ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Well control readiness at rig site by Saudi Aramco

Well control readiness at rig site by Saudi Aramco – การควบควบหลุมเจาะนี่เป็นอะไรที่พวกเราจริงจังกันสุดๆ ถึงขั้นต้องสอบเอาใบรับรองกันเลยทีเดียว

ผมจะไม่อธิบายซ้ำนะครับว่า well control คือ อะไร ถ้าใครยังไม่ทราบ ตามอ่านลิงค์ข้างล่างนี้ได้เลย

Well Control แบบเบื้องต้น ง่ายๆ ชิลๆ ตามผมมาครับ เข้าใจได้ไม่ยาก

ความสำคัญหนึ่ง(ในหลายๆเรื่อง)ของการควบคุมหลุม คือ เราต้องรีบลงมือให้ว่อง ไม่งั้นยิ่งรอช้าไป ของไหลไม่ได้รับเชิญ (influx) จะเข้ามาเยอะแยะที่ก้นหลุม แล้วจะทำให้ความดันปากหลุมเยอะ การควบคุมหลุมก็จะยาก

ซาอุฯอารามโก้ เป็น บ.น้ำมันแห่งชาติของประเทศซาอุฯ ได้นำเอาเทคโนโลยี 2 – 3 อย่างมาประยุกต์ใช้เพื่อ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

  1. ลดเวลาการปิดหลุม
  2. ให้แน่ใจว่าปิดหลุมได้แน่ๆ และ
  3. สายส่งกำลังไฮดรอลิกส์ไปยังวาว์ลปากหลุมทดความร้อนได้กรณีปากหลุมไฟไหม้

อ่านฉบับเต็มได้ตามลิงค์ข้างล่าง มีรายละเอียดน่าสนใจและลงลึก เหมาะกับสายแข็ง

Saudi Aramco applies 4IR technologies to improve safety, well control readiness at rig site

แต่ถ้าขี้เกียจ หรือ สายชิว อ่านฉบับย่อของผมก็แล้วกัน

อ้อ … ผมเอามาจากวารสาร IADC (International Association of Drilling Contractor) ฉบับ NOV/DEC 2022 … ให้เครดิตกันเสียหน่อย

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

Well control readiness

ในบทความนี้การศึกษาฯแบ่งเป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ

  1. Auto well space out
  2. Wireless remote BOP control
  3. Upgrades to BOP hydraulic hoses

Auto well space out

เริ่มเรื่องมา ก็ชักแม่น้ำทั้งห้าด้วยสถิติและงานวิจัยตัวเลขต่างๆว่า ต้องรีบปิดปากหลุมให้ว่องไวนะจ๊ะ

Well control readiness

งานวิจัยแบ่งออกเป็นสามโซน

โซนแรก A ชิวๆ ปิด BOP ที่ปากหลุม (rig floor) แต่ถ้ามัวแต่เอ้อระเหย ก็ต้องเข้าโซน B จะปิดที่ปากหลุม หรือ จะไปปิดจากระยะไกล ที่อาจจะอยู่ในห้อง company man หรือ จุดที่อยู่ห่างจากแท่นเจาะไกลออกไป (แบบมีสาย hydraulic ควบคุมต่อ)

แต่ถ้าถลำเข้าโซน C แล้ว ต้องนิมนต์หลวงพ่อโกย วัดหน้าตั้ง ไปปิดจากระยะไกลอย่างเดียวเลย

Well control readiness

รูปที่สองนี่อย่าไปสนใจมาก แค่บอกว่า ยิ่งทิ้งไว้นานยิ่งซวย 555

spacer out คือ อะไร – มันก็แค่เป็นการขยับก้านเจาะ ไม่ให้จุดที่ต่อก้านเจาะ (tool joint) ไปอยู่กลาง BOP นั่นแหละครับ เนื่องจาก เจ้า tool joint เนี้ย มันจะยาวประมาณ ฟุตนึง ถึง ฟุตครึ่ง แล้ว ขนาดมันจะใหญ่อ้วนๆกว่าก้านเจาะ

ถ้ามันไปขวางวาวล์ (rams) ต่างๆ มันก็จะปิดไม่สนิท ก็เท่านั้นเอง

ปกติ driller เรา จะรู้อยู่แล้วว่า tool joint อยู่ตรงไหน ซึ่งมันก็อยู่ทุกๆ 10 เมตร นั่นแหละ เพราะก้านเจาะหนึ่ง มันก็ยาว 10 เมตร +/- นิดหน่อย ยกเว้นช่วงที่เป็น BHA (Bottom Hole Assembly) ที่ขนาด และ ความยาวเครื่องเคราปลายก้านเจาะจะสั่นยาวแปลกๆไม่เท่ากัน

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ซึ่งไม่ว่าอย่างไร driller ก็ต้องรู้ ต้องมีแผนภาพ (schematic) จะแปะฝาผนังข้างๆไว้ตลอดเวลา เป็น ปฐม ก. กา ของวิชา driller ที่เมื่อตรวจพบว่ามี influx เข้ามา driller จะต้องขยับ tool joint ให้พ้น BOP ทันที แล้วปิด BOP โดยพลัน

การศึกษานี้ก็นำเสนอวิธีที่จะ space out แบบอัตโนมัติ อารมณ์ว่า ช่วย driller เพื่อ driller จะได้ไม่พลาด ไม่ต้องคิดเยอะ

Well control readiness

ระบบก็ง่ายๆ แค่ป้อนข้อมูลให้คอมฯมันรับรู้ว่า ก้านเจาะ และ BHA เรามีขนาด ยาว สั้น อ้วน ผอม อย่างไร เอากล้องไปจ่อส่อง แล้วก็เขียนซอฟแวร์ให้จับว่า tool joint อยู่ตรงไหน ซึ่งเดี๋ยวนี้ เด็กมัธยมก็เขียนโปรแกรมพวกนี้ได้ มีโปรแกรมสำเร็จรูป หรือ sub-routine ขาย แค่ train model สำเร็จรูปมันหน่อยว่า tool joint – ก้านเจาะ – BHA หน้าตามันแบบนั้นแบบนี้

ถ้ามี 3 วาว์ล (rams) ก็จะมีไฟ 3 ดวง อย่างในรูป ถ้าไฟเขียวหมด ก็แปลว่า รอด ไม่มี tool joint อยู่ใน BOP ปิด BOP ได้สะดวกโยธิน

จริงๆแล้ว มีหลายเทคนิคมากๆที่จะตรวจจับว่า ในวาล์ว (rams) มี tool joint อยู่ไหม เช่น ใช้เสียง ยิงเข้าไป แล้วฟังเสียงสะท้อน ก้านเจาะอ้วน ผอม ต่างกัน ก็รู้แล้ว ใช้หลักการแม่เหล็ก ก็ได้อีก แต่ อาจจะยุ่งยาก และต้องมีระบบไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยว อาจจะไม่ปลอดภัย ใช้กล้องถ่ายเอาอาจจะปลอดภัยกว่า

โดยส่วนตัว ผมว่าไม่ได้ช่วย driller เท่าไรนะ เพราะ driller ก็ต้องเช็ค กับ schematic ที่มีในมือยู่ดี จะให้หลับตาเชื่อ 100% ก็คงไม่มี driller คนไหนทำ แต่เนื่องจากระบบมันง่าย และ ราคาไม่แพง มีไว้ก็ดูเทห์ ไฮเทค ดูราคาแพงดี ขึ้นค่าเช่าแท่นฯได้ 555

ปิดท้ายเรื่องนี้ให้ดูเท่ห์ ก็มีแผนภาพการทำงานให้ดูเสียหน่อยตามนี้

Wireless remote BOP control

เรื่องนี้ ผมไม่ต้องอธิบายเลย เราสามารถบังคับยานสำรวจดาวอังคารจากพื้นโลกได้ เรื่องแค่นี้ ชิวๆ

แค่มีกฏความปลอดภัยในการควบคุมหลุมอยู่ว่า ระบบวาว์ลควบคุมหลุมจะต้อง wired ห้าม wireless คือ ต้อง มีสาย hydraulic เชื่อมระหว่างระบบสั่งการ (control panel ก็คือ คันโยกหรือสวิทช์ต่างๆนั่นแหละ) กับ ระบบทำงาน (operating unit ซึ่งก็คือ ตัว ram และ koomy unit – ใครไม่รู้จักก็ช่างมันไปก่อนก็ได้)

ไอ้ครั้นจะเอา wireless ไปแทนที่ wired ของเดิม กับ ชุดวาวล์ว (rams) ของเดิม มันก็จะผิดกฏ ก็เลยเลี่ยงบาลี เอาวาวล์อีกตัวไปติดเสริม (ตัวที่ 2 ในรูปข้างล่าง) ซึ่งก็จะไม่ผิดกติกา

ที่เหลือก็หมูๆ จะเอาชุดควบคุมไปติดตั้งตรงไหน ไกล ใกล้ แค่ไหน หรือ จะเป็นแบบกระเป๋าหิ้ว ก็ได้ละทีนี้

Upgrades to BOP hydraulic hoses

เรื่องสุดท้าย เป็นเรื่องที่ผมยอมรับตรงๆว่า เป็นเรื่องที่ผมมองข้าม และเป็นเรื่องที่ดีที่สุดในงานวิจัยนี้

ต่อให้เรา space out เร็ว ปิดหลุมได้ไวจากระยะไกล แต่่ถ้าสาย (hydraulic hose) ส่งกำลัง หรือ ส่งสัญญาณ ทนความร้อนได้ไม่พอขณะเกิดไฟไหม้ รั่ว ขาด ขึ้นมาก็จบเห่

Hard shut in vs Soft shut in กับ revised well control system rules

งานวิจัยนี้ ยกผลการศึกษาที่น่าแปลกใจว่า เมื่อไฟไหม้ปากหลุม อุณหภูมิที่เกิดจากการเผาไหม้ปิโตรเลียมที่ปากหลุม จะประมาณ 1100 องศาซี แต่สเป็กสาย hydraulic ของ API 16D กำหนดแค่ว่า สายต้องรอดอุณหภูมิ 704 องศาซี เป็นเวลา 5 นาที ซึ่งห่างไกลความเป็นจริงมาก

งานวิจัยได้เอาเหตุการณ์ในอดีตมาจำลอง แล้วหาสเป็กใหม่ให้รอดว่า ต้องทน 1100 องศาซี ได้ 15 นาที จึงจะสอดคล้องกับความต้องการจริงๆ

รายละเอียดยังมีอีกเยอะนะครับ ผมแค่ย่อๆมาให้ชิมๆกันเบาๆ

สายแข็ง แนะนำอย่างแรงให้ไปอ่านต้นฉบับในลิงค์ที่ให้ไปที่ต้นบทความ

สรุป

  • ปิดให้สนิท ปิดให้ว่อง (auto space out)
  • ปิดได้จากเตียงนอน drilling manager (wireless แฮ่ๆ)
  • สายไฮดรอลิกส์ต้องทนร้อนได้มากกว่าและนานกว่า ในปัจจุบัน (นะจ๊ะ)

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

One comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------