ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

IADC bit dull grading เราทำกันอย่างไร

IADC bit dull grading เราทำกันอย่างไร – dull แปลว่า ทื่อ ทู่ สึก ไม่คม หัวเจาะเราก็เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่เราจะใช้ก็ต่อเมื่อมันยังคม ไม่ทื่อ ไม่ทู่

มโนย้อนกลับไปนิดหนึ่ง ไม่ใกล้ไม่ไกล เอาแค่ยุคที่เราไม่มีกล้องดิจิตอล ไม่มีการสื่อสารที่สามารถส่งภาพได้เร็วทันใจ การที่เราจะสื่อสารบอกวิศวกร หรือ ลูกค้า ที่อยู่อีกที่หนึ่งว่า หัวเจาะเราสภาพมันเป็นอย่างไรนั้น ท้าทายมากๆ

สมัยนี้เหรอ ถ่ายรูป ส่งไลน์ ส่งอีเมล์ ส่งขึ้นเมฆ 2 – 3 คลิ๊ก ก็เสร็จ

ดังนั้น สมัยก่อน บ.ที่ผลิตหัวเจาะขาย จะกำหนดมาตราฐานวิธีบอกว่าหัวเจาะหนึ่งๆสภาพเป็นอย่างไร ที่เรียกว่า dull grading code

มันก็ยุ่งขิงกันอีตรงที่ทั้งโลกไม่ได้มีอยู่ 3 – 4 บ. เมื่อไรกันที่ผลิตหัวเจาะออกมาขาย และ หัวเจาะก็มีหลายแบบ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

อย่ากระนั้นเลย ต้องมีวิธีกลางที่ทุก บ. ยอมรับ วันหนึ่งนานมาแล้ว ทุก บ.ผลิตหัวเจาะจึงสุมหัวกัน ออกแบบ coding ออกมา แล้วใช้ชื่อว่า IADC bit dulling grading code

International Association of Drilling Contractors: IADC

ตัวผมเองเริ่มงานกับ บ.หัวเจาะหนึ่ง ที่มี coding นี้เป็นของตัวเอง และ คิดอีกแบบ ต่างจาก IADC ที่ผมจะชวนถกกันต่อไป

IADC bit dull grading

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

โค้ดของเรามี 8 ชุดระหัส ดังรูปข้างล่างครับ

IADC bit dull grading

เรามาไล่ไปที่ล่ะระหัส จากซ้ายไปขวา

IADC bit dull grading

2 ระหัสแรก เป็นตัวเลข จาก 0 – 8

0 แปลว่า ไม่สึกเลย 8 แปลว่า สึกเรียบโร้ย

ถ้า fixed cutter bit ก็จะอารมณ์ประมาณรูปข้างล่าง

IADC bit dull grading

เวลามองให้ เอาหัวเจาะหงานขึ้น มองลงไปตรงๆ ก็จะเห็นเหมือนเป็นรูปดอกไม้ มีกลีบๆแฉกๆ ออกไป เราเรียกว่า blade จะรู้ได้อย่างไรว่า blade ไหนเป็น blade แรก (blade #1)

คำตอบ คือ blade ที่มี cutter ใกล้จุดศูนย์กลางที่สุด เป็น blade 1 และ นับตามเข็มนาฬิกาไปเป็น blade 2 3 4 ไป เรื่อยๆ

ถ้า roller cone bit ก็จะประมาณนี้ การนับโคนว่าเป็นโคนที่เท่าไร ก็นับง่ายหน่อย เพราะมีแค่ 3 โคน โคนที่มี cutter อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางที่สุด เป็นโคนที่ 1

IADC bit dull grading

0 – 8 ในกรณี roller cone bit ผมไม่มีอะไรไม่เห็นด้วยเท่าไร ตรงไปตรงมา ถ้า 0 ไม่สึกเลย ก็เต็มๆ มียอดภูเขาเหลือเต็มๆ ตามรูปข้างบน ถ้า 8 ก็แบนเรียบ

แต่กรณี fixed cutter bit ผม เห็นต่างครับ เพราะ การเอา cutter ฝังลงไปในตัวหัวเจาะ เราฝังได้ 2 วิธี ตามรูป ข้างล่าง

IADC bit dull grading

แบบแรก กับ แบบ ที่สอง คือ post กับ cylinder ที่ลอยๆ แบบนี้ ผมเห็นด้วย ที่จะนับ 0 – 8 แบบ roller cone bit เพราะ cutter มัน ลอยขึ้นมา 100%

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

แต่โดยมาก แบบ cylinder นั้น เราฝัง cutter ครึ่งหนึ่ง จมอยู่ในตัวหัวเจาะ แบบรูปข้างล่าง

IADC bit dull grading

เห็นไหมครับว่า แค่เกรด 4 (50%) ก็ไม่เหลือ cutter ให้กัดหินแล้ว (ก็คือเกรด 8 นั่นแหละ)

ตัวอย่างชัดๆก็ดูรูปล่างนี่แหละ แค่ เกรด 4 ก็ไม่เหลืออะไรแล้ว

IADC bit dull grading

ดังนั้น ทางแก้มี 2 วิธี คือ

1 แก้วิธีวัด 0 แปลว่า 100% ส่วน 8 คือ ไม่เหลือ cutter ให้กัดหินแล้ว (แต่อาจจะเหลือติดหัวเจาะ)

แก้แบบนี้ ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจน ว่าหัวเจาะเหลืออายุการใช้งานเท่าไร ไม่ว่าจะฝัง cutter แบบไหน

2 ไม่ต้องแก้วิธีวัด แต่คนอ่านต้องมีความรู้เรื่องโครงสร้างหัวเจาะแทน เช่น ถ้า เกรด 4 มา แล้วหัวเจาะเป็นแบบ cylinder ฝังครึ่ง ก็จะต้องรู้เองว่า เกรด 4 คือ ไม่เหลืออะไรแล้วนะ เทียบเท่ากับ 8 ของ หัวเจาะแบบอื่นๆ

ส่วนตัวผม ชอบแบบแรกมากกว่า เพราะคนอ่าน ไม่ต้องมีความรู้ แต่คนวัดต้องมีความรู้ คือ ต้องให้เกรด 8 (ไม่ใช่ 4) เมื่อไม่มี cutter โผล่จากหัวเจาะให้กัดหินได้

แต่สภาหัวเจาะ IADC ชอบแบบหลัง คือ คนวัดไม่ต้องมีความรู้ วัดแบบศรีธนชัยไป แต่คนอื่าน ต้องมีความรู้ (ฮ่า)

อีกประเด็นหนึ่ง ที่ผมไม่เห็นด้วย คือ IADC ให้เอาค่าเฉลี่ยของทุกๆ cutter ในโซนใน (inner) และ โซนนอก (outter)

IADC bit dull grading

cutter บนหัวเจาะ เหมือนโซ่แต่ล่ะข้อ โซ่จะแข็งแรงที่สุดเท่าที่ข้อที่อ่อนแอทีสุด จริงไหมครับ

ลองมโนดู ถ้าฟัน (cutter) ซี่หนึ่ง หายไป เกรด 8 แสดงว่า หัวเจาะหมุนไปไม่กี่รอบ cutter ซี่ที่เหลือ ล้มละเนระนาดแน่นอน จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ring out แบบรูปข้างล่าง

สำหรับผม เวลากรอกระหัส ให้กรอก cutter ที่แย่ที่สุด

ไม่งั้นลองนึกภาพ (8+7+6+1+0+0+0+0+0)/9 = 2.4 เห็นไหมครับ ก็จะรู้สึกว่า หัวเจาะนี้ ยังพอไหม ไม่สึกมาก สึกไปแค่ 25% เหลือ อีก 75% เมื่อเทียบ สเกล 0 – 8

ตอนผมทำงาน ผมก็จะขบถเสมอๆ 555 นั่นคือ ผมจะให้เกรดแบบ ปลอดภัยไว้ก่อน (conservative)

ระหัสต่อปายยยย

ตรงไปตรงมา เอ๊ะ cutter มีหลายอัน แล้วอันไหนล่ะ คำตอบคือ เอาลักษณะที่ดูรวมๆแล้ว เกิดกันสึกร่วมกันมากที่สุด แต่ล่ะระหัส ก็มีวิธีสังเกตุที่แตกต่างกัน ผมจะไม่ลงรายละเอียด เพราะจะเยอะเกิ้น

ต่อไปก็คือตำแหน่งที่สึกร่วมมากที่สุด ก็เทียบเอาจากรูปข้างล่างนี่เลย

ต่อไปก็สำหรับ roller cone bit เพราะมี ลูกปืน (bearing) หัวเจาะแบบ fixed cutter ก็ ใส่ X ลงในช่องนี้

roller cone bit เจ้ากรรม ก็มี 2 แบบ หัวใหญ่ๆ จะเป็นแบบลูกปืนเปิด (non seal) คือ น้ำโคลนเข้าไปหล่อลื่น

เวลากรอกก็เดาๆเอา เอามือขยับโคนทีล่ะโคนดูว่า ลื่นๆ หรือ ฝืดๆ บวกกัน ข้อมูลประวัติว่า ใช้มากี่ ชม. RPM WOB เจอมาหนักไหม ใช้ความรู้สึกล้วนๆ ถ้าคิดว่า ยังใหม่กิ๊ก ก็ใส่ 0 ถ้า หมุนแล้วฝืด ติดแหง็ก ดูประวัติแล้วราวกับไปสงครามเวียดนามมาต่อด้วยอัฟกานิสถาน ก็ใส่ 8

หัวขนาดกลางๆเล็กๆ โดยมากจะเป็นแบบระบบปิด ตลับลูกปืนอยู่ในอ่างน้ำมัน หรือ จารบี น้ำโคลนเข้าไปแตะตลับลูกปืนไม่ได้

เวลาดูก็หมุนๆโคนดู ว่าลืนไหม มีจารบี หรือ น้ำมันรั่วหรือเปล่า + ข้อมูลประวัติ ถ้า seal ยังดี โคนหมุนลื่น ก็ ใส่ E ถ้า น้ำมันรั่ว ซึม ก็ F ถ้า ไม่ชั่ว ก็ N ให้คนใช้ต่อไปวัดดวงเอาเอง หุหุ

ต่อไปเราก็จะให้คะแนนว่า หัวเจาะเราสึกด้านข้าง (gauge) ไปเท่าไร

เรามีวงแหวนมาตราฐานมาวัด แล้วเราก็วัดว่า หัวเราเล็กไปเท่าไร หน่วยที่ใช้กรอก คือ 1/16 นิ้ว ถ้าใส่ 2 แปลว่า เล็กกว่ามาตราฐานที่ควรจะเป็น 2/16 หรือ 1/4 นิ้ว

ต่อไปก็ดูว่า การสึกร่วมอันดับสอง คือ อะไร เราใช้ระหัสเดียวกับ ลักษณะการสึกหลัก แต่เอามากรอก ช่องรองสุดท้าย

สุดท้ายก็ คือ เราดึงหัวเจาะขึ้นมาเพราะอะไร (reason pull)

สรุปส่งท้าย

หน้าตาโค้ด ที่เราเห็นในรายงาน ก็จะตัวอย่างประมาณนี้

1 – 2 – WT – T – X – 1 – LT – TD

(เห็น X ก็รู้แล้วว่าเป็น fix cutter bit)

ปัจจุบัน เรามีกล้อง มีสัญญาเน็ท เราก็ล้างๆ เอาปากกาสีขาวๆเขียนลงบน blade ว่า blade ที่เท่าไร ถ่ายรูป ส่งไปพร้อม ระหัสโค้ด ก็ทำให้เข้าใจ และ เห็นภาพ สื่อสารกันได้ชัดเจนขึ้น การให้เกรดความสึก และ สภาพ หัวเจาะ จึงลดความสำคัญลง

อย่างไรก็ตาม ในแง่วิศวกรรม ทั้งผู้ใช้งาน และ บ.ผู้พัฒนา ผู้ขาย การให้เกรดความสึก และ ระหัส สภาพหัวเจาะ ยังมีประโยชน์มาก เพราะสามารถนำมา พล๊อต กราฟ หาค่าเฉลี่ย ค่าต่างๆเชิงปริมาณ ทางสถิติ เพื่อพัฒนาแก้ไข ออกแบบ หัวเจาะได้ดีกว่า แค่รูป

สุดท้าย … การให้เกรดความสึก ให้ระหัส สภาพ หัวเจาะเป็นทั้ง ศาสตร์ และ ศิลป์ บางอย่างก็ดิ้นได้ ไม่ตายตัว คนทำงานมานานๆ 2 คน ก็ยัง ให้เกรดได้ต่างกัน

PDC bit (fixed cutter) รู้จักหัวขุดเจาะหลุมน้ำมัน ใน 2.5 นาที

Rock bit รู้จักหัวขุดเจาะหลุมน้ำมัน ใน 9 นาที (คลิปภาษาไทย sub อังกฤษ)

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

One comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------