ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Daily Drilling Report รายงานการขุดเจาะประจำวัน

Daily Drilling Report รายงานการขุดเจาะประจำวัน – เราเรียกรายงานนี้ย่อว่า DDR ตัวย่อนี้ค่อนข้างจะเป็นสากลในวงการขุดเจาะหลุมปิโตรเลียม ไม่ว่าไปทำงานที่ไหน ก็จะย่อแบบนี้

บรรดา บ. ต่างๆที่ทำงานกับแท่นขุดเจาะฯ จะได้รายงานนี้ทุกเช้า โดยมากไม่เกิน 0800 น. ของทุกวัน ทุกคนรู้ว่า ส่วนของฉันต้องดูที่ช่องไหน บรรทัดไหน ที่เหลือ ไม่เกี่ยวกับฉัน 555

Offshore travelling การเดินทางในการทำงานนอกชายฝั่ง

Daily Drilling Report

วันนี้จะมาผ่าให้ดูว่า DDR คือ อะไร สำคัญอย่างไร มีอะไรอยู่ข้างใน

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

DDR คือ อะไร

DDR คือ รายงานการขุดเจาะในรอบ 24 ชม. ที่ผ่านมา โดยมากจะรายงานจากเที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน

DDR มีหลายรูปแบบ (format) แล้วแต่ล่ะ บ. จะออกแบบมาให้เหมาะสมกับการทำงานและโครงสร้างองค์กร อย่างไรก็ตามเราก็มีองค์กรกลางอย่าง IADC (International Association of Drilling Contractors) หรือ SPE (Society of Petroleum Engineer) มีออกแบบ DDR เอาไว้เป็นมาตราฐานเหมือนกัน

daily drilling report
google ดูเอาครับ มีตัวอย่างเพียบ

DDR สำคัญอย่างไร

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

Confidential – (ควร)เป็นความลับ ถึงแม้จะกระจายออกไปทั่วองค์กร 555

Control – เป็นเอกสารควบคุมของทุก บ. จู่ๆจะไปบอกวิศวกรว่า ขอ DDR หน่อย โดยที่เราไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานขุดเจาะนั้นๆ เขาก็ไม่ให้ ถ้าอยากได้ ก็ต้องมีหนังสือขอไปเป็นเรื่องเป็นราว เช่น นศ. ขอข้อมูลไปทำโครงการ ทำวิทยานิพนธ์ เป็นต้น

Proprietary (information value) – ก็เพราะว่า DDR เต็มไปด้วยข้อมูลที่มีค่า มีประโยชน์ ประสบการณ์ต่างๆนาๆ การลองผิดลองถูก ความสำเร็จ ความล้มเหลว ประสิทธิภาพการทำงาน การใช้เงิน ฯลฯ

Legal – เป็นเอกสารสำคัญ ใช้อ้างอิงทางกฏหมาย เมื่อเกิดกรณีที่ขึ้นโรงขึ้นศาล เช่น เรือมาชนแท่นเจาะ รถสิบล้อเมายาบ้ารั้วเข้ามาเสย cat walk

Insurance – แน่อน บ. ประกัน ไม่เชื่ออะไรเท่ากับ DDR เมื่อต้องจ่ายสินไหมทดแทนกรณีต่างๆ

ใครทำ DDR ทำแล้วส่งให้ใคร

โดยมากแล้ว คนที่ทำก็คือคนที่อยู่บนแท่นเจาะนั่นแหละ แล้วแต่ตำแหน่งหน้าที่ของแต่ล่ะ บ. จะกำหนด เช่น Night company man, well site engineer ฯลฯ

เสร็จแล้วก็จะเอาให้ company man ตรวจความถูกต้อง เมื่อโอเค ก็ส่งเข้าสนง.

rig superintendent และ drilling engineer ก็จะตรวจสอบความถูกต้องอีกที ผิดถูกก็แก้ไข เอาให้แน่ใจ แล้วจึงกระจายออกไปในองค์กร ตามรายชื่อผู้เกี่ยวข้องที่ได้ลงทะเบียน และ ได้รับอนุญาติเอาไว้

ส่วนคนภายนอก บ. จะได้ DDR ที่ปรับเอาข้อมูลสำคัญที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เช่น DDR จะมีส่วนหนึ่งรายงานว่า ใช้ค่าใช้จ่ายอะไรไปเท่าไร ใช้จ่ายสะสมเท่าไร ส่วนนี้ก็จะถูกออกไป ก่อนส่งให้คนนอก

คนนอกมีใครบ้าง ส่วนใหญ่ก็มี 3 กลุ่ม

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

  1. บ.ที่ทำงานให้กับหลุม ให้กับแท่นเจาะ
  2. ผู้ร่วมทุน ในกรณีที่เป็นการขุดเจาะในโครงการที่ต้องลงขันกัน
  3. ผู้คุมกฏของรัฐ กรณีบ้านเราก็จะเป็น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

DDR มีส่วนสำคัญๆอะไรบ้าง

DDR มีอะไรต่อมิอะไรอยู่มากมาย ที่มีความสำคัญกับแต่ล่ะคนแต่ล่ะงานที่เกี่ยวข้องกับแท่นเจาะไม่เท่ากันไม่เหมือนกัน

เช่น คนของ บ. หัวเจาะ อาจจะสนแค่ว่า วันนี้ ได้ใช้หัวเจาะของ บ.ตัวเองไหม (หรือ ของคู่แข่ง) ถ้าได้ใช้ ขุดได้กี่เมตร เร็วช้าแค่ไหน ใช้อะไรเป็นตัวขับ (top drive, RSS, mud motor, turbine) หมายเลขหัวขุดอะไร (serial number) บลาๆ

ถ้าเหลือบไปดู ไม่เห็นว่า หัวเจาะของตัวเอง หรือ ของคู่แข่ง ไม่ถูกใช้ ก็อาจจะไม่อ่านที่เหลือเลย หรือ อาจจะเหลือบดูหน่อยว่า จะขุดเมื่อไร เป็นต้น

ที่ผมย่อคัดมานี่ คือ ส่วนตัวที่ผมเห็นว่าสำคัญสำหรับงานของผมตอนนี้ (แต่อาจจะไม่สำคัญกับคนอื่น)

Safety – บรรทัดแรกที่ผมจะส่ายสายตาไปอ่าน คือ บรรทัดนี้ครับ มีใครเจ็บใครตายข้าวของเสียหายอะไรไหม

Time depth cost (progress vs. plan and efficiency) – ส่วนต่อมาที่ผมจะดู คือ ขุดได้ตามเวลา และ ใช้เงินไปตามที่ได้ประมาณไว้ไหม

24 hours activities – ตรงนี้จะมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่สรุปย่อๆ เช่น ขุดจากความลึกนี้ถึงความลึกนั้น ลงท่อกรุ ทำซีเมนต์ บลาๆ กับ อีกส่วนคือ บอกละเอียดรายชม. (ปัดทุก 15 นาที) เช่น 1000 น. – 1045 น. ทำอะไร อย่างละเอียด

สมัยผมเป็น drilling engineer ผมก็อ่านแบบละเอียด เพราะต้องรับผิดชอบความถูกต้องของทุกตัวเลข ทุกตัวอักษร ตอนนี้ก็นะ ขี้เกียจ อ่านส่วนที่สรุปย่อ ถ้ามีเวลาค่อยไปอ่านละเอียด

Look forward activity – ส่วนนี้จะบอกภาพใหญ่ๆว่า จะทำอะไรในอีก 1 – 2 วัน นี้ เช่น ขุดให้ถึงเท่าไร แล้วจะถอนขึ้นมา ลงท่อกรุ เป็นต้น

Bulk inventory / consumable – ถ้ามีเวลาผมก็จะดู ไม่มีเวลาก็ปล่อยให้คนที่รับผิดชอบดู ส่วนนี้เกี่ยวกับของหลักๆที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมันดีเซล น้ำกิน น้ำใช้ ผงหิน (barite) ผงโคลน (bentonite) ซีเมนต์ ฯลฯ ก็จะรายงานว่า มีอะไร วันนี้ใช้ไปเท่าไร เหลือเท่าไร คาดจะเข้ามาอีกเท่าไร

สรุป

เป็นไงครับ พอรู้จัก DDR ขึ้นมาบ้างหรือยังครับ หลายคนอาจจะไม่เกี่ยวข้องทั้งหมดทุกส่วนใน DDR แต่รู้ไว้ก็ไม่เสียหายอะไร จริงไหมครับ

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

One comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------