ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

ETC 1989 training EP1 ย้อนวัยใสวันวานในศูนย์ฝึก ตอนที่ 1

ETC 1989 training EP1 ย้อนวัยใสวันวานในศูนย์ฝึก ตอนที่ 1 – เพิ่งเขียนความหลังเรื่องดูไบจบไป (เมื่อแรกพบเธอ … ดูไบ) คิดได้ว่า เออ เนอะ ผมยังไม่เคยเล่าเรื่องราวต่างๆสมัยอยู่ที่ Egypt Training Center (ETC) เลย

แม้ขั้นตอน และ วิธีการฝึกอบรมอาจจะเปลี่ยนไปเยอะแล้ว แต่ยังไง ประวัติศาสตร์ก็ควรถูกบันทึก ในฐานะที่เป็น “รากฐาน” ของวันนี้ ไม่ใช่แค่ “ทางผ่าน”

ขั้นตอนต่างๆใน การคัดเลือก อบรม ในสมัยนั้น ก็เคยเล่าไว้แล้วแบบละเอียดตามลิงค์ข้างล่างนี้ครับ

ETC 1989 training EP1

ย้อนวัยใสวัวานในศูนย์ฝึก ตอนที่ 1

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

เริ่มกันที่ภาพรวมใหญ่ๆของศูนย์ฝึกอบรมของบ.นี้ในพ.ศ.นั้นล่ะกัน

บ.นี้มีศูนย์อบรมอยู่ทั่วโลกเยอะมากๆ ตามแต่วัตถุประสงค์ เปิดๆ ปิดๆ ตามความต้องการของ บ. และตลาด

ตอนปี 1989 นั้น เท่าที่ผมจำได้ มีศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรสนาม wireline ของบ.นี้อยู่ 5 แห่ง

  • BTC (British Training Center) อะเบอร์ดีน อังกฤษ
  • ETC (Egypt Training Center) อเล็กซานเดรีย อียิปต์
  • ITC (Indonesia Training Center) เมดาน อิโดนีเซีย
  • LTC (Latin America Training Center) เวเนซุเอล่า (จำชื่อเมืองบ่ได้เลี้ยววว)
  • อีกที่อยู่ตะวันออกกลาง น่าจะ Abu Dhabi หรือไงเนี้ย

แต่ล่ะที่ก็ไม่ได้เปิดตลอดปี แล้วแต่ว่าจะมีหลักสูตร มีวิศวกรมาอบรมหรือเปล่า และ ก็ไม่ได้อบรมแต่เฉพาะ wireline engineer อย่างเดียว

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ดังนั้น พวกเราว่าที่วิศวกรสนาม wireline แต่ล่ะรุ่น แต่ล่ะปี ก็อาจจะโดนส่งไปที่ไหนก็ได้ แล้วแต่จังหวะนั้นของปี ที่ไหนเปิด และ บ.เห็นควรว่าจะให้ไปที่ไหน

Every time Every where … no choice

Schlumberger recruiter motto in 1989

Egypt Training Center (ETC)

อเล็กซานเดรียเป็นเมืองเก่าแก่ สวยงาม เต็มไปด้วยประวัตศาสตร์มากมายรายล้อมตัวเมือง ตัวเมืองตั้งอยู่ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

อะเล็กซานเดรีย หรือในภาษาอาหรับเรียก อัลอิสกันดะรียะห์ (อาหรับ: الإسكندرية‎; อาหรับอียิปต์ (Masri): اسكندريه; คอปติก (Sahidic): Ⲣⲁⲕⲟⲧⲉ; กรีก: Αλεξάνδρεια; อังกฤษ: Alexandria) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองในประเทศอียิปต์ รองจากกรุงไคโร

มีประชากรประมาณ 5 ล้านคน เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญทอดตัวยาวประมาณ 32 กม. (20 ไมล์) ตามแนวชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในส่วนกลางของภาคเหนือของประเทศ ระดับความสูงของพื้นที่ซึ่งตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น

อะเล็กซานเดรียเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญ เนื่องจากมีการต่อเชื่อมท่อแก๊สธรรมชาติและท่อส่งน้ำมันจากเมืองสุเอซ และเมืองนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศอียิปต์ด้วย …

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2

การเดินทาง

ปกติแล้ว จากฐานปฏิบัติการ (operation base) ที่ผมไปเข้า pre school ที่ บอมเบย์ ผมจะต้องบินไปไคโรเลย แต่ด้วยว่า ตอนนั้น อียิปต์ไม่มีสัมพันธ์ทางการฑูตกับอินเดีย พูดง่ายๆ ไม่มีสถานฑูตอียิปในอินเดียว่างั้น

ผมเลยได้สิทธิ์พิเศษกลับมาเยี่ยมบ้านเพื่อทำวีซ่าไปอียิปต์ที่กทม. 1 สัปดาห์ (คนอื่นไม่ได้สิทธิ์นี้)

ตอนนั้นมีไฟล์ทตรงจาก กรุงเทพ ไปไคโร บินมาราธอน 11 ชั่วโมง ยี่ห้อ อียิปต์แอร์ 🙂 แล้วผมต้องเช่าแท๊กซี่เฟียต์รุ่นโบราณกว่า ปี ร่วมสมัย (1989) เพราะ อียิปต์ตอนนั้นโดนยุโรป กับ อเมริกา บอยคอร์ต

ETC 1989 training EP1
อย่าเชื่อกูเกิล ปี 1989 ใช้เวลาเกือบ 4 ชม.

สมัยนี้คงอย่างกูเกิลว่า 2 ชม. นิดๆ แต่สมัยผมนะ เฟียต์บุโรทัง คงวิ่งได้ไม่เกิน 60 กม. / ชม. มัง ถนนก็ไม่ดี ฝุ่นกระจุย คนขับก็แวะสวดมนต์ตลอด ผ่านสุเหร่าใหญ่ๆก็มักแวะ แถมเพื่อนร่วมถนนเป็น แพะ แกะ และ วัว มือนึงจับพวงมาลัย มือหนึ่งกดแตรสนั่น

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

4 ชม. ครับ ผมจำได้แม่น เพราะเครื่องลงก่อนเที่ยง กว่าตะตะกายออกจากสนามบินได้ก็หลังเที่ยง ออกจากไคโรหลังเที่ยงหน่อย ถึงอเล็กซานเดียเกือบห้าโมงเย็น

ที่พักอาศัย

ศูนย์ฝึกฯอยู่ในทะเลทราบ ห่างออกนอกตัวเมืองอเล็กซานเดรียไปราวๆ 45 นาที

ที่ต้องตั้งอยู่นอกเมืองเพราะว่า เราฝึกอบรมกัน เสียงดัง และ หลายครั้งก็เย็นย่ำค่ำคืน นอกจากนี้ เราต้องมีหลุมปิโตรเลียมเอาไว้ซ้อมทำงานภาคปฏิบัติหยั่งธรณี (wireline logging)

บ.เช่าโมเตลเล็กๆ ห่างจากศูนย์ฝึกฯราวๆ 15 นาที ให้อยู่กันคนล่ะห้อง เหมือนโมเต็ลริมทางในอเมริกานั่นแหละ ชั้นเดียวเรียงเป็นแถว มีห้องอาหาร กับ จุดเข้าพัก (check in) อยู่ตรงกลาง

นอกจากพวกเรา 20 กว่าชีวิตแล้ว นานๆทีก็จะเห็นลูกค้าขาจรเข้ามาพักบ้างนิดๆหน่อย ทราบภายหลังว่าโมเต็ลนี้ก็ปิดเปิดตามศูนย์ฝึกฯนี้นั่นแหละ (ฮา) เหมือนเป็นโมเต็ลส่วนตัวยังไงก็ไม่รู้

เช้ามาก็จะมี มินิบัส ออกจากโมเต็ล 0630 ขากลับ ก็ขึ้นกับว่า วันนั้นพวกเราทำอะไรกัน กลับพร้อมกัน หรือ ใครเสร็จก่อนกลับก่อน ไว้จะเล่าละเอียดอีกทีเมื่อถึงตอนที่ฝึกอบรม

วิวคุ้นตา ลมทะเลทรายคุ้นผิวกาย

วันเวลา ตารางชีวิต

สมัยนั้น ที่นั่น เวลาทำงานปกติคือ ส. – พ. วันหยุดคือ พฤ. ศ. แต่โดยมาก พฤ.เราก็ต้องเข้ามาซ่อมงาน มาทำการบ้านที่ศูนย์ฯ (อารมณ์มาทำงานวัน ส. น่ะ) พักจริงๆก็วัน ศ.

เวลาจะทำธุรกรรมการเงินสมัยนั้นกับต่างประเทศจะลำบากมาก เพราะเหลือแค่ จ. – พ. 3 วันเท่านั้นที่ ธ.เปิดทำงานตรงกัน

มีที่พัก อาหาร น้ำ ไฟ ฟรี แต่ไม่มีอินเตอร์เน็ต 555 นั่นปี 1989 นะครับ … แทบไม่ต้องใช้เงินเลย

สำหรับวัน ศ. พวกเราจะแบ่งเป็น 2 สาย สาย(จำเป็นต้อง)แข็ง กับ สายชิล …

สายแข็งก็จะอยู่โมเต็ลอ่านหนังสือ เพราะคะแนนเริ่มจะอยู่ท้ายตาราง ส่วนสายชิล คะแนนเกาะๆกลางๆค่อนไปทางหัวตารางก็มักไปทะเลกัน

El Agami beach เป็นชายหาดที่อยู่ในตัวเมือง สายๆวัน ศ. เราก็จะไปรถบัสคันเดียวกัน เอาลูกบอลไปเตะบอลชายหาด ว่ายน้ำ เดินเล่นริมหาด มีร้านรวงริมหาดให้เดินดูของพื้นเมือง อาหารเที่ยงโดยมากก็แซนวิชบ้านๆข้างชายหาด

หาด El Agami แบ่งเป็น 2 โซน โซนชาวต่างชาติ กับ โซนคนท้องถิ่น มีรั้วทึบกั้นยาวจากบนบก หาดทราย ไปจนถึงประมาณ 50 – 100 เมตร ในทะเล ผมไม่เคยโผล่ไปอีกฝากหนึ่ง แต่ฝั่งชาวต่างชาติ ก็จะมีคนยุโรป กับ อเมริกัน เป็นหลัก มีกระเหรี่ยงผิวเหลืองๆน้อยมากกกกก บางที่ก็มีผมนี่แหละ คนเดียวทั้งหาด 555

ในขณะที่อีกโซน มีคนท้องถิ่นเยอะแยะเลย ผมเคยแอบมองลอดรั่วไปดู ก็เห็นว่าฝั่นนั้น ผู้หญิงลงเล่นน้ำทะเลทั้งชุดคลมหน้าคลุมผม แบบนั้นเลย ก็งงๆว่าจะสนุกได้อย่างไร ในขณะที่ฝั่งชาวต่างชาติ สาวๆนุ่งวันพีซ ทูพีซ เดินกันเกลื่อน

เหล้า ยา ปลาปิ้ง

อียิปต์เป็นประเทศมุสลิมที่ค่อนข้างเปิด (คือไม่มุสลิมจ๋า) แต่สมัยนั้นก็ยังไม่มีแอลกอฮอล์ขาย หรือ ให้ดื่มในที่สาธารณะ ส่วนมากเราก็จะหิ้วเข้ามาคนล่ะขวดตามกฏหมาย อาทิตย์แรกก็เกลี้ยงขวดกันทุกคน 555 (แหม มันฝึกอบรมเครียด และ เหงา นิ)

หลังจากนั้นก็ฝากเพื่อนวิศวกรอียิปต์ซื้อวิสกี้จากตลาดมืดในราคา 2 เท่าของราคาตลาด แต่เราก็ไม่หวั่น ลงขันกัน และ กินได้เฉพาะในห้องโมเต็ล เราก็จะผลักกันเป็นเจ้าภาพ

อารมณ์ว่า คืน นี้มาประเทศไทย อีก 2 คืน ไปแคนาดา อีก 3 คืนไป เกาหลี แล้วแต่เจ้าของห้องเป็นชาติอะไร … (ฮา)

อาหาร

เนื่องจากพวกเราไม่มีทางเลือก นอกจากทานอาหารที่มีให้ที่โมเต็ล มื้อเช้า กับ มื้อเย็น

มื้อกลางวันก็กินที่ศูนย์ฯ บ่อยครั้งที่พวกเราเอาใส่จานไปผลัดกันกินใน logging unit กัน เพราะทำงานภาคปฏิบัติกันไม่ทัน มารู้ภายหลังว่า ชีวิตจริงเราก็กินไปทำงานไปเช่นกัน หุหุ

อาหารก็จะเป็นพื้นถิ่น ขนมปังแบบอียิปต์ คล้ายๆโรตีกลมๆ เนื้อสากๆ แต่หอมมากเมื่อย่างมาใหม่ๆ ผลไม้แห้งที่บ้านเราจะราคาแพงมาก ที่โน้นกินกันเป็นขนมเลย ไม่หวานน้ำตาลแบบของบ้านเรา หวานธรรมชาติจริงๆ

แน่นอนว่า ไม่มีหมูกิน มีแต่เนื้อแพะ แกะ เป็นหลัก นานๆจะมีเนื้อวัว ส่วนมากก็ แกงๆ ผัดๆ เครื่องเทศเขานั่นแหละ สลัดผักพื้นบ้านราดน้ำมันมะกอกกับน้ำส้มแอปเปิ้ล เป็นอะไรผมกินไม่ลงในตอนแรกๆ แต่กินไปกินมา เฮ้ย มันอร่อยว่ะ เลยเป็นจานโปรดของผมมาจนทุกวันนี้

วันเว้นวันก็จะมีอาหารแบบอังกฤษ (continental) หรือ อเมริกัน (ไข่ทอด ไส้กรอกแกะ ขนมปัง ฯลฯ)

ดีที่กระเหรี่ยงอย่างผมกินไม่เลือก เอ๊ย ไม่เลือกกิน 4 เดือน รอดไม่ได้ แต่น้ำหนักลด 555

เงินๆทองๆ

ถึงจะฟรีเกือบหมดทุกอย่าง แต่ก็นะ ก็ต้องมีให้จับจ่ายใช้สอยบ้าง ส่วนหนึ่งเราก็แลกเป็นเหรียญอเมริกันเข้ามา แต่ก็ได้ไม่มาก ตามประสาประเทศที่ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนแบบเข้มงวด แน่นอนว่า เราก็พึ่งตลาดมืด ก็ที่ศูนย์ฝึกฯนั่นแหละ มีนายหน้าแวะมาให้บริการทุกสัปดาห์

ถ้า เหรียญอเมริกัน หมดแล้ว เราก็ขอเบิกเงินสดล่วงหน้าได้จากป้าบัญชีที่ศูนย์ฝึกฯ แต่ได้เป็นเงินปอนด์อียิปต์นะ แล้วศูนย์ฝึกก็ไปหักออกจากเงินเดือนเรา ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนราชการซึ่ง ไม่ดีเลย ขาดทุน เมื่อเทียบกับตลาดมืด 555

อ้อ … ตอนนั้น เรามีฐานะเป็นลูกจ้างประจำของบ.แล้วนะ เพราะเราเซ็นต์สัญญากับบ.แล้วที่ดูไบก่อนไปเข้า pre school เสียด้วยซ้ำ

ตอนเซ็นต์สัญญาที่ดูไบ บ.ให้เราเปิดบัญชีเงินเดือนไว้ที่หมู่เกาะอะไรสักอย่างแถวๆแคริเบียน ผมจำชื่อไม่ได้ ที่เขาเรียกว่า offshore tax free account นั่นแหละ เอาไว้ให้เงินเดือนเข้า

ผ่านมานานนมแล้ว ผมก็น่าจะบอกได้ว่าเงินเดือนตอนนั้น (ปี 1989) หย่อน 4000 เหรียญ นิดหน่อย ตอนนั้นอัตราแลกเปลี่ยน 25 กว่าๆ / 1 ตกเป็นเงินบาท ก็ราว 100,000 บาท นับว่าหรูเริ่ดทีเดียว สำหรับกระเหรี่ยงจบใหม่จากประเทศกำลังพัฒนา ที่ตอนนั้นอัตราเงินเดือนวิศวกรเพื่อนร่วมรุ่นอยู่ที่ 7500 – 11000 ต่อเดือนเท่านั้น

อย่าเพิ่งอิจฉา … ทุกอย่างมีราคาของมัน …

การสื่อสาร ข่าวสาร

สมัยนั้นยังไม่มีอินเตอร์เน็ต การสื่อสารเดียวที่มี คือ โทรศัพท์ทางไกลที่แพงระยับ กับ จดหมายที่ 7 วันถึงประเทศไทย

วิทยุ โทรทัศน์ ที่โมเตลก็รับได้แต่ช่องท้องถิ่น ภาษาอาหรับ ไม่มี CNN BBC NHK อะไรทั้งนั้น หนังสือพิมพ์ที่โมเต็ลก็มีแต่ภาษาอาหรับ เพื่อนชาวอาหรับก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรประเด็นนี้

เรียกว่าอยู่นั่น 4 เดือน ผมไม่รู้เรื่องราวโลกภายนอกอะไรเลย

ตอนเกิดเหตุเรือขุดเจาะ SeaCrest ล่ม เพราะพายุเกย์ที่อ่าวไทยต้นเดือนพฤศจิกายนปีนั้น ผมก็ทราบข่าวจากแฟกซ์สั้นๆ แปะบนกระดาษข่าวของศูนย์ (Bulletin board) ในเช้าวันหนึ่งที่ผมไปฝึกอบรมศูนย์ตามปกติ แน่นอนว่า นั่นคือ 1 วัน หลังเกิดเหตุจริง

ต้นเดือนธันวาคม น้องชายผมประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตที่กทม. ผมก็ไม่ทราบ เพราะที่บ้านไม่อยากให้รบกวนสมาธิการทำงาน จึงไม่แจ้งสาขาบ.ที่กทม.ให้แจ้งมาที่ศูนย์ฝึก กลับมาบ้านกลางดึกกลางเดือนมกราคมปีถัดมา รูปขาวดำน้องชายก็อยู่บนหิ้งเรียบร้อยแล้ว …

Everything has a price to pay …

ไม่จบแฮะ

ปูพื้นเสียยาวเลยตอนหนึ่งเต็มๆ

ไว้ตอนหน้า EP2 จะเริ่มเข้าเรื่องการฝึกอบรมล่ะ ว่าเราอบรมอย่างไร มีอะไรต้องทำต้องเรียนบ้าง กระเหรี่ยงอ่อนภาษาอังกฤษอย่างผม ผ่านการฝึกมหาโหดมาได้อย่างไร ได้บทเรียนอะไรมาบ้าง ฯลฯ

โปรดติดตามตอนต่อไป (นะจ๊ะ) … 🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------