ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Rig rate จะเช่าแท่นเจาะฯสักแท่น ต้องจ่ายอะไรบ้าง

Rig rate จะเช่าแท่นเจาะฯสักแท่น ต้องจ่ายอะไรบ้าง – ใครมีน้ำมันอยู่ใต้ถุนบ้านอยากจะรื้อบ้านออกแล้วเอาแท่นเจาะฯมาวาง ต้องจ่ายอะไรบ้าง

เอาแนวคิดไปนะครับ รายละเอียดและภาษากฏหมายนั่นยาวย้วยล่ะไว้ก่อนนะครับ

เป็นวิศวกรก็ต้องรู้ เรื่องสัญญิงสัญญา และ กฏหมง หฏหมาย ด้วยเล็กน้อยถ้าต้องขึ้นมาเป็น ผจก. หรือ หัวหน้างงาน

rig rate

เครดิตภาพ – Land Rig Market Softens As Operators Tighten Belts https://www.hartenergy.com/exclusives/land-rig-market-softens-operators-tighten-belts-183703

Rig rate

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

OPERATING DAY RATE – ค่าเช่าปกติต่อวัน

STANDBY WITH CREW DAY RATE – ตามชื่อเลย ถ้าเกิดเหตุที่ต้องรอไม่นานนักที่ บ.แท่นไม่ใช่เป็นผู้บกพร่อง

STANDBY WITHOUT CREW (down-manned) DAY RATE – ตามชื่อเลย ถ้าเกิดเหตุที่ต้องรอไม่นานนักที่ บ.แท่นไม่ใช่เป็นผู้บกพร่อง

REPAIR DAY RATE – แท่นเจาะฯทำงานไม่ได้ เครื่องไม้เครื่องมือของแท่นเจาะฯเสียหายต้องซ่อมอันเนื่องมาจากความบกพร่องของ บ.แท่นเจาะฯ โดย 24 ชม. แรก จ่าย REPAIR DAY RATE หลังจากนั้นไป ZERO DAY RATE จ้า

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

REMEDIAL WORK DAY RATE – ชื่อคล้าย repair เลยครับ แถม แปลว่า ซ่อม เหมือนกัน

ต่างกันที่ repair ในความหมายนี้คือ ซ่อม เครื่องมือของแท่นเจาะ เช่น topdrive, drawwork เสีย ก็ต้องใช้เวลาซ่อม แต่ remedial คือ ซ่อมหลุม อันเนื่องมาจาก บ.แท่นเจาะบกพร่อง เช่น company man บอกว่า ถอนก้าน 4 ก้าน ต่อ ชม. และ ต้อง pump out นะ ลดความเสี่ยง หลุม swap

POOH Pump out Back ream out คืออะไร ต่างกันอย่างไร

แต่ driller ถอนพรวดๆ influx ทะลักเข้ามา ต้องควบคุมหลุม (well control) เวลาที่ใช้ในการทำ well control จนกว่าจะกลับมาจุดเดิมก่อนที่จะเกิดเหตุ เราจ่ายแค่ REMEDIAL WORK DAY RATE

ZERO DAY RATE – หลัง 24 ชม. ที่จ่าย REPAIR DAY RATE หรือ ขณะที่ซ่อมหลุม (กำลังจ่าย REMEDIAL WORK DAY RATE อยู่ดีๆ) เครื่องมือแท่นฯเกิดเสีย ก็จ่าย ZERO DAY RATE นะจ๊ะ

STACKED DAY RATE – บางที บ.น้ำมันก็มีเหตุที่ต้องหยุดเจาะชั่วคราว แล้วเอาแท่นฯไปพักไว้ที่ๆหนึ่ง (stack yard) ชั่วระยะเวลาหนึ่ง โดยที่ไม่ใช่ความบกพร่องของ บ.แท่นฯ บ.น้ำมันก็ต้องจ่าย STACKED DAY RATE ส่วนค่าย้ายคนย้ายของ (demob/mob) ก็แล้วแต่จะตกลงกัน จะเหมา (lumpsum) หรือ จะตามจริง + % ค่าบริหารจัดการ (management fee) ก็ว่ากันไป

FORCE MAJEURE DAY RATE – เหตุสุดวิสัย อันนี้ก็สุดคาดเดานะ เช่น ภัยธรรมชาติ ม๊อบ(ที่ไม่เกี่ยวกับงาน)ประท้วงปิดสนามบิน

โดยหลักการก็มักจะ knock for knock คือ ซวยทั้งคู่ ก็เจ๊ากันไป ไม่ต้องมีใครจ่ายใคร แต่ถ้า เหตุสุดวิสัยเป็นเหตุให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบ และ อีกฝ่ายได้เปรียบ ก็มักจะมีเงื่อนไขที่ต้องชดเชยกันตามสมควร

LUMP SUM MOBILIZATION FEE
LUMP SUM DEMOBILIZATION FEE
LUMP SUM MOVING FEE

Rig mob/demob, rig move, rig skid

3 คำที่อาจจะสับสนถ้าไม่ใช่คนวงใน เอาทีล่ะคำนะครับ

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

Rig mob/demob – mob ย่อมาจาก mobilization ส่วน demob ก็คือ demobilization

หมายความว่า การเคลื่อยย้านแท่นเจาะจากพื้นที่ของ บ.เจ้าของแท่นเจาะฯ เข้ามา (หรือ ออกจาก) พื้นที่ (field)ของ บ.น้ำมัน เพื่อทำงานในโครงการขุดเจาะ (drilling campaign) ตามสัญญาเช่า เช่น 3 ปี 25 หลุม เป็นต้น

พื้นที่ของ บ.เจ้าของแท่นเจาะฯ อาจจะเป็น พื้นที่แท่นเจาะเก็บใกล้ๆ แถวๆนั้นเอง (yard) หรือ จากหลุมสุดท้าย ของโครงการก่อนหน้า หรือ แม้กระทั้งจากต่างประเทศ

ถ้าเป็นแท่นนอกชายฝั่งก็ไม่ยุ่งยากอะไร ก็แล่น (drill ship) หรือ ลาก (tender barge, jack up, semi-sub) เข้าพื้นที่ของโครงการ

แต่ถ้าแท่นบกเนี้ย จะปวดตับเล็กน้อย เพราะเราต้องแยกส่วนแท่นเจาะออกเป็นชิ้นๆเหมือนเลโก้ ที่พักอาศัย ห้องทำงาน ครัว ตู้ทำงานอื่นๆของ บ. service หรือ work shop ต่างๆ ใช้เครน ยกใส่หลังรถพ่วงกัน เป็นสิบๆคัน ใช้เวลาหลายวันทีเดียว ขึ้นกับ ขนาดของแท่นเจาะและองคาพยพต่างๆ

เวลาคิดเงิน ก็คิดเหมาไปเลย (lumpsum) โดยกำหนดจุดต้นทางปลายทางกันในสัญญา เช่น mob 2 ล้านเหรียญ demob 2 ล้านเหรียญ

โดยมากสัญญาจะเขียนทำนองว่า ถ้ามีผู้เช่าคนต่อไป ค่า demob ผู้เช่าคนต่อไปจะเป็นคนออก (เพราะคือ ค่า mob ของผู้เช่าคนต่อไป)

เงื่อนไขแบบนี้เป็นกลไกจูงใจให้ บ.น้ำมันไม่เยอะเรื่องเวลาตอนท้ายๆโครงการให้พอดีกับผู้เช่าต่อไป เพราะจะได้ประหยัดค่า demob เช่น ยอมจ่ายค่าเช่ารายวัน(แบบอัตรา no man standby) ต่อ 2 สัปดาห์ หลังหลุมสุดท้าย เพื่อให้เวลาพอดีกับที่จะ demob ไปลูกค้าเจ้าต่อไปของ บ.แท่น เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายค่า demob (ที่มักจากมากกว่าค่า no man standby 2 สัปดาห์มาก) แบบนี้ก็ win-win กันเป็นต้น

Rig move – ก็จะน้องๆ mob/demob เพียงแค่ย้ายแท่นเจาะในพื้นที่โครงการ เช่น ภายใน พื้นที่สัมปทาน บงกช หรือ อยู่ภายใน ลานกระบือ เป็นต้น

เรื่องเงินๆทองๆ ส่วนมากก็มี 2 ส่วน

ส่วนแรก เหมา lumpsum ไปเลยว่า รถบรรทุก ไม่เกินกี่สิบคัน เท่าไร รถคันที่เกิน คันล่ะเท่าไร เพราะในหลายๆกรณี จนนวนที่ต้องขนกันจะงอกมากกว่าตอนที่ mob เข้ามาทำงาน เนื่องจากมี ตู้ต่างๆของ บ. service หรือ OCTG + ฯลฯ เข้ามาเพิ่ม

ส่วนที่ 2 คิดตามระยะทาง เหมือนแท๊กซี่มิเตอร์ กี่กม.แรกเท่าไร กม. ถัดไป กม. ล่ะเท่าไร ก็ว่าไป

Rig skid – ในพื้นที่เจาะหนึ่งๆ เราอาจจะเจาะมากกว่า 1 หลุม เช่น ในอ่าวไทยเรา 1 wellhead platform มี 15 -25 หลุม ในแหล่งลานกระบือ พื้นที่หนึ่ง (เราเรียก location) ก็จะมี เป็นสิบๆหลุม ปากหลุมก็ห่างกัน 2 – 3 เมตร

พอขุดหลุมหนึ่งเสร็จ เราก็เลื่อน (skid) ฐานแท่นเจาะฯ ด้วยกลไกไฮดรอลิกส์ (ก็ลูกสูบตัวขนาดน้องๆควายนั่นแหละ) กระดืบๆ ไถๆไป คร่อมปากหลุมถัดไป แล้วก็เริ่มเจาะ ส่วนแคมป์อะไรต่างๆก็อยู่ที่เดิม ดังนั้น ไม่คิดเงิน Rig skid

ในแหล่งที่อู้ฟู่ หลุมเดียวผลิตได้บานเบอะแบบแหล่งที่ผมมาทำงานหนนี้ พื้นที่เจาะเดียว หลุมเดียว ก็ไม่ต้อง skid ขุดเสร็จก็ rig move ไปพื้นที่ต่อไปเลย

CATERING AND ACCOMMODATION FOR COMPANY PERSONNEL – บ.น้ำมันจะมีคนของ บ.เอง เช่น company men + ฯลฯ และ มี คนของ บ.service companies ที่ไปอยู่บนแท่นเจาะฯ บ.น้ำมันก็ต้องจ่ายค่ากินค่าอยู่ต่างหากต่อวันต่อคน ให้ บ.แท่นเจาะฯ

นั่นคือเหตุผลที่ บ.น้ำมันไม่ต้องการให้คนของ บ. service ไปก่อนเวลางาน และ กลับหลังเวลางาน นานๆ เพราะนอกจากเรื่อง ความเสี่ยงเจ็บป่วยตายที่ไม่จำเป็นแล้วยังเปลืองค่าใช้จ่ายส่วนนี้

ค่าอื่นๆ – บ.น้ำมันต้องจัดหา น้ำกิน น้ำใช้ และ น้ำมันเชื่อเพลิง ให้แท่นเจาะฯ

น้ำกิน น้ำใช้ บ.น้ำมันอาจจะซื้อขนใส่รถใส่เรือมาเติมใส่ถังให้ใช้ หรือ ขุดหลุมน้ำบาดาลให้ น้ำมันเชื่้อเพลิง ก็ ดีเซล แหละ ก็ต้องซื้อ ขนมาให้

แต่ถ้าจะให้ บ.แท่นหามาให้เอง ก็ต้องคิดเงินต่างหาก แต่โดยมาก บ.น้ำมันจัดหามาให้เองจะถูกกว่าให้ บ.แท่นรวมไว้ในสัญญาเช่าแท่นฯ เพราะ โดยมากบ.น้ำมัน จะมีสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง น้ำ น้ำมัน ในปริมาณมากๆ มีโลจิสต์ดี กำลังการต่อลองสูง ราคา และ บริการที่ได้ ก็มักจะดีกว่าให้ บ.แท่นจัดหา

Rig consumable อันเนื่องจากการเจาะหลุมโดยตรง – เช่น ตะแกรงร่อนเศษหิน (shale shaker screen) เพราะอัตราในการใช้ (เสื่อม สึก) ขึ้นกับ ปริมาณ และ ความแหลมคม ของเศษหินที่ได้จากการเจาะ บ.แท่นเจาะควบคุมไม่ได้ ใช้ตะแกรงสึกไปเท่าไรก็ต้องเก็บตังค์ บ.น้ำมัน

Rig misc. (จิปาถะ) – เนื่องจากหน้างานมีความไม่แน่นอนอยู่มาก ต่อให้เราใช้ประสบการณ์เขียนสัญญาให้ครอบคลุมแค่ไหน ก็ต้องมีบ้างที่มีอะไรที่ต้องใช้ แต่ไม่ได้อยู่ในสัญญา เพื่อความยืดหยุ่นในจัดซื้อจัดจ้างที่ต้องทันเวลากับหน้างาน เพราะ บ.แท่นฯ สามารถจัดหาของใช้และบริการได้เร็วกว่า บ.น้ำมัน ซึ่งมักจะต้องผ่านระบบประมูลเพื่อความโปร่งใส

สัญญาแท่นเจาะฯมักจะเปิดไว้ให้ บ.น้ำมันสั่งให้ บ.แท่นจัดหาสินค้าหรือบริการอื่นใดก็ได้จำนวนหนึ่ง (ไม่เกินกี่เหรียญก็ว่าไป) โดย บ.แท่นมาเก็บเงิน บ.น้ำมันตามจริง + % ค่าบริหารจัดการ (management fee)

สรุป

เป็นไงครับ พอจ่ายไหวไหม นี่แค่ค่าของค่าเช่าค่าแรงขุดนะ (rig rate) ยังไม่รวมค่าจ้างออกแบบหลุม จ้างนักธรณี จ้างวิศวกรคุมงาน และ อื่นๆ … อิอิ จ้างผมไหมครับ ม้วนเดียวจบ 🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------