ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

ปตทสผ พบก๊าซหลุมแรก โครงการ “ซาราวักเอสเค 410 บี” ในมาเลเซีย

ปตทสผ พบก๊าซหลุมแรก โครงการ “ซาราวักเอสเค 410 บี” ในมาเลเซีย – ข่าวเก่าครับ ตั้งแต่ปลายเดือนที่แล้ว เดี๋ยวนี้ข่าวสารไปเร็วมาก วันเดียวก็เก่าแล้ว 555 แล้ววิศวกรรุ่นไดโนเสาร์อย่างผมล่ะ จะมีที่ยืนไหม หุหุ

ปลายเดือนที่แล้วยาวมาถึงต้นเดือนนี้ก็จะยุ่งๆหน่อย เลยไม่มีเวลาจะนำเสนออะไร วันนี้พอว่างก็แวะมาทักทายกัน

ไม่มีไรมากครับ พี่ใหญ่เรา ปตท.สผ.เจาะหลุมสำรวจเจอแหล่งก๊าซใหญ่มากที่นอกชายฝั่งซาราวัก ชื่อบล๊อก (พื้นที่สัมปทาน SK410B) รายละเอียดอื่นๆไปอ่านเอาเอง ไม่เล่าซ้ำ

หยิบเอาเฉพาะประเด็นที่ข่าวไม่ได้พูดถึงมาให้ความรู้เพิ่มเติมกันดีกว่า

#ข่าวเดียวกันอ่านที่นี่ได้มากกว่าข่าว

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ก่อนอื่นเลยมาดูกันว่าพื้นที่สัมปทานที่ชื่อ SK410B มันอยู่ตรงไหนของมาเลเซีย

ปตทสผ พบก๊าซหลุมแรก

SK410B อยู่ในกรอบสีแดงๆในรูปนั่นแหละครับ พื้นที่มันไม่ใช้สี่เหลี่ยมผื้นผ้าเดี๊ยะๆหรอกครับ มันหยักไปหยักมา แต่รวมๆแล้วมีพื้นที่ 1,870 ตารางกิโลเมตร

ตามข่าวที่ว่าเจอชั้นหินแหล่งกักเก็บหนา 252 เมตร ไม่ได้แปลว่า ทั้ง 1870 ตร.กม. นั้นทั้งหมดจะหนา 252 เมตร แล้วจะเหมาว่าปริมาตรแหล่งฯทั้งหมดจะเท่าากับ 0.252 x 1870 ลบ.กม. หรอกนะครับ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

เพราะว่า 1) ประการแรก แหล่งกับเก็บโดยธรรมชาติแล้วมันไม่หนาเท่ากันตลอดหรอกครับ 2) ประการที่สอง พื้นที่แหล่งก็ไม่ได้ครอบคลุมไปทั้งหมดพื้นที่สัมปทาน

แล้วพื้นที่แหล่งจริงๆ ความหนาแหล่งกักเก็บจริงๆ เป็นเท่าไร จะทราบได้อย่างไร

ไหนๆก็ไหนๆแล้ว แฉลบออกนอกเรื่องนิดหน่อยก็ได้ มาดูกันว่าพวกเราประมาณปริมาตรแหล่งกักเก็บได้อย่างไร

บอกก่อนนะ ผมไม่ใช่วิศวกรแหล่งกักเก็บ (reservoir engineer) ที่จะมาเล่านี่ จำอวด (= จำเอามาอวด) + ครูพักลักจำ ถามน้องๆพี่ๆเพื่อนๆเอามาเล่า ผิดพลาดประการใด วิศวกรแหล่งกักเก็บ และ นักธรณี ตัวจริงเสียงจริงก็มาตักเตือนกันได้

เวอร์ชั่นที่จะเล่านี้ ผมจะเอาแบบเบๆสุดๆเลยนะครับ เอาแบบพอให้คนที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ในการสำรวจและผลิตปิโตรฯพอเห็นภาพก็พอ

เริ่มเลย … นักธรณีจะมโน เอ๊ย (แฮ่ๆ แอบแซว) ศึกษามาก่อนเลยว่าพื้นที่ ความหนา รูปร่างหน้าตา แหล่งกักเก็บมันควรจะเป็นอย่างไร

ส่วนจะมโนกันมาอย่างไรนั้น ผมไม่ขอลงรายละเอียดครับ เพราะนักธรณีเขาต้องเรียนมาเป็นปีๆเนอะ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าศึกษากันอย่างไร เอาว่าได้สมมุติฐานอย่างมีหลักการทางวิทยาศาสตร์ก็แล้วกันว่า (สมมุติ)พื้นแหล่งตัวแบบ (model) มันน่าจะออกมาประมาณนี้

ปตทสผ พบก๊าซหลุมแรก

นักธรณีก็จะทอดลูกเต๋าเสี่ยงทาย (เอ๊ย โทษทีๆ อดไม่ได้จริงๆ) ก็จะเลือกจุดที่มีความน่าจะเป็นมากที่สุดที่จะเจอปิโตรเลียมบนพื้นฐาน หลักฐาน หลักการทางวิทยาศาสตร์ ที่ร่ำเรียนมา แล้วก็เรียกผมซึ่งเป็นกรรมกรขุด เอาแท่นขุดฯไปขุดดิว่าจะเจอไหม เราเรียกหลุมประเภทนี้ว่าหลุมสำรวจ (Exploration well) เพราะเรากำลังจะสำรวจว่า “มีไหม”

ปตทสผ พบก๊าซหลุมแรก

พูดเลยตรงนี้ว่า สถิติของการขุดหลุมสำรวจแล้วเจอในอุตสาหกรรมเราทั่วโลกเลยนะ คือ 10 : 1 คือ ขุด 10 เจอ 1 ครับ … สมมุติว่า แป่ว ขุดไปไม่เจอ หลุมแห้ง (dry hole) นักธรณีคนนั้นก็โดนเลื่อนตำแหน่งงานขึ้นป็นผจก. เอ๊ย ไม่ใช่ดิ ก็ต้องไปทบทวนสมมติฐานกันใหม่เลย ว่าจริงๆแล้วหน้าตาแหล่งมันน่าจะประมาณไหน

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

นักธรณีอาจจะเปลี่ยนหน้าตาแหล่งฯ เลือกตำแหน่งใหม่ ให้ผมขุดใหม่ก็ได้ หรือ อาจจะคงหน้าตาแหล่งเดิม แต่เปลี่ยนแต่ตำแหน่งหลุมใหม่

สมมุติว่าในที่นี้ เปลี่ยนหน้าตาแหล่งด้วยล่ะกัน แล้วเราก็ขุดหลุมสำรวจที่ 2

ปตทสผ พบก๊าซหลุมแรก

สมมุติต่อว่า เฮ้ๆ ไชโยโห่เฮี้ยวววว เจอน้ำมัน เจอก๊าซ จ้าาาาาา เราก็ทำการทดสอบหลุม ดูว่า เฮ้ย ที่เจอนะ เยอะไหม ชั้นหินหนาไหม ไหลดีไหม ลักษณะการไหลเป็นไง เก็บตัวอย่างมาดูดิว่า คุณภาพเป็นไง ค่าความร้อนเท่าไร มีอะไรปนมาบ้าง เช่น CO2 H2S ปรอท ตะกั่ว บลาๆ

ใครอยากรู้ว่าเราทดสอบหลุมกันยังไง มีกี่วิธี ได้อะไรจากการทดสอบหลุมบ้าง บลาๆ ก็นี้เลยครับ มี 4 ตอน อ่านให้ฉ่ำสะดือกันไปเลย

การทดสอบหลุม ตอนที่ 1 เราทดสอบหลุมไปทำไม well testing part 1

การทดสอบหลุม ตอนที่ 2

การทดสอบหลุม ตอนที่ 3

การทดสอบหลุม ตอนที่ 4

เอาล่ะ ต่อๆ … พอได้ผลการทดสอบหลุมแล้วก็มาสุมหัวกันว่า เออ พวกเราเอาไงดี จะไปต่อไหม คุ้มไม่คุ้ม ถ้าเคาะเปรี้ยง ไปต่อกันเถอะหมู่เฮา ก็ต้องมาตอบคำถามต่อไปว่า แล้วจะรู้ได้ไงว่า ขอบของแหล่งฯมันอยู่ที่ไหน

ทีมงานก็ต้องนิมนต์นักธรณีกับวิศวกรแหล่งฯมาเสกอีกว่าจะต้องเจาะตรงไหนถึงจะบอกได้ว่า ขอบของแหล่งฯมันน่าจะอยู่ตรงไหน ก็ต้องกลับไปที่ตัวแบบล่าสุดที่ปรับจากผลของการขุดหลุมสำรวจฯ แล้วก็จิ้มปั๊กลงไป เราเรียกหลุมประเภทนี้ว่า หลุมประเมิน (appraisal well) เพราะเรากำลังจะประเมินว่า “คุ้มไหม”

พวกผมก็ไปลากแท่นเจาะมาขุด …

ขุดเสร็จก็ทดสอบหลุม แล้วก็ปรับตัวแบบ (model) ไปไรไป จะขุดหลุมประเมินกี่หลุมก็ว่ากันไป จนกว่าจะได้ขอบเขตที่พอใจ หรือ เงินหมด 555 ไม่ขำนะครับ เรื่องจริง เพราะเรื่องเงินๆทองๆมันกำกับทุกอย่างเอาไว้ ทีมงานก็ต้องทำงานอย่างฉลาด ทำตัวแบบดีๆ เลือกตำแหน่งเจาะให้ดีๆ ทดสอบหลุมเท่าที่จำเป็น กรรมกรขุดอย่างผมก็อย่าขุดให้แพงนัก บลาๆ ก็ว่ากันไป

กระบวนการมันก็ออกมาราวๆภาพนี้ครับ

ปตทสผ พบก๊าซหลุมแรก

จะเห็นได้เลยว่า ตัวแบบสุดท้าย อาจจะต่างไปจากตัวแบบแรกแบบหนังคนล่ะม้วน แบบฟ้ากับเหวเลยก็เป็นได้ครับ ต่างทั้งรูปร่าง ขนาดพื้นที่ และ ความหนา หุหุ

เราก็เอาข้อมูลทั้งหมดสุดท้าย ท้ายสุด มาจำลองด้วยมือ หรือ คอมพิวเตอร์ ก็แล้วแต่ล่ะ ก็จะได้หน้าตา พื้นที่ และ ความหนา ของแหล่งออกมา ซึ่ง พื้นที่มันก็ไม่ใช่ทรงเราขาคณิต ความหนาก็ไม่ได้สม่ำเสมอกันทั้งแหล่ง

ปตทสผ พบก๊าซหลุมแรก

แต่ด้วยการคำนวนโดยใช้คอมพิวเตอร์ ก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นที่จะหาปริมาณชั้นหินแหล่งผลิตออกมาได้ จริงไหมครับ

ส่วนพอได้ปริมาตรชั้นหินออกมาแล้ว จะรู้ได้ไงว่ามี น้ำมันหรือ ก๊าซ เท่าไร ก็ต้องไปว่ากันอีกช๊อตหนึ่ง ซึ่งจำได้ว่า เคยเล่าไปแล้ว ตามลิงค์นี้เลย

สมการหาน้ำมันตัวพ่อ Archie’s Law มาทำความรู้จักกันครับ

พอหลงอ่านมาถึงตรงนี้ นั่นแปลว่าอะไรตามเนื้อข่าว …

โดยมีเป้าหมายการเจาะสำรวจก๊าชธรรมชาติ … ได้พบ แหล่งกักเก็บก๊าซธรรมชาติสุทธิหนา 252 เมตร

แปลว่า ยังเพิ่งขั้นต้นๆของการสำรวจเท่านั้นครับ อีกทั้งเนื้อข่าวก็ยังไม่ได้บอกว่า ตัวอย่างก๊าซที่เก็บขึ้นมาได้ มีคุณภาพอย่างไร ค่าความร้อนเยอะไหม impurity (สิ่งเจือปน) มีอะไรบ้าง เช่น H2S CO2 ปรอท ตะกั่ว ปทุมถัน เอ๊ย กำมะถัน (แฮ่ๆ) บลาๆ เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อราคาขายก๊าซ และ ต้นทุนการผลิต (ค่ากำจัดสิ่งเจือปน + ค่าการก่อสร้างแท่นผลิต ค่าหลุม และ ท่อส่ง ฯลฯ ด้วยวัสดุพิเศษเกรดเอ)

นอกเรื่องไปเยอะเลยอะ โทษทีๆ มาเปรียบมวยกันดีกว่า ว่าอัตราไหลที่พี่ใหญ่เราให้ข้อมูลออกสื่อนั้น เทียบกับหลุมก๊าซในอ่าวฯเรานั้น เป็นไง

ตามข่าวบอกว่า …

โดยได้ทำการทดสอบอัตราการไหลพบว่ามีอัตราการไหลของก๊าซธรรมชาติสูงสุดเฉลี่ยวันละประมาณ 41.3 ล้านลูกบาศก์ฟุต … ซึ่งการทดสอบอัตราการไหลสูงสุดมีข้อจำกัดของท่อกรุขนาด 2-7/8 นิ้วและวาล์วควบคุมการไหลขนาด 40/64 นิ้ว

มีแอบบอกเล็กๆด้วยว่าจริงๆแล้วยังไหลได้มากกว่่านี้น้าาา นี่กั๊กอยู่ เพราะท่อผลิตมันเล็ก วาว์ลที่ใช้ทดสอบหลุมก็เปิดได้แค่นี้ (อาจจะเนื่องจากข้อจำกัดทางเทคนิคในการออกแบบหลุมและชุดการทดสอบบางประการ)

มาดูหลุมในอ่าวไทยบ้าง …

ข้อมูลล่าสุดที่เป็นทางการจากเว็บไซด์กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เดือน พ.ค. ครับ

ปตทสผ พบก๊าซหลุมแรก

เป็นข้อมูลสาธารณะครับ สามารถดาว์โหลดได้ที่

http://dmf.go.th/public/createpetroleum/data/index/menu/1114

ผมสรุปมาให้ตามนี้

ปตทสผ พบก๊าซหลุมแรก

3 คอลัมภ์แรก เอามาจากกรมเชื้อเพลิงฯนะครับ คอลัมภ์ขวาสุด ผมเติมเข้ามาเอง ก็คำนวนง่ายๆ เอาปริมาณการผลิตต่อวันหารจำนวนหลุมที่เปิดผลิต ก็เป็นค่าเฉลี่ย ต่อหลุมต่อวัน

พอเห็นภาพไหมครับว่า การเจอ “ของ” ของพี่ใหญ่สผ.เราครั้งนี้ อัตราการไหลของก๊าซธรรมชาติสูงสุดเฉลี่ยวันละประมาณ 41.3 ล้านลูกบาศก์ฟุต อลังการงานสร้างขนาดไหน

16 เท่า ของบงกช (41.3/2.60)

7.5 เท่า ของบงกชใต้ (41.3/5.50)

23 เท่า ของอาทิตย์ (41.3/1.81)

3.6 เท่า ของเอราวัณ (41.3/11.34)

ลุ้น 2 อย่างครับ 1) สิ่งเจือปนมาในก๊าซ ว่าจะโหดหินขนาดไหน และ 2) ปริมาตรของแหล่ง (ขอบเขตพื้นที่ของแหล่ง และ ความหนาเฉลี่ย) ว่าจะอลังฯหรือเปล่า

เถลไถลมาไกลเลย มาๆ ไปอ่านข่าวกันดีกว่า 555 🙂

ปตทสผ พบก๊าซหลุมแรก

โครงการ “ซาราวักเอสเค 410 บี” ในมาเลเซีย

ที่มา … http://www.energynewscenter.com/%e0%b8%9b%e0%b8%95%e0%b8%97-%e0%b8%aa%e0%b8%9c-%e0%b8%9e%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b9%8a%e0%b8%b2%e0%b8%8b%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b8%e0%b8%a1%e0%b9%81%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a3/

ปตท.สผ. เผยบริษัทย่อย PTTEP HKO พบก๊าซธรรมชาติใน Lang Lebah-1RDR2 ซึ่งเป็นหลุมสำรวจแรกของโครงการซาราวักเอสเค 410 บี ที่ตั้งอยู่บริเวณนอกชายฝั่งรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย พบปริมาณการไหลของก๊าซฯ เฉลี่ยวันละ 41.3 ล้านลูกบาศก์ฟุต และคอนเดนเสทเฉลี่ยวันละ 246 บาร์เรล เดินหน้าเจาะหลุมสำรวจเพิ่มเติม

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center – ENC) รายงานว่า บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. แจ้งว่า บริษัท PTTEP HK Offshore Limited (Malaysian Branch) หรือ PTTEP HKO ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ปตท.สผ. ได้เริ่มดำเนินการเจาะหลุมสำรวจ Lang Lebah-1RDR2 ในเดือนมีนาคม 2562

โดยมีเป้าหมายการเจาะสำรวจก๊าชธรรมชาติในชั้นหินปูนยุคไมโอซีนกลาง ชั้นหินลำดับที่ 4 และ 5 ถึงระดับความลึกสุดท้ายที่ 3,810 เมตร และได้พบแหล่งกักเก็บก๊าซธรรมชาติสุทธิหนา 252 เมตร แสดงให้เห็นถึงการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ (multi-TCF gas discovery)

โดยได้ทำการทดสอบอัตราการไหลพบว่ามีอัตราการไหลของก๊าซธรรมชาติสูงสุดเฉลี่ยวันละประมาณ 41.3 ล้านลูกบาศก์ฟุต อัตราการไหลของคอนเดนเสทสูงสุดเฉลี่ยวันละประมาณ 246 บาร์เรล ซึ่งการทดสอบอัตราการไหลสูงสุดมีข้อจำกัดของท่อกรุขนาด 2-7/8 นิ้วและวาล์วควบคุมการไหลขนาด 40/64 นิ้ว

ผลการเจาะสำรวจหลุม Lang Lebah-1RDR2 ในครั้งนี้นับเป็นการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของ ปตท.สผ. และเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ในการเพิ่มปริมาณสำรองปิโตรเลียมจากกิจกรรมการสำรวจ ทั้งนี้ โครงการมีแผนการเจาะหลุมเพิ่มเติม เพื่อยืนยันศักยภาพทางปิโตรเลียมต่อไป

โครงการซาราวักเอสเค 410 บี ตั้งอยู่บริเวณน้ำตื้น นอกชายฝั่งรัฐซาราวักประมาณ 90 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 1,870 ตารางกิโลเมตร โดยมี PTTEP HKO ถือสัดส่วนร้อยละ 42.5 และเป็นผู้ดำเนินการ และมีกลุ่มผู้ร่วมทุนอื่นประกอบด้วย KUFPEC และ PETRONAS Carigali Sdn. Bhd ในสัดส่วนร้อยละ 42.5 และร้อยละ 15 ตามลำดับ


recta sapere

วันหนึ่งผมได้คุยกับเพื่อนชาวตะวันออกกลางตอนเหนือคนหนึ่งเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เราสองคนมีความเห็นตรงกันว่า หลายๆอย่างที่ประเพณีโบราณที่มักเกี่ยวกับระบบความเชื่อถูกยึดถือปฏิบัติกันโดยไม่ลืมหูลืมตา โดยไม่ได้เข้าใจจริงๆเลยว่า ที่มาที่ไปเหตุผลนั้นเป็นมาอย่างไร

ก็ไม่พ้นเรื่องกินอีก 555

ด้วยความที่ผมระเหเร่ร่อนไปทำงานในต่างที่ต่างวัฒนธรรมความเชื่ออยู่หลากหลายที่ในวัยหนุ่ม ผมสังเกตุอย่างหนึ่งว่า ทุกๆระบบความเชื่อมีกฏคล้ายๆกันในการ “ทำจิตใจให้บริสุทธิ์” ผ่านการ “หยุดยั้ง” ความอยาก (ในระบบความเชื่อทางตะวันออกเราเรียกว่า “กิเลส”) เป็นครั้งคราวตามเทศกาลที่กำหนดกันไว้แต่โบร่ำโบราณ

ความอยากที่ว่านั้น โดยทั่วไปมันก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าสิ่งที่เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ

แน่นอนที่สุดครับ สำหรับคนเรานั้น ความอยากที่คนเรามักจะติดลุ่มหลงกันง่ายและเป็นประจำก็ คือ ทางลิ้น

ดังนั้น เกือบทุกระบบความเชื่อ มักมีข้อกำหนดให้ หยุด หรือ ละเลิก การกิน ของบางอย่าง หรือ หยุดกันไปเลย ในช่วงเทศกาลหนึ่งๆ เพื่อเป็นการชำระความอยาก(กิเลส)

โดยสิ่งที่ให้งด ให้ละ ให้เลิก เอาเข้าทางปากนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ระบบห่วงโซ่อาหาร และ บริบทต่างๆของสังคมนั้นๆ

แต่เมื่อมีการคมนาคม เชื่อมโยง แพร่หลายทางวัฒนธรรม และ ระบบความเชื่อ ข้อกำหนดที่ว่านี้ก็ถูกเผยแพร่ไปยังต่างสังคมต่างสภาพภูมิอากาศภูมิประเทศ ต่างระบบห่วงโซ่อาหาร และ ต่างบริบทอื่นๆ

ปัจจุบันจึงพบว่า การให้อดหรือจำกัดของกินบางอย่าง ไม่ทำให้ต้องใช้ความพยายามมากนักในการไม่กิน หรือ งดเว้น ในบางสังคม เพราะในสังคมนั้นๆ เขาไม่กินสิ่งนั้นอยู่แล้ว แต่ที่น่าขำคือ ก็ยังงดเว้นกันอยู่ดี เพราะยึดเอาตามตัวหนังสือ

ตัวอย่างง่ายๆคือ การงดทานเนื้อวัวในสังคมที่ไม่ทานเนื้อวัวอยู่แล้ว ลดทานเนื้อสัตว์ในสังคมมังสวิรัติ งดมื้อใดมื้อหนึ่งของวันในสังคมที่ทานกันสองมื้ออยู่แล้ว เป็นอทิ

ในความเห็นส่วนตัวของผม ถ้ามุ่งไปที่วัตถุประสงค์ของ “การงด” เพื่อทำให้เรารู้จักควบคุมความอยาก (กิเลส) จริงๆแล้ว เราก็ควรเปลี่ยนของที่จะงดไปตามบริบทของสังคมนั้นด้วยจริงไหมล่ะครับ หรือ ถ้าจะตีความการแบบกว้างออกไปอีก ก็งดอะไรที่เราชอบทาน ชอบดู ชอบทำ ชอบได้ยิน ชอบสัมผัส นั่นแหละครับ

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------