Measurement The significant and Many More … – ปั๊มปตท.โกง เติมน้ำมันได้ไม่เต็มลิตร …
เห็นข่าวนี้ และ บทสรุปที่ไร้เหตุผลบนหน้าสื่อแล้วก็อดไม่ได้ที่จะขอออกมาแสดงความเห็นบ้าง
ขอแสดงความเห็นในเชิงวิชาการ ตบท้ายด้วย สถิติ เล็กน้อย ในฐานะเคยทำมาหากินเกี่ยวกับการวัดมาหลายปีในงานหยั่งธรณี (formation evaluation)
Measurement The significant and Many More ..
… ว่าด้วยการวัด (measurement)
ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล
เพื่อไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง อยากให้พวกเราเข้าใจมิติต่างๆ(คุณภาพ)ของการวัดว่า เราสนใจอะไรบ้าง การวัดที่ดีมีคุณภาพควรมีลักษณะอย่างไร แล้วที่เป็นข่าวนั้น ดราม่าดราแมวกำลังชี้ไปที่อะไรในเชิงวิชาการ
ออกพุง เอ๊ย ออกตัว ผมไม่ใช่วิศวกรการวัด (Instrument Engineer) นะครับ ครูพักลักจำมา + จำอวด(จำแล้วเอามาอวด 555) ถ้าวิศวกรการวัด ตัวจริงเสียงจริง ผ่านมาอ่านเข้าก็น้อมรับคำชี้แนะนะครับ ผมเข้าใจผิดตรงไหน สะกิดกันด้วยนะ
Resolution
เอาง่ายๆก่อน คำนี้หมายความว่า ความละเอียดในการวัด (หรือแสดงผล) เทียบง่ายๆก็ ความละเอียดของจอภาพ ความต่างความยาวคลื่นที่ตามตาคนแยกออกเป็นสีๆได้ ความถี่เสียงที่คนแยกเสียงสูงออกจากเสียงต่ำ(กว่า)
-------------------------------------------------------
ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ
กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น
พูดง่ายๆคือ จำนวนจุดทศนิยมที่เครื่องวัดหนึ่งๆให้ได้มากที่สุด เช่น ไม่บรรทัด เวอร์เนียคาลิเปอร์ ไมโครมิเตอร์ ก็ละเอียดแตกต่างกัน
Sensitivity
ความอ่อนไหว (แหม … แปลได้โรแมนติกมาก) หมายถึงความสามารถในการแยก ความแตกต่างต่ำสุดที่ทำให้เครื่องวัดวัดค่าหนึ่งต่างจากค่าหนึ่ง
ตัวอย่างง่ายๆ ผมเป็นมนุษย์หนึ่ง ช่วงความยาวคลื่นแสงที่ตาผมมองเห็นแล้วแยกสีได้ ก็ไม่ได้ต่างจากมนุษย์ทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ แต่ถ้าเอาลิปสติกสีใกล้เคียงกันมากๆมาให้ผมแยก ผมจะแยกไม่ได้ เวลาแฟนถามว่า สีนี้กับสีนั้นสีไหนสวยกว่ากัน คำตอบผมคือ ตาผมมองเห็นเป็นสีเดียวกัน นี่คือ sensitivity ในการวัดต่ำ ในขณะที่ตาผู้หญิงทั่วๆไปจะแยกสีลิปสติกได้เป็นสิบๆเฉดสี
สำหรับคนรักตัวเลข ต้องอธิบายแบบนี้ … เครื่องวัดหนึ่งมี resolution ถึง ทดศนิยม 4 ตำแหน่ง เช่น 10.0569 แต่มี sensitivity 0.0005 แปลว่า ถ้าความเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า 0.0005 เครื่องวัดนี้ จะบอกไม่ได้ (เหมือนเฉดสีที่ตาผมแยกไม่ออกแหละ)
เหลือ L สองชุด M 1 ชุด นะคร๊าบ
เช่น ถ้าวัดได้ 10.0004 แล้ว สิ่งที่วัดเปลี่ยนจาก 10.0004 ไปเป็น 10.0002 เครื่องวัดนี้จะบอกไม่ได้ถึงการเปลี่ยนแปลง 0.0002 นี้ เห็นไหมครับ resolution เกี่ยวพันกับ sensitivity แต่เป็นคนล่ะเรื่องกับ sensitivity
What is the Difference Between Accuracy, Resolution, and …
Repeatability
นี่ง่ายๆเลย วัด 2 ครั้ง วัดได้เหมือนกันไหม ไม่ใช่วันนี้มองเห็นฟ้าสีฟ้า พรุ่งนี้เห็นฟ้าสีเหลือง หรือ พอเหล้าเข้าปาก เห็นช้างตัวเท่าหมู 😛
Accuracy
ความแม่นยำ เรื่องนี้ซับซ้อนหน่อย ดูเหมือนง่ายที่จะเข้าใจ แต่ไม่ง่ายเท่าไร วัดได้ 2 กรัม แล้ว จริงๆมัน 2 กรัมไหม ต้องเอาไปเทียบกับมาตราฐานที่เราเชื่อว่ามัน 2 กรัม จริงๆ แล้วไอ้ที่เราเชื่อว่ามัน 2 กรัมจริงๆ เรารู้ได้ไง ก็เราวัดไง อ้าว แล้วเครื่องวัดเราที่วัดค่ามาตราฐานออกมาว่า 2 กรัม นั่น มันมีความแม่นยำเท่าไร เห็น paradox ของมันไหมครับ
หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)
ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้
ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)
ไล่ไปเรื่อยๆ เราก็จะเจอ กฏความไม่แน่นอนของไฮเซนเบอร์ ที่สมัยผมเรียนตอนฟิสิกส์ม.ปลาย (ไม่รู้หลักสูตรตอนนี้ยังเรียนกันไหมนะ) กฏที่ว่า เราวัด ตำแหน่ง(ขนาด) และ โมเมนตัม(ความเร็ว) ได้ไม่พร้อมกันหรอก ได้อย่างเสียอย่าง
ในระดับโลกหยาบๆ เราโดนบังคับให้เชื่อว่าอะไรสักอย่างว่ามัน 1 ลิตร แล้วเราเครื่องวัดเรามาวัดเทียบ แล้วใส่กลไกทาง hardware software เข้าไปแล้วให้มันอ่านค่ามาให้ได้ถูกต้อง เราเรียก calibration (การปรับเทียบ) อย่างที่ผมเคยเขียนไว้ในเว็บไซด์ผม 5 ตอน ลิงค์อยู่ท้ายโพสต์นี้
Depth of investigation
เรื่องนี้เฉพาะตัวกับการหยั่งธรณีหน่อย เพราะไม่เครื่องวัดทุกแบบมีเรื่องนี้ให้ต้องคุย หมายถึงว่า เราสามารถวัดไปได้ไกลจากตัวเครื่องวัดเท่าไรโดยที่เรายังยอมรับคุณภาพการวัด (resolution, sensitivity, accuracy, repeatability) ได้
โดยปกติ ค่าที่วัดได้เมื่อสิ่งที่วัดอยู่ห่างจากเครื่องวัดนั้น ยิ่งไกลยิ่งเบลอ เหมือนเราใช้สายตากะ(วัด)ขนาดมะม่วงที่ถือในมือ กับ มะม่วงที่อยู่บนต้น นั่นแหละ ยิ่งไกลยิ่งไม่แม่น หรือเห็นสาวไกลๆว่าสวยแต่พอเดินเข้ามาใกล้ๆสวยน้อยลง หรือ สวยมากขึ้น
ยังไม่นับถึงสิ่งที่อยู่ระหว่างเครื่องวัดกับสิ่งที่จะวัด เช่น วันที่หมอกลง กับ หมอกไม่ลง ในตัวอย่างมะม่วง หรือ หญิงสาวข้างต้น กลับมาที่ข่าวฯ
… ข่าวกำลังพูดเรื่องอะไรครับใน 5 เรื่องที่ผมว่ามา ข่าวกำลังพูดถึง 2 เรื่อง accuracy กับ repeatability คือ หัวจ่ายจ่ายไม่เต็มลิตร กับ จ่าย 2 ครั้ง ไม่เท่ากัน
เป็นไปได้ครับ ที่เรายิงได้ห่วยแตก (poor accuracy) เล็งที่หัว แต่ยิงโดนหัวแม่ตีน แต่ข่าวดีคือ ยิงโดนหัวแม่ตีนทุกนัด (good repeatability) หรือ ยิงแม่นเข้าหน้าผาก (good accuracy) แต่ยิง 5 นัด เข้าหน้าผากแป๊ะ 2 นัด อีก 3 นัด โดนคาง หัวไหล่ และ ข้อศอก (poor repeatability)
ดังนั้นการพิสูจน์ความจริงเรื่อง accuracy กับ repeatability นั้น แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเลยครับ
การพิสูจน์ accuracy เราใช้ความเบี่ยงแบนจากมาตราฐานที่เรายอมรับว่ามันถูกต้อง ส่วน repeatability เราวัดความเบี่ยงแบนจากตัวมันเองที่วัดซ้ำๆ
เราจำเป็นต้องใช้สถิติในการตรวจสอบ ไม่ใช่แค่ค่าเฉลี่ย จำนวนตัวอย่างที่เอามาทดสอบ จะต้องมากพอที่จะยืนยันความมีนัยสำคัญของข้อสรุป
ถ้าสมองผมยังไม่เบลอ ผมคุ้นๆว่า อย่างต่ำต้อง 30 ตัวอย่าง และ/หรือ รู้ค่าความเบี่ยงแบนมาตราฐานของประชากร ถึงจะเข้าข่ายใช้ z-score ได้ ถ้าจำนวนตัวอย่างน้อยกว่านั้น ต้องไปใช้ t-score ที่ (ฐานระฆังบานกว่า ยอดระฆังเตี้ยกว่า = ไม่แม่นว่างั้นเถอะ) เอาแค่นี้ก่อน ถ้าลงลึกกว่านี้ก็จะเป็นการสอนวิชาสถิติไปล่ะ
สรุป
- เครื่องมือวัดไหนๆก็มีความผิดพลาด
- คุณภาพการวัด (resolution, sensitivity, accuracy, repeatability and depth of investigation) มีความสัมพันธ์กัน แต่ไม่ 100% คือ ไม่สัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์แป๊ะๆ โดยมาก เราต้องแลกอะไรกับอะไรเสมอ ใน 5 อย่างนั้น จะสร้างเครื่องวัดให้เลิศพร้อมกันทั้ง 5 อย่าง นั้นยากมาก (ไม่มีทางทำได้ในโลกควอนตัม)
- ของดีราคาถูกไม่มี แปลว่า เครื่องวัดที่คุณภาพการวัดดีๆ ก็จะราคาแพง เอามาใช้กับงานมูลค่าต่ำ ก็ย่อมไม่คุ้ม
- การเปรียบเทียบอะไรกับอะไรนั้น ใช้แค่ค่าเฉลี่ยไม่พอ จำเป็นต้องใช้
- 4.1) คุณลักษณะของสิ่งที่จะเทียบ เพราะการกระจายมาตราฐานไม่เหมือนกัน เช่น น้ำหนักคน ก็มีการกระจายมาตราฐานต่างจาก ความพึงพอในรสนิยมทางเพศ
- 4.2) จำนวนตัวอย่างที่มีในมือ และ
- 4.3 ค่าเบี่ยงแบนมาตราฐานของตัวอย่าง หรือ ประชากร มาพิจารณาด้วย
แต่ที่แน่ๆ วัด 2 – 3 ครั้ง อย่างในข่าวนั่น สรุปแมวอะไรไม่ได้เลย ที่เห็นว่าแมว อาจจะเป็นหมา ที่เห็นว่าหมา อาจจะเป็นกบ ก็ได้ … จบนะ
Wireline tool calibration EP1 การปรับเทียบค่าเครื่องมือหยั่งธรณี 1
Wireline tool calibration EP2 การปรับเทียบค่า Sonic tool
Wireline Tool Calibration EP3 การปรับเทียบค่า resistivity tool
Wireline tool calibration EP4 Gamma Ray, Litho-Density, Neutron
Wireline Tool Calibration EP5 – Formation tester gauge
ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ
(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)
https://raka.is/r/qlzXR | https://raka.is/r/gP7GV |