ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Service contract ครม.เห็นชอบแล้ว หลังล่าช้ามากว่า 1 ปี

Service contract ครม.เห็นชอบแล้ว หลังล่าช้ามากว่า 1 ปี – เพิ่งมาเป็นข่าว ไม่ได้มีอะไรมาก เป็นรูปแบบการให้สิทธิสัมประทานรูปแบบหนึ่ง

ที่เราคุ้นๆกันดีอยู่คือ สัปประทาน และ สัญญาแบ่งปันผลผลิต ที่เราได้คุยถึงความแตกต่างกันไปแล้วหลายครั้ง ในหลายมิติ

#ข่าวเดียวกันอ่านที่นี่ได้มากกว่าข่าว

Why concession ทำไมต้องสัมปทาน … ทำเองไม่ได้หรือไง

petroleum fiscal regime ระบบการคลังปิโตรเลียมแบบง่ายๆ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

Petroleum Fiscal Regime EP2 ระบบการคลังปิโตรเลียม

ระบบนี้เป็นอีกระบบที่เป็นสัญญาการจ้างงาน เหมือนเราจ้างผู้รับเหมามาก่อสร้างบ้านนั่นแหละครับ สัญญาจ้างก็ไม่ต่างกับสัญญาจ้างบ้านเลยครับ

จะจ้างเหมาค่าแรง จ้างแบบจ่ายรายวัน เหมาเป็นงานๆ รวมค่าของ หรือ ไม่รวม ก็ว่าไป เยอะครับ ตามสะดวกเลย ส่วนขอบเขตการจ้างก็มี 3 แบบ ตามสไลด์ข้างล่าง

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

จริงๆแบ่งได้มากกว่านี้ แต่ตาม พรบ. ฉบับที่ 7 ที่เราใช้ แบ่งได้แค่นี้

หลักใหญ่ใจความของระบบนี้ คือ ใช้กับแหล่งที่อู้ฟู่ มีของแน่ๆ ชัวร์ปั๊ก คนมารับจ้าง ไม่มีเอี่ยวกับผลผลิตที่ได้ เหมือนจ้างผู้รับเหมามาสร้างอพาร์เม้นท์ สร้างแล้วมีคนเช่าไหม ผู้รับเหมาก็ได้เงินค่าจ้างอยู่ดี (แต่ถ้าแบ่งปันผลผลิต ผู้รับเหมา จะได้รับค่าจ้างสร้างจากรายได้ค่าเช่า)

ดังนั้นจึงพรบ.ต้องระบุระดับความอู้ฟู่เอาไว้ด้วย … ก็ตามนี้ครับ

อย่างไรก็ตาม การใช้ระบบสัญญา SC ต้องตรงกับคุณสมบัติที่ คณะกรรมการปิโตรเลียมได้กำหนดเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจนว่า จะต้องเป็นพื้นที่ที่มีผลการสำรวจพบปิโตรเลียม และมีข้อมูลคาดการณ์ได้ว่า มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบ (2P) เหลืออยู่ตั้งแต่ 300 ล้านบาร์เรลขึ้นไป และมีปริมาณการผลิตสะสมรวมกับปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่เหลืออยู่เฉลี่ยทั้งพื้นที่ที่มีค่ามากกว่า 4 ล้านบาร์เรลต่อหลุม และมีปริมาณการผลิตสะสมรวมกับปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่เหลืออยู่เฉลี่ยทั้งพื้นที่ที่มีค่ามากกว่า 40,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อหลุม

ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่พบปริมาณน้ำมันและก๊าซฯ ปริมาณมากขนาดนั้น จึงยังไม่มีการนำระบบ SC มาใช้

หลายคนตั้งคำถามว่า เอ๊ะ ไก่เกิดก่อนไข่ หรือ ไข่เกิดก่อนไก่

เพื่อไม่ให้สัญญาแบบนี้เกิด จึงตั้งเงื่อนไขความอู้ฟู่แบบนี้ หรือ ระดับอู้ฟู่นี้เป็นธรรมมีที่มาที่ไปตามหลักเศรษฐศาศตร์แล้ว สัญญาแบบนี้ไม่เกิด(ในไทย)เอง ช่วยไม่ได้

ผมไม่มีคำตอบหรอกครับ

อ้อ … เท่าที่ทราบ สัญญาการจ้างบริการแบบนี้เท่าที่เห็นใช้กันในโลกก็มีที่ อิหร่าน กับ อาร์เจนตินา ครับ

ไปอ่านข่าวกันดีกว่า

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

Service contract

Service contract

ครม.เห็นชอบแบบสัญญาจ้างสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแล้ว หลังล่าช้ามากว่า1 ปี

ที่มา … https://www.energynewscenter.com/%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%a1-%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%8a%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87/

คณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบกฎกระทรวงแบบสัญญาจ้างสำรวจและผลิต (SC) แล้ว ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2560 กำหนดให้การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมต้องมี 3 ระบบ ทั้ง สัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิต(PSC) และSC

หลังการดำเนินการล่าช้ามากว่า 1 ปี แต่ปัจจุบันยังไม่มีแปลงปิโตรเลียมใดเข้าเกณฑ์ใช้ระบบ SC เหตุต้องเป็นแปลงที่มีศักยภาพปิโตรเลียมสูง โดยมีน้ำมันตั้งแต่ 300 ล้านบาร์เรลขึ้นไป และก๊าซธรรมชาติ มากกว่า 40,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อหลุม

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังาน (Energy News Center-ENC) รายงานว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่14 ก.ค.2563 เห็นชอบร่างกฎกระทรวงแบบสัญญาจ้างสำรวจและผลิต พ.ศ….ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแล้ว ซึ่งกฎกระทรวงสัญญาจ้างสำรวจและผลิต (Service Contract : SC) ดังกล่าวประกอบด้วย 23 หัวข้อ เช่น ค่าจ้างสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และการจ่ายค่าจ้าง ,การจัดการผลผลิตน้ามันดิบเมื่อมีการผลิตปิโตรเลียมเชิงพาณิชย์ ,การจัดการผลผลิตก๊าซธรรมชาติเมื่อมีการผลิตปิโตรเลียมเชิงพาณิชย์ ,การชำระ เงินของผู้รับสัญญา, การจัดหาสินค้าและบริการ, ผลประโยชน์พิเศษ และค่าภาคหลวง เป็นต้น

นอกจากนี้ ครม.ยังรับทราบเหตุผลที่กระทรวงพลังงาน ไม่สามารถดำเนินการจัดทำร่างกฎกระทรวงสัญญา SC นี้ได้ภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้

เนื่องจากในปี 2560 – 2561 มีการเปิดให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมสำหรับแปลงที่จะสิ้นอายุสัมปทานในทะเลอ่าวไทย ตามประกาศคณะกรรมการปิโตรเลียม โดยใช้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract : PSC) จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องออกกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต พ.ศ. 2561 ก่อน เพื่อให้ทันเวลาต่อการเปิดให้สิทธิสารวจและผลิตปิโตรเลียม จึงทำให้การออกกฎกระทรวงสัญญา SC ต้องมาดำเนินการในภายหลัง

สำหรับระบบสัญญา SC สามารถใช้ได้นับตั้งแต่มีการออก พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2560 แล้ว ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเปิดโอกาสให้นำระบบ PSC และ SC มาใช้เพิ่มเติมจากเดิมที่ไทยมีเพียงระบบสัมปทานปิโตรเลียมเท่านั้น แต่การจะนำระบบ PSC และ SC มาใช้ได้ ต้องมีกฎกระทรวงกำหนดรูปแบบให้ชัดเจน ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงพลังงานโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้กำหนดกฎกระทรวงระบบสัญญา PSC แล้วและนำมาใช้กับการขอสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแหล่งที่หมดอายุ คือ เอราวัณและบงกช ส่วนกฎกระทรวงระบบสัญญา SC เพิ่งจะผ่านความเห็นชอบจาก ครม. เมื่อ 14 ก.ค.2563 นี้

ดังนั้นระบบสัญญา SC จึงเป็นการทำเพื่อรองรับ พ.ร.บ.ปิโตรเลียมพ.ศ.2560 ที่กำหนดให้ต้องมีสัญญาทั้ง 3 ประเภท คือ สัมปทาน PSC และ SC  เพื่อให้สามารถเลือกนำมาใช้ได้กับแปลงสำรวจปิโตรเลียมที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับแต่ละประเภทสัญญา

อย่างไรก็ตาม การใช้ระบบสัญญา SC ต้องตรงกับคุณสมบัติที่ คณะกรรมการปิโตรเลียมได้กำหนดเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจนว่า จะต้องเป็นพื้นที่ที่มีผลการสำรวจพบปิโตรเลียม และมีข้อมูลคาดการณ์ได้ว่า มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบ (2P) เหลืออยู่ตั้งแต่ 300 ล้านบาร์เรลขึ้นไป และมีปริมาณการผลิตสะสมรวมกับปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่เหลืออยู่เฉลี่ยทั้งพื้นที่ที่มีค่ามากกว่า 4 ล้านบาร์เรลต่อหลุม และมีปริมาณการผลิตสะสมรวมกับปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่เหลืออยู่เฉลี่ยทั้งพื้นที่ที่มีค่ามากกว่า 40,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อหลุม

ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่พบปริมาณน้ำมันและก๊าซฯ ปริมาณมากขนาดนั้น จึงยังไม่มีการนำระบบ SC มาใช้ แต่หากพบพื้นที่ที่เหมาะสมจริง จะต้องจัดทำหนังสือสัญญาระบบ SC เพื่อลงนามระหว่างรัฐบาลกับผู้รับจ้างผลิต ซึ่งเป็นการลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กับผู้รับจ้างสำรวจและผลิต ซึ่งสัญญานี้จะกำหนดชัดเจนว่า ใครเป็นผู้ลงทุน เงินมาจากไหน และผู้ที่ชนะประมูลเพื่อรับจ้างเป็นผู้ผลิตหรือเรียกว่า ผู้รับเหมานี้จะส่งเงินให้รัฐเท่าไหร่ หลังจากสำรวจ ผลิต ขายปิโตรเลียมและหักค่าใช้จ่ายแล้ว แต่ทั้งนี้รัฐต้องพิจารณาแล้วเห็นว่าการจ้างผลิตปิโตรเลียมดังกล่าวต้องไม่ขาดทุนในอนาคตด้วย

==============================

ข้างล่างนี้ผมก๊อปมาจากไลน์กลุ่ม ถูกใจและเห็นด้วยมากๆ ผมไปตปท.มาเยอะ เห็นเมรัยพื้นบ้านเป็นสินค้าที่ออกหน้าออกตาและถูกกฏหมาย แต่บ้านเรา อุดมไปด้วยวัตถุดิบ กลับทำไม่ได้ (หรือได้อย่างยากเย็น) รณรงค์ไปก็โดนตัดตอน หรือ อคติ จาก พวกโลกสวย พวกรายใหญ่ก็เปรมพุงปลิ้นไป

จากเฟสบุ๊ค วันชัย ตันติยะพิทักษ์

ไม่นานมานี้ มีเพื่อนรุ่นน้องวัยสามสิบหิ้วเบียร์มาเยี่ยม บอกว่ากำลังจะเลิกอาชีพเดิมแล้ว

และตั้งใจทำอาชีพใหม่ด้วยใจรักคือคนทำคราฟท์เบียร์

เขาพูดพลางเปิดเบียร์สองขวดให้ชิมกัน เป็นคราฟท์เบียร์ที่เขาต้มและหมักเบียร์เองที่บ้าน

“ผมเป็นคนชอบดื่มเบียร์มานานแล้ว และอยากลองทำเบียร์ดื่มเอง “

บ้านเกิดของเพื่อนผมเป็นชาวสวนต่างจังหวัด มีผลไม้หลายชนิด เขาเลยทดลองทำเบียร์มีกลิ่นมะม่วงผสม

“หอมดี ได้กลิ่นมะม่วงแตะจมูกเบา ๆ” ผมบอกน้อง ขณะฟองเบียร์อยู่เต็มปาก

คราฟท์เบียร์ ที่รุ่นน้องบรรจงผลิตขึ้นมา เป็นเบียร์ชนิด Pale Ale สีทองเหลืองอร่าม รสชาติบาง ๆ มีกลิ่นผลไม้หอม ๆ

ผมลองดื่มเบียร์อีกขวด เป็นชนิด Brown Ale สีน้ำตาลเข้ม เมื่อลองดื่มได้กลิ่น คาราเมลผสมน้ำผึ้งป่าแตะจมูก สร้างความหอมได้สดชื่นดีแท้

เป็นเบียร์อร่อยกว่าเบียร์ขวดที่ขายตามท้องตลาดอย่างเทียบไม่ติด

“ ผมเคยสงสัยว่า ทำไมรายย่อยในประเทศนี้สามารถคั่วกาแฟออกมาขายได้ แต่ทำไมเราผลิตคราฟท์เบียร์เองไม่ได้”

คำว่า คราฟท์เบียร์ Craft Beer คือ การผลิตเบียร์โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก

มีความพิถีพิถันในการปรุง ไม่ได้มีกำลังการผลิตมากมาย ในต่างประเทศมีคราฟท์เบียร์นับหมื่นยี่ห้อ

ผลิตโดยคนทั่วไปที่สนใจปรุงรสชาติของเบียร์ โดยใช้วัตถุดิบหลากหลายมาสร้างสรรค์รสชาติเบียร์ชนิดต่าง ๆ

ปัจจุบันประเทศไทยมี Craft Beer ผลิตโดยคนไทยจำนวนมากขายจำหน่ายในประเทศ

แต่เกือบทั้งหมดเป็นสินค้านำเข้า แทนที่จะเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยซึ่งมีทรัพยากรมากมาย

“ที่ผ่านมา ผมก็ผลิตเบียร์กันเองในบ้าน ปริมาณนิดเดียว ให้เพื่อน ๆที่ชอบดื่มเบียร์รสชาติใหม่ ๆ

ผมชอบปรุงเบียร์และทดลองกับผลไม้ไปเรื่อย ๆ จนได้รสชาติที่ลงตัว ถามว่าเสี่ยงไหม ก็แน่นอน

แต่หากถูกจับได้ ก็ยอมไปเสียค่าปรับห้าพันกว่าบาท”

ที่ผ่านมามีผู้ผลิตคราฟท์เบียร์หลายราย โดนสรรพสามิตจับไปปรับในข้อหาผลิตสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต

ทุกวันนี้ใครอยากผลิตคราฟท์เบียร์ให้ถูกกฎหมาย ต้องไปขอใบอนุญาตจากกรมสรรพสามิต แต่มีเงื่อนไขว่า

1 มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท

2 หากผลิตเพื่อขาย ณ สถานที่ผลิต อาทิโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง จะต้องมีปริมาณการผลิตไม่ต่ำกว่า 1 แสนลิตรต่อปี

3 หากจะบรรจุขวดหรือกระป๋อง ผลิตเพื่อขายนอกสถานที่ เหมือนเบียร์รายใหญ่ จะต้องผลิตปริมาณไม่ต่ำกว่า 10 ล้านลิตรต่อปี

หรือไม่ต่ำกว่า 33 ล้านขวดต่อปี เป็นเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา ปี 2560

กฎหมายเหล่านี้ทำให้ผู้ผลิตคราฟท์เบียร์รายเล็กไม่มีทางแจ้งเกิดในประเทศแน่นอน

รายเล็กที่ไหนจะมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท

หากบอกว่ารัฐบาลสนับสนุน sme หรือผู้ประกอบการรายย่อย เปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้แสดงฝีมือ ความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตรสชาติเบียร์มากมาย

แต่กรณีคราฟท์เบียร์แล้วดูเหมือนจะเป็นการบีบให้คนไทย ต้องดื่มเบียร์จากรายใหญ่ไม่กี่รายในประเทศเท่านั้นหรือไม่

“ ตอนนี้ผมเตรียมตัวลงขันหุ้นกับเพื่อนไปผลิตคราฟท์เบียร์ในประเทศเพื่อนบ้าน ใช้ทุนไม่มากเท่าไหร่ ผลิตแล้วส่งมาขายในประเทศ”

“ผมไม่เข้าใจจริง ๆ นะ ผมเป็นชาวสวน เห็นผลไม้และสมุนไพรเมืองไทยมากมายหลากชนิดมาก อาทิ มะม่วง สับปะรด ลำไย เสาวรส ตะไคร้ มะกรูด ฯลฯ

ที่สามารถนำมาหมัก มาบ่มให้เกิดรสชาติเบียร์ได้มากมาย แต่เราทำไม่ได้ เพราะกฎหมายไม่อนุญาต”

คราฟท์เบียร์น่าจะมีส่วนในการช่วยทำให้สินค้าเกษตรมีตลาดมากขึ้น จากการเป็นวัตถุดิบในการทำคราฟท์เบียร์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรโดยตรง

แต่รายงานของ TDRI คาดการณ์ว่า ในปี 2563 ประเทศไทยจะนำเข้าคราฟท์เบียร์ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท

แต่เม็ดเงินเหล่านี้เกิดจากการนำเข้า 100% รายได้จึงตกอยู่กับผู้ผลิตในต่างประเทศและผู้นำเข้าไม่กี่ราย

เพื่อนรุ่นน้องผู้นี้คงไม่ใช่รายสุดท้ายที่จะออกไปผลิตเบียร์ในประเทศเพื่อนบ้าน

เพราะมีผู้หลงรักคราฟท์เบียร์อีกมากเตรียมตัวไปผลิตนอกประเทศ เพื่อนำกลับมาขายในประเทศ

คราฟทเบียร์จึงเป็นตัวอย่างของความย้อนแย้งในสังคมไทย

ด้านหนึ่งรัฐบาลบอกว่า สนับสนุน sme ของคนรุ่นใหม่ แต่ก็กีดกันการแข่งขัน โดยใช้กฎหมายเป็นตัวบังคับ

หรือผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ที่มีความสนิทสนมกับรัฐบาลทุกยุคต้องการผูกขาดการผลิตเบียร์ไปเรื่อย ๆ

เพราะมีตัวอย่างในต่างประเทศแล้วว่า ตลาดคราฟท์เบียร์กำลังมาแรงและแย่งสัดส่วนการตลาดของเบียร์ยี่ห้อดังไปเรื่อย ๆ

จากข้อมูลของ Brewers Associations แห่งสหรัฐอเมริการะบุว่า ในปี 2018 นั้นยอดขายเบียร์ดังในประเทศสหรัฐตกลง 1%

แต่ Craft Beer เพิ่มขึ้น 3.9% หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 13 % ของยอดขายเบียร์ทั้งหมด เป็นมูลค่ากว่า 27,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

และสร้างงานกว่า 5 แสนตำแหน่ง ขณะที่ตลาดในยุโรปมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง 13%

ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะเห็นการ disruption หรือการพังทลายของเบียร์รายใหญ่ในสหรัฐและยุโรป และทดแทนด้วยคราฟท์เบียร์รายเล็กมากมาย

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------