Wireline tool calibration EP2 การปรับเทียบค่า Sonic tool – ยากขึ้นกว่า caliper อีกนิดก็ sonic นี่แหละครับ
อารัมภบทต่ออีกหน่อย
เครื่องมือวัดโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ
- ตัวตรวจวัด (sensor)
- กลไกที่ติดตั้งตัวตรวจวัด (mechanical support)
- วงจรอิเลคทรอนิกส์
ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็ตาชั่งอีกนั่นแหละ แต่แทนที่จะเป็นตาชั่งหมูในตลาด ขอเป็น ตาชั่งอิเลคทรอนิกส์ เช่น ตาชั่งทองคำ
เรามี weight sensor เป็น ตัววัด ซึ่ง ถูกติดตั้งอยู่บนโครง (body) ตราชั่ง ซึ่งต่อสัญญาไปที่วงจรอิเลคทรอนิกส์
ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล
จะเห็นว่า 3 ส่วนนี้ ทำงานเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ความเพี้ยนในการอ่านค่า ก็มีสิทธิ์เกิดได้จากทั้ง 3 ส่วน
ไม่ต้องอะไรมาก แค่ขาตั้งโยกหน่อยเดียว ก็อ่านค่าผิดแล้ว จริงไหม
Wireline tool calibration EP2
การปรับเทียบค่า Sonic tool
สำหรับเครื่องมือหยั่งธรณี ในมุมของการปรับเทียบนี่ เรามี 2 ส่วน ใหญ่ๆที่ต้องทำ
-------------------------------------------------------
ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ
กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น
- ส่วนอิเลคทรอนิกส์
- ส่วนกลไกและตัววัด เรารวบ 2 ส่วน นี้เข้าด้วยกัน เรียกว่า sonde
ดังนั้น เครื่องมือที่เราหย่อนลงหลุม จะมี 2 ส่วน ต่อกัน
- electronic cartridge
- sonde
การปรับเทียบส่วน อิเลคทรอนิกส์ นั้น ไม่ยาก เรามี วงจรตุ๊กตามาตราฐานที่เสียบเข้าตูดของ electronic cartridge แล้ว ให้มันอ่านออกมากที่คอมฯว่าได้ค่าเท่าไร ถ้าอ่านไม่ถูก รุ่นอนาล็อก เราก็เอา ไขควงปรับแต่งที่แผนวงจรบน cartridge เลย
ถ้ารุ่นดิจิตอล เราก็ตั้งค่าที่ software โดย คีย์บอร์ด ได้เลย และ ล่าสุด เราไม่ต้องทำอะไรเลย software มันจัดการปรับแต่งให้เสร็จ เพราะมันรู้อยู่แล้วว่า ควรอ่านค่าจากวงจรตุ๊กตามมาตราฐานได้เท่าไร จริงป่ะ
การปรับเทียบ sonde – ส่วนนี้แหละครับ ที่เรามุ่งเน้นกัน เพราะเป็นทั้งศาสตร์ และ ศิลป์ 555 เพราะ sonde ของแต่ล่ะเครื่องมือวัด มันก็ไม่เหมือนกัน รูปร่างประหลาดๆไปตามฟิสิกส์ของการวัดนั้นๆ
Sonic sonde
Sonic tool มีหลายรุ่น หลายแบบมากๆ แต่หน้าตาจะไม่ต่างกัน เป็นแท่งปลอกโลหะยาวๆ บั้งๆหั่นขวางๆ เพื่อไม่ให้เสียงเดินทางข้ามไปมาได้เร็วกว่าที่จะวิ่งเข้าไปในชั้นหิน
เหลือ L สองชุด M 1 ชุด นะคร๊าบ
https://en.wikipedia.org/wiki/Sonic_logging
มี sensor และ receiver อยู่ในท่อน้ำมันไฮดรอลิกส์ อยู่ในปลอดเหล็กที่ว่านั่นอีกที ส่วนจะมีกี่ sensor กี่ receiver ก็แล้วแต่รุ่น ยี่ห้อ และ วัตถุประสงค์
ข้างล่างนี้เป็นรู้ sonde รุ่น classic ของเกือบทุกเจ้า ผมก็ไม่รู้ว่าเจ้าอื่นเรียกมันว่าอะไร แต่พี่ใหญ่ SLB เรียกมันว่า BHC – BoreHole Compensated
อ่านรายละเอียดของเจ้านี้ได้จากลิงค์นี้นะครับ Wireline Logging ตอน Porosity Tool EP2 กับ compton scattering และ sonic
หน้าตามันก็จะแบบนี้แหละ
sonde มันจะอ่อนย้อย แบบมะเขือเผา และ ยาวมาก สัก 3 – 4 เมตร เห็นจะได้
หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)
ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้
ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)
การปรับเทียบนั้น ง่ายสุดๆ (รองจาก caliper) …
อันดับแรก ค่ามาตราฐาน กรณี caliper เรามาวงแหวน 8.5 นิ้ว 12.25 นิ้ว ที่เรารู้ค่าแน่นอนใช่ไหม กรณี sonic นี้ เราก็ต้องหาตัวกลางที่เรารู้ค่าแน่ๆมาใช้ จริงไหม
อะไรดีล่ะ ที่เรารู้ค่าแน่ๆ ที่
- ผลิตได้ง่าย มาตราฐานเดียว ไม่แกว่ง
- ต้องใกล้เคียงกับชั้นหินที่เราวัด
ก็เหล็ก carbon steel (CS) ไงครับ carbon steel ที่ไหน ก็นำเสียงได้ด้วยความเร็วเท่ากัน 3230 m/s … จริงป่ะ
เราก็เอา เหล็ก CS มาทำเป็นท่อขนาดใหญ่กว่า sonic sonde เล็กน้อย (ตามมาตราฐานโรงงาน ผู้ผลิต sonde)
จับผ่ากลาง เราก็จะได้รางข้าวหมู หน้าตาก็เหมือนรูปข้างล่างนี่แหละ
เอา sonic sonde วางลงไป แล้วเราก็เอาน้ำเทลงไปให้เป็นสื่อที่ดีที่เสียงจะได้เดินทางผ่าน เสร็จสรรพเราก็เปิดเครื่อง ให้มันอ่านค่าความเร็วเสียงที่วิ่งผ่านราง CS นี่
เครื่องวัดต้องอ่านค่าได้ 3230 m/s จริงป่ะ ถ้าไม่ได้ค่านี้ล่ะทำไง
กรณี sonic sonde นี่ เราปรับแต่งอะไรที่ตัว sonde ไม่ได้เลย เพราะมัน static build in ทุกอย่าง ไม่มีกลไกที่เคลื่อนไหวได้แบบ caliper
อย่างเดียวที่เราทำได้คือ ไปตั้งค่าชดเชย/หักล้าง จาก software เพียงอย่างเดียว ซึ่ง ปัจจุบัน software จัดการเรียบโร้ย
เรามีหน้าที่ จัดวาง sonde ใน รางข้าวหมู ให้ได้ระดับ แน่ใจว่าน้ำที่เทลงไปเป็นน้ำสะอาด ไม่ใช่น้ำเกลือ และ ทำการปรับเทียบตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในนโยบายของบ. .. บลาๆ แค่นั้นเอง
สรุป
ยุคอนาล็อก การปรับเทียบเครื่องไม้เครื่องมือนั้น ค่อนข้างจะขึ้นกับ “คน” เสียเป็นส่วนมาก ทำให้มีความคลาดเคลื่อนได้สูง คนสามารถเข้าไปแทรกแซง ตั้งค่าโน้นนี่นั่น เรียกว่า manual นั่นแหละ
ในยุคดิจิตอล software เข้ามาควบคุมเกือบหมด คนทำหน้าที่เพียง physical setup คือ จัดแจง จัดท่าจัดทาง ให้เป็นไปตามมาตราฐาน เช่น ไม่เอียง ไม่ตะแคง อุฯหภูมิ แสงสว่ง ความดัน บลาๆ ต้องได้ เสร็จแล้วก็กดปุ่ม จบ … 555
ตอนหน้า เราจะพูดถึงอีกเครื่องมือที่ใช้วัดความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะของชั้นหิน ที่เรียกว่า resistivity tool … โปรดติดตามเด้อ …
ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ
(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)
https://raka.is/r/qlzXR | https://raka.is/r/gP7GV |