Drilling Waste Disposal – ผมเคยเขียนไว้แล้วว่าของเสียจากการขุดเจาะหลุมเรามีอะไรบ้าง และ นโยบายของหน่วนงานกำกับดูแลของรัฐ เขียนเอาไว้ว่าอย่าไงไร
สามารถหาอ่านได้จาก 2 ลิงค์นี้ครับ
Drilling Waste Management การบริหารจัดการของเสียจากการขุดเจาะ (ของเสียจากการขุดเจาะ มีอะไรบ้าง)
Waste management การกำจัดกากของเสียอันตรายจากการเจาะหลุมฯ (นโยบาย กรมเชื้อเพลิง)
วันนี้จะคุยกันคร่าวๆว่า วิธีกำจัดของเสียจากการขุดเจาะหลุมปิโตรเลียม มีกี่วิธี มีข้อดีข้อเสียอย่างไร มีหัวข้อสรุปๆประมาณนี้ครับ
- ภาพรวมของเสียที่เกิดจากการขุดเจาะ ประเภท ปริมาณ (Overview)
- อัดแข็ง (Solidification)
- อบแห้ง (Thermal Absorption)
- ย่อยสลายโดยแบคทีเรีย (Biodegradation)
- ส่งโรงซีเมนต์เผา
หาอ่านความรู้เพิ่มเติมได้จากลิงค์ข้างล่างนี้ครับ ผมอ่านดูคร่าวๆแล้ว เอาไปอ้างอิง เชื่อถือได้
Drilling waste management (PetroWiki)
Drilling Waste Disposal
งานขุดเจาะเราก็เหมือนงวานก่อสร้างทั่วไปนั่นแหละครับ ที่ต้องมีเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทั้งก่อนเริ่มงาน ขณะทำงาน และ เก็บงาน
ของเสีย ขยะ ต่างๆ ก็ต้องกำจัดให้ถูกหลักการ ถูกกฏหมายของเจ้าของบ้านที่เราเข้าไปทำมาหากิน
-------------------------------------------------------
ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ
กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น
ภาพรวมของเสียที่เกิดจากการขุดเจาะ ประเภท ปริมาณ (Overview)
ประเภท และ ปริมาณ ของของเสียจากการขุดเจาะหลุมปิโตรเลียมนั้น หลักๆแล้ว ขึ้นกับ บริเวณที่ขุด (บก หรือ นอกชายฝั่ง) ขนาดหลุม ความลึกหลุม ประเภทของน้ำโคลนที่ใช้ และ ชนิด ประเภท อุปกรณ์กำจัดในระบบหมุนเวียนน้ำโคลน เช่น ตะแกรงร่อน (shale shaker) เครื่องปั่นเหวี่ยง (centrifuge) เครื่องแยกทราย (desander) ทรายแป้ง (desilter) เครื่องแยกน้ำมัน (cutting dryer)

เอาว่าโดยรวมๆกลมๆล่ะกัน ก็จะมีประมาณ (โดยปริมาตร) ราวๆนี้
- กากน้ำโคลนจากเครื่องปั่นเหวี่ยง 70%
- ดินปนเปื้อน 15%
- ของเสียจากการล้างบ่อน้ำโคลน 10%
- น้ำโคลนที่เป็นน้ำมัน 5%

เอาคร่าวๆนะ ตามประสบการณ์ผมคนเดียว ปริมาณของเสียจากการขุดเจาะหลุมทั้งหมด จะ ประมาณ 2.5 เท่า ของปริมาตรหลุม
นั่นคือ ถ้าขุดหลุมเอาชั้นหินออกไป 1 ลบ.ม. จะเกิดของเสียทั้งหมด 2.5 ลบ.ม.
อัดแข็ง (Solidification)
วิธีนี้ง่ายสุด ถูกราคาสุด ผมจะไม่อธิบายลึกลงไปเรื่องเทคนิคและเคมีของมันนะครับ
ชุดนอน รองเท้า Business Class Qatar Airways มี 2 ไซด์ L และ M
เราเอาของเสียมาผสมกับ sodium silicate น้ำและ ซีเมนต์ อัดเป็นแท่งแข็งๆ โดยให้ปริมาณน้ำมันที่ปนเปื้อนสุดท้ายไม่เกิน 3% โดยน้ำหนัก (ขึ้นกับกฏหมายสิ่งแวดล้อมของประเทศนั้นๆ แต่โดยมากก็นี่แหละ 3%)
sodium silicate ผสม น้ำ กับ ซีเมนต์ เมื่อผสมกัน จะตกตะกอนเป็นวัตถุแข็งๆคล้ายโลหะ เกาะเก็บของเสียเอาไว้ข้างใน แล้วก็เอาวัสดุที่ได้ไปใช้ในงานก่อสร้างต่างๆ เช่น ทำถนน หรือ อาคาร
ข้อดีอีกอย่างนอกจากง่าย และ ถูก คือ รองรับของเสียได้หลากหลายประเภท ชนิด ในเวลาเดียวกัน คือ ไม่ต้องแยกชนิด ผสมๆอัดๆ ทำให้แห้ง ก็จบ

วิธีทำก็มี 2 แบบใหญ่ๆ
- ขุดไปอัดไป เอาเครื่องไม้เครื่องมือไปอัดกันหน้างานกันเลย rig ย้ายไปไหน ก็ย้ายไปด้วย ทั้งของทั้งคน โกลาหลน่าดู
- รวมๆหลายๆหลุมอัดกันทีเดียว ขนมารวมๆกันไว้ แล้วอัดแท่งกันเป็นล๊อตๆ เหมือนเอาขอเอาคนไปไว้ที่จุดใดจุดหนึ่งที่สะดวกต่อการขนส่ง พอกองๆรวมๆกันได้พอคุ้ม ก็เอาคนไปสตาร์ทเครื่องอัดกัน หมดกองแล้วก็ปิดเครืื่อง รอล๊อตใหม่
ทั้ง 2 วิธี มีข้อดีข้อเสียปลีกย่อยแตกต่างกัน ไม่มีวิธีไหนดีที่สุด ขึ้นกับ ประเภท ปริมาณ ระยะเวลาขุด ระยะทางระหว่างหลุม ความสามารถของผู้รับเหมา สภาพถนน ฯลฯ ต้องหาจุดที่ประหยัดที่สุดโดยคิดต้นทุนรวมๆ ไม่ใช่ดูที่ค่าใช้จ่ายต่อตันหน้างานอย่างเดียว

ข้อสังเกตุ คือ วิธีนี้ไม่เชิงเป็นการกำจัดของเสียเสียทีเดียวนัก เป็นการกักเก็บอย่างแน่นหนามากกว่า เหมือนเรากากกัมตภาพรังสีที่หมดอายุใช้งานแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปกำจัด ก็ใช้หลักการประมาณนี้
เหนื่อยไหมครับ จุดอับสัญญาณ Wi-Fi ในบ้าน หรือ ที่ทำงาน ตัวขยายสัญญาณ Wi-Fi คือ คำตอบ
Tplink Wi-Fi Range Extender AC1750 RE450 มือสอง สภาพภายนอก 90% ทดสอบแล้ว ใช้งานได้ทุกโหมด
อบแห้ง (Thermal Absorption)
หลักการของวิธีนี้ คือ ใช้ความร้อน อบแห้ง ให้ของเหลว (น้ำ เคมี น้ำมัน ฯลฯ) ระเหยออกไปจากของเสีย ทิ้งไว้แต่ของแข็ง เหมือนเราเอาของเสียไปอบนั่นแหละ
ส่วนไอระเหยก็เอาไปควบแน่นให้เป็นของเหลวใส่ถังเอาไปกำจัด หรือ ถ้าเป็นน้ำมัน หรือ เคมี ที่ยังใช้ได้ ก็เอาไปใช้ใหม่ (recycle)
วุ่นวายเนอะ … นั่นแหละ ข้อเสีย มันแพง ต้องใช้ บ.ที่มีเทคโนโลยีด้านนี้ ที่สำคัญ คือ ไม่สามารถหอบเครื่องมือปุเลงๆไปกับแท่นเจาะได้ ต้องตั้งไว้ที่จุดใดจุดหนึ่ง แล้วขนมากำจัด
ทีนี้ ภาชนะขน และ โลจิสติกส์ ก็จะเป็นเรื่องปวดตับ แพงอีก ไม่ใช่ว่าขนใส่หลังกระบะ หก หยดย้อยไปตามถนน แบบไซต์ก่อสร้างที่ไม่รับผิดชอบบ้านเรา
ถังใส่ขนย้ายก็ต้องประมาณนี้

ขึ้นกับว่า ของเสีย เป็นของแข็ง ของเหลว ผสมกันมาอย่างไร

อ้อ … ข้อด้อยอีกอย่างของวิธีนี้ คือ ไม่สามารถเหมาเข่งเอาไปอบได้เหมือนวิธีอัดแท่งที่เหมาเข่งผสมอัดได้ เราต้องแยกของเสียให้อยู่ในลักษณะคล้ายๆกัน ตามสเป็คที่เครื่องอบรับได้เสียก่อน แล้วค่อยตั้งค่าต่างๆในการอบ
ก็เข้าใจได้แหละ เหมือนเราจะอบอาหาร ถ้าเอาของที่ลักษณะต่างกันมาก อบพร้อมกับ ตั้งไฟเดียว เวลาเดียว ออกมาก็อาจจะสุกๆดิบๆ ก็ต้องแยกอบ ตั้งไฟ ตั้งเวลา อบผักทีหนึ่ง อบเนื้อทีหนึ่ง อะไรทำนองนั้น
พูดง่ายๆ คือ ต้องเพิ่มขั้นตอนการแยกของเสียเข้าไปอีก ก็เวลา และ เงิน นั่นแหละ
ส่วนข้อดี คือ เป็นการกำจัดหมดจรดจริงๆ ไม่ได้แค่กักเก็บให้ปลอดภัย ประเทศต่างๆก็มักจะยอมรับ (และบังคับ) ให้ใช้วิธีนี้กัน บ.น้ำมันก็ต้องยอมจ่าย แล้วไปบวกเอากับราคาขาย ท้ายที่สุด ผู้บริโภคปลายทางก็จ่ายอยู่ดี เพื่อแลกกับสิ่งแวดล้อมที่ดี
ย่อยสลายโดยแบคทีเรีย (Biodegrading)
วิธีนี้ก็เหมือนเอาไปทำปุ๋ยแหละ มีแบคทีเรียหลายชนิดที่ค้นคว้าวิจัยมาแล้วว่าย่อยสลายของเสียจากการขุดเจาะหลุมปิโตรเลียมได้ดี แต่ก็ต้องมีองค์ความรู้ เทคโนโลยี ในการกำจัด ใช้เวลา ค่าใช้จ่ายประมาณหนึ่งเลย
นอกจากนั้นยังต้องดูสภาพแวดล้อมอุณหภูมิ ความชื้น ให้เหมาะกับแบคทีเรียด้วย อย่างทะเลทราย หรือ ไซบีเรีย เนี้ย แบคทีเรียคงเฉาตาย หรือ แข็งตายไปก่อนที่จะย่อยของเสีย
ส่งโรงซีเมนต์เผา
ในขบวนการทำซีเมนต์นั้น เราใช้ความร้อนสูงมากๆ จ๊อบเสริมของโรงซีเมนต์ คือ รับจ้างกำจัดเคมีอุตสาหกรรม
ก็ไม่มีไรมาก ขนใส่ถังภาชนะขนส่งที่ปลอดภัย ได้มาตราฐาน ส่งไปโรงซีเมนต์ สวดสามคืนแล้วขึ้นเมรุเผาเลย จบๆไป
ด้วยความร้อนที่สูงขนาดนั้น สารเคมีที่เป็นพิษต่างๆจะถูกทำให้เสถียรและเป็นกลาง กลับคืนสู่สภาพธาตุเริ่มต้นทางธรรมชาติ (คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน)
สรุป
บริเวณขุดเจาะ ก่อนที่จะกำจัดของเสีย หน้าตามันก็จะสกปรกๆประมาณนี้

ตักๆโกยๆขนๆไปแล้วก็ดูสะอาดหูสะอาดตาหน่อย

สรุปว่า ก็มี 4 วิธี อัดแท่ง อบแห้ง แบคทีเรีย และ เผาไปกับซีเมนต์
แต่ล่ะวิธีก็มีข้อดีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน เวลาเลือกใช้ ก็ขอให้พิจารณาอย่างรอบคอบ อย่าดูเรื่องเทคนิคอย่างเดียว ให้ดู 2 เรื่องนี้เป็นหลัก
- กฏหมายสิ่งแวดล้อมของประเทศที่เราเข้าไปทำมาหากินเป็นอย่างแรก ทำได้ราคาถูก เสร็จเร็ว แต่ไม่ถูกกฏหมาย ก็ต้องรื้อมาทำใหม่
- ราคาโดยรวมทั้งหมด ไม่ใช่ดูค่าจ้างผู้รับเหมากำจัดอย่างเดียว แต่ล่ะวิธีมีต้นทุนพ่วงแฝงที่แตกต่างกัน เดี๋ยวจะกลายเป็น ถูกตรงนี้ แต่ไปแพงตรงโน้น
ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ
(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)
![]() |
![]() |