ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

รักชาติแบบไม่มีอคติ รักชาติแบบไหน กับการประมูลสัมปทานฯงวดนี้

รักชาติแบบไม่มีอคติ … ผ่านหูผ่านตา คอลัมภ์ หมัดเหล็ก ในไทยรัฐ พูดถึงการประมูลฯหนนี้ แวะเข้าไปอ่านก็เห็นกล่าวถึง ระบบสัมปทานแบบจ้างผลิต ก็เลยฉุกคิดขึ้นมาว่า เดี๋ยวก็มีงงๆ สับสนๆกันอีก ก็เลยคิดว่า น่าจะเอามาขยายความกันหน่อย

ท้าวความเบื้องหลังกันนิด ว่ารวมๆแล้ว ระบบสัมปทานปิโตรเลียมเนี้ย สากล เขามีกันกี่ระบบใหญ่ๆ แยกกันอย่างไร ตามไปอ่านบทความตอนก่อนๆได้ ปรับพื้นฐานความรู้กันนิดๆหน่อยๆ

Petroleum Fiscal Regime ระบบการคลังปิโตรเลียมแบบง่ายๆ

petroleum fiscal regime ระบบการคลังปิโตรเลียมแบบง่ายๆ

ถ้าอ่านแล้ว จะเห็นว่า ระบบจ้างผลิตนั้น เป็นระบบย่อยในหมวด “สัญญา” โดยจ่ายกันค่าแรงเป็นเงิน (ไม่ใช่จ่ายกันเป็นผลผลิต) โดยจะจ่ายเป็นเงินแบบคงที่ หรือ แปรผันไปตามผลผลิตที่ผลิตได้นั้น ก็ค่อยไปจับเข่าจับไข่ตกลงกัน

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

แน่นอนว่า ลักษณะทางธรณีของเรา แบบที่เราก็รู้ๆกันอยู่ มันไม่น่าดึงดูดใจคนมาทำมาหากินเท่าไร ความเสี่ยงมันเยอะ เราก็อยากให้คนมาขุดมาผลิตแบ่งๆกันเสี่ยง คนจะมาลงทุนก็ไม่อยากเสี่ยงมาก กลัวเจ๊ง

high risk low return (สุนัข)ที่ไหนจะมาเสนอหน้ามาประมูล

คนจะรับจ้างผลิตก็แบบว่า ขอค่าจ้างคงที่นะเฮีย เฮียผลิตได้ไม่ได้ ไอไม่สน ไอขุดให้หลุมล่ะ 5 บาท

แบบนี้ก็คงจะตกลงกันได้หรอก

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

แต่ถ้าบอกว่า ถ้าเฮียผลิตได้เยอะ ยูได้เยอะบาทตาม แบบนี้ค่อยน่าสน แต่ก็ต้องเกา(เขก)หน้าแข้งถูหลังกันนานหน่อย (ว่าแต่เฮียขอเอาไปขายเองในราคาที่เฮียกำหนดนะ)

คือผมกำลังจะบอกว่า ทุกระบบนั่นนะ มันเอื้อ ไม่เอื้อ และ มันมีจุดสมดุล จุดที่จะใช้ได้ ไม่ได้ ไม่เหมือนกัน ถ้ามีของดี ของเยอะ ใช้แบบไหน มันก็มีส่วนต่างให้น่าเสี่ยง ลงทุนกัน จะเอาระบบไหนมาโม่มาขัด มันก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร

แต่ถ้าของก็น้อย ขุดก็ยาก แถมจะบีบไข่จำกัดราคาขายผลผลิตอีก ถามผมตรงๆนะ มีคนมาประมูลก็บุญแล้ว ต้องขอบอกขอบใจคนมาประมูลด้วยซ้ำ 555

ช่วงหนึ่งของหน้าที่การงาน ผมเคยไปอยู่ในทีมซื้อๆขายๆสัมปทานอยู่หลายปีเหมือนกัน ไปส่องๆ ดมๆ (ประเมินมูลค่า) ของซื้อของขายในตลาด ก็พอได้ความรู้สึกเลยว่า ของแบบไหนพอลุ้นซื้อมาแล้วทำเงิน

ของแบบไหน คนขายช่างไม่เจียมเลย ตั้งเงื่อนไขซะ ชิ ใครจะมาเอา (ชักดราม่าๆ 555) สม เปิดประมูลแล้วหน้าแหก ไม่มีคนซื้อซอง หรือ ซื้อไปดมๆ แล้วก็ไม่ยื่น ต้องล้มประมูล แล้วออกข่าวแก้เกี้ยว แก้เก้อ ก็มีให้เห็นในตลาดโลกอยู่เนืองๆ

ผมถึงบอกว่า โชคดีเท่าไรแล้ว มีผู้ประกอบการสนใจประมูลสมบัติเจ้าคุณปู่เราไปทำกินงวดนี้ (นี่ผมพูดในฐานะเจ้าของประเทศคนหนึ่งนะครับ ไม่ได้พูดในฐานะลูกจ้างกินเงินเดือนบ.น้ำมัน)

ถ้ามีแต่พี่ใหญ่มือไม้รัฐบาลประมูลตามหน้าที่เจ้าเดียว รัฐฯคงหน้าแหกเป็นริ้วปลาแห้ง

ใครจะเข้าข้างไหนก็นะ อย่างว่าแหละ มนุษย์เรามักจะตัดสินใจเลือกข้างไปก่อนแล้วค่อยหาเหตุผลมาสนับสนุนทีหลัง (ผมก็เป็น 555)

เอาล่ะ ไปอ่านบทความของเฮีย หมัดเหล็ก กันดีกว่า

รักชาติแบบไม่มีอคติ

ที่มา https://www.thairath.co.th/content/1424330

การเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูล แหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ที่กำลังจะหมดอายุสัมปทานคือ แหล่งบงกช และแหล่งเอราวัณ โดยใช้ ระบบแบ่งปันผลผลิต กลับถูกฝ่ายต่อต้านไม่เห็นด้วยขู่ถึงขั้นจะเอาผิดกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เลยทีเดียว

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

อันที่จริง ระบบแบ่งปันผลผลิต ก็เป็นระบบที่ฝ่ายคัดค้านหรือ เอ็นจีโอหน้าเดิม เคยเรียกร้องให้นำมาใช้ในการบริหารจัดการผลประโยชน์ระหว่างรัฐกับเอกชนด้วยซ้ำไป

การเปิดประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยทั้ง 2 แหล่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 เพื่อให้ทันกับการสิ้นสุดอายุสัมปทานในอีกไม่กี่ปีที่จะถึงนี้ รักษาความต่อเนื่องของการผลิต และ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศให้ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

ต่อมาเมื่อ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ นำ ระบบแบ่งปันผลผลิต มาใช้เป็นเงื่อนไขในการเปิดประมูล คนที่ออกมาต่อต้านก็เปลี่ยนเป็นเรียกร้องให้หันมาใช้ ระบบจ้างบริการ อีกแล้ว พยายามที่จะลากยาวการเปิดประมูลออกไปอีก แสดงถึงเจตนารมณ์ที่ไม่บริสุทธิ์และมีวัตถุประสงค์อื่นแอบแฝง

โดยข้อเท็จจริงแล้ว แหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย มีลักษณะเป็น กระเปาะเล็กๆ ซึ่งเป็นการยากลำบากในการสำรวจและขุดเจาะ เพราะมีต้นทุนที่สูงและมีโอกาสเสี่ยงที่จะไม่คุ้มการลงทุน ดังนั้นถ้าจะเอา ระบบจ้างบริการ มาใช้เป็นเงื่อนไขในการประมูลคงไม่มีบริษัทเอกชนรายใดกล้าลงทุนแน่นอน

ในขณะที่ แหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น เมียนมา หรือ มาเลเซีย มีลักษณะหลุมก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่กว่าเรา ยกตัวอย่าง แหล่งอาทิตย์ ต้องเจาะหลุมลงไปถึง 300 หลุมในการที่จะผลิตปริมาณก๊าซธรรมชาติให้ได้ที่ 223 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

แต่แหล่งยาดานา ของเมียนมาเจาะหลุมในการผลิตเพียง 17 หลุม ได้กำลังการผลิตที่ 700 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

ของ มาเลเซีย ใช้จำนวนหลุมผลิตประมาณ 25 หลุม แต่ให้ผลผลิตปิโตรเลียมถึงประมาณ 1,138 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมจึงมีผู้เข้าร่วมประกวด ราคาประมูลแค่ 2 รายเท่านั้น คือ ปตท.สผ. ร่วมทุนกับ MPG2 บริษัทในกลุ่ม มูบาดาลา กับ เชฟรอน ที่ร่วมทุนกับ มิตซุยออยส์ สนใจประมูล

หากเอ็นจีโอในประเทศไทยยังขยันประท้วง โดยไม่ฟังเหตุผล หาเหตุมาประท้วงได้เรื่อยๆ ย่อมไม่ส่งผลดีกับความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ทำให้ประเทศเสียผลประโยชน์จากอคติที่มีต่อ ปตท. และกระทรวงพลังงาน

ผลการประมูลแหล่งปิโตรเลียมเอราวัณ และ บงกชในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่ว่าใครจะชนะการประมูลก็ตาม ประเทศไทย จะเป็นผู้ได้ประโยชน์ ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง

ถึงเวลาควรจะแยกผลประโยชน์ด้านพลังงานของประเทศออกจากการเมืองเสียที หันมาช่วยกันรักชาติรักประเทศที่ถูกต้องมากกว่าจะรักชาติแบบมีอคติส่วนตัว.

หมัดเหล็ก mudlek@thairath.co.th

บทความเก่าๆเกี่ยวเนื่องครับ

ระบบแบ่งปันผลผลิต PSC ในพ.ร.บ.ปิโตรฯฉบับล่าสุด ฉบับบ้านๆ เข้าใจง่ายๆ

ระบบแบ่งปันผลผลิต PSC ในพ.ร.บ.ปิโตรฯฉบับล่าสุด ฉบับบ้านๆ เข้าใจง่ายๆ

แลหลัง ก่อนก้าว (ไปข้าง)หน้า …. Thailand (III) Plus ระบบแบ่งปันผลประโยชน์

แลหลัง ก่อนก้าว (ไปข้าง)หน้า …. Thailand (III) Plus ระบบแบ่งปันผลประโยชน์

ประมูลสัมปะทาน ปิโตรเลียม รอบที่ 21 เหลียวมองข้างหลังก่อนจะก้าวไปข้างหน้า

ประมูลสัมปะทาน ปิโตรเลียม รอบที่ 21 เหลียวมองข้างหลังก่อนจะก้าวไปข้างหน้า

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------