ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

การทดสอบหลุม ตอนที่ 4 เราทดสอบหลุมไปทำไม well testing part 4

การทดสอบหลุม ตอนที่ 4 ตอนนี้เป็นตอนจบแล้วครับ เว้นไปหลายวัน งานยุ่งน่ะครับ

ตอนที่ 4 นี้เราจะคุยกันว่า

  • ในกรณีที่น้ำลึก เราจะทำ การทดสอบหลุม อย่างไร
  • อุปกรณ์ต่างๆที่วางไว้บนปากหลุม โดยทั่วๆไปวางกันอย่างไร มีอะไรบ้าง ทำงานกันอย่างไร
  • แล้วก็เลยไปถึงทีมงานว่าในทีมที่ทำการทดสอบหลุมมีใครทำอะไรกัน
  • รายงานต่างๆที่ได้จากการทดสอบหลุม และ …
  • ปิดท้ายด้วยการทำ TST (Tubing Stem Test)

การทดสอบหลุม ตอนที่ 3 เราทดสอบหลุมไปทำไม Introduction to well testing part 3

การทดสอบหลุม ตอนที่ 4

ก่อนจะอ่านต่อ สำหรับคนที่ไม่มีความรู้เรื่องอุปกรณ์ป้องกันการพลุ่ง (BOP) แนะนำให้กลับไปอ่านตอนนี้ก่อนครับ

กฎระเบียบการขุดเจาะ Entry level กรอบความรู้ วิศวกรรมการขุดเจาะหลุม ตอนที่ 5

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ถ้าไม่อ่านมาก่อนแล้วมาอ่าน การทดสอบหลุม ตอนที่ 4  จะงง และ มึนตึ๊บเลยนะครับ

การทดสอบหลุม ตอนที่ 4

การทดสอบหลุมน้ำลึก

ในกรณีทดสอบหลุมน้ำลึก (deep water) หลักการนั้นเหมือนกันครับ คือ เอา DST ติดปลายก้านเจาะ หย่อนลงไป แต่ความยุ่งยากมันอยู่ที่เหนือปากหลุมตรงบริเวณอุปกรณ์ป้องกันการพลุ่งที่วางเรียงกันเป็นขนมชั้นที่ก้นทะเล (subsea BOP stack)

ในกรณีแท่นเจาะแบบ Jack up หรือ TADU (Tender Assist Drilling Unit แบบแพทะเล) ที่ใช้กันในอ่าวไทยนั้น BOP stack มันอยู่ใต้พื้นที่ทำงาน (rig floor) จะปิด BOP ก็ตรงนั้นเลย เหนือ BOP มันก็ rig floor ไม่มีปัญหาอะไร

แต่ถ้า BOP stack ไปอยู่ก้นทะเล ห่าง rig floor ลงไปข้างล่างเป็นร้อยๆ เป็น กิโลๆเมตร ถ้าจำเป็นต้องปิดหลุม ก็ต้องมีวิธีที่เอาก้านเจาะส่วนที่อยู่เหนือ BOP ram (ใบมีดหรือยางที่ปิด – seal) ขึ้นมา นั่นคือจะต้องมีลูกเล่นอะไรนิดหน่อยที่ไปอยู่ตรงนั้น

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

เจ้าลูกเล่นที่ว่านี้ เราเรียกว่า subsea test tree ที่เราบรรจงให้มันไปอยู่ตรงสารพัด ram ของ subsea BOP stack

การทดสอบหลุม ตอนที่ 4

Landing string vs. testing string

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่าในกรณีน้ำลึก ก้านเจาะที่หย่อน DST ลงไปทั้งหมดนั้นแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเรียกว่า landing string ส่วนที่สองเรียกว่า testing string

คราวนี้เลื่อนลงไปดูรูปข้างล่างนิด ไม่ต้องสนในอุปกรณ์ชิ้นอื่น หาตัวหนังสือที่เขียนว่า latch assembly นั่นแหละครับ คือ จุดแบ่ง

ก้านเจาะ และ อุปกรณ์ที่อยู่เหนือขึ้นไปจากจุดนั้น เรารียกว่า landing string ตามชื่อเลย เพราะมันมีหน้าที่หย่อน testing string ลงไปในหลุม

ก้านเจาะและอุปกรณ์ที่อยู่ข้างล่างจุดนั้นนั้น เรารียกว่า testing string คร่าวๆก็คือ ก้านเจาะที่ยาวตั้งแต่ latch assembly  DST และ ระเบิด(ถ้ามี)ที่อยู่ปลายสุดของ DST

subsea test tree

หน้าที่หลักๆของเจ้า subsea test tree มีดังต่อไปนี้ครับ

  1. ต้องสามารถปิดกั้นไม่ให้อะไรไหลผ่านขึ้นจาก testing string ไป landing string หรือ ลงผ่าน landing string ไป testing string ได้ นั่นคือ จะต้องมีวาวล์อยู่ตรงนั่นแหละ เอาล่ะ เลื่อนจอขึ้นไปดู จะเห็น valve assembly อยู่ใต้ latch assembly เจ้า valve assembly นี้ มันคือ ชุดวาวล์ ประกอบไปด้วยวาวล์สองตัว คือ วาวล์ปีกผีเสื้อทางเดียว (flapper) กับ บอลวาวล์ (ball valve) อย่างล่ะตัว ทำไมต้องสองตัว ก็กันเหนียวน่ะครับ เผื่ออีกตัวเจ๊งไงครับ นั่นแหละ วาวล์ตัวที่พูดถึง ปิดซะ มันก็จะกั้นของไหลแยกออกจากกันระหว่าง landing string กับ testing string
  2. ต้องสามารถปลด หรือ ทำให้ landing string หลุด ออกจาก testing string ได้ (จะทำไง ไปว่ากันอีกที) ซึ่งก็คือ ตรง latch assembly ที่ให้ดูไว้ตั้งแต่ตอนแรกในรูป พูดง่ายๆ อารมณ์ก็ประมาณ quick connector นั่นแหละครับ ถอดออกได้ (disconnect) และ ต่อกลับ (latch) เข้าไปได้
  3. ต่อมา สมมุติว่า ต้องปลดให้ landing string หลุด ออกจาก testing string จะต้องมีวาวล์ตัวหนึ่งที่ต้องปิดปลาย landing string เอาไว้ไม่ให้ปิโตรฯที่ค้างอยู่ใน landing string ไหลลงไปในทะเล ซึ่งก็คือเจ้า retainer valve ตัวที่อยู่เหนือ latch assembly นั่นแหละ ชื่อวาวล์ก็บอกหน้าที่ของมันอยู่แล้วเนอะ retain แปลว่า รักษา ไงครับ คือ รักษาปิโตรฯที่อยู่เหนืมันใน landing string ไม่ให้ไหลลงทะเล
  4. คราวนี้สมมุติว่าเราปิด บอลวาวล์ที่อยู่ใต้ latch assembly กับ ปิด retainer valve ที่อยู่เหนือ latch assembly นั่นเท่ากับเรากัก (trap) ปิโตรฯหรือของไหลปริมาตรหนึ่งภายใต้ความดันหนึ่งอยู่ระหว่างวาวล์สองตัว เราจึงต้องมีวาวล์อีกตัวที่อยู่ตรงกลาง ที่ใช้ปล่อยความดันที่โดนกักอยู่นั้น เจ้าวาวล์ที่ว่าก็คือ bleed off valve เพื่ออะไร ก็เพื่อ latch assembly จะได้ถอดเอาเจ้า landing string ออกจาก testing string ไงครับ พวกเราจะรู้ดีว่า ก่อนจะถอดอะไรออกมา จะต้องแน่ใจว่า ไม่มีความดันถูกกักเอาไว้ในนั้น ความดันข้างในจะต้องเท่ากับความดันข้างนอก จะได้ไม่มีแรงกด หรือ แรงผลัก ต้านแรงที่เราจะใช้ถอดมันออกจากกัน เหมือนจะคลายเกลียวท่อสองท่อออกจากกัน ความดันในท่อ จะต้องเท่ากับความดันนอกท่อ ไม่งั้น ขัดคลายเกลียวไม่ออกแน่นอนครับ

ส่วนประกอบอีก 4 ชิ้น

ที่ควรทำความรู้จักก็คือ

  1. shear joint เลื่อนขึ้นไปดูเลยครับ มันคือก้านเจาะธรรมดาๆนี่แหละครับ ที่ติดตั้งให้มันอยู่ตรงใบมีด (shear ram) พอดิบพอดี เผื่อมีอะไรก็ตัดฉับมันตรงนั้นเลย ไม่ใช่ไปตัดที่ retainer valves หรือ bleed off valve ที่อยู่ข้างบน หรือ ไปตัดที่ latch assemble ที่อยู่ข้างล่าง
  2. slick joint ก็คล้ายๆกันครับ คือวางไว้ตำแหน่งที่ pipe ram พอดี๊พอดี เอาไว้ให้ pipe ram ปิดตรงนี้
  3. spanner joint ก็จุดประสงค์คล้ายกันครับ เอาไว้ให้ anuulas preventor ปิดทับมัน แทนที่จะไปปิดทับก้านเจาะ เพราะ spanner joint ถูกออกแบบมาให้อ้วนๆกว่าก้านเจาะหน่อย ตอนยาง anuulas preventor ปิดเข้ามาจะได้ใช้เวลาน้อยๆหน่อยไงครับ
  4. fluted hanger ตัวนี้ไม่มีไรมาก เอาไว้แขวน วางน้ำหนักของ testing string เอาไว้บนฐานของปากหลุมครับ น้ำหนักของ testing string จะได้ไม่ไปดึง landing string แล้วไปดึง (load) ที่ derrick อีกที พูดง่ายๆคือ ผ่อนน้ำหนักของ testing string ออกไปนั่นเอง

รูปข้างล่างคือตอนที่ landing string กับ testing string อยู่เป็นชิ้นเดียวกันแบบปกติสุข 🙂

ส่วนรูปข้างล่างนี้คือตอนที่จำพรากจากกันด้วยเหตุผลทางความปลอดภัย เช่น คลื่นลมแรงจัด

ตอนจะพรากมันจากกัน เราก็จะ …

  1. ปิด blind ram ที่เราบรรจงวาง latch assembly เอาไว้เหนือ blind ram นิดหน่อยพอดี๊พอดี
  2. ปิดบอลวาวล์ กั้นไม่ให้ปิโตรฯไหลขึ้นมาจาก test string
  3. ปิดวาวล์ปีกผีเสื้อทางเดียว (Flapper valve) กันเหนี่ยว ปิดสมทบอีกวาวล์
  4. ปิด retainer valve กั้นไม่ให้ปิโตรฯไหลลงมาจาก landing string
  5. เปิด bleed off valve ให้ความดันที่โดนกักอยู่ออกไป ไม่งั้นจะเปิด latch assembly ไม่ได้อย่างที่ได้อธิบายไปแล้ว
  6. เปิด latch assembly แล้วเราก็ถอด landing string ออก พร้อมกับปลอก (riser) ตามรูปข้างล่าง
การทดสอบหลุม ตอนที่ 4

พอคลื่นลมสงบ เราก็เอาเรือย้ายเข้ามา หย่อนลงไปต่อ (latch) อีกที แล้วก็ทำการทดสอบหลุมต่อไป

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

เป็นไงครับ หมูๆเนอะ ก็แค่หลักการ ให้เห็นภาพคร่าวๆน่ะครับ จริงๆแล้วมันซับซ้อน มีรายละเอียดเยอะ ซึ่งผมก็ไม่รู้ … แฮ่ๆ …

การทดสอบหลุม ตอนที่ 4

อุปกรณ์การทดสอบหลุมที่ปากหลุม

ต่อมาก็มาทำความรู้จักกับ อุปกรณ์ที่วางกันระเกะระกะที่ปากหลุมใน การทดสอบหลุม ตอนที่ 4 ว่าทำอะไรกันบ้าง

การทดสอบหลุม ตอนที่ 4

หน้าที่หลักๆของอุปกรณ์ต่างๆที่ปากหลุมก็คือ

  1. ควบคุมความดัน และ อัตราการไหลของปิโตรฯเลียม ให้เป็นไปตามโปรแกรมที่วิศวกรแหล่งผลิตออกแบบมา
  2. ปิดหลุมให้สนิท ในกรณีฉุกเฉิน
  3. วัดปริมาตรของของไหลที่ขึ้นมาจากหลุม
  4. เก็บตัวอย่างปิโตรฯที่ขึ้นมาจากหลุม
  5. แยกของไหลที่ไหลปนๆกันขึ้นมาจากหลุม (น้ำ ก๊าซ น้ำมัน)
การทดสอบหลุม ตอนที่ 4

ดูจากรูปก็พอเดาได้นะครับ การควบคุมอัตราการไหล และ ความดัน ก็ใช้ chock ซึ่งก็มีทั้งแบบขนาดที่คงที่ (fix chock) กับ แบบที่ปรับได้ (variable chock)

จะปิดหลุมให้สนิทก็มี master valve ที่อยู่บน test tree

การทดสอบหลุม ตอนที่ 4

มี separator เอาไว้ แยก ก๊าซ น้ำ และ น้ำมัน ออกจากกัน จะวัดปริมาตร ก็จะมีมิเตอร์วัดอยู่ที่ตัวแยก (separator) จะเก็บตัวอย่างก็เปิดก๊อก ออกจาก separator เอา หรือ ถ้าเป็นก๊าซ ก็เอาอุปกรณ์มาต่อ เก็บเอาไปส่งห้องทดลองต่อไป

การทดสอบหลุม ตอนที่ 4

รูปข้างบนให้ดูว่า chock manifold (ชุดของ chock หลายๆตัว) ว่าใหญ่ขนาดไหนเมื่อเทียบกับตัวคน มีวาวล์ด้วย บักเอ้บเลย (ภาษาอีสานแปลว่าใหญ่มาก) การปิดเปิดก็มีทั้งแบบใช้แรงคน และ แบบใช้ตัวช่วย มีทั้งแบบลม ไฮดรอลิกส์ และ ไฟฟ้า ให้เลือกใช้ตามลักษณะงาน จะสั่งงานแบบใกล้ไกลก็ว่ากันไป

การทดสอบหลุม ตอนที่ 4

อุปกรณ์มาตราฐานๆที่ใช้กันก็มีประมาณนี้ครับ

  1. Flowhead ก็ราวๆ Christmas Tree ชั่วคราว นั่นแหละครับ แต่ใช้กับงานทดสอบหลุม
  2. Surface Safety valve อยู่ในหลุม ใต้จุดที่คิดว่า ถ้าเกิดอะไรขึ้นกับแท่นฯ หรือ ปากหลุม ก็ปิดมันซะ ปิโตรฯจะได้ไม่ไหลกระฉูดขึ้นมา สร้างปัญหาให้ยุ่งยากขึ้นไปอีก
  3. Sand filters (Optional) กรองเอาทรายออกไป ไม่งั้น ของไหลความเร็วสูงๆที่ไหลพาทรายมา มันจะเหมือนเอากระดาษทรายไปขัดสีกับท่อและอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้เกิดความเสียหาย
  4. Choke manifold ความควบ ปรับ ความดัน และ อัตราการไหล ระหว่างการทดสอบ
  5. Emergency shutdown (ESD) ตามชื่อเลยครับ กดปุ๊บ ทุกอย่างหยุด
  6. Steam Heat exchanger เอาไว้สำหรับปิโตรฯที่มีความหนืดมากๆ ไม่ค่อยไหล ต้องอุ่นให้มันร้อนสักหน่อย จะได้ไหลดีขึ้น
  7. Separator แยก น้ำ น้ำมัน ก๊าซ ออกจากกัน
  8. Gauge or surge tank เอาไว้วัดปริมาตรของเหลว อารมณ์เหมือนถ้วยตวงนั่นแหละครับ
  9. Transfer pump ปั๊มไปโน้นไปนี่ แปลมันตรงๆอย่างนี้แหละ ใครจะทำไม เว็บผมเอง 555 🙂
  10. Oil and gas manifolds ชุดวาวล์ เอาไว้ แยกให้อะไรไปตรงไหน
  11. Burners and booms เมรุครับ เอาไว้เผาปิโตรฯที่ผ่านการทดสอบแล้วไรแล้ว

รายงานที่ได้จากการทดสอบหลุม

มีมากมายครับ เช่น

  1. กราฟความดัน อุณหภูมิ ที่ก้นหลุม กับ เวลา (bottom hole graph)
  2. ขั้นตอนการทดสอบจริง (event log)
  3. ข้อมูลการผลิตของหลุมระหว่างการทดสอบ (production result)
  4. กราฟอัตราการไหล ของของเหลว และ ก๊าซ (Flow chart)
  5. อื่นๆอีกมากมายล้านแปด

ทีมงานทดสอบหลุม

ใน การทดสอบหลุม ตอนที่ 4 เรามาดูกันว่ามีใครบ้าง เวลาสมัครงานจะได้เรียกชื่อตำแหน่งถูกๆ 555

ข้างล่างนี้เป็นแผนผังโครงสร้างทีมงานของบ.service บ.หนึ่งที่ให้บริการด้านนี้ ตัวย่อที่แปลกตา ไม่เคยพูดถึงมาก่อนคือ

SWT ซึ่งก็คือ Surface Well Testing และ

TCP ก็คือ Tubing Convey Perforation  https://www.slb.com/services/completions/perforating/tubing_conveyed_perforating.aspx

ย่อๆ TCP ก็คือ ระเบิดที่ใสไว้ในท่อเหล็กแล้วติดอยู่ปลาย DST นั่นแหละครับ

แต่ล่ะบ.ก็จะมีชื่อเรียก และ หน้าที่ต่างกันไปเล็กๆน้อยๆครับ แต่กว้างๆใหญ่ๆก็ราวๆนี้

ต่อไปก็จะพาไปรู้จักการทดสอบหลุมแบบ Thailand Only ครับ

เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่า Thailand only อย่างไร อยากให้ไปอ่านตอนนี้ก่อนครับ –> เทคนิคการขุด แบบอ่าวไทยของเราเท่านั้น (Thailand Only)

Tubing Stem Testing (TST)

การทดสอบหลุม ตอนที่ 4

พูดแบบบ้านๆคือ การทดสอบหลุมแบบนี้เราเจาะหลุม slim hole mono bore ซีเมนต์ท่อผลิต (tubing) เข้ากับชั้นหิน แล้วก็ยิงระเบิดท่อผลิตตรงชั้นแหล่งผลิตที่ต้องการทดสอบก็คือตรงที่เป็นสีกรวดๆในรูปข้างล่าง

สีฟ้าๆที่อยู่ปลายท่อผลิต เราเรียกว่า tubing collar และ tubing shoe มันคืออะไรก็ช่างมันไปก่อน ส่วนชั้นแถบแนวนอนสีฟ้านั้นคือชั้นหินที่มีน้ำอยู่ เราเรียกว่า aquifer หรือ ชั้นหินอุ้มน้ำ เป็นแรงผลักดันแบบหนึ่งที่ดันให้ปิโตรฯไหลเข้ามาในหลุม

อุปกรณ์การทดสอบที่อยู่บนแท่นฯก็เหมือนกับ DST เดี๊ยะ แล้วก็เปิดหลุม ปิดหลุม ตามโปรแกรมที่วิศวกรแหล่งผลิตออกแบบมาให้ทำตามปกติเหมือนทดสอบด้วย DST ครับ

พอทดสอบชั้นหินหนึ่งเสร็จแล้วก็ ปั๊มน้ำโคลนหนักๆอัดเข้าไปในชั้นหินที่เพิ่งจะทดสอบเสร็จไปนั่นแหละ แล้วปั๊มซีเมนต์ตามลงไปอุดท่อผลิตตรงนั้น แล้วก็เอาระเบิดลงไปยิงชั้นหินที่จะทดสอบชั้นต่อไป ที่แน่นอนว่า จะต้องอยู่ตื้นกว่าชั้นหินแรกที่เพิ่งทดสอบและอุดปิดไป

แล้ว TST ต่างจาก DST อย่างไร

  1. TST ไม่มีวาวล์เปิดปิดอยู่ในหลุมตรงท่อผลิตที่อยู่หน้าแหล่งผลิต ต้องปิดวาวล์ที่อยู่ปากหลุมแทน  แต่ DST สามารถครับ เพราะมีวาวล์ติดอยู่ที่ยวงๆ DST นั่นแหละที่อยู่ในหลุมเลย แล้วไงล่ะ DST ก็วัดได้แม่นกว่าซิครับ เพราะปิดเปิดตรงหน้าแหล่งผลิต แล้วก็วัด shut in pressure ได้จะๆที่ตรงนั้น แต่ TST ต้องปิดปากหลุม แล้วไปวัด shutin pressure ที่ปากหลุม คราวนี้เจ้าปิโตรฯหรือของไหลที่อยู่ในหลุมยาวตั้ง 2 -3 กิโลเมตร ทำให้การวัดที่ปากหลุมไม่แม่น (well bore storage effect) และถึงแม้ว่าในการทำ TST สามารถใช้ wireline หย่อน pressure gauge ลงไปในหลุม ไปรอวัดความดันที่หน้าแหล่งผลิต แต่ก็ไม่แม่นอยู่ดี เพราะเราต้องปิดหลุมที่ปากหลุม ปิดหลุมที่ปากหลุมปุ๊บ ไม่ใช่ว่าของไหลที่ก้นหลุมมันจะหยุดไหลปั๊บ มันมีแรงเฉื่อยที่ไหลต่อในท่อได้อีกสักพัก กว่าของไหลที่หน้าชั้นหินแหล่งผลิตจะหยุดสนิท ที่เราเรียกว่า water hammer effect น่ะครับ
  2. สำหรับ TST ต้องหย่อน pressure gauge ลงไปในหลุม จะต้องหย่อนลงไปให้ต่ำกว่า จุดที่ปิโตรฯจะไหลเข้ามา ไม่งั้น pressure gauge ชิ้นใหญ่ๆจะโดนปิโตรฯที่ไหลเข้ามาในหลุมด้วยความเร็วสูงหอบปลิวขึ้นมาพันกับสายเคเบิ้ล มะรุมมะตุ้มเป็นก้อน เป็น fish ให้ต้องหาวิธีลงไปกู้ขึ้นมา การที่ pressure gauge ลงไปอยู่ข้างล่างจุดที่ปิโตรฯไหลเข้ามา มันก็วัดได้ แต่มันก็นะ ไม่แม่น ต้องคำนวนชดเชยโน้นนี่ (ไม่รู้หรอก จำขี้ปากวิศวกรแหล่งกักเก็บมาอีกที) แต่ถ้า DST สบายบรื้อ เอาไว้เหนือจุดที่ปิโตรฯไหลเข้ามานิดหน่อยได้สบายๆ   ก้านเจาะ เหล็กทั้งดุ้น
  3. ถ้าหย่อน pressure gauge ลงไปในหลุม กรณี TST เราไม่สามารถทดสอบหลุมที่อัตราผลิต(ไหล)ที่มากๆได้ เพราะถึงแม้ pressure gauge จะอยู่ข้างล่างจุดที่ปิโตรฯไหลเข้ามา แต่สายเคเบิ้ลก็สามารถโดนพัดปลิวได้เช่นกัน
  4. ถ้าหลุมเอียงมากๆ แน่นนอนว่า ทำ TST แล้วจะเอา pressure gauge หย่อนลงไปไม่ได้แน่ๆ ต้องวัดความดันต่างๆที่ปากหลุม ซึ่งก็ต้องใช้ software คำนวนย้อนกลับไปว่า ความดันที่หน้าชั้นหินแหล่งผลิตเป็นเท่าไร การคำนวนก็มีสมมติฐานยุบยับ ความคลาดเคลื่อนก็ย่อมมีเป็นธรรมดา สู้ลงไปวัดกันจะๆไม่ได้
  5. TST ใช้หลุมเล็กๆ ท่อผลิตที่โดนซีเมนต์ยึดติดกับผนังหลุมก็เล็ก ระเบิดที่หย่อนลงไปก็ลูกเล็ก ระเบิดเข้าไปในชั้นหินได้ไม่ลึก ผลของ skin (ที่พูดถึงในตอนก่อนหน้า) ก็จะมาก ทำให้ผลการทดสอบอาจจะคลาดเคลื่อน ส่วน DST ไม่แคร์ ระเบิดลูกบักเอ้บ จัดไป จะยิงกี่ลูกก็ได้
  6. ในกรณี DST ถ้าเกิดผิดพลาดอะไร ก็ยังมีก๊อกสอง มีแผน มีลูกเล่น สำรอง มี packer เลื่อนไปทำตรงโน้นตรงนี้ได้ ส่วน TST ความยืนหยุ่นในกรณีการทำงานผิดพลาดน้อยมาก เพราะท่อผลิตมันโดนยึดติดกับชั้นหินไปแล้ว แถม ท่อผลิตเล็กอีกต่างหาก ถ้าพลาดอะไรไป คือเสียหลุมไปเลย ต้องไปขุดหลุมใหม่

ข้อเด่นของ TST คือ ราคาถูกครับ หลุมเล็ก ขุดเร็ว ไม่มีอุปกรณ์ราคาแพงที่อยู่ในหลุม ไม่ต้องมีค่าเช่า ไม่ต้องเสี่ยงความเสียหาย ต้องชดใช้ มีแต่อุปกรณ์ทั่วไปที่อยู่บนแท่นฯ

เราเลือกทำ TST กรณีที่การทดสอบไม่ซับซ้อนมาก ทดสอบแค่ชั้นหินเหล่งผลิตเดียว หรือ อย่างเก่งก็สองชั้นแหล่งผลิต ความเสี่ยงที่จะผิดพลาดต่ำ เรารู้จักแหล่งผลิตนั้นดีพอสมควรแล้ว

การทดสอบหลุม ตอนที่ 3

การทดสอบหลุมโดยรวม และ บทสรุป

จากรูปข้างบน จะเห็นว่าการทดสอบหลุมเป็นงานช้าง ที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับชาวบ้านชาวช่องเยอะมาก โดยเฉพาะการบริหารจัดการ logistic และ การจัดการบนแท่น เนื่องจากเครื่องมือ และ อุปกรณ์ เยอะมาก ยังไม่นับการทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับแรงดันที่สูงมากๆ ระเบิด และ กัมตภาพรังสีต่างๆที่ใช้ในงาน

สมัยก่อนที่ผมเป็น wireline field engineer ผมจำได้ว่าต้องเรียนรู้อะไรพวกนี้ด้วย ตอนนั้นก็ไม่เข้าใจว่า เรียนไปทำไม เอาเข้าจริงก็ไม่ได้ใช้ แต่ผมว่าการเรียนครั้งนั้นในโรงเรียน wireline ที่อียิปต์ ทำให้ผลเข้าใจวงจร ความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของงานต่างๆได้ดีขึ้น

ก่อนจบ ผมต้องขอออกตัวกับพวกเราก่อนว่า เรื่อง การทดสอบหลุม และ วิศวกรรมแหล่งกักเก็บ ผมไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเลย รู้แค่งูๆปลาๆ อาศัยครูพักลักจำ และ พยายามย่อยๆออกมาให้ง่ายที่สุด ใช้ศัพท์เฉพาะน้อยที่สุด

ถ้าเพื่อนๆร่วมวงการที่เป็นวิศวกร หรือ ช่างเทคนิค ที่ทำการทดสอบหลุม หรือ วิศวกรแหล่งแหล่งกักเก็บ ผ่านมาอ่านเจอ พบข้อความใดที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน รบกวนชี้แนะด้วยนะครับ อีเมล์มาที่ nongferndaddy@hotmail.com จะเป็นพระคุณอย่างสูง เพื่อที่ว่า ความรู้ต่างๆในเว็ปนี้จะได้ถูกต้องมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------