ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Salt in Mud เราใส่เกลือในน้ำโคลนทำไม อยากรู้ต้องได้รู้

Salt in Mud เราใส่เกลือในน้ำโคลนทำไม – วันนี้ขอสวมหมวกวิศวกรน้ำโคลนเสียหน่อยครับ ถ้าใครเคยอยู่หน้างานบนแท่นขุดเจาะฯ จะเห็นเราเอาเกลือเทผสมลงในน้ำโคลนเป็นกระสอบๆ

เอ๊ะ เราใส่ไปทำไม ใครเห็นแล้วเคยเดินไปถามวิศวกรน้ำโคลนไหมครับ นี่ไง go extra mile อยากรู้ก็หาจังหวะถาม เพิ่มความรู้รอบตัว บนแท่นขุดเจาะฯ

รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามครับ วันหนึ่งความรู้เล็กๆน้อยๆอาจจะเกิดประโยชน์แก่ตัวเราก็ได้ครับ อย่างน้อยก็ทำให้เราเข้าใจ และ คุยได้อย่างมืออาชีพ

Mud engineer วิศวกรน้ำโคลน เขาเป็นใคร ทำอะไรบนแท่นเจาะ

Salt in Mud เราใส่เกลือในน้ำโคลนทำไม

ก่อนเราจะทราบเหตุผล ขอแถไป 2 เรื่องหลักๆก่อน

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

หินดินดาน (Shale)

หินดินดานเนี้ย มันมีลักษณะเฉพาะตัวอยู่อย่างหนึ่ง คือ มันชอบน้ำมากถึงมากที่สุด เมื่อไรเจอน้ำมันต้องดูดเข้าไปในตัวมัน แล้วมันจะแปลงร่างเป็นขี้โคลน แบบเดียวกับดินโคลนแห้งๆที่ภาคอีสานแล้วในตกลงมาผสม กลายเป็นโคลนในปลักให้ควายลงไปแช่นั่นแหละครับ คือ หินดินดานที่เจอกับน้ำเข้าไป

Salt in Mud

แล้วเป็นกรรมหรือเวรก็ไม่รู้ ธรรมชาติสร้างมาให้เปลือกโลกเรา (Earth crust) มี หินดินดานเป็นองค์ประกอบถึง 70% (จำมาจากขี้ปากน้องนักธรณีอ่ะครับ ผมไม่รู้หรอก)

นั่นแปลว่า ผมขุดที่ไหน ผมก็ต้องเจอ และ เจอเยอะเสียด้วยอะดิ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ออสโมซิส (Osmosis)

ย้อนกลับไปสมัยเรียนวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ที่เอากระเพาะหมูมาใส่น้ำเกลือ แล้วแช่ลงในอ่างน้ำเปล่า สักพักเดียว อ่างน้ำเปล่าก็เค็ม น้ำเกลือในกระเพาะหมู ก็จะจืดลง (เค็มน้อยลง) นั่นแหละ ออสโมซิส โดยธรรมชาติน้ำจะซึมผ่านเยื่อบางๆ (Membrane) โดยจากฝั่งที่มีน้ำเยอะ (เกลือน้อย) ไปฝั่งที่มีน้ำน้อย (เกลือเยอะ) เสมอ

Salt in Mud

พูดภาษาเคมี๊เคมีคือ น้ำจะซึมผ่านจากฝั่งที่ความเข้มข้นต่ำ (น้ำเยอะ) ไปฝั่งความเข้มข้นสูง (น้ำน้อย)

ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดเฉพาะกับน้ำเท่านั้น สารละลายอย่างอื่น และ ก๊าซ ก็เช่นกัน

นั่นว่าไปตามธรรมชาติ แต่เราอาจจะเคยได้ยิน Reverse osmosis คือ กลับกัน คือ จากฝั่งที่มีน้ำน้อย (เกลือเยอะ) ไปฝั่งที่มีน้ำเยอะ (เกลือน้อย) ฝืนธรรมชาติครับ

เราใช้พลังงานเข้าไปแทรกแซงขบวนการ เพราะเราต้องการแยกน้ำออกจากเกลือ (หรือสิ่งเจือปน) ไงครับ เช่น เครื่องกรองน้ำตามบ้าน หรือ เครื่องกรองน้ำทะเลเป็นน้ำจืด เราถึงต้องเสียบปลั๊กให้พลังงานไฟฟ้ามัน

ผมจะไปพูดถึงหลักการ Reverse osmosis เพราะไม่ได้อยู่ในบริบทนี้อ่ะครับ ไปเอารูปจากอากู๋มาให้ดูพอเป็นไอเดียเฉยๆก็พอ

Salt in Mud

เราใส่เกลือในน้ำโคลนทำไม

เอาล่ะ … ตอนนี้เรามีพื้นความรู้พอจะอธิบายต่อได้แล้วว่า เราใส่เกลือในน้ำโคลนทำไม

ง่ายๆเลยครับ เราไม่ต้องการให้น้ำในน้ำโคลนเข้าไปเจอกับหินดินดานขณะที่เราขุดใช่ป่ะ ดังนั้น เราต้องทำให้น้ำโคลนมีความเข้มข้นของเกลือ(เค็ม)สูสีกับความความเข้มข้นของเกลือของน้ำในชั้นหิน จริงไหมครับ น้ำในน้ำโคลนจะได้ไมซึมเข้าไปในชั้นหินแล้วไปจะเอ๋กับหินดินดาน

กลับกัน เราก็ไม่ต้องการให้น้ำโคลนเข้มข้นมาก (เค็มปี๋ – น้ำน้อย) เพราะไม่งั้น น้ำในชั้นหินก็จะซึมเข้ามาในน้ำโคลน ทำให้หินดินดานแห้ง แตก เปราะ ง่าย ถล่มลงมากลบหลุมอีก

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

มันต้องพอดีๆอ่ะครับ น้ำโคลนจืดไป (เกลือน้อย น้ำมาก) น้ำจากน้ำโคลนก็เข้าไปในชั้นหิน เจอหินดินดาน ก็บวมเละเป็นโคลน ก่อปัญหาอย่างหนึ่ง

น้ำโคลนเค็มไปไป (เกลือมาก น้ำน้อย) น้ำในชั้นหินก็จะซึมเข้ามาในน้ำโคลน ทำให้หินดินดานแห้ง ก็ก่อปัญหาอีกอย่างหนึ่ง

ชีวิตพวกผมมันก็แบบนี้แหละครับ 🙂

ในทางปฏิบัติ เราจะพอรู้คร่าวๆจากนักธรณีอยู่แล้วครับว่าความเค็มของน้ำในชั้นหินเท่าไร ประมาณไหน เราก็ผสมน้ำโคลนให้ได้ประมาณนั้น หรือ เค็ม กว่านิดหน่อย แล้วเราก็สังเกตุเศษหิน (cutting) ที่ขึ้นมาที่เครื่องเขย่าหินดินดาน (แหม แปลซะ … shale shaker) เขี่ยๆบี้ๆ ส่องๆ ดูว่าเศษหินนั้นมัน ชื้น เปียก เละ แข็ง ผง เปราะ ฯลฯ แค่ไหนอย่างไร แล้วก็ไปปรับปริมาณเกลือที่ใส่ (หรือเพิ่มน้ำ) ให้เค็มพอดีๆ

นั่นคือเหตุผลที่ผมมักจะเดินไปแถวๆ shale shaker บ่อยๆ ขณะขุด เพื่อที่จะไปคุยกับหลุม ดูว่า หลุมมันบอกอะไรเรา (what is your well telling you)

ส่วนเกลือที่เรามักใช้เติมกันก็เบสิกๆ เกลือแกง NaCl หรือ ไม่ก็เกลือ CaCl2, KCL, Na2SO4 (ก็ปุ๋ยนั่นแหละครับ)

จะเลือกใช้อะไรอย่างไร มันก็มีหลักพิจารณาอีก 2 – 3 อย่าง เอ้า คร่าวๆก็ได้ คือ จุดเค็มสูงสุด  (ความเข้มข้นสูงสุด) เกลือบางตัวเค็มได้เท่าเนี้ย ไม่เกินกว่านี้ใส่เกลือลงไปมากกว่านี้มันก็ไม่ละลาย ภาษาเคมีเรียกว่าจุดอิ่มตัว

ลองเล่นๆในครัวก็ได้ครับ พยายามละลายเกลือแกงในแก้วน้ำซิครับ ละลายไปเรื่อยๆ (ที่อุณหภมิหนึ่งๆ) สักพัก ใส่เกลือลงไปมันก็ไม่ละลายแล้ว นั่นแหละครับที่ผมพูดถึง

ถ้าเราต้องใช้เค็มเกินกว่านั้นก็ต้องเปลี่ยนไปใช้เกลืออีกชนิดหนึ่ง และ อีกอย่างหนึ่งก็คือ เกลือทำหน้าที่อื่นด้วยในน้ำโคลน จึงต้องพิจาราณาร่วมกัน (compatibility) กับหน้าที่อื่นๆด้วย ไม่ใช่ทำหน้าที่นี้หน้าที่เดียว

เอาล่ะ น่าจะพอเห็นภาพแล้วเนอะ ว่าเราใส่เกลือไปทำไม …

ตอนต่อไปเราจะคุยกันว่าเราใส่ น้ำมะนาว เอ๊ย น้ำปูนขาวลงไปในน้ำโคลนทำไม

… โปรดติดตามครับ

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------