ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

เงื่อนไขการประมูล PSC เป็นธรรมตามพ.ร.บ.ปิโตรเลียมและมาตรฐานสากล – ข่าว

เงื่อนไขการประมูล PSC ฯลฯ มาอีกแล้วครับ เรื่องนี้

จากที่ผมเคยจัดไปแล้วดอกหนึ่งเมื่อ … คปพ. ขู่ฟ้อง หากไม่แก้ไข TOR เอราวัณ บงกช ตามข้อเสนอ

คราวนี้เป็นทีของกรมเชื้อฯ บ้างที่จะออกมาตอบคำถาม เรื่อง เงื่อนไขการประมูล psc หนนี้ ไปตามอ่านกันครับว่า กรมฯ ตอบครบไหม ตรง(คำถาม)ไหม (คำตอบ)เชื่อถือได้ไหม

…  แน่นอนครับ ไอ้ปากกระพ้มมันก็คันครับ ไม่ได้เข้าข้างแมวที่ไหน ความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ขอจัดให้คปพ.(ต่ออีก)สักชุด 🙂

ค่าภาคหลวง

คปพ. – “… ซึ่งในความเป็นจริงเมื่อผลิตได้ควรหักค่าภาคหลวงให้รัฐทันที …”

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

กรมฯ – “… ภายใต้ระบบสัญญาการแบ่งปันผลผลิต หรือ PSC นั้น กำหนดให้ผู้รับสัญญาต้องจ่ายค่าภาคหลวง 10% ทันทีที่ผลิตได้ …”

ผม “… กรมฯตอบไปแล้วนะป้า …”

ขายก่อนแบ่ง หรือ แบ่งก่อนขาย แล้ว ให้ใครขายดี

คปพ. – “… ไม่ควรรอให้เกิดการขายปิโตรเลียมได้ก่อน และ จุดแบ่งปันผลผลิตควรเกิดขึ้นเมื่อผลิตปิโตรเลียมขึ้นมาแล้ว ไม่ใช่เมื่อขายปิโตรเลียมแล้ว … ยังกำหนดรูปแบบการแบ่งผลประโยชน์ที่ไม่เหมาะสม ในระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) คือ มีการใช้คำว่า ขาย กำกับในเกือบทุกมาตรา เท่ากับการแบ่งปันผลประโยชน์จะเกิดขึ้นต่อเมื่อขายปิโตรเลียมแล้วเท่านั้น …”

กรมฯ – “… เมื่อผลิตปิโตรเลียมขึ้นมาแล้วก็ต้องขาย ดังนั้นจึงให้ผู้รับสัญญาทำหน้าที่เป็นผู้ขายด้วย เพื่อให้รัฐไม่ต้องไปจ้างเอกชนรายอื่นมาดำเนินการอีก เพราะเป็นการทำงานซ้ำซ้อน … เพราะหากรัฐนำปิโตรเลียมไปขายเอง แต่ขายได้น้อยกว่าหุ้นส่วน ผลประโยชน์ก็จะได้รับน้อยกว่าด้วย  ซึ่งแนวทางดังกล่าว ในหลายประเทศที่ใช้ระบบ PSC ก็ถือปฎิบัติกันอยู่แล้ว …”

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ผม – เอาประเด็นแรกก่อนครับ เมื่อผลิตขึ้นมาแล้ว ควารแบ่งก่อนตามสัญญา เช่น ผลิตได้ 100 ถัง เอกชนเอาไป 20 ถัง รัฐฯเอามา 80 ถัง แล้วต่างคนต่างขาย มันก็ได้ครับ แต่มันไม่เป็นสากล เขาไม่ทำกัน แต่ถ้าเราจะทำมันก็ไม่ผิดอะไร แต่ต้องคำนึงถึงอย่างน้อยก็ 3 ประเด็นนี้

1.รัฐกับเอกชนแข่งกันขาย เดี๋ยวก็ตัดราคากันเอง

2.ปริมาณการขายคนล่ะหน่อย ไม่มีกำลังการต่อรองกับผู้ซื้อ ไม่มีการประหยัดเนื่องจากปริมาณ

3.ขบวนการขายซ้ำซ้อน ต้นทุนการขายสูง

ถ้าตกลงแล้วว่า ไม่ดี ไม่เอาแบบแบ่งก่อนขาย งั้นขายก่อนค่อยแบ่งรายได้กันเป็นตัวเงิน ซึ่งแบบนี้เป็นสากลครับ ดังนั้นประเด็นต่อมาจึงเป็นว่า ใครขาย

แหม … ถ้าให้รัฐฯขาย ก็รู้ๆอยู่ครับ ขบวนการเอย อะไรเอย ใครๆก็รู้ ของเหมือนกัน รัฐซื้อแพงกว่าเอกชน พอจะขาย ของเหมือนกัน รัฐขายได้ถูกกว่าเอกชน งั้นให้เอกชนขายน่ะดีแล้ว เขาทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่า (หรือใครจะเถียงผม) ให้เขาขายได้ราคาดีๆ แล้วเราคอยรับส่วนแบ่งเป็นตัวเงินชัวร์ๆตามสัญญาดีกว่า เพราะเขาก็ต้องขายให้ได้ราคาดีที่สุด จริงไหม เพราะเขาก็ได้ประโยชน์จากราคาขายที่สูงๆเช่นกัน

เกณฑ์ผู้ได้รับสิทธิ์

คปพ. – “… การกำหนดเกณฑ์ผู้ได้รับสิทธิ์สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ที่ภาครัฐจะใช้วิธีการให้คะแนน มากกว่ามองที่ข้อเสนอการให้ผลตอบแทนกับภาครัฐ …”

ผม – ระบบคะแนนที่ว่าน่ะครับ เขาก็เอา ข้อเสนอการให้ผลตอบแทนกับภาครัฐ ไว้ในสมการอยู่แล้วครับ … จบนะพี่หม่อมฯ

ค่ารื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม

คปพ. – “… ในเรื่องของภาระค่ารื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม ก็ควรให้ผู้ผลิตรายเดิมรับภาระไปทั้ง 100% แต่รัฐไปกำหนดเงื่อนไขใหม่ให้รายเดิมรับภาระค่ารื้อถอนตามการผลิตปิโตรเลียมจริง ส่วนที่เหลือให้รายใหม่ที่จะเข้ามาผลิตเป็นผู้รับผิดชอบ …”

กรมฯ –  “… กรณีให้ผู้ผลิตรายใหม่ต้องรับผิดชอบค่ารื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมต่อจากรายเดิมนั้น เป็นการแบ่งส่วนความรับผิดชอบ ซึ่งก็ยืนยันว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล …”

ผม – กรมฯท่านก็ชี้แจงสั้นไปนิดนะครับ ท่านบอกแต่ว่าเป็นสากล งั้นผมขอทำหน้าที่แจงสี่เบี้ยต่อจากท่านก็แล้วกัน

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

คืองี้ครับญาติโยม

ค่ารื้อถอนเนี้ย โดยสากล และ หลักเหตุผลแล้ว คนแรกที่สร้างสิ่งก่อสร้างขึ้นมาแล้วได้รายได้จากสิ่งก่อสร้างนั้น ผลิตออกมาแล้วเกลี้ยงหมดจด ก็ต้องรับผิดชอบรื้อถอนทั้งหมด 100%

แต่ถ้าผลิตออกมาไม่หมด สิ่งก่อสร้างนั้นๆที่เจ้าแรกสร้างไว้ ยังใช้งานได้ต่อ เจ้าที่สองประมูลชนะรับช่วงต่อมีทางเลือกสองทางคือ

1. แบบโง่ๆ คือ บังคับให้เจ้าแรกรื้อถอนไป 100% เจ้าที่สองสร้างใหม่หมด แล้วรับผิดชอบค่ารื้อถอนเอง (ก็สร้างเองใช้เองนี่) วิธีนี้มันก็นะ ดีตรง ชัดเจนไม่ต้องคิดมาก ตรงไปตรงมา

2. แบบฉลาดหน่อย และ เป็นสากล คือ สมมติว่า ทั้งหมดใต้ดินมี 100 ถัง เจ้าแรกผลิตไปแล้ว 40 ถัง ค่ารื้อถอนรวมทั้งหมด 100 บาท เจ้าแรกก็ต้องรับค่ารื้อถอนไป 40 บาท ก็เจ้าแรกใช้ประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างไปแล้ว 40% ของผลประโยชน์ทั้งหมดนี่นา ส่วนค่ารื้อถอนอีก 60 บาท เจ้าที่สองก็รับไป

วิธีนี้ ไม่เปลืองทรัพยากร ทุบของเก่าทิ้งทั้งที่ยังใช้ต่อได้ ไม่เสียเวลาเสียวัตถุดิบสร้างกันใหม่ เป็นธรรม ใครใช้สร้างรายได้ไปเท่าไรก็จ่ายค่ารื้อถอนเท่านั้นเป็นสัดเป็นส่วนกัน

วิธีที่สองนี่มันมีปัญหาเมื่อยตุ้มอยู่ตรงที่ต้องเขย่ากันให้สะเด็ดน้ำว่า ปริมาณสำรองที่อยู่ใต้ดินนั้น ทั้งหมดมันมีเท่าไร และ ค่ารื้อถอนรวม 100% (ไม่ว่าจะใช้มูลค่าวันก่อสร้าง มูลค่าปัจจุบัน หรือ มูลค่าณ.วันรื้อถอน) ที่เป็นธรรมนั้นมันเท่าไร

ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรง เพราะปกติจะมีหน่วยงานกลางที่เป็นสากล ที่ทั้งเจ้าเก่า เจ้าใหม่ รัฐฯ เชื่อถือ มาเป็นตัวกลางประเมินให้ แต่ก็ต้องมีค่าประเมิน ก็ว่ากันไปว่า ใครจะจ่าย รัฐฯจ่ายหมด หรือ จะหารสอง หารสาม หรือ แบ่งจ่ายเป็น % ก็ว่ากันไป

เข้าใจตรงกันนะป้า นะพี่หม่อมฯ … 🙂

บรรษัทพลังงานแห่งชาติ

คปพ. – “… รัฐทำเหมือนว่าจะมีการเพิ่มทางเลือก จากระบบสัมปทาน คือ มีระบบแบ่งปันผลผลิต และ ระบบจ้างผลิต แต่ก็ไม่ได้มีการตั้ง บรรษัทพลังงานแห่งชาติ (NOC ) มาเป็นผู้ดำเนินการ  รวมทั้งการตั้งกติกาที่สูงเกินไป ไม่เป็นสากล ไม่มีความโปร่งใส และเอื้อต่อเอกชน …”

ผม – แผ่นเสียงตกร่องครับ ขี้เกียจเมื่อยนิ้วพิมพ์ตอบ เอานิ้วผมไปเมื่อยเพราะกิจกรรมที่บันเทิงเริงรมณ์*อย่างอื่นดีกว่า 😛

ตรวจสอบทรัพย์สินที่จะโอนกลับมาเป็นของรัฐ

คปพ. – “… คปพ. ได้ทำหนังสือไปยัง สตง. เพื่อให้ทำหน้าที่ทำการตรวจสอบทรัพย์สินที่จะโอนกลับมาเป็นของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ แท่นขุดเจาะทั้งหมด ก่อนที่จะมีการเปิดประมูล …”

ผม – จะยกตัวอย่างอะไรก็ให้สมจริงหน่อยครับ แท่นขุดเจาะน่ะ เราไปเช่าเขามาใช้งาน เหมือนกับเราไปเช่าปั่นจั่นมาตอกเสาเข็มสร้างตึกนะครับ ไม่ใช่ของผู้รับสัมปะทาน ไปโอนกลับมาเป็นของรัฐไม่ได้ครับ

หลายท่านอาจจะชูจั๊กแร้แย้งว่า เป็นเรื่องเล็กน้อยๆ จะไปจับผิดอะไรมากมาย แต่ผมว่านะ เรื่องเล็กๆน้อยๆนี่แหละที่ชี้ให้เห็นถึงความรู้(ไม่)จริงของทีมงานที่ออกมาค้าน อันจะโยงไปทำให้สิ่งที่พูดออกมาก่อนหน้า หรือ ที่จะพูดออกมาภายหลัง ลดความน่าเชื่อถือ หรือ หมดความน่าเชื่อถือ

… เอาล่ะครับ สบายใจแล้ว ได้พูด 555 ไปอ่านข่าวกันได้ครับ

*หมายถึง เล่นกีต้าร์น่ะครับ อย่าคิดมาก 555

——————————–

เงื่อนไขการประมูล PSC

ที่มา http://www.energynewscenter.com/index.php/news/detail/1219

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ แจงเงื่อนไขการประมูล (TOR) ภายใต้ระบบแบ่งปันผลผลิต เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ปิโตรเลียมที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม และตามมาตรฐานสากล

ในขณะ คปพ.ตั้งโต๊ะแถลงข่าว ยื่นหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี  พร้อมเรียกร้องให้ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เข้ามาตรวจสอบทรัพย์สินและอุปกรณ์ที่ผู้รับสัมปทานที่จะโอนกลับมาเป็นของรัฐ ให้เสร็จสิ้นก่อน การเปิดประมูล

นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า กระบวนการประมูลสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแหล่งเอราวัณและบงกช  ภายใต้ระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) ที่กำลังจะเกิดขึ้น นั้นมีการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย โปร่งใส และ เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล

โดยผู้ที่จะมีสิทธิเข้าร่วมการประมูลนั้น จะต้องผ่านในขั้นตอนการพิจารณาคุณสมบัติผู้เข้าประมูล (Pre  Qualification – PQ) ที่กำหนดเกณฑ์ตามมาตรฐานสากลและกฎหมายมาตรา 24 ใน พ.ร.บ.ปิโตรเลียม

ทั้งนี้ ภายใต้ระบบสัญญาการแบ่งปันผลผลิต หรือ PSC นั้น กำหนดให้ผู้รับสัญญาต้องจ่ายค่าภาคหลวง 10% ทันทีที่ผลิตได้ ส่วนผลประโยชน์อื่นจะมีการแบ่งปันเมื่อขายปิโตรเลียมแล้ว

เนื่องจากเมื่อผลิตปิโตรเลียมขึ้นมาแล้วก็ต้องขาย ดังนั้นจึงให้ผู้รับสัญญาทำหน้าที่เป็นผู้ขายด้วย เพื่อให้รัฐไม่ต้องไปจ้างเอกชนรายอื่นมาดำเนินการอีก เพราะเป็นการทำงานซ้ำซ้อน

โดยวิธีนี้รัฐ ได้ประโยชน์มากกว่าเสีย เพราะหากรัฐนำปิโตรเลียมไปขายเอง แต่ขายได้น้อยกว่าหุ้นส่วน ผลประโยชน์ก็จะได้รับน้อยกว่าด้วย  ซึ่งแนวทางดังกล่าว ในหลายประเทศที่ใช้ระบบ PSC ก็ถือปฎิบัติกันอยู่แล้ว

ส่วนกรณีให้ผู้ผลิตรายใหม่ต้องรับผิดชอบค่ารื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมต่อจากรายเดิมนั้น เป็นการแบ่งส่วนความรับผิดชอบ ซึ่งก็ยืนยันว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล

สำหรับกรณีกำหนดให้ใช้ระบบสัญญาจ้างผลิต( SC) เฉพาะกับแหล่งที่มีปิโตรเลียมจำนวนมากนั้น  เห็นว่าระบบดังกล่าวไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับศักยภาพปิโตรเลียมของประเทศไทย  ซึ่งก็สอดคล้องกับทั่วโลกส่วนใหญ่ไม่ใช้ระบบ SC เพราะขัดกับหลักการดำเนินธุรกิจขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมที่ว่า High risk high return  หรือ เสี่ยงมาก กำไรมาก

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน(Energy News Center -ENC )

รายงานว่าการให้สัมภาษณ์ชี้แจงเกี่ยวกับขั้นตอนกระบวนการจัดทำ TOR ประมูลแหล่งเอราวัณ และ บงกช ของรองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เกิดขึ้นในช่วงหลังจากที่เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) นำโดย  มล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ,นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ,นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล และ น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ตั้งโต๊ะแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เมื่อเวลา 10.30 น ของ. วันที่ 3 เม.ย. 2561

โดย มล.กรกสิวัฒน์ กล่าวว่า คปพ.ได้ส่งหนังสือท้วงติงการเตรียมประมูลแหล่งปิโตรเลียมเอราวัณ และ บงกชที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้  ต่อ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ส่งถึง สตง. เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2561 ที่ผ่านมา

เนื่องจากเห็นว่าเงื่อนไขการประมูล(TOR) หลายประการมีความไม่เป็นธรรม เช่น การกำหนดเกณฑ์ผู้ได้รับสิทธิ์สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ที่ภาครัฐจะใช้วิธีการให้คะแนน มากกว่ามองที่ข้อเสนอการให้ผลตอบแทนกับภาครัฐ

นอกจากนี้ในกฎหมายลูกของ พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับใหม่ ยังกำหนดรูปแบบการแบ่งผลประโยชน์ที่ไม่เหมาะสม ในระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) คือ มีการใช้คำว่า ขาย กำกับในเกือบทุกมาตรา เท่ากับการแบ่งปันผลประโยชน์จะเกิดขึ้นต่อเมื่อขายปิโตรเลียมแล้วเท่านั้น

ซึ่งในความเป็นจริงเมื่อผลิตได้ควรหักค่าภาคหลวงให้รัฐทันที ไม่ควรรอให้เกิดการขายปิโตรเลียมได้ก่อน และ จุดแบ่งปันผลผลิตควรเกิดขึ้นเมื่อผลิตปิโตรเลียมขึ้นมาแล้ว ไม่ใช่เมื่อขายปิโตรเลียมแล้ว

นอกจากนี้ ในเรื่องของภาระค่ารื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม ก็ควรให้ผู้ผลิตรายเดิมรับภาระไปทั้ง 100% แต่รัฐไปกำหนดเงื่อนไขใหม่ให้รายเดิมรับภาระค่ารื้อถอนตามการผลิตปิโตรเลียมจริง ส่วนที่เหลือให้รายใหม่ที่จะเข้ามาผลิตเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งกลายเป็นต้นทุนที่ผู้ผลิตรายใหม่จะต้องนำมาคำนวณและ ส่งผลการพิจารณาเสนอผลประโยชน์ให้กับรัฐอาจลดลงด้วย

และ การที่ภาครัฐกำหนดเงื่อนไขการใช้ระบบสัญญาจ้างผลิต (SC)จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีแหล่งผลิตปิโตรเลียมขนาดใหญ่มีน้ำมันดิบ 300 ล้านบาร์เรลขึ้นไป ในขณะที่ไทยมีเพียง 280 ล้านบาร์เรล จึงไม่เหมาะสมนั้น เห็นว่าในประเทศมาเลเซีย เพียงมีปริมาณสำรอง 15-35 ล้านบาร์เรล ก็สามารถใช้ระบบดังกล่าวได้แล้ว  ดังนั้นการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวเท่ากับปิดโอกาสที่จะใช้ระบบ SC ในประเทศ

ส่วน นายปานเทพ กล่าวว่า คปพ. ได้ทำหนังสือไปยัง สตง. เพื่อให้ทำหน้าที่ทำการตรวจสอบทรัพย์สินที่จะโอนกลับมาเป็นของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ แท่นขุดเจาะทั้งหมด ก่อนที่จะมีการเปิดประมูล

ในขณะที่นาย ธีระชัย  กล่าวว่า รัฐทำเหมือนว่าจะมีการเพิ่มทางเลือก จากระบบสัมปทาน คือ มีระบบแบ่งปันผลผลิต และ ระบบจ้างผลิต แต่ก็ไม่ได้มีการตั้ง บรรษัทพลังงานแห่งชาติ (NOC ) มาเป็นผู้ดำเนินการ  รวมทั้งการตั้งกติกาที่สูงเกินไป ไม่เป็นสากล ไม่มีความโปร่งใส และเอื้อต่อเอกชน

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561 ได้รับทราบการประมูล โดยเริ่มประกาศเชิญชวนในเดือนเม.ย. 2561 และคาดว่าจะสามารถลงนามสัญญากับผู้ชนะการประมูลได้ภายในเดือนก.พ. 2562 โดยเงื่อนไขการประมูลเบื้องต้นประกอบด้วย การใช้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC)

นอกจากนี้ยังให้ผู้รับสัมปทานรายเดิมชำระค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่จะส่งมอบให้รัฐตามสัญญาสัมปทานตามสัดส่วนของทรัพยากรปิโตรเลียมที่ได้ผลิตไปแล้วและที่คงเหลือหลังการส่งมอบ  ส่วนการแบ่งพื้นที่ประมูลนั้น กำหนดให้พื้นที่สำหรับการประมูลแหล่งเอราวัณตามสัญญาสัมปทาน เลขที่ 1/2515/5 และ เลขที่ 2/2515/6 ซึ่งจะสิ้นอายุสัมปทานวันที่ 23 เม.ย.2565 รวมเป็นแปลงสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่จะบริหารภายใต้สัญญาแบ่งปันผลผลิต 1 สัญญา (แปลง G1/61) และให้เสนอปริมาณการผลิตขั้นต่ำที่ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี

ส่วนแหล่งบงกชตามสัญญาสัมปทาน เลขที่ 5/2515/9 ซึ่งจะสิ้นอายุสัมปทานวันที่ 23 เม.ย. 2565 และสัญญาสัมปทาน เลขที่ 3/2515/7 ซึ่งจะสิ้นอายุสัมปทานวันที่ 7 มี.ค. 2566 รวมเป็นแปลงสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่จะบริหารภายใต้สัญญาแบ่งปันผลผลิต 1 สัญญา (แปลง G2/61) และให้เสนอปริมาณการผลิตขั้นต่ำที่ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี

โดยให้ผู้เข้าร่วมประมูลเสนอราคาก๊าซธรรมชาติ โดยอ้างอิงราคาก๊าซฯที่ใช้ในปัจจุบัน ตามสูตรราคาที่จะกำหนดในเอกสารเงื่อนไขการประมูล และให้ผู้เข้าร่วมประมูลเสนอสัดส่วนการแบ่งกำไรให้แก่รัฐ ซึ่งจะต้องไม่ต่ำกว่า 50%

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------