ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Petroleum Unitization การแบ่งเค้ก เมื่อพื้นที่แหล่งฯคาบเกี่ยวพื้นที่สัมประทาน

Petroleum Unitization การแบ่งเค้ก เมื่อพื้นที่แหล่งฯคาบเกี่ยวพื้นที่สัมประทาน – สืบเนื่องจากที่เขียนเรื่องนี้

ปตทสผ พบก๊าซหลุมแรก โครงการ “ซาราวักเอสเค 410 บี” ในมาเลเซีย

ปตทสผ พบก๊าซหลุมแรก โครงการ “ซาราวักเอสเค 410 บี” ในมาเลเซีย

ตอนอธิบายเรื่องการคำนวนพื้นที่แหล่งกักเก็บ นึกขึ้นมาได้ว่า แล้วถ้าพื้นที่แหล่งกักเก็บมันดันทะลึ่งใหญ่กว่าพื้นที่สัมประทาน (Concession area – กรณีสัมประทาน) หรือ ใหญ่กว่าพื้นที่ที่ได้ใบอนุญาติ (licenses area – กรณีแบ่งปันผลผลิต) จะทำกันไง

petroleum unitization

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ยุ่งตายห่ะเลยดิ หุหุ ทำไงกันดี

Petroleum Unitization

การแบ่งเค้ก เมื่อพื้นที่แหล่งฯคาบเกี่ยวพื้นที่สัมประทาน

นั่นไม่เท่าไร อย่างที่ทราบว่า ชั้นหินกักเก็บมันมีหลายชั้น และ ความหนามันก็ไม่สม่ำเสมอกัน มันอาจจะมีมากกว่า 1 ชั้นกักเก็บ และ มากกว่า 1 ประเภทของไฮโดรคาร์บอน

ถ้าแบบนี้ล่ะ ปวดไข่ดันตายเลย กว่าจะตกลงกันได้

petroleum unitization

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ก่อนจะไปถึงการแบ่งเค้ก มารู้จักกับศัพท์ทางเทคนิคคำหนึ่งก่อน

Drainage area

อธิบายง่ายๆก็ตามรูปนั่นแหละครับ

petroleum unitization

Drainage area คือ พื้นที่หนึ่งที่ปิโตรเลียมสามารถไหลเข้ามาในหลุมที่เราเจาะได้ นั่นคือไม่ใช่ว่าแหล่งกักเก็บเดียว เราเอาหลุมจิ้มลงไปหลุมเดียวแล้วจะเอาปิโตรเลียมขึ้นมาได้ทั้งแหล่งเมื่อไรกัน

ระยะห่างจากหลุมที่สามารถเอาปิโตรเลียมเข้ามาในหลุมได้ ขึ้นกับปัจจัยมากมาย เช่น คุณสมบัติของชั้นหินกักเก็บเอง (ความพรุน ความสามารถในการให้ปิโตรเลียมไหลได้ ฯลฯ) คุณสมบัติของปิโตรเลียม (ความหนาแน่น ความหนืด ฯลฯ) คุณสมบัติของตัวแหล่ง และ ปัจจัยทางธรณี กลไกที่มาของความดันของแหล่ง (drive mechanism) บลาๆ 108 1009

ปัจจัย และ คุณสมบัติที่ว่ามาน่ะ ผมไม่รู้หรอก ไม่รู้สักอย่างเดียว ไม่ได้เรียนมา 555 จำขี้ปากน้องๆเพื่อนๆมาฝอยต่อน่ะครับ

เอาเป็นว่า เรารู้ว่า 1 หลุม มันมีรัศมีที่จะเอาน้ำมันออกมาจากแหล่งได้จำกัดก็แล้วกัน

Rule of Capture

แล้วไอ้เจ้า drainage area นี่มันจะมาเกี่ยวกับการแบ่งเค้กยังไง

มาจะกล่าวบทไป … ศิลปะการแบ่งเค้กเมื่อพื้นที่แหล่งฯคาบเกี่ยวพื้นที่สัมประทานนี่ ต้นกำเนิดดังเดิมมันอยู่ที่อเมริกาครับ

สมัยนู้นนนนน อเมริกาเป็นเจ้าตำรับการขุดการปิโตรเลียม (เมื่อแรกเลยเอามาทำเทียนไขแทนน้ำมันปลาวาฬ – ชักนอกเรื่อง 555) มีการให้เช่าพื้นที่การขุดเจาะมากมาย

สมมติว่าผมมีที่พันไร่ (อเมริกาใช้เอเคอร์) ผมไม่อยากขุดเอง ผมก็ให้ตีตารางแบ่งเป็นล๊อกๆ เหมือน ตลากนัดให้เข่าที่เปิดท้ายขายของนั่นแหละ ให้นายก. ไก่ ถึง นาย ฮ.นกฮูก เช่า เอาไปเจาะน้ำมันขาย

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

แน่นอนว่า ที่ๆให้เช่ามันก็อยู่บนแหล่งปิโตรเลียมเดียวกันจริงไหมครับ ต่างคนก็ต่างอยากได้ผลผลิตเยอะๆมากๆจากที่ที่ตัวเองเช่า

ทายซิ แท่นเจาะแรกๆที่จะเจาะลงไปจะอยู่ที่ไหน …

ก็อยู่ข้างรั้วเพื่อนบ้านนี่ไง 555

petroleum unitization

และนั่นคือความหมายของ กฏหมายอเมริกาในยุคนั้นที่ชื่อว่า rule of capture แปลเป็นภาษาไทยบ้านๆว่า “หลุมต้องอยู่ในพื้นที่ของคุณนะจ๊ะ” งั้น(กู)ขุดมันริมรั่วเลย

นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคนั้น

petroleum unitization

สังเกตุจุดซิครับ ขุดกันริมรั้วเลย

petroleum unitization

แอบไปดูภาพถ่ายเก่าๆกัน

petroleum unitization

ใช้แท่นเจาะเป็นรั้วบ้านไปเลยครับ 555

petroleum unitization

หรือแบบนี้ก็ไม่เลว เล่นน้ำทะเลไป ได้กลิ่นไอน้ำโคลน ควันฝุ่นซีเมนต์ และ เสียงต่อการเจาะ โรแมนติกดีนิ 🙂

ผมกูเกิลดู Huntington beach อีกที หน้าตามันเป้นแบบนี้แล้วครับ 555

petroleum unitization

petroleum unitization

กลับมาเรื่องของเรา …

ถ้าใช้ rule of capture ก็นะ ต่างคนก็ต่างผลิต ทั้งปั๊มทั้งดูดขึ้นมามากๆเร็วๆไว้ก่อน (ก็เอามาจากอ่างเดียวกันนี่) มือใครยาวสาวได้สาวเอา จำนวนแท่นเยอะไว้ก่อน ได้เปรียบ

โดยธรรมชาติของการผลิตปิโตรเลียมออกจากแหล่งกักเก็บนั้น ถ้าเอาอกมามาก และ เร็ว กว่าอัตราที่เหมาะสม (optimum rate) การผลิตจะไม่ยั่งยืน ปริมาณที่ผลิตได้ไม่มากที่สุดเท่าที่จะเป้นไปได้ เพราะแหล่งกักเก็บมันก็จะทรุดจะพังเสียก่อน หรือ น้ำจะแทรกเข้ามาก่อนเวลาอันควร (premature water cut) ทำให้แหล่งกักเก็บเสียหาย หรือ ขวางทางไหลของปิโตรเลียม และ เหตุอื่นๆอีกมากที่ผมจะไม่ลงลึก (เพราะไม่รู้นั่นแหละ 555)

มิหน่ำซ้ำ ถ้าไม่ร่วมมือกัน การจะเอาน้ำมันขึ้นมา หลังจากแรงดันทางธรรมชาติ (primary recovery) หมดไปแล้ว จะทำ secondary / tertiary recovery กันอย่างไร เช่น จะขุดหลุมเพื่อปั๊มน้ำ/ น้ำมัน/ เคมี ไปไล่น้ำมันออกมา จะทำอย่างไร

จะลงทุนขุดหลุมปั๊มน้ำจากพื้นที่เรา น้ำมันก็ไปเข้าหลุมในพื้นที่เราบ้างก็จริงแต่ก็เป็นการไล่น้ำมันในพื้นที่เราไปเข้าหลุมพื้นที่ข้างๆด้วย เขาก็ได้ประโยชน์ไปดิ อะไรทำนองนั้น พอเห็นภาพความสูญเสียโดยรวมไหมครับ

นั่นคือที่มาที่ไปของ unitization

unitization ก็คือ กฏกติกาที่เจ้าของพื้นที่ร่วมมือกันพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมออกมาจากแหล่งกักเก็บฯที่มีสิทธิ์ร่วมกัน

อ่านเพิ่มเติม … UNITIZING OIL AND GAS FIELDS AROUND THE WORLD: A COMPARATIVE ANALYSIS OF NATIONAL LAWS AND PRIVATE CONTRACTS

จริงๆแล้วแต่ดังแต่เดิม เรื่อง unitization นี้ เกิดขึ้นในอเมริกา เพื่อจัดการปัญหาการผลิตทรัพยากรของอเมริกาโดยเฉพาะ เพราะในอเมริกาสมัยนั้น มีการให้เช่าพื้นที่ย่อยๆเป็นล็อกๆเพื่อผลิตน้ำมันจากแหล่งใต้ดินเดียวกัน พื้นที่สิทธิ์เช่ามักจะเล็กกว่าขนาดแหล่งกักเก็บ มันเลยเป้นปัญหา

ตรงนี้แหละที่แตกต่างจากการผลิตปิโตรเลียมนอกอเมริกา ที่ประเทศเจ้าของสัมประทานมักจากทำการสำรวจทางธรณีล่วงหน้าแล้ว เห็นขอบเขตขนาดของแหล่งกักเก็บที่น่าจะเป็นไปได้แล้ว (โครงสร้างทางธรณีสามารถบอกได้คร่าวๆโดยยังไม่ต้องเจาะหลุมแม้แต่หลุมเดียว) เมื่อทราบโครงสร้างสัณฐานทางธรณีคร่าวๆแล้ว จึงตีกรอบเป็นล็อกๆให้โครงสร้างนั้นๆอยู่ในล็อกเดียวกัน แล้วจึงเปิดประมูล ดังนั้น ปัญหาการคาบเกี่ยวของพื้นที่สิทธิ์กับพื้นที่แหล่งกักเก็บจึงไม่ค่อยมีมากเหมือนในอเมริกา

อย่างไรก็ตาม 3 – 4 ทศวรรษที่ผ่านมานี้ นอกอเมริกาก็เริ่มจะมีปัญหาการคาบเกี่ยวของพื้นที่สิทธิ์กับพื้นที่แหล่งฯเช่นกัน

ถ้าจำกันได้ เริ่มจากวิกฤติน้ำมันปี 1973 ที่กลุ่ม OPEC ไม่ส่งน้ำมันในประเทศตะวันตก และ ประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมัน ราคาน้ำมันพุ่งกระฉูด ประเทศตะวันตกและประเทศอุตสาหกรรมเหล่านั้น จึงต้องออกมาสำรวจและผลิตน้ำมันเองนอกบ้านมากขึ้น ไปแย่งพื้นที่ผลิตมาจากขาใหญ่ (major oil companies) ที่ครอบครองพื้นที่สำรวจและผลิตอยู่เดิมทั่วโลก

นอกจากนั้นแล้ว ช่วงปี 1980 – 1990 กฏกติกาของประเทศต่างๆที่เคยรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ (state own monopolies) ในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมก็ผ่อนคลายมากขึ้น

ผลก็คือ มีบริษิทน้ำมันขนาดกลางและเล็ก ออกมาจับจองประมูลพื้นที่สัมประทานกันมากมายในช่วงเวลาดังกล่าว (มีผู้เล่นมากขึั้นนั่นแหละ)

นอกจากนี้แล้ว ระยะหลังๆ ประเทศต่างๆมักจะซอยบล๊อกออกเป็นบล๊อกย่อยๆ เพื่อให้เกิดการแข่งขันในการประมูล เพิ่มจำนวนผู้ประมูล (จะได้ค่าเซ็นต์สัญญามากขึ้น  – signature bonus พูดง่ายๆก็ค่าต๋งกินเปล่าแหละ หรือ พวกเราเรียกว่าค่าน้ำหมึก 555) อารมณ์เหมือนซอยย่อย แตกพาร์ราคาหุ้นนั่นแหละครับ รายย่อยจะได้เข้ามาลงทุนได้ ไม่งั้น ถ้ามีแต่บล็อกใหญ่ๆ ก็มีแต่ขาใหญ่ประมูลไม่กี่เจ้า เพราะมันลงทุนสูง

ยังไม่นับที่ประเทศเจ้าของสัมประทานเอาบล็อกเก่าที่ประมูลไปแล้วไม่มีใครไม่เอา หรือ เอาไปแล้ว ไม่ทำอะไร พอหมดระยะเวลาสัมประทานก็ยอมจ่ายค่าปรับ แล้วคืนพื้นที่ (relinquished) เจ้าของประเทศก็มาทำการศึกษาใหม่ หั่นซอยให้เล็กลง ปะแป้งแต่งตัว ทำให้ดูน่าสนใจลงทุน ปัดฝุ่นสร้าง story ใหม่ อออกประมูล

เอาว่านานาเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดนั่นแหละ ทำให้มีจำนวนบล็อกย่อยๆมากขึ้น การไปซ้อนทับแหล่งกักเก็บเดียวกันก็เป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้

การบริหารจัดการเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดสะหว่างผู้ถือสิทธิ์ (unitization) จึงเป็นเรื่องขึ้นมาให้ศึกษาอย่างเป็นหลักการ เป็นเรื่องเป็นราว มีการศึกษาทั้งในภาคปิโตรเลียม กฏหมาย การเมือง และ เศรษฐศาสตร์ เรียกว่าเรื่องเดียวนี่ เรียนกันจบด็อกเตอร์ได้เลยล่ะ

แน่นอนว่า วันนี้ผมคงไม่เอาวิธีทั้งหมดในการทำ unitization มาเล่าให้ฟังหรอก เพราะหนึ่งล่ะ มันมีเยอะมากมายมากๆ ขึ้นกับ กฏหมาย สภาพทางธรณี แหล่งกักเก็บ สัญญาสัมประทาน โลจิสติกส์ ฯลฯ แต่เหตุที่สำคัญ(กว่า)ที่ผมไม่เอามาเล่าก็คือ ผมไม่รู้ 555 🙂

แต่ก็นะ งัดเอามาจากกระโหลกผุๆของผม เอาแบบเบๆมาดูกันก็ได้ครับ

petroleum unitization

แบบนี้ง่ายๆ ไปจับไข่ เอ๊ย จับเข่าคุยมาให้เสร็จว่า ทั้งแหล่งมีเท่าไร แล้วก็ผลิตไปตามโค้วต้าที่ได้ ตามสัดส่วนที่มี

พูดง่าย ทำยากครับ 555 เพราะอะไร ก็เจ้าเอก็มักไม่รู้แหล่งในพื้นที่เจ้าบี เจ้าบีก็มักไม่รู้แหล่งในพื้นที่เจ้าเอ ทะเลาะกันไม่จบ ก็ต้องไปหาคนกลางมา พอได้คนกลางมาประเมิน คนได้น้อยก็บอกว่าคนได้มาติดสินบนคนกลางอีก (คุ้นๆป่ะ หุหุ)

เอาแบบง่ายๆอีกแบบที่ผมไม่ลงรายละเอียดก็แล้วกัน แบบ 2 เจ้า คร่อมแหล่งกักเก็บเดียวกัน ดูยุ่งขึ้นมาหน่อย มีหลักการมากกว่าหลักกู คือไปหาเส้น กำไรรวมขึ้นมาเส้นหนึ่ง แน่นอนว่า จุดตัดแกนจะต้องอยู่ตรงที่คนหนึ่งกำไรเต็มๆ คนหนึ่งไม่กำไรเลย (เส้นสีเขียว)

แน่นอนว่า จุดตัดแกนจะห่างจาก ศูนย์ ไม่เท่ากัน ก็บ.หนึ่งมีพื้นที่มากกว่าอีกบ.หนึ่งนี่นา เส้นสีเขียวมันเลยป่องๆเอียงๆ (ใครเรียนเศรษฐศษสตร์มาจะเข้าใจดี ในวิชาเศรษฐศาสตร์มีเส้นแบบนี้เยอะ)

เสร็จแล้วเราก็สร้างเส้นผลตอบแทนขึ้นมา (เส้นสีน้ำเงิน) สร้างมาไง ช่างมัน เอาว่าบนเส้นนี้ ทั้งคู่ได้ผลตอบแทนเท่ากัน วางแปะลงไป เส้นสีน้ำเงิน สัมผัสเส้นสีเขียวที่ไหน ตรงนั้นแหละ จุดการผลิตที่ยุติธรรมที่สุด

ส่วนเส้นประอื่นๆ ช่างมัน ไม่ต้องไปสนใจ เป็นเรื่องการไม่เคารพกฏฯของแต่ล่ะเจ้า หรือ กลไลการแทรกของภาครัฐ

petroleum unitization

(John Nash, Noble Laureate, 1994)

แต่ๆ เดี๋ยวก่อน การคิดแบบนี้มีสมมุติฐานเบื้องหลังมากมายที่ผมไม่ได้เอามาอธิบายไว้ เพราะมันจะยาวและเยอะ เกินบริบทที่จะให้เพียงเข้าใจหลักการคร่าวๆเท่านั้น

โดยมากแล้วในการทำ unitization การประเมินศักยภาพแหล่งกักเก็บนี่แหละที่ปวดกระบาลที่สุด ยังไม่นับเรื่องขาใหญ่ขาเล็ก กำลังการต่อรอง ราคาขายปิโตรเลียม เทคโนโลยีที่ใช้ ถ้าหลายๆเจ้า คร่อมกันไปคร่อมกันมา ผลประโยชน์ขัดแย้งกัน … บ้าไปเลย กว่าจะตกลงกันได้ 5555

ยิ่งถ้ามีมิติของความซับซ้อนทางธรณีด้วย ยิ่งยุ่งขิงทิงนองนอย ว่างๆก็ลองไปอ่านงานนี้ก็ได้ครับ เป็นกรณีศึกษาของแหล่งฯใน Louisiana

Geological Aspects of Unitization in the Petroleum Fields of Louisiana

อย่างที่บอกไว้น่ะครับว่า การทำ unitization นั้น มีหลากหลายรูปแบบมากๆ และ ก็จะมีรูปแบบใหม่ๆถูกคิดประดิษฐ์ขึ้นมาเรื่อยๆเพื่อตอบโจทย์ความซับซ้อนของธรณีสัณฐาน กฏหมาย และ อื่นๆที่เปลี่ยนไป และ ซับซ้อนขึ้นตลอดเวลา

เรากรรมกรขายแรงงานบนแท่นขุดเจาะฯรู้เอาไว้ประดับสมองก็พอครับ ก้มหน้าก้มตาเจาะไปเถอะ ผมเองอาชีพก็ขุดหลุมเหมือนพวกเรานั่นแหละ แต่จับผลัดจำพลูไปรู้เข้าก็เอามาเล่าให้ฟังสนุกๆเท่านั้นเองครับ

เอาไว้รวยพอ มีปัญญาประมูลแหล่งน้ำมันเองแล้วค่อยรู้ละเอียด 555

——————————————-

recta sapere

แรงยึดเหนี่ยว แรงผลัก แรงดึง …

ในวิชาฟิสิกส์ที่เราร่ำเรียนมา เมื่อเราต้องวิเคาระห์แก้ปัญหาผลของแรงใดแรงหนึ่ง ถ้ามันง่ายๆเราก็ดูรูปโจทย์แล้วก็ตอบไปเลย แต่ถ้ามันยากมาก เราเอาจจะต้องแยกแรงนั้นออกมาเป็นองค์ประกอบย่อยๆ ส่วนมากก็ 3 แรงย่อย ในแนว X Y และ Z แล้วค่อยดูไปทีล่ะแรง ว่าแรงไหนอยู่ในแนวไหน แล้วไปรวมกับแรงอะไรได้บ้าง

ปัญหาชีวิตและการงานก็ไม่ต่างกัน

ถ้าปัญหามันเกิดจากปัจจัยเดียว แรงเดียว ก็ดูโจทย์แล้วแก้ปัญหาได้เลย บางทีมันซับซ้อน ก็ต้องแยกแรงออกมาให้ชัด … แรงยึดเหนี่ยว แรงผลัก แรงดึง

บางครั้ง ไม่ต้องมีแรงดึง แค่แรงผลักอย่างเดียว ก็เอาชนะแรงยึดเหนี่ยวได้แล้ว เราก็แทบอยากจะไปอยู่แล้ว ไม่ว่าไปจากงาน หรือ ไปจากคน

บางครั้งก็ต้องมีแรงดึงมาช่วยบ้างเล็กน้อย … เราก็ปลิดปลิว

บางครั้ง แรงดึงก็เกินห้ามใจ 555 แรงผลักไม่ต้องมี (กู)ก็ไปแล้ว 555

บางทีแรงยึดเหนี่ยวมันมากเสียจน แรงอะไรก็เอาชนะไม่ได้

ปัญหาหนึ่งที่เราต้องตอบ คือ แรงเหล่านี้มันอยู่ถาวรไหม หรือ มันมาๆแล้วก็ไป ไปๆ แล้วก็มา

ที่สำคัญกว่าคือ แรงเหล่านี้ มันมีจริงๆหรือเปล่า หรือ เรามโน เราสร้างมันขึ้นมาเอง สร้างมาตีกรอบตัวเราเองไม่ให้ไปไหน หรือเพื่อเป็นเหตุผลที่เราอยากจะไปอยู่แล้ว

ไม่มีใครรู้คำตอบหรอกครับ เราต้องซื่อสัตย์ในการวิเคราะห์แรงเหล่านี้ด้วยตัวเราเอง …

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------