ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Hydraulic Fracturing ปัญหา และ ผลกระทบ ต่อสังคม และ สภาพแวดล้อม

Hydraulic Fracturing ปัญหา และ ผลกระทบ ต่อสังคม และ สภาพแวดล้อม … พวกเราทุกคนก็คงได้ยินเรื่อง Hydraulic fracturing ติดหูติดตากันมาบ้างจากสื่อต่างๆมากมาย

วันนี้จะขอนำเสนอผลงานการศึกษาของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (DMF) เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งทำไว้ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2555 แต่ก็ถือว่าข้อมูลและข้อสรุปต่างๆยังใช้ได้อยู่ จึงขอนำมาให้พวกเราได้อ่านได้เข้าใจกัน

มีบทความเกี่ยวเนื่องเกี่ยวกับ Shale Gas ในประเทศทยด้วยครับ สนใจก็คลิ๊กอ่านปูพื้นกันไปก่อนได้

Thai Shale Gas ก๊าซจากชั้นหินดินดานในประเทศไทย & Hydraulic Fracturing

Thai Shale Gas ก๊าซจากชั้นหินดินดานในประเทศไทย & Hydraulic Fracturing

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

Hydraulic Fracturing

ปัญหา และ ผลกระทบ ต่อสังคม และ สภาพแวดล้อม

ที่มา : รายงานดูงาน Shale Gas – ฉบับสมบรูณ์

ผมคัดมานำเสนอเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาและผลกระทบของการทำ Hydraulic fracturing

มีศัพท์แสงทางเทคนิคเยอะพอสมควร ตรงไหนไม่เข้าใจก็อ่านข้ามๆไปก็ได้ครับ และ ถ้าอยากรู้เพิ่มเติมจริงๆก็หลังไมค์มาครับ ยินดีที่จะไขความกระจ่างให้

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ปัญหาและผลกระทบหลักๆ ของการดำเนินงาน

ปัญหาด้านเทคนิค

การใช้เทคนิคนี้ หากดำเนินการไม่ได้มาตรฐาน อาจจะมีปัญหาทำให้ก๊าซธรรมชาติรั่วไหลออกไปจากชั้นหินดินดานได้ โดยอาจเข้าไปสู่ชั้นน้ำบาดาลและอาจรั่วจะขึ้นมาถึงชั้นผิวดินได้ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาได้

ในกรณีพื้นที่ดำเนินการที่เป็นแหล่งที่มีแรงดันสูงอาจจะเกิดการพลุ่งพล่านของปิโตรเลียมออกมาได้ (Blow Out) แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก ซึ่งหากจะเกิดปัญหานี้ขึ้นส่วนใหญ่จะสามารถควบคุมป้องกันการ Blow Out ได้ โดยมีวาล์วควบคุมไว้หลายระดับ

การเจาะในแต่ละพื้นที่อาจจะต้องใช้เทคนิคเฉพาะต่างกันไป เช่น การเจาะในระดับตื้นจะใช้ Air Drilling เป็นต้น นอกจากนี้อาจจะมีปัญหาในเรื่องของการจัดหาแหล่งน้ำจืดและการกักเก็บน้ำปริมาณมาก ที่จะใช้ในการทำ Hydraulic Fracturing นี้

ปัญหาด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

แม้ว่าแนวโน้มในการสำรวจและขุดเจาะ Shale Gas ในหลายประเทศทั่วโลกจะให้ความสนใจและตื่นตัวกันมากจนเป็นความคาดหวังว่า Shale Gas อาจทำให้โลกเข้าสู่ยุคทองของการใช้ก๊าซธรรมชาติในอนาคตอันใกล้นี้

แต่ขณะเดียวกันในอีกมุมหนึ่งก็มีเสียงต่อต้านจากกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการขุดเจาะ อาจทำให้การพัฒนาและการผลิต Shale gas ก้าวช้ากว่าที่คาดการณ์และอนาคตอาจจะไม่สดใสซึ่งปัญหาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมยังเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอย่างมากและไม่มั่นใจว่าเทคโนโลยีนี้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน

เนื่องจาก Shale Gas เป็นก๊าซธรรมชาติที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์นับล้านๆ ปีโดยถูกกักอยู่ในชั้นหินดินดานซึ่งยอมให้ก๊าซไหลผ่านยาก จึงต้องอาศัยกรรมวิธีที่ซับซ้อนกว่าการพัฒนาก๊าซธรรมชาติแบบดั้งเดิม (Conventional Gas)

ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ค้นพบและพัฒนาเทคโนโลยี Hydraulic Fracturing ที่ใช้ในปัจจุบัน โดยใช้วิธีการใช้แรงดันน้ำขนาดสูง (91%) ผสมสารเคมี (1%) และทราย (8%) (เป็นสัดส่วนที่บริษัทเชลล์ใช้ดำเนินการ (Bill Langin, Shell and Natural Gas, Chemistry: Hydraulic Fracturing Fluids, 17 กันยายน 2555) เพื่อทำให้หินแตกร้าว

ซึ่งต้องรวมศูนย์และกำหนดทิศทางของน้ำได้อย่างเหมาะสม ให้เกิดรอยแตกต่อเนื่องเพื่อดึงก๊าซออกมาใช้ (เรียกสั้นๆ ในวงการว่า Fracking) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ง่ายและถูกที่สุดแต่อันตรายมาก (ดร. รักไทย บูรพ์ภาค, รองผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงาน, มหาวิทยาลัย MIT สหรัฐอเมริกา และอดีตที่ปรึกษาประจำสำนักงานใหญ่ธนาคารโลกด้านพลังงาน/สิ่งแวดล้อม, 3 ตุลาคม 2555)

จะใช้ควบคู่กับการเจาะแนวราบ (Horizontal Drilling) เพื่อช่วยเพิ่มผิวสัมผัสของหลุมเจาะกับชั้นหิน Shale ทำให้สามารถผลิตก๊าซได้ในปริมาณมากที่มีต้นทุนทางเศรษฐกิจต่ำ แต่ขณะเดียวกันต้นทุนที่สำคัญอีกด้านหนึ่งที่กำลัง ถูกเริ่มนำออกมาตีแผ่มากขึ้นทุกที คือ “ต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม”

วิธี Hydraulic Fracturing ที่มีการผสมสารเคมีลงในน้ำเพื่อสร้างรอยร้าวในชั้นหิน Shale ดังกล่าวนี้อาจจะทำให้เกิดการเจือปนของสารพิษในชั้นน้ำใต้ดินส่งผลต่อคุณภาพของน้ำใต้ดิน

นอกจากนี้อาจเกิดการรั่วซึมของก๊าซมีเทนออกมาด้วย ซึ่งเป็นก๊าซพิษและเป็นก๊าซเรือนกระจกประเภทหลักชนิดหนึ่งที่จะก่อให้เกิด ภาวะโลกร้อนได้และหากมีการรั่วไหลในปริมาณมากก็อาจจะเกิดระเบิดได้อีกด้วย

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ในขณะเดียวกันการขุดเจาะดังกล่าวยังสามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กที่ระดับ 1-3 ริคเตอร์ เช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อยบริเวณ Fayetteville Shaleในรัฐ Arkansas ของสหรัฐอเมริกาจากการขุดเจาะ Shale gas ที่ลึกลงมากขึ้น (ดร. ศิวาลัย ขันธะชวนะ และ ชนิตาสุวรรณะ, Economic Intelligence Center-EIC, 6 สิงหาคม 2012)

ซึ่งในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยาของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเห็นว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ที่เกิดแผ่นดินไหวในระดับดังกล่าวได้ เนื่องจากการที่จะเกิดแผ่นดินไหวสะเทือนได้นั้น ต้องมีสาเหตุจากการเคลื่อนตัวของแผ่นดินในลักษณะตามแนวนอนหรือตามแนวดิ่งหรือการเกิดรอยแยกขนาดใหญ่ของแผ่นดิน

นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมประเมินว่ามลภาวะ Greenhouse Gas Footprint ที่เกิดจากกระบวนการขุดเจาะก๊าซจากชั้นหินดินดานนี้น่าจะมากกว่าถ่านหินถึง 20% เป็นอย่างน้อยและยิ่งนานวันก็ยิ่งมากขึ้น เพราะแหล่งน้ำที่ถูกมลภาวะจะแพร่กระจายเข้าสู่ตาน้ำและตกค้างอยู่อีกหลายสิบปี (http://fb.kapook.com/notes/rukthai-ace-prurapark, 3 ตุลาคม 2555)

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ของฝ่ายอนุรักษ์ฯ ดูเสมือนจะตรงกันข้ามกับข้อมูลของบริษัทน้ำมัน โดยเฉพาะเรื่องสารเคมีและทรายที่ใช้ผสมกับน้ำแรงดันสูงปริมาณมากที่ใช้อัดฉีดหลุมเจาะนั้นจะมีสัดส่วนน้ำ 91% ทราย (8%) และสารเคมีเพียงแค่ 1% เท่านั้น โดยสารเคมีที่ใช้ ได้แก่ Surfactants, Disinfectants, Scale Inhibitors, Friction Reducers, Guar

ซึ่งสารเคมีเหล่านี้จะถูกใช้เป็นส่วนผสมทั่วๆ ไป ในแชมพู, สารทำความสะอาดในครัวเรือน, สารล้างกระจกยนต์, ส่วนผสมในเครื่องสำอางค์, และในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวของกับยา ตามลำดับ และสัดส่วนน้ำที่ใช้เพื่อการขุดเจาะ Shale Gas จะประมาณ 60 ล้านแกลลอนต่อวัน

เมื่อเทียบกับที่ใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า 5,930 ล้านแกลลอนต่อวัน

ใช้เพื่อการอุตสาหกรรม 1,680 ล้านแกลลอนต่อวัน

ใช้เพื่อการจัดระบบน้ำอุปโภคบริโภคสาธารณะ 1,550 ล้านแกลลอนต่อวัน

ใช้เพื่อการทำเหมือง 182 ล้านแกลลอนต่อวัน และใช้เพื่อการอื่นๆ 268 ล้านแกลลอนต่อวัน

(Bill Langin, Shell Appalachia Exploration Manager, Marcellus Shale Drilling-Water Use, 17 กันยายน 2555)

ปัญหาด้านการต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษ์/มวลชน/ชุมชน

ในระยะหลังๆ Shale Gas ได้ถูกต่อต้านโจมตีอย่างหนักจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกาโดยได้กล่าวอ้างว่าการสำรวจขุดเจาะ Shale Gas อาจเกิดการปนเปื้อนของก๊าซมีเทนในแหล่งน้ำท้องถิ่นขนาดที่ชาวนาสามารถจุดไฟบนน้ำจากบ่อในฟาร์มของตนเองได้

จนกลุ่มอนุรักษ์ในสหรัฐอเมริกาได้จัดทำสารคดีขึ้นชุดหนึ่งเป็นหนังสือสั้นชื่อว่า Gas land เพื่อเปิดโปงความเลวร้ายของกระบวนการขุดเจาะ Shale Gas ตลอดจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม

ที่รัฐ New York, Maryland และ New Jersey ก็สั่งห้ามขุดเจาะชั่วคราว ส่วนประเทศฝรั่งเศสและบัลแกเรียก็ได้เลื่อนเวลาการเริ่มขุดเจาะออกไปก่อน โดยเฉพาะฝรั่งเศสก่อนหน้านี้เชื่อว่ามีแหล่งสำรอง Shale Gas ใหญ่ที่สุดในยุโรปและอาฟริกาใต้ก็ยังห้ามการใช้เทคโนโลยี Fracking ในการขุดเจาะและผลิต ทั้งนี้เพราะมีความกังวลด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ขณะเดียวกันประเทศเยอรมนีกำลังเผชิญกับการต่อต้านการขุดเจาะดังกล่าว นอกจากนี้กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์อย่างธุรกิจพลังงานนิวเคลียร์ ถ่านหิน หรือแม้แต่รัสเซียที่เกรงว่าสหรัฐอเมริกาจะแย่งส่วนแบ่งตลาดก๊าซธรรมชาติก็ออกมาต่อต้านการขุดเจาะ Shale Gas เช่นกัน (POOMK, http://longspine.com, 3 ตุลาคม 2555, มนูญ ศิริวรรณ, http://a.lb.dialynews.co.th, 12 มิถุนายน 2555, ดร. ศิวาลัย ขันธะชวนะ และ ชนิตา สุวรรณะ, Economic Intelligence Center-EIC, 6 สิงหาคม 2012)

ในเดือนกันยายน 2554 มีการต่อต้านนโยบาย Shale Gas ในสหรัฐอเมริกา โดยมีนักวิทยาศาสตร์ นักสิ่งแวดล้อม และชาวบ้านท้องถิ่นหลายร้อยคนได้บุกจู่โจมที่ประชุม Shale Gas Insight ในเมืองฟิลาเดลเฟีย

เรียกร้องให้ระงับการขยายตัวของรอยร้าวจากการใช้น้ำปริมาณฉีดอัดที่มีแรงดันสูง เนื่องจากทำให้เกิดการปนเปื้อน น้ำบริโภค ทำลายถิ่นที่อยู่ของสัตว์ และกรุยทางสู่อันตรายต่อสุขภาพสาธารณะ ขบวนการชุมชนประท้วง “ก๊าซแผ่นหินพิโรธ (Shale Gas Outrage)” ได้ดำเนินต่อเนื่องโดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 2, 000 คน ร่วมกันร้องตะโกน “สั่งห้ามเดี๋ยวนี้ (Ban it Now!)” บนทางเท้าที่ศูนย์ประชุมเพนซิลเวเนีย

โดยการจัดการสนับสนุนจากสหกลุ่มเพื่อความเป็นธรรมเชิงสิ่งแวดล้อมและนิเวศน์ รวมทั้งกลุ่มเฝ้าระวังอาหารและน้ำ (FWW) กลุ่มพิทักษ์แหล่งน้ำ และเครือข่ายผู้รักษาแม่น้ำเดลาแวร์

โดยกลุ่มเหล่านี้เรียกร้องให้สั่งห้ามการขุดเจาะในชั้นหินมาร์เชลลัส ซึ่งเป็นชั้นหินที่อุดมไปด้วยก๊าซ อยู่ใต้รัฐเพนซิลเวเนีย เวอร์จิเนียตะวันตก โอไฮโอ และนิวยอร์ก ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของแหล่งสะสมก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดบนโลก (ดรุณี ตันติวิรมานนท์, ผู้แปลบทความที่เขียนโดย Kanya D’Almeida, Food & Water Watch and Allied Organizations, http://wari-wari2011.blogspot.com, 10 กันยายน 2554)

กันยายน 2555 กลุ่มเฝ้าระวังอาหารและน้ำและองค์กรพันธมิตรได้เรียกร้องให้ห้ามการทำ Hydraulic Fracturing ผ่าน Global Frackdown โดยมีการรวมตัวกันเพื่อต่อต้านระดับโลกในช่วงวันปฏิบัติการนานาชาติกว่า 150 แห่งทั่วโลก ระหว่างวันที่ 18-22 กันยายน 2555

ซึ่งจะชูประเด็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขที่เกี่ยวโยงกับกระบวนการใช้น้ำปริมาณนับล้านแกลลอนอัดฉีดด้วยแรงดันสูงผสมทรายและสารเคมีที่ก่อมะเร็งลงใต้ดิน เพื่อปลดปล่อยก๊าซธรรมชาติให้ออกมาจากชั้นหินดินดาน ซึ่งจะเชื่อมโยงกับปัญหาคุณภาพน้ำถูกปนเปื้อนด้วยสารพิษและภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

ตราบถึงวันนี้มีชุมชนกว่า 250 แห่งทั่วโลก ได้ทำการรณรงค์ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีนี้

ปฏิบัติการหลักในสหรัฐอเมริกา

มีการเดินขบวนในลอสแองเจลลิส เมืองคัลเวอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในบริเวณขุดเจาะน้ำมันในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีการแปรขบวนเป็นสัญญาลักษณ์คนใกล้สะพานโกลเด้นเกตของซานฟรานซิโก การเดินขบวนในลองมอนต์ ที่โคโรลาโด เพื่อรณรงค์ให้ใช้วิธีการลงคะแนนเสียงที่จะทำให้ลองมอนต์กลายเป็นเมืองแรกของโคโรลาโดในการห้าม Fracking ปฏิบัติการละครบนถนนในชิคาโกที่ส่งเสริมการห้าม Fracking ทั่วมลรัฐ และปฏิบัติการอื่นๆ ในนิวยอร์ก ที่ผู้ว่าแอนดร์ คิวโม ผลักดันให้เปิดมลรัฐของเขาให้ใช้เทคโนโลยี Fracking (ดรุณี ตันติวิรมานนท์, ผู้แปลบทความที่เขียนโดย Kate Fried, Food & Water Watch and Allied Organizations, http://wari-wari2011.blogspot.com, 19 กันยายน 2555)

—-

(บริโภคข้อมูลกันให้รอบด้านนะครับ นึกถึงประวัติศาสตร์ อุตสาหกรรม การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และ วิศวกรรม นวัตกรรม อะไรใหม่ๆ (ในสมัยนั้นๆ) การต่อต้าน หลักการเหตุผล ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยของมันเสมอ เพียงแต่มนุษย์ก็ยังไม่ค่อยได้เรียนรู้จากมันเท่าไรนัก หรือไม่ก็เข้าทำนอง เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง … พี่นก)

recta sapere

Hydraulic Fracturing

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

4 comments

  1. ขอแนะนำหนังเรื่อง Promised land ครับเป็นหนัง Anti fracking ที่ ได้ทุนสนับสนุนจาก OPEC พระเอกคนเดียวกับ Deepwater Horizon.
    ความเห็นส่วนตัวของผมคือ Opec กับ Russia จะเสียหายจาก Fracking มากที่สุด เลยใช้สงคราม กฏหมายทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็ สมเหตุสมผลดีครับ

      1. ขอบคุณครับ ผมก็ไม่ค่อยใช่แฟนฮอลลีวุ้ดเสียด้วย 🙂 เลยไม่ค่อยรู้ว่าใครชื่ออะไร รู้จักแต่ดาราฮอลลีวู้ดรุ่นผม 555

    1. เพิ่งกลับจากภาระกิจต่างจังหวัด ตอบช้าไปนิด … ผมก็ไม่เคยดูเรื่องนี้ครับ เอาไว้จะหามาดูประดับความรู้ เรื่องวิธี แหล่ง และ การผลิตปิโตรเลียมนี้ ผมว่าเป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์ล้วนๆครับ ลองคิดถึงประวัติศาสตร์การใช้ทรัพยากรของมนุษยชาติ เศรษฐศาสตร์เป็นแรงขับเคลื่อนทั้งนั้น การเมือง สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยประกอบ นั่คือ ถ้าทางเศรษศาสตร์มันเวิร์ค เดี๋ยวปัจจัยอื่นก็ปรับตามไปเอง แต่ถ้าเมื่อไรเศรษฐศาสตร์ไม่เวิร์คคือไปไม่รอด ปัจจัยอื่นมันก็ฝืนยากครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------