ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

ทุ่ม 15000 ล้าน PTTEP รื้อบงกช ปี 2566 – ข่าว

ทุ่ม 15000 ล้าน PTTEP รื้อบงกช ปี 2566 – ข่าว … มาแล้วครับ พี่ใหญ่เรากันเงินไว้แล้ว 15000 ล้าน ครับ เพื่อรื้อถอน ในปี 2566 เป็นต้นไป (ตามข่าว) มีข้อสังเกตุเล็กๆน้อยๆตามเคยครับ

#ข่าวเดียวกันอ่านที่นี่ได้มากกว่าข่าว

ทุ่ม 15000 ล้าน PTTEP

การอ่านข่าว การเสพข้อมูล จะต้องมีความรอบรู้ในระดับหนึ่งด้วย จึงจะทำให้เห็นภาพรวมได้ครบทุกด้านทุกมิติ

เม็ดเงินรวม

“ส่วนการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทยของแหล่งบงกช ได้จัดสรรงบอยู่ในแผน 5 ปีแล้ว 500-600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ราว 1.55-1.86 หมื่นล้านบาท ตามสัดส่วนการถือหุ้น 66.66% และ ส่วนที่เหลือเป็นของบริษัท โททาล อี แอนด์ พี ไทยแลนด์ฯ 33.33%”

เอาเลขกลมๆล่ะกัน 15000 ล้านบาท คือ 66.66% ก็ 2/3 นั่นแหละ แปลว่า จำนวนเม็ดเงินที่จะเอามาใช้ทั้งหมดที่ตกลงมาเป็นฝนให้พวกเราได้เอากะละมังมารองกันจริงๆคือ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

15000 x 3/2 = 22500 ล้านบาทครับ เย้ๆ !!!

ที่ไหนเปิดสอนวิชาการรื้อถอนบ้าง

ปี 2566 นะครับ แต่เราก็เตรียมกะละมังกันได้ สมมุติ ลงทุนไปเรียน ป.ตรี มา ก็ 4 ปีพอดี ถ้า ป.โท ก็ 2 ปี ไปเรียนที่ไหนดี ผมคุ้นๆว่ามี มจธ.นะครับ วิศวกรรมนอกชายฝั่ง ลองไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเอานะครับ

วิศวกรรมนอกชายฝั่ง มจธ. (Offshore Engineering KMUTT)

ส่วนต่างประเทศเท่าที่ทราบก็มีตามนี้ครับ ผมไม่ได้หามาให้หมดนะครับ แค่เป็น้ำจิ้ม เป็นสารตั้งต้น เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อตัดสินใจ หรือ ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเอาเอง

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

Decommissioning Master Degree + Cert. of completion แนะนำที่เรียน

ผมพยายามจะสอนให้จับปลากินเอง ไม่ใช่จะจับปลามาให้กิน

รื้อถอนแท่นผลิต โอกาส หรือ อุปสรรค Offshore decommissioning

 

หรือจะเตรียมกะละมังกันด้วยการคิด หรือ ฝึกหัด จับไม้จับมือ ค้นหา สร้างพันธมิตรทางธุรกิจ เตรียม สินค้า และ บริการ ที่โดนๆ

ก็ต้องไปศึกษากันว่า สินค้า และ บริการอะไรที่ต้องใช้แน่ๆ เช่น การตัดเชื่อมใต้น้ำ นักดำน้ำที่เชื่อม หรือ ตัด ใต้น้ำได้ เรือที่ให้บริการสนับสนุนในด้านนี้โดยเฉพาะ ฯลฯ

การวางหลักประกันค่ารื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม

“หลังจากที่กระทรวงพลังงาน ได้เปิดให้ผู้รับสัมปทานในแหล่งเอราวัณและบงกช เจรจาในการวางหลักประกันค่ารื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมที่มีอยู่กว่า 300 แท่น ในอ่าวไทยใหม่ ซึ่งมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นหัวหน้าทีมเจรจา จากเดิมที่ต้องให้วางเต็มจำนวนแท่น คิดเป็นมูลค่าเกือบ 1 แสนล้านบาท สร้างความไม่พอใจให้กับผู้รับสัมปทานทั้ง 2 แหล่ง จนเกือบจะนำไปสู่การฟ้องร้องอนุญาโตตุลาการ เนื่องจากเห็นว่าไม่มีความเป็นธรรม เพราะภาครัฐเก็บแท่นไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ จึงไม่ใช่หน้าที่จะต้องมารับผิดชอบในการรื้อแท่นทั้งหมด

ประเด็นนี้ก็ได้มีการถกกันไปแล้วนะครับ

รื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม รัฐและ เอกชน ต้องเจรจาบนหลักของความเป็นธรรม

ไม่ต้องวางหลักประกัน การรื้อถอน … ผ่านร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

ประเด็นมันง่ายๆครับ คือ นาย ก. จะเก็บของที่นาย ข. สร้างไว้ใช้งานต่อหลังจากนาย ข. ได้ใช้มาแล้วระยะหนึ่ง นายข.ก็ไม่ควรจ่ายค่ารื้อถอนเต็มจำนวน จริงไหมครับ

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ส่วนจะแบ่งอัตราส่วนการจ่ายค่ารื้อถอนกันอย่างไร ก็ว่ากันไป

จะเอาตามอัตราส่วนผลประโยชน์ที่นายข.ได้ไปแล้วกับประโยชน์ที่เหลืออยู่ จะเอาตามอัตราส่วนอายุการใช้งานของสิ่งก่อสร้างนั้นเป็นเกณฑ์ จะเอาตามอายุแหล่งก๊าซ จะเอาอะไรมาแบ่งก็จับเข่าเจรจากัน ผมว่าถ้านาย ก. และ นาย ข. อยู่บนหลักการเหตุผล ไม่น่าจะตกลงกันยาก กติกาสากลก็มีให้ยึดให้จับอยู่

ไม่งั้นนาย ข. อาจจะบอกว่า ถ้าให้ออกค่ารื้อถอนหมด ฉันรื้อถอนมันให้หมดเลยวันที่ฉันไป ตรงไปตรงมา จะเอางั้นไหม นาย ก.ก็คงไม่เอา เพราะไม่เป็นประโยชน์อะไรโดยรวม นาย ข.ก็คงไม่อยากทำ เพราะเสียภาพพจน์ ไม่ได้อะไรขึ้นมา นอกจากความสะใจ

แท่นผลิต vs. แท่นหลุมผลิต

ไม่ได้จะจับผิดสื่อ เพราะสื่อคงตั้งใจที่จะใช้คำศัพท์สามัญ “แท่นผลิต” เพื่อความเข้าใจง่ายๆ แต่เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของพวกเรากันเองในวงการ แท่นผลิต กับ แท่นหลุมผลิต ไม่เหมือนกัน

– แท่นหลุมผลิต (Wellhead Platform, WP)

เป็นแท่นที่ใช้สำหรับขุดเจาะหลุมผลิตปิโตรเลียม ภายในแท่นจะประกอบด้วยหลุมผลิตจำนวน 9-12 หลุมหรือมากกว่า และมีอุปกรณ์การผลิตเบื้องต้น เช่น อุปกรณ์แยกสถานะ เพื่อทดสอบหาอัตราการผลิต ปิโตรเลียมที่ถูกผลิตขึ้นมาจะผ่านอุปกรณ์การผลิตเบื้องต้นที่แท่นหลุมผลิตนี้ ก่อนส่งไปผ่านขบวนการผลิตยังแท่นผลิตต่อไป

– แท่นผลิต (Processing Platform, PP)

เป็นแท่นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์การผลิตต่างๆเช่นระบบแยกสถานนะ ระบบเพิ่มแรงดันก๊าซ ระบบดูดความชื้น มาตรวัด เป็นต้น

ที่มาก็จากเว็บไซด์กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเลยครับ ถ้าอยากรู้สิ่งก่อสร้างอื่นๆที่ตัวย่อยุบยับไปหมด ก็ไปตามลิงค์ข้างล่างนี้เลยครับ

แท่นอุปกรณ์การผลิต จำนวนอุปกรณ์การผลิต เรือผลิต กักเก็บ ในทะเล

ดังนั้นที่สื่อใช้คำว่า แท่นผลิต นั้น จริงๆแล้วที่ถูกต้อง น่าจะเป็น แท่นหลุมผลิต แต่ก็ไม่เป็นไรครับ แทนกันไปแทนกันมา แต่ก็ขอให้พวกเราเข้าใจกันไว้ก็แล้วกันครับ

ไปอ่านข่าวกันครับ ….

ทุ่ม 15000 ล้าน PTTEP

ทุ่ม 1.5 หมื่นล้าน PTTEP รื้อบงกช

ที่มา … https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/417629

ปตท.สผ.อัดงบ 1.5 หมื่นล้าน สร้างแท่นผลิตปิโตรเลียมแหล่งเอราวัณและบงกช รับช่วงรอยต่อแล้ว พร้อมใส่เงินรื้อถอนแท่นแหล่งบงกชอีก 1.5 หมื่นล้าน ในปี 2566 ส่วนวางหลักประกันค่ารื้อถอนแท่น รัฐเปิดทางไม่ต้องจ่ายเต็มจำนวน 1 แสนล้าน

บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP (ปตท.สผ.) ได้จัดทำแผน เผยการลงทุน 5 ปี (ปี 2563-2567) เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการผลิตปิโตรเลียมจากโครงการที่ประมูลได้ รวมทั้งโครงการที่ได้เข้าซื้อกิจการที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มระดับการผลิตปิโตรเลียมและการเติบโตในอนาคตไว้ราว 7.16 แสนล้านบาท

โดยในปี 2563 ได้จัดสรรการลงทุนไว้ประมาณ 1.43 แสนล้านบาท เป็นในส่วนของการรักษาปริมาณการผลิตปิโตรเลียม จากโครงการผลิตหลักที่สำคัญ ประมาณ 1,941 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 6 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ ที่น่าสนใจในงบ 5 ปี ดังกล่าว ปตท.สผ.ได้จัดสรรงบไว้ราว 1.55-1.86 หมื่นล้านบาท ตามสัดส่วนการถือหุ้น สำหรับการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมของแหล่งบงกช ที่จะสิ้นสุดสัมปทานปิโตรเลียมในปี 2566 เป็นต้นไป

รวมทั้งได้จัดสรรงบราว 1.5 หมื่นล้านบาท สำหรับการติดตั้งแท่นผลิตปิโตรเลียมในแหล่งเอราวัณ 8 แท่น และแหล่งบงกชอีก 4 แท่น รวมเป็น 12 แท่น รวมทั้งได้ออกหนังสือชี้ชวน เพื่อให้ผู้สนใจเข้ามารับงานก่อสร้างแท่นผลิตอีก 6 แท่น ที่จะเปิดประมูลในปีหน้า และการประมูลขุดเจาะหลุมผลิตในปีหน้าอีกส่วนหนึ่งด้วย

นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้รับการอนุมัติแผนการพัฒนาปิโตรเลียมในแหล่งเอราวัณ และบงกช จากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติแล้ว เพื่อเตรียมเข้าพื้นที่ และการเตรียมติดตั้งแท่นผลิตในแหล่งเอราวัณในปี 2564 และแหล่งบงกชในปี 2565 เพื่อให้กำลังการผลิตปิโตรเลียมทั้ง 2 แหล่งเกิดความต่อเนื่อง ถือเป็นการเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า เนื่องจากการก่อสร้างแท่นต้องใช้ระยะเวลาไม่ตํ่ากว่า 8 เดือน

ขณะที่การเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินงานในแหล่งเอราวัณ หลังจากประมูลชนะ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด มานั้น ได้มีการตั้งทีมงานช่วงเปลี่ยนผ่านขึ้นมา เพื่อเตรียมเข้าพื้นที่ และ การจัดสรรเงินดำเนินงานไว้แล้ว 500-600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งการดำเนินงานสัมปทานในรูปของระบบแบ่งปันผลผลิต (พีเอสซี) ภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วม จะต้องรายงานแผนการลงทุนให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติทราบและอนุมัติแผนการดำเนินงานทุกขั้นตอน

ส่วนการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทยของแหล่งบงกช ได้จัดสรรงบอยู่ในแผน 5 ปีแล้ว 500-600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ราว 1.55-1.86 หมื่นล้านบาท ตามสัดส่วนการถือหุ้น 66.66% และ ส่วนที่เหลือเป็นของบริษัท โททาล อี แอนด์ พี ไทยแลนด์ฯ 33.33% ซึ่งจะสิ้นสุดสัมปทานปิโตรเลียมในปี 2566 และ ต้องทำการรื้อถอนในส่วนที่ภาครัฐไม่เก็บไว้ใช้
งานต่อ โดยงบดังกล่าวจะเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป

สำหรับการวางเงินหลักประกันค่ารื้อถอนที่ต้องวางเต็มจำนวนแท่นผลิตปิโตรเลียมที่มีอยู่นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติแต่อย่างใดแหล่ง

ข่าวจากวงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม เปิดเผยว่า หลังจากที่กระทรวงพลังงาน ได้เปิดให้ผู้รับสัมปทานในแหล่งเอราวัณและบงกช เจรจาในการวางหลักประกันค่ารื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมที่มีอยู่กว่า 300 แท่น ในอ่าวไทยใหม่ ซึ่งมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นหัวหน้าทีมเจรจา

จากเดิมที่ต้องให้วางเต็มจำนวนแท่น คิดเป็นมูลค่าเกือบ 1 แสนล้านบาท สร้างความไม่พอใจให้กับผู้รับสัมปทานทั้ง 2 แหล่ง จนเกือบจะนำไปสู่การฟ้องร้องอนุญาโตตุลาการ เนื่องจากเห็นว่าไม่มีความเป็นธรรม เพราะภาครัฐเก็บแท่นไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ จึงไม่ใช่หน้าที่จะต้องมารับผิดชอบในการรื้อแท่นทั้งหมด ทั้งนี้จากการเจรจาในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 8 ครั้ง ถือว่ามีความคืบหน้าระดับหนึ่งเท่านั้น โดยภาครัฐยอมที่จะเปิดช่องให้ไม่ต้องวางหลักประกันค่ารื้อถอนเต็มจำนวนแล้ว แต่เนื่องจากมีรายละเอียดจำนวนมาก โดยเฉพาะภาครัฐยังไม่สามารถระบุจำนวนแท่นที่จะเก็บไว้ว่าจะมีกี่แท่นได้ ซึ่งมีผลต่อการวางหลักประกันการรื้อถอน จึงส่งผลให้การเจรจายังไม่ได้ข้อยุติ

หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3534 วันที่ 26-28 ธันวาคม 2562

————————————-

recta sapere

เมื่อวานบ่ายๆ จู่ๆเพื่อนสนิทคนหนึ่งที่ไม่ค่อยได้คุยกันนัก แต่เราก็สนิทกัน ส่งไลน์นี้มาให้อ่าน (อาจจะเป็นเพราะรู้ว่าครอบครัวผมมี 4 คน และ ผมเป็นคนเดียวที่ไม่เป็นผู้ป่วยจิตเวช ผมน่าจะให้คำปรึกษาได้ดีที่สุด 555)

“อาการดีเพรสเหมือนสมองเป็นแผล ยาต้านเศร้าทำให้สมองรักษาตัวเอง มันไม่ได้ทำให้อาการหายทันทีอาการดีเพรส (หมดแรงทำงานไม่ได้นานเป็นสัปดาห์/เดือน) ก็เหมือนกับสมองเป็นแผล มันเหมือนสมองถูกความเครียดกระแทกมากๆจนเป็นแผล

เนื่องจากสมองแต่ละคนไม่เหมือนกัน เหมือนผิวบางคนโดนอะไรนิดเดียวก็เป็นแผล แต่บางคนไม่ค่อยเป็นไร ดังนั้นบางคนเจอวิกฤติก็เป็นโรคซึมเศร้า แต่ … (อ่านต่อ คลิ๊ก )

ผู้ป่วยจิตเวชไม่ต้องกินยา ได้ไหม ทำไมต้องกิน บอกเล่าเท่าที่รู้มา

ผู้ป่วยจิตเวชไม่ต้องกินยา ได้ไหม ทำไมต้องกิน บอกเล่าเท่าที่รู้มา

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------