ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Exploration Appraisal Development wells ขุดต่างกันอย่างไร

Exploration Appraisal Development wells ขุดต่างกันอย่างไร – อย่างที่เราทราบๆว่าหลุมเจาะปิโตรเลียมนั้น เราแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ตามวัตถุประสงค์ คือ สำรวจ (exploration) ประเมิน (Appraisal or Delineation) และ พัฒนา (Development or Producing)

ถ้ายังไม่คุ้นกันก็ขอไวๆควิกอีกสักรอบแบบย่อๆสุดๆ

หลุมสำรวจ ก็ตามชื่อนั่นแหละครับ สำรวจว่ามีไหม ถ้ามี มีแค่ไหน ผลิตได้นานไหม องค์ประกอบปิโตรเลียมเป็นอย่างไร บลาๆ

หลุมประเมิน ก็ตามชื่ออีกแหละ วัตถุประสงค์คล้ายการสำรวจ แต่อาจจะหยาบหรือละเอียด ขึ้นกับว่าตอนหลุมสำรวจได้ข้อมูลอะไรไปบ้างแล้ว แต่วัตถุประสงค์หลัก คือ ประเมินขอบเขตของแหล่งกักเก็บ ทั้งในแนวราบ (เหนือใต้ออกตก) และ แนวดิ่ง (ความลึก – ขอบบน ขอบล่าง) เพื่อตอบคำถามที่ว่าขอบของแหล่งกักเก็บมันอยู่ที่ไหน

เมื่อรู้ขอบซ้ายขวาหน้าหลังบนล่างแล้ว นักธรณีจึงคำนวนปริมาตรออกมาได้ว่าแหล่งมีปริมาตรเท่าไร แล้วจึงลดทอนลงไปด้วยตัวแปรต่างๆ (เนื้อทราย ความพรุน อัตราส่วนการเอาขึ้นมาได้ ฯลฯ) เพื่อให้ได้ว่าสุทธิแล้วมีปิโตรเลียมอยู่เท่าไร

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

แล้วจึงมาทำแผนพัฒนาว่าจะขุดกี่หลุม วางแท่นอะไรตรงไหน ใช้เรืออะไรกี่ลำ กี่ปี ฯลฯ

Conventional reservoir vs. Shale Oil reservoir ต่างกันอย่างไร แบบรวบรัดๆ

Reserve … ตกลงประเทศไทยเหลือน้ำมันดิบใช้ได้อีกกี่ปีกันแน่

เมื่อสำรวจ + ประเมิน + แผนพัฒนา แล้ว ก็จะเอาข้อมูลต่างๆมาใส่ในตัวแบบเศรษฐศาสตร์ (economic model) เพื่อตอบคำถามง่ายๆว่า ลงทุนไปเนี้ย จะคุ้มไหม ได้กำรี้กำไรเท่าไร

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

เมื่อผู้บริหาร (และผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด) เคาะโป้งว่า เอาเลย ไอ้นก ลุยได้เลย …

ไอ้นกก็จะทำการเจาะหลุมพัฒนา เพื่อผลิตปิโตรเลียมออกขายตามแผน

ภาพใหญ่ๆย่อๆแบบ 3 นาทีจบก็อารมณ์ประมาณนี้ …

ในตอนนี้เราจะมาดูกันว่า หลุม 3 ประเภทนี้ ในทางวิศวกรรมขุดเจาะหลุมปิโตรเลียม มีอะไรที่เราต้องคิด ต้องคำนึงถึงบ้าง

Exploration Appraisal Development wells

Exploration Appraisal Development wells

สำรวจ ประเมิน พัฒนา ขุดต่างกันอย่างไร

เนื่องจากหลุมสำรวจ และ ประเมิน มันมีวัตถุประสงค์คล้ายๆกัน และ หลายๆครั้งก็จะออกแบบหลุมเพื่อให้ตอบทั้ง 2 โจทย์ ด้วยการขุดเพียงหลุมเดียว ก็จะขอรวบเป็นหลุมประเภทเดียวกัน เรียกว่า หลุม EA (Exploration and Appraisal)

หลุม EA (Exploration and Appraisal)

หัวใจของหลุม EA คือ ข้อมูล ข้อมูล และ ข้อมูล การออกแบบหลุมจึงต้องจับเข่าคุยกับนักธรณี และ วิศวกรแหล่งกักเก็บ อย่างถึงพริกถึงขิง ว่าพวกเขาต้องการอะไรจากหลุม EA เช่น สารพัด logging เก็บตัวอย่างของไหล ตัวอย่างหิน ทดสอบหลุม สำรวจคลื่นสั่นสะเทือน เป็นต้น แล้วจัดเรียงความต้องการต่างๆตามความสำคัญจากมากไปน้อย หรือ แบ่งเป็นกลุ่มๆ เช่น must have, should have และ nice to have

โลกมันไม่สวยครับ ปัญหาในการทำงานมีตลอดเวลา ได้ทุกอย่างมันก็ดี แต่ถ้าต้องเลือก เมื่อมีงบมีเงิน และ เวลา จำกัด ทั้งทีมจะต้องเข้าใจตรงกันว่า เมื่อต้องเลือกจะเลือกอะไร ไม่ใช่ทุกอย่างก็จะเอาไปหมด (ไม่ได้ว่าใครน้าาาา 🙂 ) หรือ ไปถกไปเถียง ไปขึ้นเข่าตีศอกกันหน้างานตอนเจอปัญหา

หน้าที่วิศวกรหลุมเจาะอย่างผมก็ต้องออกแบบหลุมให้มีก๊อกสองก๊อกสามไว้ทุกๆขั้นตอน

เริ่มจากหลุมให้ใหญ่ที่สุดเท่าที่มีเงินมีงบ เพราะหลุมที่ใหญ่ไว้ก่อน เมื่อมีปัญหา ก็สามารถซ่อม หรือ แก้ไข ได้ในชั้นต่อๆไป เช่น ขุดเฉียง (sidetrack) ออกไปด้วยหลุมที่ขนาดเล็กลง เพื่อเลี่ยงชั้นหินที่มีปัญหา หรือ ใส่ท่อกรุแบบแขวน (liner) เพื่อปิดช่วงชั้นที่มีปัญหา แล้วขุดต่อ เป็นต้น

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

สำหรับหลุม EA นี้ เวลาในการขุด และ อายุการใช้งานของหลุม ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญนัก เสร็จช้าไปสองสามอาทิตย์ งบบานไปสักหน่อย แต่ขอให้ได้ข้อมูลมาก็ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์

ยิ่งอายุการใช้งานของหลุม หลุม EA ยิ่งไม่แคร์ เพราะเมื่อได้ข้อมูลครบเราก็ฝังกลบหลุมอยู่ดี

ดังนั้นก็ไม่แคร์เรื่องเกรดของวัสดุในแง่ของความคงทนต่อเวลาเท่าไรนัก ราคาข้าวของต่างๆมันก็จะราคาถูกลง

แต่ก็มักจะมารายการคุณขอมาว่า ประมาณว่า พี่นกขาาาาา (น้องๆนักธรณีสาวๆอ้อน) ไหนๆขุดแล้ว ถ้าเจอจะฝังกลบทิ้งก็เสียดาย หนูอยากเก็บหลุมไว้ แล้วดัดแปลงให้เป็นหลุมพัฒนาเพื่อผลิตปิโตรเลียมเลย พี่นกออกแบบหลุมให้ตอบโจทย์สำรวจ ประเมิน และ พัฒนา เอาแบบ 3 in 1 ให้ได้ 3 เด้งเลย ได้ไหมค่ะพี่นก

คำตอบคือได้ซิน้องจ้าาาาา … มีเงินพอไหมล่ะ 555

ผมไม่ค่อยตอบว่าทำไม่ได้หรอก เพราะตามหลักการวิศวกรรมแล้วถ้าไม่ฝืนกฏฟิสิกส์จริงๆแบบสุดลิ่มทิ่มประตูแล้วล่ะก็ มันทำได้หมดแหละ ว่าแต่มีเงิน กับ มีเวลาให้ไหมล่ะ เพราะต้องออกแบบหลุมเผื่อไว้หลายๆกรณีที่จะเกิดขึ้น ตัวอย่างง่ายๆ องค์ประกอบของปิโตรเลียมยังไม่รู้เลย ผมก็ต้องเผื่อเกรดของวัสดุ น้ำโคลน ซีเมนต์ บลาๆ ความดันชั้นหินก็ไม่ทราบแน่ชัด ก็ต้องเผื่อสเป็คของต่างๆ เป็นต้น พูดง่ายๆก็ต้องจัดเต็มไรเต็มไว้ก่อน มันก็ต้องแพง ต้องใช้เวลา จริงไหมล่ะหนูๆ

ผมก็จะเคาะตัวเลข เงิน กับ เวลา ให้ แล้วให้น้องๆเจ้าของไอเดียเจ้าของงบฯเอาไปใส่ตัวแบบทางเศรษฐศาสตร์เอาเองว่าคุ้มไหม

โดยมาก คำตอบที่ออกมาคือ ไม่คุ้มอ่ะพี่นก ออกแบบหลุมสำรวจแบบใช้แล้วทิ้งถูกๆ พอได้ข้อมูลแน่นๆชัวร์ๆแล้วค่อยมาขุดหลุมพัฒนาถูกๆ ดีกว่า โดยมากจะขุดแยกทีล่ะครั้งจะได้ความคุ้มค่าทางเศรษศาสตร์และบริการความเสี่ยงดีกว่าจะขุดหลุมแบบ 3 หรือ 2 in 1

หลุมพัฒนา (Development or Producing well)

แน่นอนว่าวัตถุประสงค์หลักของหลุมพัฒนาคือ ผลิตปิโตรให้ได้มากที่สุด โดยราคาหลุมถูกที่สุด อายุหลุมอยู่ได้นานที่สุด หรือ นานเท่าอายุแหล่งจะหมดได้ยิ่งดี

ซึ่งจังหวะนี้เราสามารถทำได้ เพราะเราได้ข้อมูลที่ครบแล้วจากขั้นตอนการสำรวจและประเมิน เราก็เลือกใช้ของ ใช้อุปกรณ์ได้ แบบไม่เผื่อมากมาย แป๊ะๆไปเลย ขั้นตอนนี้แหละ จะประหยัด จะรวบรัดอะไร จะเล่นขุดด้วยท่าพิศดารยังไงก็สามารถทำได้ เพื่อให้ได้หลุมที่ราคาถูกและเสร็จเร็ว

จำต้องเจาะ (Commitment well)

ในการดำเนินงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเนี้ย ในช่วงการสำรวจ บ.น้ำมัน(ผู้รับสัมประทาน)มักมีข้อผูกพันสัญญิงสัญญาอยู่กับรัฐ(ผู้ให้สัมประทาน)อยู่ข้อหนึ่งที่ว่า ภายในเวลาเท่านั้นเท่านี้ปี ต้องมีกิจกรรมการสำรวจ อะไรบ้าง เช่น สำรวจคลื่นไหวสั่นสะเทือน – seismic survey กี่ตารางกิโลเมตร หรือ ขุดหลุมสำรวจ หลุมประเมิน อย่างล่ะกี่หลุม ต้องใช้เงินลงทุนไม่เกินกี่ล้าน บลาๆ

เพื่อ? …

  1. ไม่ให้ผู้รับสัมประทานเอาพื้นที่สัมประทานไปนอนกอดเล่นเป็นหมาหวงก้าง รัฐ(ผู้ให้สัมประทาน)ก็จะเสียโอกาสไปเปล่าๆปรี้ๆ
  2. รัฐจะได้มีข้อมูลทางธรณีมากขึ้น เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการออกประมูลสัมประทานรอบต่อไปถ้าผู้รับสัมประทานเดิมคืนพื้นที
  3. เพิ่มกิจกรรมและมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ประเทศ เช่น ถ้าลงทุนขุดหลุมสำรวจสัก 3 หลุม หลุมล่ะ 30 ล้านเหรียญ (3 x 30 x 3 กลมๆก็ 270 ล้านบาท) เงินก้อนนี้ก็จะหมุนเวียนจ้างงาน และ การค้า ในประเทศ เกิดการหมุนเวียนของเงิน เอาง่ายๆ แม่ค้าลูกชิ้นปิ้งหน้าท่าเรือก็มีรายได้ ถ้ามีเรือออกไปทำกิจกรรมสำรวจนอกชายฝั่ง เงินมันจะต่อเงินหมุนไป อย่างน้อย ก็ 2 รอบ ก็เทียบเท่า 540 ล้านบาท)

ถ้าผู้รับสัมประทานไม่ทำตามสัญญาก็จะต้องเสียค่าปรับเท่านั้นเท่านี้ก็ว่ากันไป

ในทางปฏิบัติ ผู้ให้สัมประทานไม่อยากได้ค่าปรับหรอก ผู้รับสัมประทานก็ไม่อยากให้ปรับแม้ว่าค่าปรับจะถูกกว่าต้องทำตามสัญญา เพราะมันหมายถึงคุณเบี้ยวสัญญา เสียชื่อเสียง ประมูลรอบต่อไปจะมีปัญหา ชื่อบ.ก็จะถูกขึ้นบัญชีหนังหมา รัฐต่างๆก็จะบอกต่อๆกันไปว่าผู้รับสัมประทานเจ้ามีมันเบี้ยว ฯลฯ

ดังนั้นจึงมีคำว่า commitment well คือ หลุมที่ผู้รับสัมประทานต้องขุด เพื่อให้เป็นไปตามสัญญา เรามักเรียกขำๆว่า หลุมแก้บน คือ ขุดแก้บนไปงั้นๆ เราก็จะขุดแบบถูกสุดๆ ขุดให้ได้จำนวนหลุม ความลึก และใช้เงิน ตามสัญญา การหยั่งธรณีก็เช่นกัน ก็เอาข้อมูลแค่ตามสัญญา

รู้แล้วมีประโยชน์อะไร

ในฐานะที่ไม่ว่าเราจะเป็น บ. service บ.แท่น บ.ขายสินค้า หรือ ลูกจ้างบ.เหล่านี้ที่ทำงานให้กับบ.น้ำมัน การที่เรารู้ประเภทหลุม ทำให้เราปรับแต่งสินค้าและบริการ และ การทำงานของเราให้เข้ากับประเภทของหลุมที่บ.น้ำมัน(ลูกค้า)กำลังขุด

ยกตัวอย่างง่ายๆ …

ถ้าลูกค้ากำลังจะขุดหลุม EA เราก็ต้องหาของ และ บริการ ที่เหมาะกับธรรมชาติของหลุม EA เช่น ไม่ต้อง high spec ไม่ต้องทนทานมาก เพราะเดี๋ยวก็ต้องฝังกลบ service ก็เน้นไปที่คุณภาพ และ ปริมาณของข้อมูล แทนที่จะเสนอแบบเหมาจ่าย (bundle) เพื่อจะเอาลดปริมาณ (volume discount) เพราะ ขุด EA ไม่ใช้ของเหมือนๆกันปริมาณมากๆแบบหลุมพัฒนา

แม้ว่ากระประหยัดเวลาจะไม่ใช้ความสำคัญลำดับแรกๆ แต่หลุม EA ก็ใช่ว่าจะขุดแช่กันได้หลายๆเดือน การเสนอบริการ (service) ที่ได้ข้อมูลเยอะๆในเวลาไม่มากก็เป็นจุดขายที่ดี

เวลาเกิดปัญหาหน้างาน ลูกค้ามักจะยื้อ พยายามให้ได้มากที่สุดก่อนจะยอมแพ้ เพราะต้องการข้อมูล ถ้าเราเป็นวิศวกรบ.service หน้างาน ก็อย่าไปเสนอทางเลือก (ในงานของตัวเอง) ที่ออกไปในแนว พอเหอะ ไปขุดหลุมใหม่ดีก่าพี่ เพราะจะไม่ถูกจริตกับวัตถุประสงค์ลูกค้า

ถ้าขายของให้หลุมพัฒนาก็ต้องเน้น ปริมาณ ทำสัญญาพ่วงโน้นพ่วงนี้ เหมาจ่ายยกหลุม ยกแพ็คยกโหล ให้ลูกค้าบริหารงบฯได้ง่าย และประหยัด สินค้าและบริการอะไรที่ประหยัดเวลาให้ลูกค้าได้ก็ต้องหมั่นไปนำเสนอ หรือ ถ้าลูกค้าจะขุดหลุมแก้บนล่ะก็ อย่าไปเสนอขายอะไรที่ไฮเทค แฟนซีบ้าบอ อะไรเป็นต้น

สรุป ..

ในมุมมองของบ. service และ บ.ที่ขายสินค้า โดยรวมแล้ว ก็เข้าทำนอง รู้เขารู้เรา รู้ว่าลูกค้าเรากำลังทำอะไร เพราะอะไร เราก็จะขายสินค้าและบริการได้ง่ายขึ้น ไม่เสนอขายอะไรที่ผิดฝาผิดตัว แถมลูกค้าอาจจะไปเม้าส์ลับหลังว่าไม่ทำการบ้านมาเลยนี่หว่า

การเข้าถึง เข้าใจ การทำงานของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา เป็นสิ่งสำคัญเสมอในงานขายนะครับ

ในมุมมองของคนบ.น้ำมันเอง ก็ไม่น่าจะมีอะไรพิเศษเพราะคนของบ.น้ำมันย่อมรู้อยู่แล้วว่าทำอะไรไปเพื่ออะไร

อยากจะเสริมนิดหนึ่งว่า การสื่อสาร บอกกับคู่ค้าผู้ให้บริการเราทราบอย่างชัดเจน จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เราก็จะได้สินค้าและบริการที่เหมาะสม ตรงกับงานของเรา ดีกว่าอุบไว้ แทงกั๊ก ไม่ให้ คู่ค้าผู้ให้บริการเราทราบ เขาก็เสนอของเสนอบริการที่ไม่ตรงกับความต้องการของเรา การทำงานจะขาดการบูรณาการ ขาดประสิทธิภาพ และ ลงเอยด้วยการเสียประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย

เราควรจะอยู่กับแบบน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ไม่มีใครใหญ่ใครสำคัญกว่าใคร ให้เกียรติและเคารพความเป็นมืออาชีพของกันและกันเสมอ

เราอยู่ในธุรกิจที่จะต้องโตไปด้วยกัน ไม่ใชธุรกิจที่มุ่งกำจัดใครให้ออกไปจากตลาด เพราะถ้าตลาดมีผู้เล่นน้อยรายแล้ว ในระยะยาว ธุรกิจจะไม่ยั่งยืน

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------