ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

เปลี่ยนมือสัมปทาน การผลิตไม่ต่อเนื่อง ความจริงที่คนนอกวงการยังไม่เคยทราบ

เปลี่ยนมือสัมปทาน การผลิตจึงไม่ต่อเนื่อง ความจริงที่คนนอกวงการ(อาจจะ)ยังไม่เคยทราบ … ข่าวคราวนี้มีอยู่ 2 ประเด็นครับ ประเด็นแรก คือ ผู้ที่ยื่นประมูลรายใดจะได้สัมปทานแปลงไหนไป และ ประเด็นที่สอง ถ้ามีการเปลี่ยนสัมปทานกันแล้ว จะมีการผลิตที่ไม่ต่อเนื่อง (จริงหรือ ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น และ จะแก้ไขอย่างไร)

ผมจะไม่เข้าไปแตะประเด็นแรกนะครับ เพราะผมก็ไม่มีลูกแก้ววิเศษที่จะบอกได้ว่าใครจะได้แปลงไหนไป ใครรู้ก็หลังไมค์มาบอกผมด้วยน้าาา จะได้เตรียม resume ทัน 555 🙂 ผมจะมาชวนคุยประเด็นหลัง ถ้าผู้ที่ได้รับสัมปทานไปเป็นคนละเจ้ากับผู้ที่ได้รับสัมปทานเดิม การผลิตจะไม่ต่อเนื่องอย่างไร

การทำสัปทานปิโตรเลียมนั้นมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากการทำสัมปทานอย่างอื่น ไม่เหมือนกับการเซ้งแผงลอย เมื่อเปลี่ยนเจ้า จากเข้าหนึ่งไปเจ้านึง ก็สามารถจะเอาของมาตั้งวางขาย และ ทำกิจการต่อไปได้เลยทันทีโดยที่ไม่ขาดตอน

เปลี่ยนมือสัมปทาน

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกฎเกณฑ์กว้างๆเสียก่อน ว่าเมื่อเปลี่ยนมือสัมปทานกันแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นคืออะไร เมื่อผู้ได้รับสัมปทานเดิมรู้แน่ๆว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเขาจะไม่ได้สิทธิทำกินในสัมปทานนั้นอีกแล้ว เขาจะทำอย่างไร

ข้อแรก เลยเขาจะต้องไม่ลงทุนเพิ่มโดยที่ผลที่ได้รับจากการลงทุนเพิ่มนั้นตกที่ตัวเขาหลังจากหมดสัมปทาน เพราะนั่นจะแปลว่าเขาลงทุนไปฟรีๆ ให้ผู้ที่มารับสัมปทานต่อได้ผลประโยชน์ไป

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ข้อที่ 2 อะไรที่จะเก็บเกี่ยวได้จากการลงทุนดั้งเดิมเขาก็จะพยายามรีบเอาผลตอบแทนนั้นกลับคืนมาให้ได้มากที่สุด ภาษานักธุรกิจก็คือ เก็บเกี่ยว (harvest) นั่นเอง ทำนองเกี่ยวข้าวที่ปลูกไว้เอาไปขายให้เกลี้ยงแปลง คนที่มาเช่าที่ดินทำนาใหม่ก็ต้องปลูกใหม่ (เองดิ)

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ ใครๆก็ทำ เป็นผมผมก็ทำอย่างนี้ เป็นคุณคุณก็คงจะทำอย่างนี้เช่นกัน เพราะเราทำธุรกิจไม่ใช่ทำการกุศล

ความจริงข้อต่อมา หลุมผลิตมีอายุขัย หมายความว่ามันมีวงจรเกิดแก่เจ็บแล้วก็ตาย หลุมผลิตไม่ได้อยู่ชั่วนิรันดร มันมีอัตราการผลิตหนึ่งที่ทำให้หลุมจะมีอายุมากที่สุด และ ถ้าเร่งผลิตเร็วจนเกินกว่าอัตรานั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ หลุมผลิตจะอายุสั้น และ ผลิตก๊าซ ออกมาโดยรวมได้ต่ำกว่าถ้าผลิตที่อัตราการผลิตที่ดีที่สุด (optimum production rate) เหตุผลทางเทคนิคคืออะไรเอาไว้ผมจะมาเล่าในตอนหลัง

ความจริงอีกข้อก็คือ ในสัญญาสัมปทานของเรานั้น ไม่ใช่ว่าเราผลิตได้เท่าไหร่เราจะขายได้ทั้งหมด เช่น ผลิตได้ 200 ก็ขาย 200 ผลิตได้ 150 ก็ขาย 150 ไม่ได้เป็นอย่างนั้น เราขายของ(ก๊าซ) ตามความต้องการของลูกค้า

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ตัวอย่างเช่น ลูกค้าบอกเราล่วงหน้าว่าอีก 3 เดือนต่อจากนี้ไปนะ เขาต้องการก๊าซเท่าไหร่ 80 บ้าง 100 บ้าง 150 บาท แล้วแต่การพยากรณ์การใช้ก๊าซของลูกค้า ลูกค้าในที่นี้ของเราทุกคนในอ่าวไทยก็ คือ ท่านปตท. (ซึ่งเอาไปขายต่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอื่นๆ นั่นเอง)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าไม่ใช่เราอยากจะเปิดก๊อกปากหลุมขายได้เท่าไหร่ แล้วเราจะเปิดก๊อกมันทุกหลุม และ โกยเงินเข้ามากๆได้ เราไม่ได้ทำเช่นนั้น อยากจะผลิตขายได้เยอะๆ แต่ลูกค้าไม่รับซื้อซะงั้น 555

เนื่องจากหลุมมันมีวงจรชีวิต เกิดแก่เจ็บตาย เราจึงเปิดก๊อกในแต่ละหลุมในปริมาณที่ไม่เท่ากันเพื่อที่จะรักษาอายุของหลุม รักษาอัตราการผลิตที่ดีที่สุดเอาไว้ เพื่ออยากให้ผลรวมของการผลิตตอบโจทย์ตอบความต้องการของลูกค้าในแต่ละเดือน

ซึ่งนั่นก็ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ของวิศวกรรมการผลิตปิโตรเลียมสาขาหนึ่งที่เราเรียกว่า วิศวกรรมการผลิต (Production Engineering) ซึ่งผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำอย่างไร ผมทราบแต่เพียงคร่าวๆ ว่าเขาต้องตัวแบบทางคณิตศาสตร์ (model) ที่ได้รับการทดสอบ และ พิสูจน์มาแล้วว่า ดีที่สุดในการผลิตจากหลุมหลายๆหลุมที่มีสภาพ สถานะ แตกต่างกัน เพื่อให้ตอบโจทย์ทุกโจทย์ที่มี เช่น อายุหลุมทุกหลุม อายุแหล่งผลิต ปริมาณการผลิต อัตราการผลิต ของเสีย (CO2) หรือผลพลอยได้ที่ราคาต่ำ(หรือสูง)ว่าก๊าซที่ได้จากการผลิต บลาๆ …

ปัจจัยที่มีผลต่ออายุหลุม (ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้)

ต่อมาเรามาดูปัจจัยของอายุหลุมอย่างที่ผมคุยค้างเอาไว้

หลุมผลิตมันก็เหมือนคน มีการเกิด หลุมใหม่ๆก็ผลิตได้ดีๆ อยากได้เท่าไหร่ก็เปิดก๊อกเอา เหมือนเรายังเป็นหนุ่มเป็นสาว จะให้วิ่งเร็วเท่าไหร่เราก็วิ่งได้ พอเกิดแล้วก็ต้องมีแแก่ หมายถึงว่าเข้าวัยกลางคนไปจนชราภาพ แล้วจะผลิตให้มากเหมือนเดิมก็ไม่ได้ มันได้ของมันอยู่แค่นี้ เมื่อแก่แล้ว มันก็ต้องมีเจ็บป่วยบ้าง เป็นนู่นเป็นนี่ เราก็ต้องเข้าไปซ่อม ไปแก้ไข ศัพท์ของเราเรียกว่า well intervention

ถ้าหนักหนาสาหัสเราก็ต้องทำ work over การทำ work over ถ้าเปรียบในมนุษย์ก็อาจจะหมายถึงการยกเครื่องผ่าตัด ใส่เหล็กดาม ใช้อุปกรณ์เสริม ใส่หัวใจเทียม ใส่อวัยวะเทียม แต่ถ้าระดับ well intervention ก็อาจจะเป็นแค่ ฉีดยาทางสายน้ำเกลือ ให้ยากิน ให้น้ำเกลือ ให้อาหารเสริม ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อให้หลุมสามารถผลิตต่อไปได้

ก็เหมือนคนนั่นแหละครับเจ็บไข้ได้ป่วย ก็รักษาเพื่อให้ได้วิ่ง ได้เดินกันต่อไป ข่าวที่เป็นประเด็นมันอยู่ตรงนี้ ตรงที่แก่ หลุมจะหลุมตาย คือ มันไม่มีแรงผลิต

จะว่าไปเรื่องนี้มันก็คล้ายๆกับมนุษย์นะครับ เราถ้าเราทำงาน มัวแต่ออกแรงวิ่ง ทำงานตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน็อต ไม่ได้บำรุงรักษา ตัวเองเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ไม่รักษา อายุเราก็คงจะสั้น แต่ถ้าเราใช้ร่างกายแต่พอดี เจ็บไข้ได้ป่วยก็รักษา เหนื่อยก็พักบ้างไรบ้าง กินอาหารที่ดีๆ อายุเราก็สามารถจะอยู่ได้นานขึ้น ปริมาณงานที่เราทำตลอดอายุขัยก็จะมากที่สุด มากกว่าที่จะโหมงานหนัก ได้งานเยอะๆแล้วตายไว

หลุมผลิตปิโตรเลียมก็เช่นกัน ถ้าเรามัวแต่ผลิตเอาๆ ไม่สนใจดูแลทะนุบำรุง จ่ายเงินรักษามันเวลามันป่วย หรือ ซ่อมแซมมันเวลามันต้องการจะเปลี่ยนอะไหล่ เพราะเสียดายตังค์ ถึงจุดหนึ่งมันก็คงจะเสียชีวิต คือ หลุมตาย และ ผลการการผลิตตลอดชีวิตของมันก็ได้ไม่ดีเท่าที่ควร นั่นคือมันยังผลิตก๊าซที่อยู่ใต้ดินออกมาไม่หมด แต่หลุมมาชราภาพ และ พังเสียแล้ว

ที่ว่าแล้วนั้นก็เป็นปัจจัยของสภาพหลุมล้วนๆ ต่อมาที่จะชวนคุยก็คือปัจจัยสภาพของแหล่งผลิต

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ปัจจัยที่มีผลต่ออายุแหล่งผลิต (ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้)

แหล่งผลิตนั้นเอาง่ายๆเลยมันก็คือ ชั้นหินทรายที่มีแก๊สอยู่ภายในรูพรุนๆระหว่างเม็ดทรายที่โดนอัดแน่นๆ ถ้าเราไม่บันยะบันยังปล่อยให้แก๊สมันไหลเข้ามาในรูที่เจาะอยู่ที่ท่อกรุมากๆ เพื่อจะเอาไปขาย ต้องการจะโกยเงินเร็วๆ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คืออัตราการไหลที่เร็วมากๆของก๊าซมันก็จะพาเอาเม็ดทรายเข้ามาในหลุม กองถมๆกันเข้าไปจนกระทั่งปิดรูทางเข้าที่ก๊าซจะเข้ามาในหลุม หลุมมันก็ตาย หรือ ไม่งั้นทรายที่วิ่งเข้ามาในหลุมงั้นก็จะไปโผล่ที่ปากหลุม และ เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆในกระบวนการผลิต

ทรายที่ไหลด้วยอัตราเร็วนี้มันก็ไม่ต่างกับการที่เราเอากระดาษทรายไปขับไปถูอุปกรณ์ที่อยู่ในท่อในกระบวนการผลิต อุปกรณ์นั้นมันก็เสื่อมโทรม และ ก็พังเร็วขึ้น

ภาษาของพวกเราเรียกอาการนี่ว่าทรายเข้ามาในหลุมแล้ว ซึ่งเราก็มีวิธีจัดการกับอาการนี้ที่เรียกว่าการควบคุมทราย (sand control) ซึ่งผมจะไม่ลงไปในรายละเอียด แต่ประเด็นใหญ่มันอยู่ที่ว่าเราจะต้องป้องกันก่อนการแก้ไขการ ป้องกันก็คือเราต้องไม่ผลิตก๊าซออกมาในอัตราที่ทำให้ทรายมันเข้ามาในหลุม

ถ้าใครยังนึกไม่ออกให้นึกถึงแม่น้ำที่มีตลิ่งเป็นทรายนะครับ ถ้าน้ำไหลไม่เร็วนัก หาดทรายมันก็ยังอยู่ของมันอย่างนั้น แต่ถ้ากระแสน้ำในแม่น้ำมันไหลเร็วขึ้น มันก็จะพัดพาเอาทรายที่อยู่ขอบตลิ่งไหลไปตามแม่น้ำได้มากขึ้น จนหาดทรายมันแหว่งไป และ ก็จะมีทรายปนอยู่ในแม่น้ำ คนที่อยู่ปลายน้ำก็จะเห็นทรายไหลมาตามน้ำ

ภาษาทางเทคนิคเราเรียกว่า sand production

ต่อมาเรื่องที่จะกระทบกระเทือนชั้นหินแหล่งผลิตของเราก็คือปรากฏการณ์ที่เราเรียกว่าน้ำเข้าหลุม (ก่อนเวลาอันควร)

เรื่องนี้ต้องตั้งตัวกันนิด อธิบายกันยาวหน่อยนุง

เวลาก๊าซเข้ามาในหลุมนั้นโมเลกุลก๊าซที่อยู่ใกล้ๆหลุมก็จะเข้ามาก่อน แล้วโมเลกุลก๊าซที่อยู่ถัดไปก็จะถูกดันไหลเข้ามาแทนที่โมเลกุลก๊าซตัวก่อนหน้า แรงดันนั้นมาจากไหน เป็นอีกเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่ง สามารถไปอ่านต่อได้ในลิงค์ที่ผมคุ้ยๆมาให้เป็นน้ำจิ้ม

https://www.glossary.oilfield.slb.com/en/Terms/r/reservoir-drive_mechanisms.aspx

http://wiki.aapg.org/Reservoir_drive_mechanisms

https://petrowiki.org/Primary_drive_mechanisms

เอาเป็นว่ามีแรงดันก็แล้วกัน โมเลกุลก๊าซก็จะไหลเคลื่อนเข้ามาแทนที่กันเรื่อยๆเหมือนกระแสน้ำนี่แหละครับ หน้าตาก็ประมาณรูปข้างล่างนี่แหละครับ

เปลี่ยนมือสัมปทาน

 

แต่มโนเอานิดว่า ในอ่าวไทยเรา โครงสร้างมันไม่สวยแบบนี้ ไม่มีชั้นน้ำมัน มีแต่ก๊าซ (สีแดงๆในรูปข้างล่าง) และ ไม่เป็นโดมสวยปิ๋งแบบรูปข้างบน แต่มันเป็นเสี้ยวๆ ซ่อนอยู่เป็นกระเปาะๆใต้รอยแยกรอยเลื่อน กระจายกันไปทั่วอ่าวฯ

เปลี่ยนมือสัมปทาน

ในการผลิตปกติๆ ก๊าซจะไหลเข้าหลุมด้วยอัตราหนึ่งที่พอดีๆ โมเลกุลก๊าซก็เข้าแถวเรียงกันไหลเข้ามาในหลุม สุดท้ายที่ไกลๆหลุมออกไปตรงที่ก๊าซกับน้ำมาบรรจบกัน โมเลกุลน้ำก็ไหลเข้ามาแทนที่โมเลกุลก๊าซ ทุกอย่างก็เป็นไปได้ด้วยดี เข้าแถว ต่อแถวกันเข้ามาในหลุม จนถึงจุดหนึ่งที่ความดันในระบบไม่พอที่จะดันก๊าซเข้าหลุม ก๊าซก็หยุดไหล ภาพสุดท้ายที่เห็นคือ จะมีก๊าซค้างเหลืออยู่ในแหล่งหน่อยนึง ที่ๆก๊าซเคยอยู่ก็ถูกแทนที่ด้วยน้ำ happy ending เนอะ

ไหนๆก็ไหนๆ ขอนอกเรื่อง แถมอีกหน่อย 555

ถ้าตอนแรกในแหล่งผลิตมีก๊าซอยู่ 100 ผลิตออกมาจนผลิตต่อไปไม่ไหวแล้ว เพราะความดันในระบบหมด แล้วผลิตออกมาได้ 70 เราเรียกว่า Recovery Factor (RF) ของแหล่งนี้ (สังเกตุว่า ใช่คำว่าแหล่งนี้ ไม่ใช่หลุมนี้) คือ 70/100 = 0.7 ส่วนที่ว่าตอนแรกนั้นมีก๊าซ 100 นั้น เราเรียก 100 ว่า GIP (Gas In Place) … ถ้าเป็นน้ำมันเราก็เรียก OIP (Oil In Place) ถ้ามีทั้งสองอย่าง เราก็เรียก OGIP (Oil Gas In Place) เราเรียกกันย่อๆว่า “โอจิบ” ตามตัวย่อนั่นแหละ

อ้อ … สังเกตุนะว่า RF เนี่ย จะมากจะน้อย ขึ้นกับ 2 ปัจจัยคือ คุณสมบัติของหลุมเอง และ เทคโนโลยีเทคนิคการผลิต

คราวนี้ ถ้าเราเปิดก๊อกผลิตกันโครมๆ เกิดอะไรขึ้นครับ น้ำที่อยู่ข้างใต้ก๊าซ มันจะ ไหลแทรก และ แซง ก๊าซ และ ไฮโดรคาร์บอน อื่นๆ เข้ามาในหลุม เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า water coning หรือ water cut

หน้าตาแบบง่ายๆก็ประมาณนี้ครับ

เปลี่ยนมือสัมปทาน

ปัญหาก็คือ พอน้ำแทรกเข้ามาแล้ว ผิวเม็ดทรายที่เคยแห้งๆมันก็จะเปียกน้ำ แล้ว ก๊าซหรือน้ำมันจะไหลผ่านเม็ดทรายที่ผิวเปียกน้ำได้ยาก (ผมไม่ลงลึกนะครับ มันคือเรื่อง permeability mobility wettability แนวๆหนักไปทางเคมี๊เคมีที่ผมสอบตกประจำอ่ะครับ) เอาว่า เปียกแล้วเปียกเลย พอลดอัตราการไหลแล้ว ก็ใช่ว่าก๊าซจะไหลเข้ามาได้ในอัตราเดิม (ด้วยความดันเดิม) พูดแบบบ้านๆ คือ พอถนนมันเปียกกาวแล้ว มันเปียกถาวรเลย กาวไม่แห้ง รถจะวิ่งผ่านก็ต้องแล่นฝืดๆไปตลอด เร่งความเร็วไม่ได้แล้ว เพราะเครื่องยนต์(ความดันในระบบ)มีแรงอยู่เท่านั้น

นั่นคือ ถ้าน้ำแทรกเข้าหลุม (เพราะใจร้อนเปิดก๊อกให้ก๊าซไหลเยอะๆ) ก๊าซที่ควรจะได้ทั้งแหล่ง (สมมุติว่าแหล่งนี้มีหลุมเดียว ซึ่งก็คือก๊าซที่ควรจะได้ทั้งหลุมนั่นแหละ) ก็จะน้อยกว่า 70 (ล้อจากตัวอย่างข้างต้น) เช่น ได้ขึ้นมา 60 ตลอดอายุแหล่ง ตลอดอายุหลุม นั่นคือ เหลือทิ้งไว้อีก 10 ทั้งๆที่ควรจะเอาขึ้นมาได้ถ้าบันยะบันยังหน่อยไม่เปิดหลุมผลิตพรวดๆ

สรุป

ถ้าให้ไหลเร็วและเยอะเกินพอดี เราจะได้ก๊าซออกมาเยอะจริงในช่วงเวลาต้นๆ แต่ไม่ยั่งยืน หลุมพังเพราะทรายเข้า แหล่งผลิตพังเพราะน้ำเข้า … จบนะ

เอาล่ะ กลับมาที่เรื่องของเรา

ถ้าเปลี่ยนมือผู้รับสัมปทาน ถ้าผมเป็นผู้รัปสัมปทานเรายเดิมที่อกหักผมจะ

1. ไม่ควักกระเป๋าขุดหลุมเเพิ่ม

2. เปิดก๊อกจากหลุม เก็บเกี่ยว ผลิตจากหลุมที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด (ทรายเข้าหลุมพัง น้ำเข้าแหล่งพัง ช่างมัน เดี๋ยวก็ไปแล้ว)

3. ไม่ควักตังค์ซ่อมหลุมที่มีอยู่ จะผลิตแบบประสิทธิภาพต่ำๆก็ดันทุรังไปไรไป เอาให้พังพาบคาท่อผลิตเลย

4. ถ้าไม่พอผลิตให้ลูกค้า ก็จะขุดเพิ่มให้น้อยที่สุด ขุดให้ถูกที่สุด จ้วงเอาจะแหล่งที่ผลิตได้ง่ายที่สุด ตื้นที่สุด เร็วที่สุด โดยไม่แคร์เรื่องความยั่งยืน ทั้งความยั่งยืนของอายุหลุม และ ความยั่งยืนของแหล่งผลิต

5. หยุดสำรวจหาแหล่งที่จะผลิตใหม่ๆ (จะหาไปทำไม ใช้ทั้งเวลา และ เงิน หาแล้วก็ไม่ทันได้ผลิตก๊าซออกมาขาย)

แล้วที่นี่ผู้ได้รับสัมปทานใหม่เข้ามาก็หน้าเขียวตาเหลืองซิครับ ลูกค้าไม่สนหรอก บีบไข่เอาอย่างเดียว ต้องส่งของให้ได้นะ เท่านั้นเท่านี้ การสำรวจหาแหล่งใหม่ก็ใช้เวลา แท่นผลิตหนึ่งมีหลายหลุม กว่าจะสร้างแท่น กว่าจะขุดหลุมเพิ่ม เพื่อเติมกำลังผลิตที่หายไป ไม่ใช่วันสองวัน หรือ แม้แต่เดือนสองเดือน ร่วมปีน่ะครับ

นั่นคือที่มาของความเสี่ยงที่ลูกค้า(ซึ่งในสื่อมักจะเอาประเทศไปโยง) จะไม่ได้ของไปใช้ แน่นอนว่ามันต้องมีค่าปรับเพราะส่งของไม่ได้ แต่นั่นมันไม่คุ้มกับผลจากการที่ของขาดหรอกครับ

เมื่อลูกค้าไม่ได้ของ ลูกค้าก็ต้องไปซื้อมาจากที่อื่นแบบฉุกเฉินเฉพาะหน้าเอามาแก้ขัด ในราคาที่มักจะแพงกว่า เพราะโดนฟันหัวแบะ ราคาที่แพงกว่านั่น ไล่ไปไล่มาก็ถูกส่งผ่านมาที่สินค้าและบริการที่เราๆท่านๆต้องควักจ่ายนั่นแหละ

แต่หวยก็สามารถออกอีกด้านคือ ของในตลาดทดแทน (LNG) ณ.เวลานั้นที่ของขาด เกิดถูกกว่า คราวนี้ซวยเลย ลูกค้าเกิดติดใจของถูก พอผู้ได้สัมปทานรายใหม่ควักกระเป๋าสำรวจ สร้างแท่นผลิต และ ขุดหลุมผลิตเพิ่ม จะขายของให้ได้ตามความต้องการ ลูกค้ากลับสั่งเราน้อยลง เพราะไปได้ของถูกมาแล้วบางส่วน

นี่ยังไม่นับปัญหาการเข้าพื้นที่สัมปทานของผู้ที่จะมาทำใหม่ ซึ่งยังเข้าไปไม่ได้ ก็ไม่รู้ว่า มีตอ มีอุปสรรคอะไร ใหญ่โตแค่ไหน บลาๆ

แล้วจะจัดการปัญหา เปลี่ยนมือสัมปทาน การผลิตจึงไม่ต่อเนื่อง นี้อย่างไร

ผมไม่ใช่ซาร์เศรษฐกิจ ที่จะบอกได้ว่าแก้ปัญหานี้อย่างไร แต่รู้อย่างหนึ่งคือ ผู้รับผิดชอบ(ในการลดหรือจำกัดความเสี่ยงเรื่องการผลิตที่ไม่ต่อเนื่อง) ไม่ใช่ผู้รับสัมปทานทั้งรายเดิม และ รายใหม่ เพราะเอกชนเขาก็ต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเขา (stakeholder) เราเป็นเขา เราก็ต้องทำอย่างนั้น

และ ไม่ใช่ประเทศ(ก็ประชาชนนั่นแหละ)ที่มักโดยยึดเป็นตัวประกัน

ผู้รับผิดชอบคือรัฐบาลครับ ที่จะต้องคิด และ สร้างกลไกรองรับเอาไว้ล่วงหน้า ไม่ใช่รู้ทั้งรู้ว่าจะเกิดปัญหา แต่พอโดนถามว่า จะทำไง กลับบอกไม่ได้ แค่ออกมาบอกว่า จะเกิดปัญหานี้ถ้าหวยออกแบบนี้ แล้วผลักภาระไปที่ผู้ที่จะเข้าทำการผลิตรายใหม่

คิดแบบโง่ๆ(แบบผมนี่แหละ) ก็คือ ก่อนประมูล(ใครสักคน)เขียนเอาไว้เลยว่า ถ้าหวยออกแล้วผู้เสียสัมปทานต้องลงทุนอย่างนั้นอย่างนี้ โดยให้ผู้ที่จะมาเสียบในอนาคตต้องลงขันด้วย จะกี่ % ก็ว่าไป ทราบดีครับว่า หาตัวเลข หาจำนวน % ยาก ว่าควรจะเท่าไร แต่ก็ควรจะมี เพราะตามหลักการ ความยั่งยืนที่เจ้าเดิมจ่ายเพื่อความต่อเนื่องนั้นมีต้นทุนที่เขาไม่อาจจะเก็บเกี่ยวผลคืนได้ ดังนั้นคนที่จะมาเก็บเกี่ยวก็ควรที่จะต้องแชร์การลงทุนบ้าง

โอย … เหนื่อย พอแค่นี้ดีกว่า นี่ยังไม่นับเรื่องความรับผิดชอบใน การฝังกลบหลุม และ รื้อถอนทุกสิ่งอย่างที่ทำเอาไว้อีกนะ ถ้าคิดให้รอบคอบๆแล้ว ปวดกระเบนเหน็บเจ็บไข่ดันกันเลยพระเดชพระคุณท่าน

โดยรวมๆแล้ว การทำธุรกิจต้องมีความเป็นธรรม เจ้าภาพ หรือ กรรมการ ต้องผู้รับผิดชอบที่จะสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นไม่ว่าจะด้วยกลไกอะไรก็ตาม ไม่ใช่ให้เอกชน แข่งขัน จัดการกันเอง เพราะไม่งั้นแล้ว ผลเสียมันก็จะตกแก่เจ้าภาพนั่นแหละ

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ครับ …

ข้างล่างนี่ก็เป็นข่าวเกี่ยวเนื่องที่เอามาจากบทความของฐานเศรษฐกิจ

เปลี่ยนมือสัมปทาน

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------