ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

การทดสอบหลุม ตอนที่ 1 เราทดสอบหลุมไปทำไม well testing part 1

การทดสอบหลุม ตอนที่ 1  … ปกติเวลาหลังไมค์มาถามถึงการทดสอบหลุม ผมก็มักจะตอบไปว่า รู้แบบเป็ดๆ หรือ ไม่ค่อยรู้ เพราะไม่ได้ทำมาหากินมาทางด้านนี้

วันๆก็เอาแต่เจาะพื้นโลกให้มันเป็นรู พอเป็นรูแล้ว ใครจะมาทำอะไรกับรูนั่นต่อ ผมก็ไม่ค่อยใส่ใจ ผมก็ย้ายแท่นเจาะไปเจาะรูอื่นต่อไป 555

บังเอิญว่ารู้จักกับกูรูด้านการทดสอบหลุมคนไทยคนหนึ่ง ก็ไปเลียบๆเคียงๆขอความรู้เกี่ยวกับการทดสอบหลุม ก็เลยได้ presentation slide มาไฟล์หนึ่ง เพิ่มรอยหยักให้สมองผมได้เยอะเลย ตอนแรกว่าจะเอามาแบ่งปันกันที่นี่ยกชุด

แต่คิดไปคิดมา ข้อแรกคือ เกรงใจเจ้าของสไลด์ และ อีกอย่าง มันเป็นภาษาอังกฤษ เต็มไปด้วยศัพท์แสงอะไรต่างๆเฉพาะมากมาย ถ้าไม่ขยายความกันหน่อยเป็นภาษาไทย ก็คงอ่านกันไม่รู้เรื่อง คิดว่าเอามาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นใช้อธิบายกันเป็นตอนๆน่าจะดีกว่า

การทดสอบหลุม ตอนที่ 1

ทดสอบหลุมไปทำไม

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ต้องถามคำถามกำปั้นทุบดินก่อนว่า แล้วเราขุดหลุมปิโตรเลียมไปทำไม คำตอบแบบกำปั้นทุบดินก็คือ ก็เราจะหาว่า “มีปิโตรเลียมไหม” ถ้ามี “มีเยอะแค่ไหน คุ้มไหม” ถ้าเยอะพอ ถ้าคุ้มพอ เราก็จะ “ผลิตมัน” ขึ้นมาขายไง การทดสอบหลุมมันมาตอบโจทย์เราตรงนี้แหละ

ช่วงแรกคือในขั้นการขุดหลุมสำรวจและหลุมประเมิน (Exploration and Appraisal)

คำถามหลักๆก็ประมาณว่า

1. มีปิโตรเลียมไหม ถ้ามีมันเป็นอะไร เป็นน้ำมันหรือมันเป็นก๊าซ และ

2. มีเยอะไหม (OGIP – Oil Gas In Place) ผลิตได้กี่ปีถึงจะหมดแหล่งผลิต

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

สรุปสั้นๆว่าเป็นการพิสูจน์ศักยภาพของแหล่ง (Prove reservoir potential) นั่นเอง

การทดสอบหลุม ตอนที่ 1

ช่วงที่สอง คือ ช่วงการพัฒนา (Development)

พอแน่ใจว่า มี และ คุ้ม ก็จะขุดหลุมเพื่อจะผลิตกันล่ะทีนี้ จะกี่หลุมก็ว่าไปตามแผน

เช่น เราจะขุดปีแรก 10 หลุม แล้วเริ่มผลิต ปีต่อไปอีก 5 ปี ปีล่ะ 5 หลุม เพื่อให้ได้ปิโตรเลียมตามที่ต้องการ

ตอนที่เราขุดหลุมพัฒนา (development well) ปีแรกๆ เราก็ต้องทดสอบก่อน จริงไหมครับว่า 1 – 2 หลุมแรกๆนั้น ผลิตได้ตามที่คาดไว้จากตอนที่สำรวจและประเมินไหม เรียกว่าเป็นการ ยืนยันว่าผลิตได้ตามนั้นจริงๆนะ (confirm well performance) ก่อนที่จะต่อท่อส่งเข้าสถานีผลิต หรือ จ้างเอาเรือมาจอดรอรับปิโตรฯ(กรณีน้ำมัน)

เพราะถ้าไม่ได้ตามนั้น จะได้กลับตัวประเมินกันใหม่ ไม่ใช่มั่นใจค้าาาา ขุดกันไปเลย 10 หลุมรวด เอาแท่นผลิตมาปัก หรือ ต่อท่อเข้าสถานีผลิต พอเปิดก๊อกเปิดหลุม อ้าว ไหลเป็นเยี่ยวแมว 555 การทดสอบหลุมมันมาตอบโจทย์ตรงนี้แหละครับ

ปล. ถ้าทดสอบหลุมในขั้นตอนนี้แล้ว ไม่ได้อย่างที่คาดไว้ นิดหน่อยก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเยอะขนาดที่ทำให้จุดคุ้มทุนต่างกันเป็นโยชน์ล่ะก็ ต้องไปตามเฉ่งคนที่อนุมัติให้ผ่านจากขั้นตอนการสำรวจและประเมินมาขั้นตอนการพัฒนา 555 (โดยมากพอถึงขั้นตอนการพัฒนาคนที่อนุมัติมักจะได้เลื่อนต่ำแหน่งขึ้นไปตามสายงานเรียบร้อยแล้ว 555)

การทดสอบหลุม ตอนที่ 1

ช่วงที่สามคือช่วงผลิตล่ะครับ (Production)

หลังจากที่สำรวจแล้วประเมินแล้วว่า มี และ คุ้ม ขุดหลุมพัฒนาแล้ว ยืนยันแล้วว่าปิโตรเลียมไหลพรวดๆดังใจ ก็ตั้งหน้าตั้งตาโกยเงิน เอ๊ย ผลิตออกขาย ถอนทุน เอากำไรมาจ่ายเงินเดือนวิศวกรหน้าแห้งอย่างพวกผม

ทีนี้หลุมปิโตรเลียมนี่ มันไม่ใช่แบบ เปิดหลุมแล้วกระดิกหัวแม่เท้านับเงินอย่างเดียว หลุมมันโทรมได้ เสื่อมได้ พังได้ อารมณ์เหมือนบ่อน้ำบาดาล มันก็มีปัญหาโน้นนี่นั่น ก็ต้องหาเทคโนโลยีมาเพิ่มกำลังการผลิต หรือ รักษากำลังการผลิตไม่ให้เป็นสาละวันเตี้ยลงๆ

แล้วจะรู้ได้ไงว่า วิธีที่เอามาใช้นั่น มันช่วยรักษากำลังการผลิต หรือ เพิ่มกำลังการผลิตได้จริงไหม ก็นี่ไงครับ ก็ต้องทดสอบหลุมไง

เห็นไหมครับ ทั้งวงจรชีวิตของหลุมปิโตรเลียม บ.น้ำมันมีเรื่องให้ควักตังค์จ่ายให้บ.service มาทำการทดสอบหลุมได้เรื่อยๆ 555 ขึ้นอยู่กับว่าเราเห็นประโยชน์ไหม บางทีก็เป็นเรื่องจำเป็นต้องทดสอบหลุม คือ must do หรือ must have บางทีก็ nice to have คือ มีก็ดี ทำงานอื่นต่อได้ง่ายขึ้น

การทดสอบหลุม ตอนที่ 1

เอาล่ะ เรารู้แล้วว่าช่วงวงจรชีวิตหลุมแต่ล่ะช่วง เราอาจจะต้องใช้บริการการทดสอบหลุมเพื่ออะไรยังไงกันบ้าง คราวนี้มาดูภาพใหญ่ๆบ้างครับว่า เราแบ่งประโยชน์ (หรือวัตถุประสงค์) ของการทดสอบหลุมเป็นกลุ่มๆได้อย่างไรบ้าง

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

วัตถุประสงค์ของการทดสอบหลุม

กลุ่มแรกเลย เพื่อรู้คุณสมบัติของแหล่งผลิต (Reservoir properties)

Permeability (horizontal and vertical) – ต้องการรู้ว่าความสามารถของของไหลในการไหลผ่านแหล่งผลิตเราทั้งทางแนวดิ่ง และ แนวราบ เป็นอย่างไร

Reservoir Heterogeneities (natural fractures, layering, spatial change of characteristics) – ต้องการรู้ว่าแหล่งผลิตเรามันเป็นเนื้อเดียวกันไหม หรือมันเป็นชั้นๆ มันแยกเป็นชิ้นๆ ฯลฯ

Boundaries (distance and shape) – แล้วแหล่งผลิตเรามันใหญ่โตแค่ไหน ขอบของแหล่งมันไกลออกไปกี่กิโลเมตร รูปร่างแหล่งของเรามันเป็นอย่างไร เป็นทรงกลมๆ รีๆ หรือเป็นลูกเต๋า เอียงไปทางไหน ฯลฯ จะได้วางแผนกำหนดจำนวนและตำแหน่งของหลุมให้พวกผมขุดได้ถูกที่ถูกทางถูกเวลา

Reservoir Pressure (initial and average) – ความดันของแหล่งผลิตเราเป็นอย่างไร แรกดีไม่ตก หรือ แรงแบบม้าตีนต้น พอปล่อยให้ไหลหน่อยเดียวเหี่ยวเป็นมะเขือเผา ความดันตกพรวดๆ แบบนี้ต้องทดสอบให้แน่ใจว่า ถ้าจะผลิตจริงๆ ความดันต้องมากพอในระยะยาว

กลุ่มที่สอง เพื่อรู้คุณสมบัติของหลุม (Well properties)

Communication with reservoir – ทดสอบดูว่าปิโตรฯจากแหล่งผลิตนอกหลุมเราไหลเขามาในหลุมเราสะดวกดีไหม ติดขัดอะไรอย่างไรหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าไหลไปไหลมาในแหล่งผลิตดีเชียว แต่ไหลมาถึงจุดที่จะเข้ามาในหลุมเกิดติดขัดซะงั้น พอรู้ว่าติดขัดตรงไหน เวลาแก้ไขจะได้แก้ให้ถูกจุด ไม่งั้นก็เหมือนกับหลับตาแก้ปัญหาสุ่มๆไป (คงแก้ได้หรอก)

Production potential (productivity index PI, skin factor S) – ศักยภาพในการผลิตเป็นอย่างไร มีอะไรมาขวางไหม อัตราการผลิตที่การไหลต่างๆกันเป็นอย่างไร จะกำผลิตให้ได้แบบยั่งยืนๆ ไม่ใช่เอาผลงานเอาหน้าระยะสั้น ผลิตพรวดๆ 3 เดือนแหล่งผลิตพัง

Drainage Area – หลุมเราเนี้ยมันดึงเอาปิโตรเลียมที่ไกลจากหลุมได้มากที่สุดเท่าไร พูดง่ายๆคือรัศมีในการเอาปิโตรเลียมเข้ามาในหลุมนั่นแหละ อันนี้ต้องรู้ เพราะจะได้กำหนดได้ว่า จะต้องใช้กี่หลุมถึงจะดูดปิโตรเลียมออกมาได้หมดแหล่ง

ถ้าใช้จำนวนหลุมน้อยไป ก็ไม่สามารถผลิตออกมาได้หมดแหล่ง ถ้าใช้จำนวนหลุมมากไปก็เสียเงินเปล่า แต่ล่ะหลุมจะแย่งผลิตกันเองจากหลุมข้างๆกัน

Completion efficiency and evaluation of treatments – เรื่องนี้อธิบายยากแฮะ เอาว่าการทดสอบหลุม สามารถบอกได้ว่า วิธีการผลิต (completion) แบบไหน ให้ผลอย่างไร

Fluid properties

สุดท้ายคือ เก็บตัวอย่างปิโตรเลียมเพื่อศึกษาคุณสมบัติของมันว่าเป็นน้ำมัน เป็นก๊าซ เหนียวไหม หนักเบาเท่าไร เป็นกรดเป็นเบสแค่ไหน มีโลหะหนัก มีสาร มีโลหะหนัก อะไรที่ต้องระมัดระวัง เพื่อจะได้เอาไปเป็นปัจจัยในการออกแบบท่อส่ง สถานีผลิต มาตราการความปลอดภัย และ อื่นๆ

การทดสอบหลุม ตอนที่ 1

นอกจากนั้นยังสามารถนำเอาตัวอย่างที่ว่าไปทดสอบ PVT (ความสัมพันธ์ระหว่าง ความดัน ปริมาตร และ อุณหภูมิ) ซึ่งกราฟ PVT นี้จะมีประโยชน์มากๆในการวิเคราะห์ โน้นนี่นั่น อะไรต่อมิอะไรมากมายเกี่ยวกับแหล่งผลิตของเราในอนาคต (ซึ่งนอกเหนือปัญญากรรมกรแท่นเจาะอย่างผม 555)

พอล่ะ เยอะแล้ว เดี๋ยวจะเบื่อไปเสียก่อน ผมกะๆด้วยสายตาจากจำนวนเนื้อหาในสไลด์ น่าจะเอามาหากินได้สัก 4 ตอน

ตอนต่อไปจะคุยให้ฟังว่า

  • แนวคิดของการทดสอบหลุมคืออะไร
  • ข้อมูลดิบๆที่ได้จากการทดสอบหลุมมีอะไรบ้าง
  • ขั้นตอนการทดสอบหลุมเป็นอย่างไร
  • การอ่านกราฟที่ได้จากการทดสอบหลุมเบื้องต้น และ
  • ขนาดในการทดสอบหลุมใหญ่เล็กต่างกันอย่างไร

…. โปรดติดตามครับ 🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------