ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

ทำความรู้จักกับ เอราวัณ – 6 แท่นใน Erawan Complex มีอะไรกันบ้าง

ทำความรู้จักกับ เอราวัณ – 6 แท่นใน Erawan Complex มีอะไรกันบ้าง – บังเอิญว่าได้ผ่านตาบทความเก่า ตั้งแต่กลางปี 2018 ที่พี่ไพโรจน์ กวียานันท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้ให้สัมภาษณ์ Energy New Center เอาไว้ ก่อนจะมีการประมูลและทราบผลที่เราก็ทราบกันดีแล้วในวันนี้

ในบทความมีส่วนหนึ่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ แท่นเอราวัณว่าประกอบไปด้วยกี่แท่น แต่ล่ะแท่นทำอะไรกันบ้าง

ผมจึงตัดเฉพาะส่วนนั้นมาเป็นความรู้แก่พวกเรา

ทำความรู้จักกับ เอราวัณ

6 แท่นใน Erawan Complex มีอะไรกันบ้าง

ที่มา – https://www.energynewscenter.com/%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a1-enc-%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b9%82%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b5-4/

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

แหล่งเอราวัณ

แหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติเอราวัณและแหล่งข้างเคียงนั้น อยู่ในแปลงสัมปทานหมายเลข 10-13 โดยมี บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เป็นผู้รับสัมปทาน และเป็นผู้ดำเนินการ (Operator) โดยเอราวัณไม่เพียงเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติเชิงพาณิชย์แห่งแรกในอ่าวไทย แต่ยังได้ชื่อว่าเป็นฮับการผลิตก๊าซธรรมชาติของเชฟรอนและของอ่าวไทย เพราะผลิตก๊าซตามสัญญาได้ในปริมาณสูงที่สุด มากกว่าทุกแหล่งที่มีอยู่ คือประมาณ 1,280 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือคิดเป็นประมาณ 1 ใน 4 ของความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศ

ทำความรู้จักกับ เอราวัณ

ทำความรู้จักกับ ‘เอราวัณ’

แท่นผลิตกลางของเอราวัณ หรือ Erawan Complex ตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งจังหวัดนครศรีธรรมราชประมาณ 145 กิโลเมตร ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการผลิตทั้งหมด โดยมีบุคลากรคนไทยเป็นผู้ควบคุมและตรวจสอบระบบเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานและการรักษาความปลอดภัย

โครงสร้างของ Erawan Complex ประกอบด้วยแท่น 6 แท่น คือ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

1. แท่นผลิตกลาง (ERCPP –Erawan Centeral Processing Platform )

2. แท่นหลุมผลิตแห่งแรก (ERWA-Erawan Alpha Platform)

3. แท่นกำจัดปรอท ที่ปนขึ้นมากับก๊าซที่ผลิตได้ (ERMPP –Erawan Mercury Removal Platform )

4.แท่นอุปกรณ์เพิ่มแรงดัน (ERCP-Erawan Compression Platform)

5. แท่นที่พักอาศัย 1 (ERLQ1- Erawan Living Quarter 1 ) และ

6. แท่นที่พักอาศัย 2 (ERLQ2- Erawan Living Quarter 2)

นอกจากนี้ ยังมี เรือกักเก็บปิโตรเลียมอีก 1 ลำ (E2FSO) และ แท่นหลุมผลิตอื่นๆ ซึ่งอยู่กระจายออกไปอีก 42 แท่น (รวมแท่นหลุมผลิตในแหล่งเอราวัณ แหล่งบรรพต บรรพตใต้ ประการังใต้ และดารา)

แท่นอุปกรณ์การผลิต และ จำนวนอุปกรณ์การผลิต เรือผลิตและกักเก็บ ในทะเล

แท่นอุปกรณ์การผลิต จำนวนอุปกรณ์การผลิต เรือผลิต กักเก็บ ในทะเล

แท่นผลิตกลาง (ERCPP)

เป็นแท่นขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยอุปกรณ์การผลิตต่างๆ เช่นระบบแยกสถานะ ระบบเพิ่มแรงดันก๊าซ ระบบดูดความชื้น และ มาตรวัด เป็นต้น

โดยก๊าซธรรมชาติที่ขุดขึ้นมาได้จากหลุมผลิตตามตำแหน่งกระเปาะกักเก็บก๊าซซึ่งอยู่กระจัดกระจายกันออกไปตามลักษณะทางธรณีวิทยาของแหล่งเอราวัณนั้น จะถูกส่งผ่านทางท่อใต้น้ำ มารวมกันยังแท่นผลิตกลางเพื่อเข้าสู่กระบวนการต่างๆ ต่อไป เพื่อแยก น้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสารปนเปื้อนอื่นๆ ออกจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

สำหรับแท่นกำจัดปรอท (ERMRP) แห่งนี้

ก็จะแยกปรอทที่ปนขึ้นมากับก๊าซที่ผลิตได้ ก่อนเข้าสู่กระบวนการนำส่งไปยังโรงแยกก๊าซฯ ต่อไป

สำหรับแท่นหลุมผลิต (WHP)

เป็นแท่นที่ใช้สำหรับขุดเจาะหลุมผลิตปิโตรเลียม ภายในแท่นจะประกอบด้วยหลุมผลิตจำนวน 9-12 หลุมหรือมากกว่า และมีอุปกรณ์การผลิตเบื้องต้น เช่น อุปกรณ์แยกสถานะ โดยปิโตรเลียมที่ถูกผลิตขึ้นมาจะผ่าน อุปกรณ์การผลิตเบื้องต้นที่แท่นหลุมผลิตนี้ ก่อนส่งไปผ่านกระบวนการต่อไปที่แท่นผลิตกลางด้วยระบบท่อส่งก๊าซ และการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์

โดยแท่นหลุมผลิตจะอยู่กระจัดกระจายห่างจากเอราวัณคอมเพล็กซ์เป็นระยะทางต่างๆ กัน รวมถึงแท่นหลุมผลิต ERWA ในภาพ ซึ่งเป็นหลุมก๊าซธรรมชาติลำดับแรกที่เริ่มต้นกระบวนการผลิตเมื่อ 36 ปีที่แล้ว ก่อนที่จะสิ้นสุดกระบวนการผลิตเมื่อปี 2541

แท่นอุปกรณ์เพิ่มแรงดัน (ERCP)

เนื่องจากหลุมปิโตรเลียมจะมีแรงดันตามธรรมชาติที่ดันปิโตรเลียมขึ้นมาจากชั้นหินใต้พื้นโลกด้วย แต่เมื่อผลิตไประยะเวลาหนึ่งแรงดันตามธรรมชาติจะลดลง จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เพื่อเพิ่มแรงดันให้กับหลุมให้สามารถนำปิโตรเลียมขึ้นมาได้มากที่สุด เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการผลิต

แท่นที่พักอาศัย 1 และ 2 (ERLQ 1 และ ERLQ 2)

มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ห้องนอน ห้องอาหาร ห้องนั่งเล่น ห้องออกกำลังกาย เป็นต้น โดยแท่นที่อยู่อาศัยทั้ง 2 แท่นนั้น สามารถรองรับพนักงานที่มาปฏิบัติงานได้พร้อมกันถึง 340 คน

นอกจากนี้ ยังมีเรือกักเก็บปิโตรเลียมอีก 1 ลำ

นามว่า “เอราวัณ 2 แทงค์เกอร์” (E2FSO) ทำหน้าที่เก็บกักก๊าซธรรมชาติเหลวเอาไว้ชั่วคราวเพื่อรอเวลาจ่ายให้กับเรือบรรทุกก๊าซของ ปตท. ซึ่งเป็นผู้รับซื้อ ซึ่งจะเดินทางมารับก๊าซฯ ทุก 4-5 วัน

เฉพาะแท่นผลิตปิโตรเลียมเอราวัณแห่งนี้

ผลิตก๊าซส่วนที่มาจากหลุมผลิตของเอราวัณเอง ได้ประมาณ 270 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่มีการส่งก๊าซจากแหล่งอื่นผ่านทางท่อส่งก๊าซใต้ทะเล มาที่แท่นผลิตแห่งนี้ด้วย ได้แก่ จาก แหล่งบรรพต ปริมาณ 90-100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจากแหล่งจักรวาล (ตะวันตก) อีก 90 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

รวมทั้งมีการผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ คอนเดนเสท (Condensate ) ซึ่งเมื่ออยู่ในแหล่งกักเก็บตามธรรมชาติจะมีสถานะเป็นก๊าซ แต่เมื่อขึ้นมาอยู่ในสภาพบรรยากาศจะกลายเป็นของเหลว อีกประมาณ 12,000 บาร์เรลต่อวัน

————————————————

recta sapere

เราเล่นกับความไม่รู้มาตลอดประวัติศาสตร์

เราเล่นกับความไม่รู้มาตลอดประวัติศาสตร์ เมื่อเราไม่รู้เราก็จะกลัว เมื่อเราไม่รู้เราก็จะเชื่อ เราคิดว่าเราเชื่อเพราะเรากลัว แต่จริงๆไม่ใช่เลย ความกลัวเป็นแค่ทางแยก หรือ ทางผ่านเท่านั้น

เราเชื่อเพราะเราไม่รู้ต่างหาก

พิธีกรรมต่างๆในทุกระบบความเชื่อมักจะทำกันในที่ที่อากาศเย็นหรืออุ่นกว่าอากาศแวดล้อมปกติ ความสว่างน้อยกว่าปกติ ใช้คำพูดที่ไม่ใช่ภาษาที่สื่อสารกันในยุคสมัยนั้นๆ พูดง่ายๆคือ ฟังไม่รู้เรื่อง และ มักมีกลิ่นที่ชวนเคลิ้ม ซึ่งส่วนมากมากจากการเผาไม้หรือกระดูกสัตว์บางชนิด

ตาก็มองไม่ค่อยเห็น เพราะแสงสว่างน้อย หูก็ฟังไม่รู้เรื่อง ปากก็ท่องๆไปทำให้เกิดเสียงที่ฟังแล้วก็ไม่เข้าใจ จมูกก็สูดกลิ่นสารเคมี

มนุษย์เรามักไม่ค่อยจะมีพิธีกรรมอะไรที่ทำกันกลางแจ้ง โล่งๆ ในเวลากลางวันสว่างๆ ใช้ภาษาที่ฟังรู้เรื่อง เพราะว่าเมื่อเราเห็น เราเข้าใจ เรารู้ เราก็จะไม่กลัว แล้วเราก็จะเริ่มตั้งคำถาม ซึ่งจะนำไปสู่ความเห็นที่หลากหลาย ไปจนถึงการไม่เชื่อ ผู้นำที่ใจแคบก็มักจะไม่โปรดผลลัพท์แบบนั้น ก็มันทำให้ปกครองยากนี่นา จริงไหม …

อีกมิติ … มันดูไม่ขลัง …

บทสวดมนต์ คาถา มนตรา ชื่อพฤกษศาสตร์ของพืชและสัตว์ คำราชาศัพท์ ชื่อเมืองหรือบุคคลสำคัญสมัยโบราณ ฯลฯ คือ ปรากฏการณ์ใกล้ตัวที่เราสัมผัสมาได้โดยตลอด

จึงไม่แปลกที่ในงานบุญงานศพขณะที่พระท่านสวด ภาพที่เราจะเห็นคือ มือที่พนมหันไปทางตาลปัตร แต่หน้าเจ้าของมือกลับหันไปข้างๆคุยกันเสียฉิบ เพราะ ฟังไป(กู)ก็ไม่รู้เรื่อง …

การตลาดก็ยังเอามาใช้ …. Extra High Intensive treatment formula (EHI)

ตาสีตาสาฟังแล้วก็งงๆไม่รู้ว่ามันคืออะไร

แต่ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเครื่องรถอีแต๋น แชมพู หรือ ผงซักฟอก ชื่อนี้ก็ยังคงใช้ได้ดีกว่าจะแปลเป็นภาษาไทย … “สูตรบำรุงเข้มข้นมากเป็นพิเศษ” เชยบรรลัยเลย จริงไหม ยังไม่นับว่าถ้าย่อแล้วเท่ห์ๆว่า EHI ยิ่งเพิ่มราคาได้อีก 30% เป็นอย่างน้อย ในฐานะที่(มึง)ฟังไม่รู้เรื่อง หรือ อยากดูเท่ห์ ต้องจ่ายแพงขึ้น 555

ไม่แปลกครับ 30 ปีก่อน ผมเดินทางไปประเทศเพื่อนบ้าน สินค้าอุปโภคบริโภคก็ส่งออกไปจากบ้านเรานี่แหละ ชื่อก็ใช้ชื่อไทยๆ ภาษาก็ภาษาไทยๆ แต่เมื่อไปวางอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน กลายเป็นของดีหรูเริ่ดไปทันทีแค่ข้ามพรมแดน เพราะคนที่นั่นเรียกชื่อสินค้าเหล่านั้นเป็นภาษาไทย นัยว่า “เจริญ” กว่า …

สินค้าจากญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี จีน ครั้งหนึ่งก็ถูกมองว่าเป็นของลอกเลียนแบบ ต้องแอบกินแอบใช้ แต่วันนี้ การได้ใช้ชื่อสินค้าพวกนี้เป็นภาษานั้นๆ (ที่เราก็ไม่รู้ความหมาย) กลับทำให้เรารู้สึกเหมือนประชากรประเทศเพื่อนบ้านที่มีต่อชื่อสินค้าไทยเมื่อ 30 ปีก่อน …

นั่นก็เพราะความไม่รู้นี่แหละ เมื่อสินค้ามีคุณภาพใกล้เคียงกันจนแยกไม่ออก การตลาดก็ยังใช้ความไม่รู้นี่แหละขายสินค้าได้

เพราะเมื่อผู้จะซื้อแยกไม่ออก (หรือแยกออกได้ยาก) ด้วยเนื้อของคุณภาพแล้ว ทางเดียวที่จะทำให้คนจะซื้อจ่ายแพงกว่าคือ ทำให้คนจะซื้อไม่รู้เสียว่ามันคืออะไร ก็ด้วยภาษาที่เขาไม่คุ้นเคย … “ใช้สูตร EHI นี่ซิ ของเขาดีนะ” จ่ายเพิ่มค่าไม่รู้เรื่อง หรือ ค่าอยากเท่ห์ มาซะ 30% 555 🙂

กลับมาที่บทสวดมนต์ ก็ใช้หลักการนี้เช่นกัน หลายๆบทสวดมนต์ ไม่ว่าจะใช้ภาษาละติน อารบิคโบราณ หรือ สันสกฤต ถ้าลองแปลเป็นภาษาท้องถิ่นที่เข้าใจกันได้ ความขลังจะลดลง จนเกือบจะหายไปเลยทีเดียว แต่ปัญญาที่จะเกิดจากความเข้าใจในความหมายของเสียงที่ออกจากปากจะเพิ่มขึ้น

ตัวอย่างใกล้ตัวผมเลย สมัยผมเด็กมากๆ จำได้ว่าในโบสถ์ เราสวดและร้องเพลงด้วยภาษาละติน เด็กไทย 6 – 7 ขวบ ต้องหัดสวด หัดท่อง และ ร้องเพลงภาษาละติน ! ยิ่งกว่าขมหม้อใหญ่ทีเดียว นอกจากความขลังตามปกติที่มากับความไม่รู้ความหมายของบทสวดที่ท่องและเพลงที่ร้องแล้ว ไม้เรียวของนักบวชหญิงยิ่งทำเพิ่มระดับความขลังจากระดับปกติเป็นระดับพิเศษ เมื่อการตีก้นที่ทำโดยนักบวชเป็นการกระทำในนามสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปรารถนาดีต่อเยาวชน 555 🙂

นัยว่าวาติกันคงเล็งเห็น และ เมตตา เด็กน้อยทั่วโลย ไม่นานจากนั้น (ผมก็จำไม่ได้ว่าปีไหนแน่ๆ) บทสวดและเพลงต่างๆในโบสถ์ก็ถูกแปลเป็นภาษาไทย (เข้าใจว่าเป็นภาษาต่างๆทั่วโลกด้วยเช่นกัน)

ความขลังหายไปชั่วข้ามคืน ความเข้าใจผุดขึ้นมา ปัญญา และ ความศรัทธาถูกเสริมให้แข็งแกร่งกว่าที่เคย

ตกลงว่าผมพยายามจะบอกอะไรพวกเราก็ไม่รู้ มั่วๆชอบกล ฝากไปคิดดูล่ะกัน 🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------