ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Artificial Coral from platform legs ปะการังเทียมจากขาแท่นหลุมผลิต

Artificial Coral from platform legs ปะการังเทียมจากขาแท่นหลุมผลิต -เป็นเรื่องที่ดีครับ ที่เราสามารถเอาอุปกรณ์ สิ่งสร้าง ในอุตสาหกรรมเราที่เหลือใช้ หรือ หมดอายุ ไปทำประโยชน์ได้

ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางทะเล(ไม่ว่าจะเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับทะเล 555) แต่ก็พอรู้มาว่า ที่แหล่งผลิตปิโตรเลียมนอกชายฝั่งอื่นๆนั้นเขาทำเรื่องปะการังเทียมนี้กันเป็นล่ำเป็นสัน

จะว่าไป รถถังปลดระวางบ้าง เรือเก่าๆบ้าง อะไรก็ตามที่จมอยู่ใต้ทะเลแล้วไม่ก่อนให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อมก็โอเคหมดแหละ

โครงสร้างขาแท่นผลิตปิโตรเลียมนี่ ถือว่าซับซ้อนน้อยที่สุดแล้วมังในบรรดาปะการังเทียมที่เราทำๆกัน เช่น เมื่อเทียบกับรถถัง สะพาน หรือ เรือทั้งลำ ที่ต้องผ่านขบวนการเอาสิ่งที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายออกไปก่อน (เช่น น้ำมัน จารบี สารเคมีต่างๆ เป็นต้น) ก่อนจะจมลงไปก้นทะเลให้เป็นปะการังเทียม

ผมเชื่อว่าน่าจะมีศาสตร์ที่มากกว่าความรู้ทั่วๆไปของเราๆ ไม่ใช่แค่ว่าอะไรๆก็จมลงไปได้เป็นปะการังเทียมได้หมด น่าจะมี “สเป็ค” กันพอควร อย่างน้อยก็ตำแหน่งที่จมลง ความใหญ่โต ความสูง ความเตี้ย ไม่ให้เรือผิวน้ำวิ่งๆมาแล้วครูดท้องเรือเป็นรู 555 🙂

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ส่วนว่าจะไปเกะกะเรือดำน้ำไหมนี่ก็เป็นอีกเรื่อง แต่ถ้าเรือดำน้ำหลบไม่พ้น หรือ วิ่งชนปะการังเทียมแล้วล่ะก็ ผมว่าอย่าไปรบกับใครเล้ย หุหุ 😛

เรื่องนี้ต้องให้ความดีความชอบกับเชฟรอนด้วยโดยตรง ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง ลงทั้งทุนลงทั้งแรง ในโครงการนี้ ได้ประโยชน์ครบถ้วนทุกภาคส่วน win – win – win -win ให้ 4 win เลยครับ

บทพิสูจน์ 6 ปี ปะการังเทียมขาแท่น ชาวพะงัน ได้ประโยชน์จริงหรือ?

บทพิสูจน์ 6 ปี ปะการังเทียมขาแท่น ชาวพะงัน ได้ประโยชน์จริงหรือ?

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

Artificial Coral from platform legs

ปะการังเทียมจาก 7 ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม จุดท่องเที่ยวดำน้ำแห่งใหม่ในอนาคตอันใกล้

ที่มา … https://www.energynewscenter.com/%e0%b8%9b%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%81-7-%e0%b8%82%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%99/

ภายในเดือนกันยายน 2563 นี้ ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมจำนวน 7 ขาแท่นซึ่งเคยอยู่ในพื้นที่สัมปทานปิโตรเลียมแหล่งเอราวัณ ที่มีบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เป็นผู้รับสัมปทาน จะถูกรื้อถอนและเคลื่อนย้ายด้วยเรือยกขนาดใหญ่ มาจัดวางเป็นปะการังเทียมบริเวณห่างจากเกาะพะงันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 7.5 ไมล์ทะเลจนครบทั้งหมด

โดยในอนาคตอีกไม่กี่ปีข้างหน้า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เชื่อมั่นว่าพื้นที่ขนาด 2 คูณ 2 ตารางกิโลเมตรที่ถูกเลือกให้จัดวางกองปะการังเทียมรูปแฉกดาวขนาด 0.05 ตารางกิโลเมตร แห่งนี้ จะสร้างประโยชน์ทางด้านการประมง และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่ดึงดูดนักดำน้ำชมปะการังจากทั่วโลก ให้เดินทางมาสัมผัสความงามใต้ท้องทะเลอย่างต่อเนื่อง สร้างชื่อเสียง สร้างรายได้ ให้กับคนในจังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยเฉพาะที่ เกาะพะงัน เกาะสมุย และเกาะเต่า ที่จะกลายเป็นจุดแวะพักสำคัญ

เมื่อต้นเดือนกันยายน 2563 ที่ผ่านมา กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด พาคณะสื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องนั่งเรือออกไปดูการเคลื่อนย้ายขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขาแท่นที่ 4 จากจำนวน 7 ขาแท่น ในบริเวณใกล้จุดจัดวางปะการังเทียม ภายใต้ โครงการนำร่องการใช้ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมจำนวน 7 ขาแท่น ไปจัดวางเป็นปะการังเทียม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล บริเวณเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

default

เรือยกขนาดใหญ่ที่ใช้เคลื่อนย้ายขาแท่นเหล่านี้ มีสมรรถนะในการยกสิ่งของซึ่งมีน้ำหนักมากถึง 3,000 ตัน หรือ มากกว่า 4-8 เท่าของน้ำหนักขาแท่นจริง ทำหน้าที่ลากจูงขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม น้ำหนักประมาณ 300–700 ตัน ขนาดฐานกว้างประมาณ 20-22.5 เมตร สูง 70-84 เมตร หรือสูงมากกว่าตึก 20 ชั้น ด้วยการลากขาแท่นในแนวดิ่งที่มีบางส่วนอยู่ใต้น้ำตลอดเวลา ด้วยความเร็วต่ำตามที่กำหนด

ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมขาที่ 4 ถูกรื้อถอนและย้ายมาจากแหล่งผลิตปิโตรเลียมปลาทอง มีระยะทางห่างจากจุดที่จัดวางทำปะการังเทียม ประมาณ 150 กิโลเมตร

การที่เรือยกต้องแล่นด้วยความเร็วต่ำ เพื่อที่จะรักษาสภาพความสมบูรณ์ของปะการังและสัตว์ทะเลที่เกาะติดอยู่ที่ผิวของขาแท่นเอาไว้ให้ได้มากที่สุด

ส่วนของขาแท่นที่นำมาจัดวาง เมื่อล้มลงในแนวนอนจะมีความสูงประมาณ 20 – 22.5 เมตร และเมื่อวางขาแท่นที่ระดับน้ำ 38.5 – 39.5 เมตร จะทำให้ส่วนที่สูงที่สุดของยอดกองปะการังเทียมห่างจากผิวน้ำไม่น้อยกว่า 15 เมตร เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ

Artificial Coral

โดยเหตุผลที่ต้องมีการรื้อถอนขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม ก็เพราะบริษัทผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมต้องดำเนินการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่รัฐไม่ได้รับโอนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาสัมปทาน ตามกฏหมาย

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ในแหล่งผลิตปิโตรเลียมเอราวัณ ที่มีบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เป็นผู้รับสัมปทานนั้น จะต้องดำเนินการรื้อถอนแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ไม่ได้รับโอนไปใช้ประโยชน์ จำนวน 49 แท่น (รวม 7 ขาแท่นที่นำมาจัดวางเป็นปะการังเทียมของโครงการนำร่อง)

ทั้งนี้ การรื้อถอนโครงสร้างแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม จะแบ่งเป็น 2 ส่วน

ส่วนแรกเป็นโครงสร้างส่วนบนที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเล (Topside) สามารถรี้อถอนได้โดยนำไปบริหารจัดการบนฝั่ง หรือ นำไปใช้ประโยชน์ใหม่ในกิจการปิโตรเลียม

ส่วนที่สองเป็นโครงสร้างส่วนของขาแท่นที่อยู่ใต้ระดับน้ำทะเล (Jacket) สามารถรื้อถอนโดยขนย้ายขึ้นไปจัดการบนฝั่ง หรือ การรื้อถอนและขนย้ายเพื่อมาทำเป็นปะการังเทียม โดยต้องได้รับอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ

Artificial Coral

นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ให้สัมภาษณ์บนเรือระหว่างนำคณะสื่อมวลชนเดินทางมาสังเกตการณ์ ว่า ที่ผ่านมากรมฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณมาจัดทำปะการังเทียมเพื่อเป็นการอนุรักษ์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในทะเลปีละประมาณ 100 ล้านบาทอยู่แล้ว

การที่สามารถนำขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมซึ่งมีความคงทน แข็งแรง ทำจากเหล็กกล้า (carbon steel) ที่จัดสร้างเพื่อใช้งานในทะเลโดยเฉพาะ มาจัดวางเป็นปะการังเทียมเพิ่มเติม โดยได้รับการสนับสนุนงบจากทางเชฟรอน จึงถือเป็นเรื่องที่ดี ที่จะช่วยรัฐประหยัดงบประมาณในการจัดวางปะการังเทียม

ทั้งนี้ ในปี 2556 ที่มีการเริ่มดำเนินการทำปะการังเทียมจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมจำลอง ที่อ่าวโฉลกหลำ เกาะพะงัน ซึ่งเป็นขาแท่นจำลองที่ใช้วัสดุเหล็กกล้าแบบเดียวกัน โดยที่มีทางสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นผู้ติดตามและประเมินผล ก็พิสูจน์ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า วัสดุขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่นำมาวางเป็นปะการังเทียม สามารถเป็นที่เกาะติดของปะการังและสัตว์ทะเล รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์ปลา สัตว์ทะเลหลากหลายชนิด อย่างได้ผล

Artificial Coral

นายโสภณ กล่าวด้วยว่า หลังจากการจัดวางขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมทั้ง 7 ขาเสร็จแล้ว ทช. และ จุฬาฯ ซึ่งได้รับงบประมาณจากทางเชฟรอน 22.8 ล้านบาท จะร่วมกันติดตามและประเมินผลโครงการฯ ดังกล่าวในช่วง 2 ปีนี้ ก่อนนำไปสู่การขยายผลในอนาคตต่อไป

โดยกรมฯ จะมีการออกระเบียบที่จะคุ้มครองพื้นที่ดังกล่าวเอาไว้ เพื่อป้องกันการรุกล้ำเข้ามาทำประมงด้วยอุปกรณ์เครื่องมือที่ไม่ได้รับอนุญาต ที่จะช่วยให้บริเวณดังกล่าว เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน และเป็นที่รวมของสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์

ในอนาคตอันใกล้นี้ เชื่อมั่นว่า บริเวณที่จัดวางปะการังเทียมจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม จะเป็นจุดรองรับเรือทัวร์ของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่ชื่นชอบการดำน้ำดูปะการังที่มาพักที่เกาะพะงัน เกาะสมุย และเกาะเต่า ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และยังช่วยลดปริมาณนักท่องเที่ยวที่เข้ามาดำน้ำในแนวปะการังธรรมชาติเดิมด้วย

ด้านนายอรรจน์ ตุลารักษ์ ผู้จัดการแผนกรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่เลิกใช้งานในกิจการปิโตรเลียม บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันขาแท่นทำหน้าที่เสมือนปะการังเทียมอยู่แล้ว เพราะมีโครงสร้างซับซ้อนและมีความทนทาน เหมาะในการลงเกาะของปะการังและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นอย่างดี

Artificial Coral

การย้ายขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมจากพื้นที่สัมปทานเพื่อนำมาจัดวางเป็นปะการังเทียมในบริเวณที่ใกล้กับชายฝั่งมากขึ้น และเป็นจุดที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องได้เห็นชอบร่วมกัน จะเกิดประโยชน์ต่อประเทศในหลายด้าน ทั้งการเพิ่มพูนทรัพยากรทางทะเล และเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน

โดยตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ มีหน่วยงานภาครัฐคอยกำกับดูแลในทุกขั้นตอน และบริษัทเชฟรอนเองก็ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในระดับสากล

อย่างไรก็ตาม สำหรับการนำขาแท่นมาจัดวางเป็นปะการังเทียมในระยะถัดไปนอกเหนือจากโครงการนำร่องนี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยจะพิจารณาจากผลการศึกษาของโครงการนำร่องนี้ ส่วนกระบวนการในระยะยาวจะได้ผลดีมากน้อยแค่ไหน ก็ต้องมีการติดตามต่อไป แต่แนวโน้มเป็นไปด้วยดี นายโสภณ กล่าวทิ้งท้าย

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------