ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Insight Appraisal Well Drilling

Insight Appraisal Well Drilling – เบื้องหลังการขุดหลุมประเมิน จากตอนที่แล้ว เราคุยเรื่องหลุมสำรวจ ในหัวข้อเดียวกันนี้ไปแล้ว วันนี้จะมาต่อเรื่องหลุมประเมิน

ผลงานจากหลุมสำรวจ คือ เราพบว่ามีปิโตรเลียม …

คำถามหลักสำคัญในขั้นตอนของโครงการขุดหลุมประเมินนี้คือ

  1. มีปิโตรเลียมเท่าไร (Reserve)
  2. จะเอาขึ้นมาได้เท่าไร (Ultimate Recovery)

คำถามรองๆลงไป คือ จะเอาขึ้นมาด้วยวิธีไหน (recovery method) ด้วยอัตราการผลิตเท่าไร (production rate) และ จะผลิตอย่างไรในชั่วอายุสัมปทานให้ได้มากที่สุด (production profile)

Insight Appraisal Well Drilling
การทดสอบหลุม

Insight Appraisal Well Drilling

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ไปกันที่ล่ะข้อ แล้วจะรู้ว่าทีมงานคุณภาพของเราควรมีหน้าตาอย่างไร

มีปิโตรเลียมเท่าไร (reserve)

จุดที่หลุมสำรวจจิ้มลงไปแล้วเจอนั้น เรารู้แค่ว่าตรงนั้นมีปิโตรเลียม แต่เราไม่รู้ “ขอบ” และ “ทรง” ของแหล่งกักเก็บ ว่าขอบมัน กว้าง ยาว ลึก เท่าไร และ รูปทรงหน้าตาของแหล่งมันเป็นอย่างไร

ดังนั้น นักธรณีประเมิน (Appraisal geologist ส่วนใหญ่ก็คนเดียวกับนักธรณีสำรวจนั่นแหละ) จะมโนภาพแหล่งในใจด้วยตรรกะ และ ศาสตร์ ที่เรียนมาว่า หน้าตามันน่าจะเป็นแบบนี้ แล้วเลือกจิ้มลงไปสักจุด เก็บข้อมูลที่ต้องการขึ้นมา เพื่อจะพิสูจน์ว่า ภาพโครงสร้างทางธรณีที่มโนเอาไว้นั้นถูกต้องโดยเจาะหลุมประเมินในน้อยหลุมที่สุด

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

20 คำถาม

เหมือนเราเล่น 20 คำถาม นั่นแหละครับ

กรณีที่ 1 … ถ้าคำตอบ คือ สิงโตทะเล

นาย ก. คิดภาพในใจว่า สิงโตทะเล แล้วถามว่า ชื่อเป็นสัตว์บกที่เป็นเจ้าป่าแต่อาศัยในทะเลแถวขั้วโลกเหนือ ใช่ไหม (คำตอบ คือ ใช่) – โป๊ะ รู้เลย

นาย ข. คิดภาพในใจว่า สิงโตทะเล แล้วถามว่า 1. มีงาใช่ไหม (คำตอบ คือ ใช่) อยู่ในน้ำทะเลใช่ไหม (คำตอบ คือ ใช่) – โป๊ะ รู้เลย

แต่นาย ก. ใช้คำถามน้อยกว่านาย ข. (ถ้าเป็นหลุมเจาะก็ ใช้แค่หลุมเดียว)

กรณีที่ 2 … ถ้าคำตอบ คือ ช้าง

นาย ก. คิดภาพในใจว่า สิงโตทะเล แล้วถามว่า ชื่อเป็นสัตว์บกที่เป็นเจ้าป่าแต่อาศัยในทะเลแถวขั้วโลกเหนือ ใช่ไหม (คำตอบ คือ ไม่ใช่) – ซวยล่ะ ไม่รู้อะไรเลย ต้องกลับมานับหนึ่งใหม่

นาย ข. คิดภาพในใจว่า สิงโตทะเล แล้วถามว่า 1. มีงาใช่ไหม (คำตอบ คือ ใช่) อยู่ในน้ำทะเลใช่ไหม (คำตอบ คือ ไม่ใช่) – โป๊ะ รู้เลย มีโอกาสเป็นช้างเกือบ 100% (เพราะยังมีสัตว์บกที่มีงานแต่ไม่ใช่ช้าง แต่ไม่เยอะแล้วล่ะ)

ที่ผมเสียเวลาอธิบายตรงนี้ เพราะว่าทำให้พวกเราเข้าใจว่า การเลือกจุดที่จะขุดหลุมประเมินนั้น นักธรณีหลุมประเมิน จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

เพราะปัจจัยที่ทำให้นักธรณีชนะเกมส์นี้ คือ

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

  1. ความรู้พื้นฐาน ตัวแบบ (model) ต้องอยู่บนสมมติฐานทางธรณีที่แน่นปั๊ก ไม่ใช่มโนตัวแบบขึ้นมามั่วๆ
  2. ตรรกะในการตั้งคำถาม
  3. ความมั่นใจในข้อ 1 และ ข้อ 2 … ถ้ามั่นใจมากก็ไปแบบ นาย ก. ที่ถามตรงๆ แต่ถ้าไม่ชัวร์ ก็ต้องถามตะล่อมๆ แบบ นาย ข.

จะเห็นว่า นักธรณีที่มีแต่ความกล้าได้กล้าเสียอย่างเดียว ไปไม่รอด

ส่วนกรรมกรอย่างผมก็มีหน้าที่ขุดไปตามที่นักธรณีหลุมประเมินเขาชี้นิ้วสั่ง … ไม่หือ ไม่อือ … 555

“ขอบ” และ “ทรง” ของแหล่ง

การจะรู้ว่า ขอบ และ ทรง ของแหล่งว่า อยู่ตรงไหน ต้องใช้ 2 ศาสตร์ ประกอบกันเป็นอย่างน้อย คือ ธรณีศาสตร์ และ วิศวกรรมแหล่งกักเก็บ

อาจจะไม่ถูกต้อง 100% นัก ต้องขออภัย พี่น้องนักธรณี และ วิศวกรแหล่งกักเก็บ แต่ผมขออธิบายง่ายๆให้คนนอกวงการรู้เรื่องแบบนี้ครับ

เอากล่องสี่เหลี่ยมทรงกระบอกยาวๆใบโตๆมาใบหนึ่ง เอาหมอนข้างใส่ลงไป หมอนข้างอาจจะพอดีกล่องแป๊ะ หรือ เล็กกว่าก็ได้

ขอบ ก็คือ ผนังกล่อง

ทรง ก็คือ รูปร่างของหมอนข้าง

นักธรณีจะเป็นคนบอกว่า ขอบของโครงสร้างหิน(ที่แหล่งกักเก็บมันอยู่ในนั้น)หน้าตาเป็นอย่างไร เช่น ทรงกระบอกเอียงๆ กะทะคว่ำ บลาๆ และ ขอบของโครงสร้างหินมันอยู่ตรงไหน (กว้าง ยาว สูง รัศมี เอียง ลาด ขึ้น ลง บลาๆ) ก็คือ บอกลักษณะ และ ขนาดของกล่อง

วิศวกรแหล่งกักเก็บจะเป็นคนบอกว่า รูปร่างของแหล่งกักเก็บจริงๆแล้วมันเป็นอย่างไร ขอบมันอยู่ตรงไหน ก็คือ บอกลักษณะ และ ขนาดของหมอนข้างที่อยู่ในกล่อง

ใช้ศาสตร์ และ ข้อมูล อีกมากมายครับ ที่จะตอบคำถามเรื่อง ขอบ กับ ทรง นี้ ผมจะไม่ลงลึกล่ะ เพราะ 1. ไม่ใช่หัวข้อของบทความ และ ที่สำคัญกว่า คือ 2. ผมไม่รู้ แฮ่ๆ …

เมื่อรู้ หน้าตา รูปพรรณสัณฐานของแหล่งกักเก็บ (หมอนข้าง) ก็คำนวนหาปริมาณปิโตรเลียมได้ ด้วยสูตรของ ปู่ Archie ของเรา

สมการหาน้ำมันตัวพ่อ Archie’s Law มาทำความรู้จักกันครับ

ทั้งหมดที่ว่ามาจนถึงบรรทัดนี้ ตอบคำถามเดียว คือ มีปิโตรเลียมเท่าไร

จะเอาขึ้นมาได้เท่าไร (Ultimate Recovery)

คำถามนี้ คนที่จะตอบได้คือ วิศวกรแหล่งกักเก็บ ความหมายของของคำถามนี้ คือ จากที่เรารู้ในขั้นตอนแรก มันคือปริมาณปิโตรเลียมที่อยู่ในชั้นหินแหล่งกักเก็บ ซึ่งแน่นอนว่า เราไม่สามารถเอามันขึ้นมาได้จนหยดสุดท้ายหรอกครับ

recovery factor

https://glossary.slb.com/en/Terms/r/recovery_factor.aspx

เหมือนเราเทน้ำผึ้ง หรือ นมข้น จากขวดลงแก้ว ยังไงๆ ก็ยังเหลือติดก้นขวดผนังขวด ปิโตรเลียมก็ไม่ต่างกัน เพราะเมื่อความดันในแหล่งกักเก็บเหลือประมาณหนึ่งแล้วก็จะไม่พอที่จะดันปิโตรเลียมขึ้นมาได้ ไหนจะที่คิดค้างในชั้นหินแหล่งกักเก็บเพราะแรงตึงผิวอีกล่ะ

ไหนๆก็มาถึงนี่แล้ว ต่อนิด ก่อนไปเรื่องขุดเจาะหลุมประเมิน

การผลิตปิโตรเลียมขึ้นมาเนี้ย เราทำได้ 3 วิธี (recovery method)

  1. Primary – แรงดันตามธรรมชาตินั่นแหละ เหมือนเจาะกระป๋องน้ำอัดลม จิ้มลงไปก็พรวดสวนออกมา
  2. Secondary – ลดแรงดันปากหลุม ให้น้อยกว่าความดันก้นหลุม (ช่วยมันว่างั้น) โดยใช้ ก๊าซ หรือ สูบขึ้นมาดื้อๆด้วยปั๊มไฟฟ้า (แบบปั๊มไดโว่ดูดน้ำท่วม) หรือ ใช้ปั๊มลูกสูบหัวโยกๆที่เห็นบ่อยๆในรูป oil field

DeepLift – นวัตกรรม – วิศวกรไทย – สิทธิบัตรจากประเทศสหรัฐอเมริกา

  1. Tertiary – ขุดหลุมใกล้ๆกัน ที่แน่ใจว่าแหล่งกักเก็บมันเชื่อมต่อกัน ปั๊มน้ำ ไอน้ำ หรือ สารเคมี ไล่ให้ปิโตรเลียมไปโผล่ที่หลุมที่ต้องการ

ส่วนคำถามรองๆลงไป คือ จะเอาขึ้นมาด้วยวิธีไหน (recovery method) ด้วยอัตราการผลิตเท่าไร (production rate) และ จะผลิตอย่างไรในชั่วอายุสัมปทานให้ได้มากที่สุด (production profile) พระเอก คือ วิศวกรแหล่งกักเก็บฉายเดียวเลย

ไปไกลเลย กลับมาเรื่องหลุมประเมิน

ในการขุดหลุมประเมิน ในสมัยก่อนเราขุดเหมือนหลุมสำรวจนั่นแหละ แต่ไม่อลังการเท่า เพราะเรารู้ข้อมูลพอสมควรแล้ว จริงไหม ไม่ต้องใช้ของดีของทนมาก เพราะขุดเสร็จ ได้ข้อมูลแล้วก็ฝังกลบ (P&A) ไปตามสูตร

Plug and Abandon EP1 การฝังกลบและสละหลุมปิโตรเลียม ตอนที่ 1

แต่ปัจจุบัน ทำแบบนั้นมันเสียของ วิศวกรหลุมเจาะเลยต้องใช้สมองเพิ่มขึ้นหน่อย คือ ออกแบบหลุมให้ตอบได้ทั้ง 2 โจทย์ คือ ถ้าประเมินแล้วคุ้มค่าพัฒนาแหล่งกักเก็บนี้ต่อ จะต้องเปลี่ยนหลุมประเมินให้เป็นหลุมผลิตได้ เช่น อายุ และ เกรด ของวัสดุที่ใช้จะต้องอยู่ได้นานพอที่จะผลิตออกจากแหล่งฯได้หมด เป็นต้น

แน่นอนว่าการออกแบบทางวิศวกรรมอะไรที่ต้องตอบหลายๆโจทย์ มันก็ต้องเผื่อโน้นนี่เยอะขึ้น ก็ต้องแพงขึ้นเป็นธรรมดา ก็เสี่ยงอยู่ เพราะถ้าออกแบบเผื่อแล้ว พอได้ข้อมูลมาปรากฏว่าไม่คุ้มที่จะพัฒนา ก็ต้องฝังกลบหลุมทิ้งไป ก็เท่ากับว่า เราออกแบบเผื่อฟรี …. แป่ว

จุดประสงค์ของหลุมเจาะประเมินก็เหมือนกับหลุมสำรวจน่ะครับ คือ ปลอดภัย และ ได้ข้อมูล ตามต้องการ

Insight exploration drilling

ส่วนองคาพยพอื่นๆ เช่น logistic สิ่งแวดล้อม กฏหมาย ก็ไม่ค่อยจะมีประเด็นเท่าไร เพราะ ถ้าพื้นที่นี่โดนขุดสำรวจมาได้แล้ว แสดงว่า อุปสรรคต่างๆก็มีทางออกแล้วประมาณหนึ่ง ก็แค่ไปดูของเก่าว่าคนทำงานรุ่นก่อน เขาทำไว้อย่างไร ก็ลอกเอามาดัดแปลงนิดๆหน่อยๆ ก็ไม่ต้องกังวลอะไรมาก

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นว่า ศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญในขั้นตอนประเมินแหล่งผลิต คือ ธรณีศาสตร์ และ วิศวกรกรรมแหล่งกักเก็บ ดังนั้นก็อย่าแปลกใจที่ผู้บริหารโครงการในขั้นตอนนี้จะเป็น นักธรณี หรือ วิศวกรแหล่งกักเก็บ

ส่วนกรรมกรหลุมเจาะอย่างผมไม่มีหน้าสะเออะไปเป็นหัวหน่งหัวหน้าทีมอะไรที่ไหนหรอก 555

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------