครัว และ พนักงานดูแลความสะอาด ต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นผู้รับเหมา ก็ว่ากันไป

ถึงแม้ว่าจะใช้ทักษะวิศวกรรม และ ช่างเทคนิค เดียวกับอุตสาหกรรมฯใกล้เคียง แต่มีเรื่องที่น้องๆหลานๆต้องแน่นถ้าจะมาทำงานบนแท่นผลิตฯ อย่างแรกคือ เกรด อันแสดงถึงความสามารถเชิงวิชาการ ที่ต้องแน่น ไม่ใช่อะไรหรอกครับ การแข่งขันมันสูงมาก อุปทานเยอะ (supply) อุปสงค์ (demand) น้อย อย่างแรกๆที่บ.น้ำมันใหญ่ๆเขาดูคือ ความสำเร็จเชิงวิชาการของเรา

เรื่องที่สองคือ ภาษาอังกฤษ ต้องได้ พูด ฟัง อ่าน เขียน ส่วนมากก็ใช้คะแนนโทอิคกัน แต่ล่ะบ.ก็มีมาตราฐานที่แตกต่างกัน ไปศึกษากันเอาว่า ที่ไหนใช้คะแนนเท่าไร สำหรับ ช่างเทคนิค และ วิศวกร

เรื่องที่สาม ที่ไม่ได้สำคัญเป็นที่สาม แต่สำคัญเป็นอันดับแรกที่สุด คือ ทัศนคติด้านความปลอดภัย สำคัญมากๆ คนสัมภาษณ์ชั้นเซียนเขาดูออก หรือ ช่วงทดลองงาน รุ่นพี่ที่ได้รับมอบหมายมาให้ดูแลพวกเรา เขาอ่านออก เหตุผลง่ายๆที่สำคัญอันดับหนึ่งเลย เพราะความสูญเสียมันมหาศาลมากๆ ชีวิตคนทั้งแท่นผลิตฯเชียวนะครับ

Seacrest ที่สุดตำนานแห่งหายนะในประวัติศาสตร์ขุดเจาะนอกชายฝั่งอ่าวไทย

เพียงครั้งเดียวก็เกินพอแล้วสำหรับเธอ … Piper Alpha

แด่เธอ Deepwater Horizon

แล้วถามว่าเราจะฝึก ทัศนคติด้านความปลอดภัย ได้อย่างไร

ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง แต่ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่า อะไรที่เราบังคับให้ตัวเองทำจนเป็นนิสัยแล้ว มันจะติดเป็นสันดาน เป็นทัศนคติไปเอง เช่น คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง ขับรถตามความเร็วที่กำหนด แม้ไม่มีใครเห็น ไม่มีกล้องจับความเร็ว หาซื้ออุปกรณ์ความปลอดภัยพื้นฐาน เช่น กล้องหน้ารถ เครื่องดับเพลิงมือถือเล็กๆ ค้อนทุบกระจก ปั๊มลมยาง ฯลฯ ติดรถไว้ ข้ามถนนตรงทางม้าลาย หรือ สะพานลอย ถอดปลั๊กไฟฟ้าออกหลังใช้งาน กดปุ่มทดสอบ ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker) เครื่องทำน้ำอุ่นในห้องน้ำเดือนล่ะครั้ง ฯลฯ

มากมายครับ สะกดจิตตัวเอง เทรนตัวเองเรื่องความปลอดภัยใกล้ๆตัว ทำมันทุกวัน เดี๋ยวก็ติดเป็นสันดานไปเอง ทัศนคติก็จะโดนเปลี่ยนโดยเราไม่รู้ตัว เป็นวิธีของผมเอง ไม่มีทฤษฎีงานวิจัยไหนอ้างอิง 555

แท่นขุดเจาะฯ

ถ้าเอาแบบสายตรงเลยนะ วิศวกรรมขุดเจาะเนี้ย ผมรวบรวมมาทั้งช่างเทคนิคและวิศวกรก็ประมาณลิงค์นี้ครับ –> หลักสูตรที่มีสอนวิศวกรรมขุดเจาะในประเทศ

แต่ถ้าสายอ้อมๆ (แบบผม 555 ที่อ้อมมาครึ่งโลก) ก็วิศวกรรมอะไรก็ได้ ทุกสาขาแหละ ที่เห็นรับกันบ่อยๆก็ เครื่องกล ไฟฟ้า เคมี เครื่องมือวัด ควบคุม โยธา น่าจะประมาณนี้ครับ แต่ที่แน่ๆคือ 3 อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นคือ ทัศนคติด้านความปลอดภัย ความสำเร็จทางการศึกษาวิชาการ(เกรด) และ ภาษาอังกฤษ

สมัครงาน และ เทคนิคการสอบสัมภาษณ์

การสมัครงานก็ต้องไปตามบ.กลุ่มต่างๆที่ได้บอกไปแล้ว หรือ ศึกษาตามลิงค์นี้ก็ได้ครับ –> ประเภทของบ.ในวงการฯ

ตำแหน่งงาน

ผมไม่ทราบว่าบนแท่นผลิตฯมีตำแหน่งานอะไนบ้างครับ แต่แท่นขุดเจาะฯมีตำแหน่งงานประมาณนี้ครับ

งานบนแท่นขุดน้ำมัน รวมคำอธิบายตำแหน่งงานบนแท่นขุดเจาะ (Oil Rig)

ช่างเทคนิคสนาม ความหมาย รวมลิงค์งานช่างเทคนิคสนาม

อยากทำงานบนแท่นขุดเจาะฯต้องเรียนอะไร จบอะไร ทำอย่างไร

รบกวนเพื่อนๆที่อยู่บนแท่นผลิตฯแนะนำมาหลังไมค์หน่อยครับว่า บนแท่นผลิต แบ่งตำแหน่งงา่น กลุ่มงานกันอย่างไร แบ่งปันเม้าส์มอยมาที่ nongferndaddy@hotmail.com นะครับ ผมเองก็พอทราบแต่ไม่แน่ใจนัก อยากได้ผู้รู้จริงมาแบ่งปันกันครับ

ยาวแล้ว จบเท่านี้ดีกว่า หวังว่าคนนอกวงการผ่านมาอ่านแล้วก็น่าจะเข้าใจงานนอกชายฝั่งของพวกเราได้ดีขึ้น ส่วนคนในวงการฯเอง กากี่นั้งเนอะ ถ้าข้อมูลตรงไหนผิดก็ทักท้วงกันมาได้ตามอีเมล์ที่ให้ไปตะกี้

ท้ายที่สุดนะครับ อยากให้จำไว้อย่างว่า หม้อข้าวของเราคนไทยในอ่าวไทย ไม่มีสองมือใครจะดูแลรักษามันได้ดีกว่าสองมือของคนไทยเราด้วยกัน

จับมือกันไว้ให้มั่นๆ …

กอดกันไว้ให้แน่นๆ …

ดูแลรักษาทรัพย์สมบัติบรรพบุรุษในอ่าวของเราไปด้วยกัน …

 

ด้วยรัก เชื่อ หวัง และ ศรัทธา ในสองมือคนไทยเราด้วยกัน

พ่อน้องเฟิร์นและน้องภัทร …

ห้าทุ่มสิบนาที 24 มิ.ย. 2561

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------