ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

สนธิรัตน์ เผยเจรจา เคลียร์ปัญหารื้อถอนแท่นปิโตรเลียมหมดอายุ มีแนวโน้มที่ดี

สนธิรัตน์ เผยเจรจา เคลียร์ปัญหารื้อถอนแท่นปิโตรเลียมหมดอายุ มีแนวโน้มที่ดี – ข่าวนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ครับ ผมได้เอามาเม้าส์ไว้แล้ว 2 – 3 วันก่อน วันนี้คุณรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานแค่ออกมาให้ความมั่นใจว่า ไม่ยื้อ ไม่ไปจบที่ ศาล หรือ อนุญาโตตุลาการแน่จ้า

ประเด็นหลักๆ ไม่มีอะไรมากครับ คือ ตอนให้สัมประทานปี 2515 (47 ปีนู้นนนน) รัฐฯ (โดยใครก็ไม่รู้แหละ) ไม่ได้พูดถึงการรื้อถอนเอาไว้ อาจจะเป็นเพราะ ลืม (ไม่น่าลืม) หรือ จงใจ เพื่อให้จูงใจให้เอกชนเข้ามาประมูล หรือ อีกแนว อาจจะคิดว่า เรามีก๊าซเยอะแยะ แท่นที่จะผลิตคงไม่เยอะ และ อายุแหล่งคงไปอีกยาวไกล ค่อยไปว่ากันในอนาคตก็ได้

แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็แล้วแต่ เงื่อนไขเรื่องการรื้อถอนไม่ได้ถูกกำหนดไว้

กาลต่อมา รัฐ (โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ) ออกกฏกระทรวง ให้บริษัทผู้รับสัมปทานต้องวางหลักประกันการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม ทั้งหมด โดยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของแท่นผลิตหรือสิ่งติดตั้ง ที่รัฐไม่ได้รับโอน และส่วนที่รัฐรับโอนมาใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง

ทีนี้แหละ เอกชนก็ร้องเจี๊ยกร้องจ๊ากกันเลยทีเดียว … พลิกตำรากันใหญ่ว่าจะเอาไงดี จะเล่นไม้แข็งไม่ยอมท่าเดียวก็คงไม่งาม เล่นกับรัฐฯ เล่นกับเจ้าของบ้าน ยังไงๆก็ไม่ชนะแน่ (ถึงแม้ว่าควรจะชนะ ตามแง่มุมสัญญากฏหมงกฏหมาย)

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ลองไปดูเทียบเคียงกับ สัมปทานโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เช่นทางด่วน หรือโรงไฟฟ้า ที่เป็นการโอนขาดไปทั้งทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ให้กับรัฐ เมื่อครบอายุสัมประทาน เอกชนก็ไมเห็นต้องตามไปรื้อทางด่วน รื้อโรงไฟฟ้าให้(นี่หว่า)

งั้นก็เอางี้ได้ไหม แท่นไหนที่หมดอายุก่อนหมดสัมประทาน แล้วไม่ต้องส่งมอบให้รัฐฯเอาไปใช้ต่อ เอกชนรื้อให้ แต่แท่นไหน รัฐฯให้ส่งมอบ เจาเอาไปใช้ต่อ ก็ไม่รื้อถอนให้นะ รัฐไปรื้อเอาเอง ก็เอาไปใช้ประโยชน์แล้วนี่ ลงทุนก็ไม่ได้ลุงทุน เอาไปฟรีๆแล้วยังจะให้มีภาระพูกพันต้องตามไปรื้อถอน (หรือวางเงินค่ารื้อถอนไว้ล่ววงหน้า) ไม่แฟร์ๆ

ส่วนรัฐฯอาจจะมองว่า อ้าว ค่าลงทุนที่เอกชนลงไปก็ได้คืน + กำรี้กำไรไปแล้วไงตลอดอายุสัมประทานทานที่ทำมาหากินมาจะ 50 ปี เนี้ย แหม รัฐ (โดยผู้ได้สัมประทานรายต่อไป)ก็แค่เอาซากไปใช้งานต่ออีกสัก 10 – 20 ปี ไม่น่าขี้เหนียวค่ารื้อถอน ขอค่ารื้อถอนล่วงหน้าก่อนเอกชนเก็บของกลับบ้านหน่อยไม่ได้เหรอ

ก็มองกันคนล่ะมุมไงครับ …

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ให้ผมเดาไหมล่ะครับ … เจอกันครึ่งทางประนีประนอมกันไป น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า

แท่นที่หมดอายุ ไม่ต้องส่งมอบนั้นก็ไม่มีปัญหาต้องถกกัน เอกชนก็รื้อไปไรไป ส่วนแท่นที่ส่งมอบให้รัฐฯก็ต้องมาหาวิธีคำนวนสัดส่วนการจ่ายว่าเอกชนจะจ่ายเท่าไร จ่ายอย่างไร ซึ่งผมได้คุยไว้ในตอนก่อนหน้านี้แล้ว

รื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม รัฐและ เอกชน ต้องเจรจาบนหลักของความเป็นธรรม

ครั้นเอกชนจะไม่จ่ายสักบาทเลยนั้น คงเป็นไปไม่ได้ รัฐฯคงไม่สามารถอธิบายประชาชนได้ (ถึงแม้ว่าจะถูกต้องตามกฏหมายสัญญาที่ทำไว้เกือบ 50 ปีก่อนนู้นนนนก็ตาม) แต่รัฐจะให้เอกชนจ่ายหมด เอกชนก็คงจะไม่ยอม ต่างคนต่างถือไพ่เด็ดในมือ

ถอยกันคนล่ะก้าว จบแน่นอนครับ Happy ending 🙂

สนธิรัตน์ เผยเจรจา

เคลียร์ปัญหารื้อถอนแท่นปิโตรเลียมหมดอายุ มีแนวโน้มที่ดี

ที่มา … เคลียร์ปัญหารื้อถอนแท่นปิโตรเลียมหมดอายุ

“ สนธิรัตน์ “ ตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาเรื่องรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมหลังสิ้นสุดอายุสัญญาสัมปทานแล้ว โดยที่มีปลัดกระทรวงพลังงาน “กุลิศ สมบัติศิริ” เป็นประธาน เผยมีแนวโน้มที่ดีในการเจรจา ที่จะไม่นำไปสู่กระบวนการฟ้องร้องต่ออนุญาโตตุลาการ และเชื่อว่าการผลิตปิโตรเลียมในช่วงเปลี่ยนผ่านจากสัญญาสัมปทานไปสู่สัญญาแบ่งปันผลผลิต จะมีความต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

รื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม รัฐและ เอกชน ต้องเจรจาบนหลักของความเป็นธรรม

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ตอบคำถามสื่อมวลชนถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาเรื่องการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมในส่วนของแหล่งเอราวัณและบงกช ที่จะสิ้นสุดสัญญา

ที่ตามกฏกระทรวง กำหนดให้เอกชนผู้รับสัมปทานรายเดิมต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน ทั้งหมด ซึ่งรวมถึงแท่นผลิตที่รัฐรับโอนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อเนื่องด้วย

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ในขณะที่เอกชนผู้รับสัมปทาน เห็นว่า แท่นผลิตที่โอนให้กับรัฐไปแล้ว ผู้รับสัมปทาน ไม่ควรต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน พร้อมเตรียมที่จะยื่นฟ้องต่ออนุญาโตตุลาการ เพื่อขอความเป็นธรรมในเรื่องดังกล่าว

โดยเผยว่า กระทรวงพลังงานได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาแก้ปัญหาเรื่องรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมภายหลังสิ้นสุดอายุสัมปทานในช่วงปี 2565-2566 แล้ว โดยมี นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ซึ่งได้มีการเริ่มทำงานที่คืบหน้าไปมากแล้ว แต่ยังไม่ต้องการที่จะเปิดเผยในรายละเอียด เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัทผู้รับสัมปทาน หากมีข้อยุติแล้ว ก็พร้อมที่จะเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบ

อย่างไรก็ตามเห็นว่า การแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีแนวโน้มที่ดีในการเจรจาและจะไม่ไปถึงจุดที่ต้องมีการฟ้องร้องต่ออนุญาโตตุลาการ โดยที่กระทรวงพลังงานพยายามที่จะรักษาผลประโยชน์ของประเทศให้ดีที่สุด และทำให้การผลิตปิโตรเลียมในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างสัญญาสัมปทานเดิม ไปสู่สัญญาแบ่งปันผลผลิต มีความต่อเนื่อง

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center – ENC ) รายงานว่า กรณีการรื้อถอนแท่นปิโตรเลียม ที่เกิดเป็นประเด็นปัญหายืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากรัฐ โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้มีการออกกฏกระทรวง ให้บริษัทผู้รับสัมปทานต้องวางหลักประกันการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม ทั้งหมด โดยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของแท่นผลิตหรือสิ่งติดตั้ง ที่รัฐไม่ได้รับโอน และส่วนที่รัฐรับโอนมาใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง

ซึ่งเป็นรายละเอียดข้อกำหนดที่เพิ่มเติมเข้ามาภายหลัง นอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาสัมปทาน ที่ทำกันไว้ตั้งแต่ปี 2515 แต่ฝั่งเอกชนผู้รับสัมปทาน มองว่าการออกกฏกระทรวงดังกล่าวนั้นไม่เป็นธรรมกับเอกชน และได้ทำหนังสือคัดค้านอย่างเป็นทางการต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด

ทั้งนี้ในมุมของเอกชนผู้รับสัมปทาน แสดงความพร้อมที่จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมทั้งหมด เฉพาะในส่วนที่รัฐไม่รับโอนเพื่อเอาไปใช้ประโยชน์ต่อเท่านั้น

แต่หากรัฐเลือกที่จะรับโอนแท่นผลิตปิโตรเลียมใดเอาไว้ใช้ประโยชน์ต่อ ผู้รับสัมปทานจะไม่รับผิดชอบภาระในการรื้อถอนแท่นผลิตนั้น ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับสัญญาสัมปทานโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆเช่นทางด่วน หรือโรงไฟฟ้า ที่เป็นการโอนขาดไปทั้งทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ ให้กับรัฐ

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------