ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Plug and Abandon EP1 การฝังกลบและสละหลุมปิโตรเลียม ตอนที่ 1

Plug and Abandon EP1 การฝังกลบและสละหลุมปิโตรเลียม ตอนที่ 1 … เนื่องจากตอนนี้ในอ่าวไทยเรามีแท่นหลุมผลิต (WHP WellHead Platform) ที่ต้องรื้อถอน (decommission) มากมาย โดยเฉพาะแท่นฯที่เชฟรอนไม่ส่งมอบให้กรมเชื้อเพลิงฯ เพื่อนำไปใช้ต่อ แท่นฯเหล่านั้นต้องโดนรื้อ

แน่นอนว่า หลุมผลิตที่อยู่ในแท่นฯเหล่านั้นจะต้องถูก “เก็บกวาด” ให้เรียบร้อย ก่อนที่จะรื้อถอนตัวแท่นฯ

การ “เก็บกวาดหลุม” ในภาษาชาวบ้านนั้น ภาษาพวกเราชาวนักขุดหลุม เรียกว่า “ฝังกลบและสละหลุม” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Plug and Abandon เขียนกันย่อๆว่า PnA, P&A หรือ PNA.

คิดไว้นานแล้วว่าจะเขียนเรื่องนี้สักที ไม่ได้ฤกษ์ (ขี้เกียจน่ะ 555) และ ผมก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ เป็นแต่ขุดหลุม กลบหลุมไม่เป็น หลังๆมีหลังไมค์ถามมา ประจวบกับแนวโน้มงานในอ่าวไทยที่มีมากขึ้น ก็เลยคิดว่าจะเขียนเรื่องนี้เสียที

เนื่องจากผมเป็นผู้ไม่รู้ จึงต้องไปขอความรู้จากผู้รู้ หันไปหันมาก็ต้องพึ่งพาตัวจริงเสียงจริงของงานนี้ในวงการเรา คือ Baker ผมได้ขออนุญาติในการนำรูป และ ข้อความทั้งหมดมาประกอบการเขียนบทความนี้แล้วครับ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ขอบคุณ Baker Hughes ประเทศไทยไว้ ณ.ที่นี้ ในการอนุเคราะห์ ความรู้ และ สไลด์ บทความนี้

(ถ้าใครอยากให้ผมรีวิว หรือ แนะนำเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆ ของ บ. service ก็สามารถส่งข้อมูลมาได้นะครับที่ nongferndaddy@hotmail.com)

การสละและฝั่งกลบหลุมมีขั้นตอนเทคนิคมากมาย ผมไม่สามารถเขียนให้จบในตอนเดียวจริงๆครับ ว่าจะเขียนไปเรื่อยๆเป็นตอนๆก็แล้วกัน

Plug and Abandon EP1

Plug and Abandon EP1

การฝังกลบและสละหลุมปิโตรเลียม ตอนที่ 1

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

เพื่อเป็นการปูพื้น สำหรับคนที่ยังไม่ทราบว่าเรากำลังพูดถึงเรื่องอะไร อยากให้อ่านบทความนี้ก่อนครับ

การฝังกลบและสละหลุม (Well Plug and Abandon – P&A) เราทำกันอย่างไร

 

เป้าหมายของงานนี้

เหมือนกับงานก่อสร้าง หรือ งานเก็บกวาด ทางวิศวกรรม จุดประสงค์หลักของเราคือ ต้องปลอดภัย ไม่มีใครเจ็บ ข้าวของไม่เสียหาย สิ่งแวดล้อมไม่กระทบกระเทือน ฯลฯ

Plug and Abandon EP1

เราก็ต้องเคารพ และ ทำตาม กฏกติกาในการฝังกลบและสละหลุม (ที่ภาครัฐเป็นผู้กำหนด) ส่วน Reliability แปลว่า เชื่อถือได้ ในที่นี้แปลว่า ฝังกลบแล้วไม่รั่วให้ปิโตรเลียมรั่วออกมาแบบผีดิบขึ้นมาจากหลุม และ แน่นอนว่า อย่าขี่ช้างจับตั๊กแตน ทำอะไรอย่าเว่อร์วัง เอาแค่เท่าที่ต้องใช้และได้ผล

กติกาสากล

เนื่องจากการฝังกลบหลุมนั้น เราทำกันตอนที่หลุมมันผลิตจนหมด รวมทั้ง กระตุ้น หรือ ใช้เทคนิคต่างๆ จนหมดไส้หมดพุง ก็ไม่สามารถจะรีดปิโตรเลียมออกมาได้อีก เราก็ต้องฝังกลบ ดังนั้นแหล่งที่เป็นผู้บุกเบิกลองผิดลองถูกเรื่องนี้ จึงเป็นแหล่งเก่าแก่ที่ผลิตกันมายาวนาน นั่นก็คือ แหล่งแถวๆทะเลเหนือ

Oil & Gas UK – Guidelines for the suspension and abandonment of wells, Issue 4, July 2012 คือ มาตราฐานปัจจุบันที่เราใช้กันอยู่

รูปข้างล่างคือ สรุปย่อ ที่ Baker สรุปเอาไว้ และ อนุเคราะห์มาให้เว็บไซด์ผมใช้ได้

Plug and Abandon EP1
  • เส้นสีดำหนาๆ คือ ท่อกรุ
  • เส้นสีดำบางๆ คือ ท่อผลิต
  • สีเทาอ่อน คือ ซีเมนต์ที่ทำเอาไว้ตอนขุดเจาะหลุม
  • สีเทาแก่ คือ ซีเมนต์ที่ปั๊มลงไปในขั้นตอนการฝังกลบฯ (ทำไง ไว้ค่อยบอก เอาหลักการไปก่อนตอนนี้)
  • สีเขียวขี้ม้า คือ ชั้นหินแหล่งกักเก็บ และ
  • สีเขียวใบไม้ คือ ของเหลวที่เราใช้พยุงซีเมนต์ที่เราปั๊มลงไปตอนเป็นของเหลว เพื่อไม่ให้ซีเมนต์ที่เหลวๆร่วงต่ำลงไป พูดง่ายๆคือ เหมือนหมอนหนุนซีเมนต์เหลวเอาไว้ในตำแหน่งที่ต้องการ จนกว่าซีเมนต์จะแข็งตัว

จะเห็นว่า หลักการง่ายๆคือ ทำไงก็ได้ ให้ไม่มีของไหลอะไร ไหลเข้าหรือออกจากกรอบเส้นสีแดงประนั่น แปลว่า ซีเมนต์สีเทาที่ทำไว้ตั้งแต่ตอนขุดเจาะหลุมต้องดี (ยึดท่อกรุกับท่อกรุ และ ท่อกรุกับชั้นหิน ได้ดี) และ ซีเมนต์สีเทาแก่ ต้องดี ยึดท่อผลิตกับท่อกรุ ได้เนี๊ยบ

ข้อสังเกตุ … มีคำว่า permanent ที่แปลว่า ถาวร แปลว่า ในการฝั่งกลุมและสละหลุมฯนี้ มีสองแบบ คือ แบบชั่วคราว (เดี๋ยวกลับมาใช้ประโยชน์หลุมใหม่ แต่ตอนนี้ปิดหลุมไว้ก่อน) และ แบบถาวร ลาจากลาขาดกันเลย

ในที่นี้ เราจะพูดถึงแบบหลังเท่านั้นนะครับ

Barrier requirements

อุดตามกฏเกณฑ์อย่างไร

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

กติกาง่ายๆคือ จะต้องมี “ตัวกั้น” (barrier) อย่างน้อย 2 ตัวกั้น สำหรับทุกๆจุดที่ปิโตรเลียมจะไหลเข้ามาในหลุม ดูรูปซ้ายมือข้างบนประกอบ จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ถ้าปิโตรเลียมจาก โซน A และ B เข้ามาในหลุมได้ ต่างก็ต้องเจอ ตัวกั้น 2 ตัว เสมอ ก่อนจะโผล่มาถึงปากหลุมได้ … นั่นคือกฏ เราต้องวางตำแหน่ง และ คุณสมบัติของตัวกั้นนี้ให้เป็นไปตามข้อกำหนด

ข้อกำหนดให้เราเลือกได้ 2 ทาง

2 ตัวกั้น (dual barriers)

ดูฟากซ้ายของรูปขวานะครับ … ในหลุมต้องมีซีเมนต์ดี (good bond – พิสูจน์ หรือ รู้ ได้ไง ไว้ค่อยว่ากัน) ซีเมนต์ (สีเทาแก่) จะต้องยาวอย่างน้อย 100 ฟุต (ราวๆ 30 เมตร) 2 จุด จึงจะนับว่า โอเค โดยมากการจะให้ได้ซีเมนต์ดี 100 ฟุต เนี้ย ต้องทำซีเมนต์ทั้งหมดราวๆ 500 ฟุต หรือ ราวๆ 150 เมตร

นอกจากนั้น ซีเมนต์ระหว่างท่อกรุกับชั้นหิน (สีเทาอ่อน) ดีอย่างน้อย 100 ฟุต สำหรับแต่ล่ะตัวกั้นเช่นกัน

1 ตัวกั้น (combined barrier)

ดูฟากขวาของรูปขวานะครับ … ในหลุมต้องมีซีเมนต์ดี (good bond) ซีเมนต์ (สีเทาแก่) จะต้องยาวอย่างน้อย 200 ฟุต (ราวๆ 60 เมตร)  จึงจะนับว่า โอเค (โดยมากการจะให้ได้ซีเมนต์ดี 200 ฟุต เนี้ย ต้องทำซีเมนต์ทั้งหมดราวๆ 800 ฟุต หรือ ราวๆ 250 เมตร และ ซีเมนต์ระหว่างท่อกรุกับชั้นหิน (สีเทาอ่อน) ดีอย่างน้อย 200 ฟุต ด้วย

แบบไหนดี

ดูเหมือนแบบ 1 ตัวกั้นจะดีกว่าใช่ไหมครับ ไม่ยุ่งยาก แต่ในความเป็นจริงทางปฏิบัตินั้น ทำแบบ 2 ตัวกั้น จะง่ายกว่า

  1. หาซีเมนต์ระหว่างท่อกรุ และ ชั้นหิน (สีเทาอ่อน) ดีๆให้ได้ 200 ฟุต นั้นยาก เราต้องหาช่วงของซีเมนต์สีเทานี้ให้ได้ 200 ฟุต เสียก่อน จึงคิดจะใช้วิธี 1 ตัวกั้นได้ อย่าลืมว่า ซีเมนต์ระหว่างท่อกรุ และ ชั้นหิน นี้ คนขุดหลุมเขาทำเอาไว้เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว และ ซีเมนต์มันผ่านการกัดกร่อนจากสารเคมีในของเหลวในชั้นหินทางธรรมชาติ ไหนจะเสื่อมไปตามกาลเวลาของวัสดุทุกชนิดในโลก แถมยังมีเรื่องความร้อนที่เกิดจากการไหลของปิโตรเลียมระหว่างอายุงานการผลิต ดังนั้น ซีเมนต์คุณภาพดีที่ยาว 200 ฟุต หลังจากหลุมผลิตไปแล้วเป็นสิบๆปีจึงไม่สามารถหาได้ง่ายๆ
  2. การทำซีเมนต์สีเทาแก่ในท่อกรุยาว 800 ฟุต เพื่อให้ได้ซีเมนต์ดีๆ 200 ฟุต ก็ไม่ง่าย เพราะเราต้องวางซีเมนต์ในช่วงนั้นเป็นเวลานานพอที่มันจะแข็งตัว ถ้าเราทำซีเมนต์ 800 ฟุต มวลซีเมนต์ทั้งหมดจะหนัก และ มีแนวโน้มจะร่วงลงไปก้นหลุมก่อนที่จะแข็งตัว (แม้ว่าจะมีหมอนรองเอาไว้ก็ตาม) ดังนั้นต้องพิถีพิถันมากๆทั้งสูตรซีเมนต์ และ ขั้นตอนการทำงาน ผลคือ ใช้เวลานาน และ แพง

ดังนั้น ทำแบบ 2 ตัวกัน ดูเหมือนใช้เวลามากกว่า แต่เอาเข้าจริง ทำง่ายกว่า หาซีเมนต์ระหว่างท่อกรุ และ ชั้นหิน ดีๆ สัก 100 ฟุต ง่ายกว่าเยอะ และ ทำซีเมนต์ยาวๆ 500 ฟุต ให้ได้ซีเมนต์ดีๆ 100 ฟุต ง่ายกว่าเยอะ

แต่เดี๋ยวก่อน แบบ 1 ตัวกั้นก็มีที่ใช้นะครับ ถ้าหลุมเด็กๆ อายุไม่มาก ผลิตมาได้ไม่นานแล้วหมด อุณหภูมิไม่มาก คนขุดเจาะทำซีเมนต์ไว้ดี ท่อผลิตและท่อกรุ ตัวในสุดเล็กๆ (น้ำหนักซีเมนต์ไม่มากแม้จะยาว 800 ฟุต และ ถ้าท่อเล็ก แรงตึงผิวจะสูง แรงตึงผิวจะช่วยพยุงซีเมนต์ไว้ในท่อได้ระดับหนึ่ง)

ปัจจัยทั้งหมดนี้จะเอื้อให้สามารถทำแบบ 1 ตัวกั้นได้ แต่ทั้งนี้วิศวกรผู้รับผิดชอบจะเป็นผู้พิจารณารายละเอียดทั้งหมดอีกที

สรุป

เป้าหมายเราคือต้อง ปลอดภัย ไว้ใจได้ ตามกฏเกณฑ์ข้อกำหนด และ ราคารับได้ และ กั้นไม่ให้ปิโตรเลียม ไหลขึ้นไปปากหลุม หรือ ไหลข้ามไปมาระหว่าชั้นหิน โดยการใช้ตัวกั้น (barrier) ที่สามารถให้ทำได้ 2 แบบ คือ แบบ 2 ตัวกั้น และ 1 ตัวกั้น ที่มีเงื่อนไขข้อกำหนดทางวิศวกรรมที่เป็นไปตาม Oil & Gas UK – Guidelines for the suspension and abandonment of wells, Issue 4, July 2012

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------