ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Mud pump liner ทำไมต้องเปลี่ยน เลือกอัตราการไหลน้ำโคลนอย่างไร

Mud pump liner ทำไมต้องเปลี่ยน เลือกอัตราการไหลน้ำโคลนอย่างไร – คิดว่าทุกคนน่าจะรู้จักปั๊มน้ำโคลนดี แต่ถ้าไม่รู้จักก็จะขอย่อๆ แบบย่อที่สุดก็แล้วกัน

ปั๊มในงานอุตสาหกรรม (industrial pump) มี 2 ประเภทใหญ่ๆ (จริงๆมีมากกว่านี้เเยอะ แต่บทความนี้ไม่ได้เน้นเรื่องปั๊มโดยรวม) คือ ปั๊มแรงเหวี่ยง (centrifugal pump) หรือ ที่เราเรียกแบบบ้านๆว่า ปั๊มหอยโข่ง เอาไว้สูบน้ำ หน้าตาก็ประมาณนี้

mud pump liner

แบบที่สองคือที่เราเรียกว่า positive displacement ซึ่งก็มีแบบย่อยลงไปอีก แต่ด้วยความที่ดั้งเดิม อยู่มานาน และ นิยมกันมากๆ เพราะมัน อึด ทน ซ่อมง่าย คือแบบลูกสูบ

mud pump liner

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ปั๊มที่เราใช้ในอุตสาหกรรมเราก็แบบนี้แหละ แบบลูกสูบ เหตุผลง่ายๆก็คือ อึด ทนโคตรๆ ซ่อมก็ง่าย ไม่ซับซ้อน

ที่มาของตัวอย่าง เนื้อหา ผมเอามาจาก 2 ลิงค์นี้นะครับ เป็นภาษาอังกฤษ สามารถตามไปอ่านได้เองเลยครับ

Pump Output Calculation for Duplex Pump and Triplex Pump

Basic Understanding About Positive Displacement Mud Pumps in Drilling Industry

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

Mud pump 

ทำไมต้องเปลี่ยน เลือกอัตราการไหลน้ำโคลนอย่างไร

บนแท่นเจาะจะมีปั๊มลูกสูบอยู่ 2 แบบ ใหญ่ๆ ที่ต้องพูดถึงก่อน ก็เพราะเดี๋ยวลงลึกไปถึงสูตรแล้วมันจะแยกออกเป็น 2 สูตร ถ้าไม่รู้จักกลไกของทั้งสองแบบก่อน ก็จะงงๆกัน

Duplex pump

แบบนี้จะมีลูกสูบ 2 กระบอก เวลาก้านสูบผลักเข้าก็จะดันของเหลวออกมาปริมาตรหนึ่ง พอก้านสูบชักออกก็จะดันของเหลวออกมาอีกปริมาตรหนึ่งซึ่งจะน้อยกว่าตอนแรกนิดหน่อย เพราะมันมีปริมาตรของก้านสูบอยู่ในกระบอกสูบ

ไปดูรูปดีกว่า จะได้แจ่มแจ้งกันไป

mud pump liner

ตามนั้นเลย ปั๊มแบบ Duplex จะมีกระบอกสูบแบบรูปข้างบนที่แหละ 2 กระบอกวางขนานกัน ต่อก้านสูบเข้ากับเครื่องยนต์ดีเซล หรือ มอเตอร์ไฟฟ้าเดียวกัน (prime mover) ที่เรียก Duplex เพราะมันทำงาน double acting ให้ของเหลวออกมาทั้งตอนผลักและดึงก้านสูบ 

เราจึงเรียกมันว่า 2 cylenders double action

Triplex pump

แบบนี้จะเป็นแบบ single action แต่เอา 3 กระบอกสูบมาวางขนานกัน แล้วต่อเข้ากับ เครื่องยนต์ดีเซล หรือ มอเตอร์ไฟฟ้าเดียวกัน โดยทำงานเลื่อมกัน 120 องศา ต่อการหมุน 1 รอบของ เครื่องยนต์ดีเซล หรือ มอเตอร์ไฟฟ้า

เนื่องจากมันทำงานขาเดียว คือ ตอนที่ผลักก้านสูบ แต่มี 3 กระบอกสูบ เราจึงเรียกมันว่า 3 cylenders single action

ไปดูคลิปกันดีกว่าว่ามันฉึกฉักๆ ทำงานกันอย่างไร อุปถัมภ์โดย NOV เจ้าพ่อขายปั๊มประเภทหนึ่งของวงการเรา

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

สรุปว่า ปัจจุบันปั๊มน้ำโคลนส่วนใหญ่เป๋็น Triplex pump ครับ

เหตุผลง่ายๆคือ กลไกลมันง่าย น้ำโคลนไหลออกแค่หนเดียวทางเดียว แค่มีสามกระบอกสูบเท่านั้น ในอุตสาหกรรมเรานั้น ถ้าให้เลือกระหว่าง เทคโยโลยี ความซับซ้อน ประสิทธิภาพสูง (มักจะซ่อมยาก ต้องใส่ใจเยอะ) กับ ความง่ายในการใช้งาน ซ่อมบำรุง ความเชื่อถือได้ว่าไม่ผิดพลาด เรามักเลือกเอาอย่างหลังครับ

Mud pump liner คือ อะไร

ก่อนจะรู้ว่า ทำไมเราต้องเปลี่ยนเจ้านี้ เรามารู้กันก่อนว่าเจ้านี่มันคืออะไร เอาแบบบ้านๆเลย mud pump liner ก็คือ ขนาดกระบอกสูบนั่นเอง หน้าตาประมาณนี้

กระบอกสูบใหญ่ขึ้น แปลว่า ลูกสูบขยับทีนึง หรือ 1 stroke ปริมาณน้ำโคลนที่ปั๊มออกมาก็จะมากขึ้น เบสิกๆเลย จริงไหมครับ

ตอนผมทำงานใหม่ๆ ผมก็สงสัยครับว่า อ้าว ทำไมไม่ให้ mud pump liner ใหญ่ๆตลอดไปเลยล่ะ จัดมาให้คงที่ไปเลย ทำไมต้องเปลี่ยนเป็นอันเล็กๆตอนหลุมขนาดเล็กๆด้วย

คำตอบคือ ฟิสิกส์ง่ายๆ ปั๊ม 1 ตัว มันถูกขับด้วยจักรกลดีเซลหรือไฟฟ้าที่มีกำลังขนาดหนึ่ง เช่น กี่แรงม้าก็ว่าไป

ในทางฟิสิกส์ …

กำลังเครื่องยนต์ = ความเร็วรอบ x แรงบิด (เช่น RPM x torque หรือ รอบเครื่องรถยนต์ กับ ความเร็วรถยนต์)

กำลังไฟฟ้า = กระแสไฟฟ้า x ความต่างศักย์ไฟฟ้า (P = I x V)

กำลังกล = แรง x ความเร็ว (P = F x V)

กำลังกลไฮดรอลิกส์ = ความดัน x อัตราการไหล (Power = pressure x Q)

จะเห็นว่า กำลัง = อะไร x อะไร สักอย่างเสมอ

ถ้าอย่างหนึ่งเพิ่ม อีกอย่างหนึ่งต้องลด เพราะตัวให้กำลังมันให้ได้แค่นั้น เหมือนน่องเราปั่นจักรยานได้กำลังสูงสุดเท่านี้ กำลังที่ได้ ก็ต้องแลกเอาว่า จะเอาไปเป็นแรงบิดเยอะตอนขึ้นเขาขึ้นเนินแต่ให้ความเร็วช้า หรือ ปั่นทางเรียบ ที่ใช้แรงบิดน้อยแต่ความเร็วสูง (โดยผ่านกลไกระบบฟืองทด – เกียร์)

ปั๊มน้ำโคลนก็เช่นกัน เมื่อขุดลงไปหลุมลึกๆ ความดันที่สูญเสียไปกับการไหลของน้ำโคลนในก้านเจาะเยอะมาก เราจึงต้องการความดันออกจากปั๊มที่ปากหลุมเยอะๆที่จะผลักน้ำโคลนลงหลุม แต่หลุมเราจะขนาดเล็ก เราไม่ต้องใช้อัตราการไหลมากที่จะหอบเอาเศษหินที่ได้จากการเจาะที่ไม่เยอะนั้น (แถมหลุมลึก หินแข็งเจาะช้า = เศษหินน้อย อีกต่างหาก) ดังนั้น หลุมลึก หลุมจะเล็ก ใช้ความดันสูง ต้องการอัตราการไหลไม่มาก

ตรงข้าม ถ้าหลุมช่วงบน หลุมใหญ่ หลุมไม่ลึก ขุดเร็ว เศษหินเยอะ ไม่ต้องกาความดันออกจากปั๊มที่ปากหลุมเยอะ แต่ต้องการอัตราการไหลเยอะๆเพื่อจะต้องหอบเอาเศษหินจำนวนมากขึ้นมาให้ทันกับความเร็วในการเจาะ (ROP = Rate of Penetration)

ถ้าเรามีปั๊มน้ำโคลนหลายตัว ตัวหนึ่งความดันต่ำอัตราการไหลเยอะ ตัวหนึ่งความดันสูงอัตราการไหลน้อย สลับกันทุกๆช่วงขนาดหลถุมและความลึก มันก็คงจะดี แต่มันแพงและไม่มีที่วางบนแท่น วิธีที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติที่สุดคือ มีตัวเดียวหรือชุดเดียว ที่มี กำลังเพียงพอที่จะขุดหลุมช่วงที่ใช้กำลังมากที่สุด

(เหมือนรถยนต์ หรือ จักรยาน น่ะครับ แทนที่จะมีเครื่องยนต์ 5 เครื่อง ที่รอบและแรงบิดต่างกัน 5 ระดับ ก็มีเครื่องเดียว แล้วใช้ระบบเฟืองทดกำลัง หรือ เกียร์ แทน)

ส่วนหลุมที่ไม่ต้องใช้ความดันสุดๆ เราก็เปลี่ยนขนาดลูกสูบเอาไงครับ เช่น สมมุตินะ

ช่วงที่ขุดต้นๆ ความดันสูงสัก 1000 psi อัตราการไหลก็เยอะนิด เพระาเศษหินเยอะ ขุดเร็ว 2500 lpm (ลิตรต่อนาที) คูณกันเป็นกำลังแล้วได้ผลคูณ 2,500,000 psi.lpm

ช่วงที่ขุดกลางๆ ความดันสูงปานกลางสัก 2000 psi อัตราการไหลก็กลางๆ 2000 lpm (ลิตรต่อนาที) คูณกันเป็นกำลังแล้วได้ผลคูณ 4,000,000 psi.lpm

ช่วงที่ขุดสุดท้าย ความดันสูงสัก 4000 psi อัตราการไหลก็ไม่เยอะ หลุมเล็กนี่ เศษหินน้อย หินแข็งขุดช้า 800 lpm (ลิตรต่อนาที) ก็โอแล้ว คูณกันเป็นกำลังแล้วได้ผลคูณ 3,200,000 psi.lpm

จะเห็นว่าช่วงหลุมที่ใช้กำลังมากที่สุดคือช่วงกลาง เราก็ต้องเลือกปั๊มที่มีกำลังที่พอจะขุดช่วงกลาง ถ้าเอาปั๊มตัวนี้มาขุดช่วงบน ก็ต้องเปลี่ยนขนาด pump liner (กระบอกสูบ) ให้ใหญ่ขึ้น และ พอจะขุดหลุมช่วงสุดท้ายก็เปลี่ยนขนาด liner ให้เล็กลง

สูตรเลือกขนาด pump liner (กระบอกสูบ)

(คำนวนอัตราการไหลของปั๊ม)

Duplex pump

อัตราการไหล หน่วยเป็น  bbl/stk = 0.000162 x S x [2(D)2 – d2]

จะเห็นว่า หน่วยเป็น บาร์เรลต่อสโตรก (คือ ชักก้านสูบทีนึง ได้น้ำโคลนออกมากี่บาร์เรล)

ถ้าอยากได้เป็นหน่วยต่อนาทีก็ไปคูณอัตราการชักเอา เช่น ปั๊มทำงานที่ 50 stk ต่อ นาที ก็เอา 50 ไปคูณผลลัพท์ที่ได้ ก็จะได้หน่วยเป็น บาร์เรลต่อนาที เป็นต้น

D = liner diameter in inch (เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน liner ก็กระบอกสูบที่เอามาเปลี่ยนนั่นแหละ … หน่วยเป็นนิ้ว)

S = stroke length in inch (ระยะชักลูกสูบ จะขยันซอยสั้นๆถี่ๆ จ้วงสาวแบบยาวๆพาเพลิน ก็ว่ากันไป … หน่วยเป็นนิ้ว)

d = rod diameter in inch (เส้นผ่าศูนย์กลางก้านสูบ จำได้ป่ะว่าปริมาตรกระบอกสูบอีกด้านมันถูกแทนที่ด้วยปริมาณก้านสูบ นึกไม่ออกก็เอาภาพมาให้ดูอีกรอบ … หน่วยเป็นนิ้ว)

mud pump liner

ตัวอย่าง 2 กรณี ประสิทธิภาพปั๊ม 100% กับ 85% ก็แทนค่าสูตรเอาดื้อนั่นแหละ

Liner diameter = 6 inch
Stroke length = 12 inch
Rod diameter = 2.0 in.

ประสิทธิภาพปั๊ม 100 %

PO @ 100% = 0.000162 x 12 x [2 (6) 2 -22 ]
PO @ 100% = 0.13219 bbl/stk

ประสิทธิภาพปั๊ม 85%

PO @ 85% = 0.132192 bbl/stk x 0.85
PO @ 85% = 0.11236 bbl/stk

Triplex pump

อัตราการไหล หน่วยเป็น bbl/stk = 0.000243 x (liner diameter in inch) 2 X (stroke length in inch)

ตัวอย่าง 2 กรณี ประสิทธิภาพปั๊ม 100% กับ 97% ก็แทนค่าสูตรเอาดื้อๆนั่นแหละ

ประสิทธิภาพปั๊ม 100 %

Linner size = 6 inch
Stroke length = 12 inch

PO @ 100% = 0.000243 x 62 x 12
PO @ 100% = 0.104976 bbl/stk

ประสิทธิภาพปั๊ม 97 %

PO @ 97% = 0.104976 bbl/stk x 0.97
PO @ 97% = 0.101827 bbl/stk

เป็นไงครับ ง่ายไหมครับ หมูๆเนอะ จริงๆแล้วในการทำงาน พวกเราก็ excel เอาแหละ ไม่มานั้นทำไรแบบนี้ให้เมื่อยตุ้มปวดหลังกันหรอก 555

ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง เบื้องหลังก็สูตรข้างบนนี่แหละ อำนวยความสะดวก เปลี่ยนหน่วยให้ไรให้นิดหน่อย

หรือง่ายกว่านั้นอีกก็เปิดตารางของผู้ผลิตเอา หุหุ

ข้างล่างนี่ก็ตัวอย่างของยี่ห้อหนึ่งเท่านั้นนะครับ แต่ล่ะยี่ห้อก็มีรุ่นมีไรที่แตกต่างกันไป เหมือนรถยนต์นั่นแหละครับ

แล้วนีี่ก็ตัวอย่างตาราง

อยากได้อัตราการไหลเท่าไร ความดันสูงสุดที่ปั๊มรับหรือให้ได้ที่ขาออกจากปั๊มที่ปากหลุมเท่าไร ก็ดูเอาเลย จิ้มเลือกขนาดกระบอกสูบ (liner) ได้เลย

บางที่เราก็ถามตัวเองว่า เราเป็น catalog engineer หรือ เปล่า 555 อุตส่าห์เรียมมามากมาย สุดท้ายก็เปิดสเป็คผู้ผลิตในการทำงาน

แต่เปล่าหรอกครับ เรียนมามีประโยชน์ เพราะเราสามารถมองภาพ และ เข้าใจกลไกเบื้องหลังตาราง กราฟ excel ได้ เวลาเกิดปัญหา คนที่รู้ที่มาที่ไปของสิ่งที่อยู่ใน catalog ตาราง กราฟ excel กับ คนที่ไม่รู้ จะแก้ปัญหาต่างกัน

ความดัน vs. อัตราการไหล ต้องคิดอะไรกันบ้าง

จริงๆแล้วเราต้องการอัตราการไหลในการขุดเจาะ แต่ความดันปั๊มน้ำโคลนที่ออกจากปั๊มที่ปากหลุมเป็นเพียงผลพวงที่เกิดจากการสูญเสียพลังงาน (ความดัน) ในการปั๊มอัตราการไหลที่ต้องการลงไปในก้านเจาะ ซึ่งขึ้นกับปัจจัยทางกายภาพของหลุม น้ำโคลน และ เครื่องไม้เครื่องมือ (ทั้งที่ปากหลุม และ ปลายก้านเจาะ)

เช่น เราต้องการปั๊มน้ำโคลน หนัก เท่านี้ หนืดเท่านี้ คุณสมบัติอื่นๆตามนี้ บลาๆ ลงไปในก้านเจาะขนาดนี้ หลุมขนาดนี้ และ คดประมาณนี้ เครื่องมือปลายก้านเจาะ (BHA) เยอะเท่านี้ ต้องใช้ความดันเท่าไร (ก็คือความดันสูญเสียไปเท่าไรนั่นแหละ)

จะเห็นว่า ความดันที่ปลายก้านเจาะที่ปากหลุมที่ปั๊มต้องปั๊มให้ได้ เป็นผลจากอัตราการไหลที่ต้องการ (เป็นตัวแปรตามอัตราการไหลว่างั้น) หรือ พูดอีกนัยหนึ่งคือ เราไม่ได้ระบุความดันที่ปลายก้านเจาะปากหลุม เราแค่คำนวนให้แน่ใจว่า 1 ปั๊มน้ำโคลนทนทน (หรือสามารถให้) ดันขนาดนั้นได้ และ 2. อุปกรณ์ต่างๆ (วาว์ล ท่อ อุปกรณ์วัดคุม) ที่แท่นเจาะสามารถรับ/ทน ความดันนั้นได้

ถ้าได้ทั้ง 2 ข้อก็ผ่านโลด ไปดูต่อว่า อัตราการไหล นั้นขึ้นกับอะไร

อัตราการไหล

ต้องมากพอที่จะ

  1. หอบเอาเศษหินขึ้นมาถึงปากหลุม … ก็ขึ้นกับขนาดหลุม ความเร็วในการขุด คุณสมบัติของน้ำโคลน (น้ำหนัก ความหนืด และ อื่นๆ)
  2. ให้พลังงาน (เมื่อคูณกับความดันที่ตกคร่อม – pressure drop) เครื่องไม้เครื่องมือที่อยู่ปลายก้านเจาะ (BHA)  เช่น MWD RSS PDM (mud motor) Bit ฯลฯ แต่ล่ะชิ้นอย่างพอเพียง แต่ล่ะบ.ก็สเป็คไม่เท่ากันว่าต้องใช้อัตราการไหลต่ำสุดแค่ไหนที่จะสามารถทำงานได้ ก็โทรฯถามบ.ที่ให้เช่าเอา

แต่ต้องไม่มากพอที่จะ

  1. เกินกำลังปั๊มน้ำโคลนที่จะรับ(ให้)ความดันไหว
  2. ทำให้อุปกรณ์ต่าง (วาว์ล ท่อ อุปกรณ์วัดคุม) ที่แท่นเจาะเจ๊ง
  3. ไม่ทำให้หลุมบานเบอะ (wash out) คือ กัดกร่อน (erosion) ผนังหลุมให้ใหญ่กว่าขนาดหัวเจาะ เช่น เจาะหลุม 8.5 นิ้ว แต่อัดปั๊มน้ำโคลนเสียจนผนังหลุมถลอกลอกออกมาเป็นกระบิๆ แล้วขนาดหลุมออกมา 10 นิ้ว อะไรแบบนี้ ไม่งามๆ
  4. ไม่ทำให้เครื่องไม้เครื่องมือที่อยู่ปลายก้านเจาะ (BHA)  เช่น MWD RSS PDM (mud motor) Bit ฯลฯ เจ๊งกะโบ้ง แต่ล่ะชิ้นแต่ล่ะบ.ก็สเป็คไม่เท่ากันว่าอัตราการไหลแค่ไหนถึงจะเจ๊ง ก็โทรฯถามบ.ที่ให้เช่าเอาอีกแหละ

ซึ่งทั้งหมดทั้งหลายทั้งปวง เราสามารถคำนวนได้ เราร่ำเรียนกันมาหมดแล้วตอนปี 1 นั่นแหละ ที่เรียกว่า Fluid Mechanic, Fluid Dynamic, Fluid Hydraulic เถือกๆนี้แล้วแต่ว่าคณะไหนสาขาไหนจะตั้งชื่อวิชาว่าอะไร

ในงานขุดเจาะเราเรียกหัวข้อนี้รวมๆไปว่า Hydraulic calculation ก็คือ การคำนวนเพื่อตอบคำถามข้างบนนั่นแหละ

ถ้าต้องการลงรายละเอียดสำหรับระดับฮาร์คอร์ก็ตามลิงค์นี้เลยครับ เราเรียนกันมาประมาณนี้ — > บทที่ 4 กลศาสตร์ของไหลที่เกี่ยวกับการขุดเจาะ

ปั๊มน้ำโคลน vs. หัวใจ

เปรียบเทียบง่ายๆ ก็เหมือนหัวใจเราคือปั๊มน้ำโคลน ร่างกายห็คือหลุม เราต้องการอัตราการไหลของเลือดและน้ำโคลนค่าๆหนึ่งที่ปั๊ม/หัวใจ ต้องสามารถให้ความดันได้(หรือทนได้) ตามกำลังความแข็งแรงของปั๊ม/หัวใจ

ถ้าเป็นปั๊มก็คือ สเป็คที่ออกจากโรงงาน สภาพขณะใช้งาน ประวัติการบำรุงรักษาตามอายุงาน

ถ้าเป็นหัวใจก็คือ อายุ เพศ พันธุกรรม อาหารการกิน โรคภัย สุขภาพ บลาๆ

เมื่อหลุมหรือร่างกายมีปัญหา ก็จะสะท้อนหรือฟ้องออกมาที่ความดันของปั๊มที่ปากหลุม หรือ ความดันเลือดที่ขั้วหัวใจขาออก เพราะปั๊มหรือหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อส่งน้ำโคลนหรือเลือดปีริมาณที่ร่างกายหรือหลุมต้องการ

ปัญหาที่ว่าคืออะไรกันบ้าง ง่ายๆเลย เศษหินเยอะเกิ้น (cutting overload) อุดตันช่องว่างระหว่างก้านเจาะกับผนังหลุม ถ้าเป็นเส้นเลือดก็มีตะกอน มีไขมันมาอุด เส้นเลือดตีบ ถ้าหลุมเจาะก็ ผนังหลุมบวม (reactive shale – Shale swell หินดินดานบวมน้ำ) หรือ น้ำโคลนเสื่อมคุณภาพ (หนืดขึ้น สกปรก) ก็อารมณ์ว่าเลือดเสีย เลือดเหนียว

ความดันต่ำกว่าที่คำนวนหรือที่ควรจะเป็นก็ไม่ดี (เมื่อปั๊มที่อัตราการไหลปกติเท่าเดิม) แปลว่าหลุมสุขภาพแย่ น้ำโคลนรั่วออกนอกหลุม หลุมใหญ่กว่าที่ควร น้ำโคลนจาง (หนักน้อยลง หนืดน้อยลง กว่าที่ควรจะเป็นตามสเป็ค) ร่างกายก็คงไม่ต่างกัน เลือดจาง เส้นเลือดขยาย (จากการใช้ยาบางประเภทเป็นเวลานาน) ระบบไหลเวียเลือดรั่ว ภายในก็เช่น เลือดออกในช่องท้อง ภายนอกก็เช่นบาดแผล บลาๆ พวกนี้ก็ทำให้ความดันเลือดตก

สรุปว่า ความดันเป็นผลพวง จากอัตราการไหล + สเป็คน้ำโคลน/เลือด + โครงสร้างหลุม/ร่างกายเพศพันธุกรรม ที่จะบอกว่าร่างกายหรือหลุม สุขภาพดี หรือไม่ ความดันที่เหมาะสมก็จะอยู่ในช่วงหนึ่ง ถ้ามากหรือน้อยกว่านั้น ก็แปลว่าสุขกาย สุขภาพหลุม ไม่ดี

มันก็อารมณ์ประมาณนี้ ต่างกันตรงที่ปั๊มน้ำโคลน เปลี่ยนขนาดกระบอกสูบ (pump liner) ได้ เปลี่ยนอะไหล่อื่นๆได้ แม้กระทั่ง ยกทิ้ง overhaul เปลี่ยนปั๊มใหม่ก็ได้ แต่หัวใจเราคงทำแบบนั้นไม่ได้ อาจจะซ่อมแซมเปลี่ยนอะไหล่เทียบเท่าบางเรื่อง แต่ทั้งหมดก็คงไม่ได้ในทางปฏิบัติอย่างสะดวกเหมือนปั๊ม

มีคนดูแลหัวใจกันหรือยัง (เกี่ยวไหมเนี้ย) ….

ดังนั้น อย่าลืมดูแลสุขภาพกันให้ดีๆนะครับ …

อ้าว … มาจบตรงนี้ได้ไง 🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------