ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Petroleum Electrical Mechanical Eng CU กับ งานออฟชอร์ ต่างกัน?

Petroleum Electrical Mechanical Eng CU กับ งานออฟชอร์ ต่างกัน? – มีหลังไมค์ถามมาดังนี้ครับ … ยากถามพี่นกว่าคนที่จบวิศวะ ปิโตรเลียม จุฬา ลักษณะงานที่ทำต่างกับคนที่จบภาคเครื่องกล ภาคไฟฟ้า ที่ไปทำงาน offshore มากไหมครับ หรือเหมือนกัน เพราะเห็นที่จุฬาเค้ารับคนเรียนด้านนี้น้อยมาก รู้สึกว่ารับเอาคนที่เกรดสูงๆเพียงประมาณ 20 คน ผมเลยแอบสงสัยว่าลักษณะงานต่างกันมากน้อยเพียงใด?

ถามมาสั้นๆแต่ขอตอบยาวๆ จะได้ไม่เข้าใจคลาดเคลื่อนกันนะครับ

Petroleum Electrical Mechanical Eng CU กับ งานออฟชอร์ ต่างกัน?

ประเด็นแรก “รับเอาคนที่เกรดสูงๆเพียงประมาณ 20 คน” … คืองี้ครับ

การศึกษาบ้านเราถูกกำหนดโดยระบบเศรษฐกิจที่เป็นไปตามกลไกตลอด คือ อุปสงค์ – อุปทาน ครับ

ถ้าตลาดต้องการอาชีพไหนเยอะ ก็จะไปดึงดูดเด็กมาเรียนอาชีพนั้นเยอะ สถาบันการศึกษาก็จะผลิตออกมาเยอะ โดยรัฐฯไม่ได้ไปกำหนดอะไรมากมาย เหมือนในเกาหลีเหนือหรือจีน(ในสมัยหนึ่ง)ที่ปริมาณนักศึกษาที่เรียนที่จบในสาขาอาชีพต่างๆถูกกำหนดโดยรัฐฯ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ตลาดอาชีพหนึ่งๆมันก็มีความต้องการต่อปีที่ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะตลาดที่เป็นวิชาชีพเฉพาะ เช่น ปิโตรเลียม เคมี อุตสาหกรรม ธรณี ฯลฯ ซึ่ง ต่างจาก วิศวกรรมสาขาที่ไม่เฉพาะมาก เช่น ไฟฟ้า เครื่องกล โยธา ที่สามารถผันตัวไปทำได้หลากหลายกว่า ตลาดกว้างกว่า

เรียนวิศวกรรมอะไรไม่ตกงาน ในวันที่โลกเปลี่ยนไปเร็วเหลือเกิน

เรียนวิศวกรรมอะไรไม่ตกงาน ในวันที่โลกเปลี่ยนไปเร็วเหลือเกิน

ปริมาณที่จุฬาเขาผลิดออกมา 20 คนก็เป็นตามนโยบาย และ การคาดการของทีมอาจารย์ที่ประเมินแล้วว่า รุ่นๆหนึ่งๆจบไป จะไม่ตกงาน มีตลาดรับที่พอเพียง และ มีทรัพยากรของคณะ(เงินงบฯ จำนวนอาจารย์ ฯลฯ) ที่จะผลิตบัณฑิตออกไปแล้วมีคุณภาพ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ต่อมาก็ประเด็นรับคนเกรดสูงๆ เรื่องนี้ผมเข้าใจว่าเป็นระบบแข็งขันภายในของจุฬาฯครับ

คณะไหนมีคนต้องการเรียนมาก ก็ต้องแข่งกันเข้า เหมือน เด็กๆสอบเข้ารร.มัธยมฯดังๆ เข้ามหาวิทยาลัยดังๆ แข่งกันด้วยเกรดของปี 1 เพราะปี 1 จะเรียนเหมือนๆกัน พอคณะวิศวกรรมปิโตรฯประกาศตูมว่า ปีนี้รับ 18 คน (สมมุตินะครับ) ถ้าคนอยากเข้าคณะนี้มากก็ต้องแย่งกัน

แล้วอะไรล่ะครับ ที่ทำให้เด็กๆปี 1 ใช้ตัดสินใจเลือกภาคที่แตกต่างกัน นอกจากความถนัดความชอบ ก็คือรายได้หลังเรียนจบ จริงไหมครับ เพราะรายได้วิศวกรสาขานี้ตอนจบมันสูงไง (ตอนราคาน้ำมันดีๆนะครับ 555) พอแย่งกัน ภาควิชาก็เลยใช้ระบบเกรดมาคัดคน ก็เลยได้คนเกรดอันดับต้นๆของคณะฯ

สาขาวิชาไหนที่คาดว่าจบมารายได้ต่ำ เด็กๆไม่ค่อยชอบ ก็จะมีเด็กเลือกน้อย

จะเห็นว่า ไม่เกี่ยวกับความยากง่ายของแต่ละภาควิชาเลยครับ ผมกล้ารับประกันได้ว่า วิศวกรรมทุกสาขา ยากพอๆกัน การเลือกเรียนมันขึ้นกับระบบตลาด และ การคาดหวังรายได้หลังจากไปทำงานแล้ว

ต่อมาประเด็น “จบวิศวะปิโตรเลียม จุฬา ลักษณะงานที่ทำต่างกับคนที่จบภาคเครื่องกล ภาคไฟฟ้า ที่ไปทำงาน offshore มากไหม”

ก่อนอื่นต้องมาดูว่าเขาเรียนอะไรกัน ผมเอาวิชาที่วิศวกรรมปิโตรเลียมจุฬาฯเรียนกันมาให้ดู

(วิศวกรรมปิโตรเลียมที่อื่นๆก็ไม่ต่างไปจากนี้เท่าไรหรอกครับ วิชาคล้ายๆกัน)

course1 course2

ปี 1 (เทอม 1 และ 2) จะเรียนเหมือนกันทั้งคณะ ในเทอมที่ 3 เป็นต้นไป วิชาที่เรียนเป็นวิชาหลักๆเฉพาะของวิศวกรรมปิโตรเลียมที่ลักษณะเป็นวิชาชีพคือ

  • Drilling Engineering
  • Production Engineering & Technology
  • Reservoir Engineering
  • Petroleum Economic
  • Petroleum Reserve Development

จะเห็นชัดว่าอาชีพที่ต้องออกไปทำหน้างานขุดเจาะกันจริงๆจังๆมีสาขา Drilling engineering เท่านั้น ที่เหลือ Reservoir กับ Production มีน้อยมากครับ ส่วน Economist กับ Development แทบไม่ได้ออกไปไหนเลย

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

Drilling Engineer จะดูภาพรวมของการขุดเจาะ ตั้งแต่การออกแบบคำนวน จัดซื้อจัดหา ไปจนถึงคุมงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และ บรรลุเป้าหมาย ซึ่งก็มีทั้งงานในออฟฟิตและงานหน้างานไม่ว่าจะออฟชอร์หรือออนชอร์

Drilling Engineer คือ ใคร ทำงานอะไรกัน ต้องไปหน้างานตลอดไหม

คราวนี้ คนที่จบไฟฟ้า เครื่องกล ก็มีหลายคนที่ผันตัวมาเป็น Drilling Engineer โดยไม่ได้จบวิศวกรรมปิโตรฯเรียนมาโดยตรง แต่โดยการทำงาน (เช่นผมจบไฟฟ้ากำลัง ปัจจุบันก็เป็น Drilling Engineer) เพราะว่าในการขุดเจาะ เราใช้วิศวกรรมหลากหลายสาขามากๆ เหมือนสร้างตึกหลังหนึ่ง เราใช้ ช่างไม้ ช่างไฟ ช่างปูน ช่างเหล็ก ช่างแอร์ ช่างสุขาภิบาล ช่างลิฟท์ ฯลฯ วิศวกรไฟฟ้า เคลื่องกล เคมี ฯลฯ ที่เป็น วิศวกรเฉพาะทางเหล่านี้ เมื่อเรียนรู้งานตัวเอง และ งานอื่นๆ(โดยการย้ายงาน ทำงาน) เช่น เป็นช่างไฟฟ้า แล้ว ย้ายบ.ไปอยู่ช่างลิฟท์ ไปอยู่ช่างปูน อะไรแบบนี้

อยากเป็น Drilling Engineer ผม / หนู จะเริ่มตรงไหน จะเริ่มอย่างไร

เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง ก็สามารถมาดูภาพรวมได้ เช่นกันกับการขุดหลุมน้ำมัน เราใช้วิศวกรน้ำโคลน ซีเมนต์ หัวเจาะ หยั่งธรณี (well logging) แท่นเจาะ ฯลฯ สารพัดวิศวกร

ซึ่งแต่ล่ะวิศวกรที่มาเป็นองค์ประกอบงานเหล่านี้ก็จบสาขาวิชาแตกต่างกันไป เช่นไฟฟ้า เคมี เครื่องกล โยธา ฯลฯ โดยมากก็ทำงานกับผู้รับเหมาช่วง(contractors) รับงานจากบ.น้ำมันอีกที

Petroleum Electrical Mechanical

พอวิศวกรเฉพาะทางเฉพาะส่วนเหล่านี้ บางคนได้โอกาสดีๆหรือด้วยอะไรก็แล้วแต่ทำให้ได้ทำงานหลากหลายขึ้น ก็จะเห็นภาพรวมของการออกแบบและการขุดเจาะหลุมมากขึ้น ก็สามารถสมัครไปทำงานกับบ.น้ำมันในฐานะวิศวกรขุดเจาะได้ โดยไปฝึกฝนต่อยอดด้านอื่นให้ครบวงจร

อย่างผม จบไฟฟ้ากำลัง เริ่มเข้าวงการฯมาทาง Wireline well logging และ หัวขุดเจาะ แค่ 2 อย่างเอง ที่เหลือผมก็มาเรียนต่อเอาเองจากการทำงานหลังจากมาเป็นวิศวกรขุดเจาะ (แต่วิศวกรขุดเจาะที่จบวิศวกรรมปิโตรฯเขาจะได้เรียนมาเป็นภาพกว้างๆทั้งหมด แต่ไม่ลึกเท่ากับวิศวกรสาขาอื่นๆที่ทำด้านนั้นๆ)

ตอบคำถามอย่างง่ายๆสั้นๆนะครับ จบเครื่องกล ไฟฟ้า ปิโตรฯ ไม่ได้กำหนดลักษณะการทำงานออฟชอร์ครับ สิ่งที่จะกำหนดลักษณะงานออฟชอร์คือ บทบาทหน้าที่ของเราที่ลงไปตรงนั้นต่างหากครับ

เราลงไปในฐานะวิศวกรน้ำโคลนของบ.รับเหมาช่วง (ไม่ว่าจะจบไฟฟ้า เคมี ปิโตร เครื่องกล ฯลฯ) ก็ทำงานในฐานะวิศวกรน้ำโคลน รับผิดชอบคุณภาพและการทำงานของน้ำโคลน หรือ เราลงไปในฐานะวิศวกรขุดเจาะของบ.น้ำมัน (ไม่ว่าจะจบไฟฟ้า เคมี ปิโตร เครื่องกล ฯลฯ) เราก็ไปทำหน้าทีคุมวิศวกรผู้รับเหมาช่วงทุกบ.บนแท่นให้ทำงานไปให้ได้ตามเป้า รับผิดชอบภาพรวมใหญ่ของการขุดเจาะ

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

One comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------