ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

ก๊าซจากเอราวัณ การพัฒนาปิโตรเลียม ใช้เวลานาน ลงทุน ความเสี่ยงสูง

ก๊าซจากเอราวัณ การพัฒนาปิโตรเลียม ใช้เวลานาน ลงทุน ความเสี่ยงสูง – มาฟังพี่ไพโรจน์ กวียานันท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เล่าดีกว่าว่า กว่าจะพัฒนาแหล่งๆหนึ่งให้ผลิตได้อย่างเอราวัณนั้น เราสมบุกสมบันกันแต่ไหน

ผมแถมขยายความแทรกไว้ให้ด้วยในส่วนที่พี่ไพโรจน์บอกว่าเราพัฒนาเทคนิคการเจาะแบบเฉพาะของเราเองนั้นเป็นอย่างไร

เทคนิคการขุด แบบอ่าวไทย ของเรา เท่านั้น (Thailand Only)

เทคนิคการขุด แบบอ่าวไทย ของเรา เท่านั้น (Thailand Only)

ก๊าซจากเอราวัณ

การพัฒนาปิโตรเลียม ใช้เวลานาน ลงทุน ความเสี่ยงสูง

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ที่มา – https://www.energynewscenter.com/oldweb/index.php/article/detail/165

หลายคนคงเคยได้ยินการถกเถียงกันเรื่องปริมาณปิโตรเลียมในอ่าวไทย ที่บางกลุ่มเชื่อว่ามีปริมาณมากมาย ขุดเจาะสำรวจและนำผลผลิตขึ้นได้ง่ายๆ แบบให้ใครมาทำก็ทำได้

แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากได้ฟังจากคนในวงการปิโตรเลียม หรือได้มีโอกาสมาทำความเข้าใจกระบวนการผลิตที่แท้จริง จะรู้และเข้าใจว่าการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมหนึ่งแห่งจนสามารถผลิตเชิงพาณิชย์เพื่อนำพลังงานที่ผลิตได้ไปให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ต้องใช้เวลา มีการลงทุนที่สูง และมีความเสี่ยงทางธุรกิจไม่น้อย

ทีมข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center – ENC) ได้มีโอกาสลงมาดูแท่นผลิตปิโตรเลียมเอราวัณกลางอ่าวไทย สถานที่จริงในการผลิตปิโตรเลียม และได้รับฟังข้อมูลจากผู้บริหารของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ซึ่งเป็นโอเปอเรเตอร์ในแหล่งนี้

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

จึงอยากบอกต่อว่าการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในแต่ละแหล่ง โดยเฉพาะที่แหล่งเอราวัณแห่งนี้ ต้องใช้เวลานาน ใช้เงินลงทุนมาก และมีความเสี่ยงสูงในการลงทุน

ที่กล่าวว่าการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมต้องใช้เวลานานนั้น เพราะมีหลายขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ

เริ่มต้นตั้งแต่การสำรวจธรณีวิทยาขั้นต้นเพื่อหาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเลียม อาทิ หินต้นกำเนิด หินกักเก็บ หินปิดกั้น เพื่อดูโครงสร้างการกักเก็บปิโตรเลียม

ขั้นตอนถัดมาจึงเป็นการสำรวจขั้นละเอียดด้วยวิธีการวัดคลื่นความไหวสะเทือน 3 มิติ และแปลผลข้อมูลออกมา เพื่อให้ได้ภาพที่จำลองโครงสร้างใต้ดินที่เสมือนจริงมากที่สุด

เมื่อมีความมั่นใจมากกว่า 90% จึงจะลงมือเจาะหลุมสำรวจ ซึ่งตั้งแต่เริ่มต้นสำรวจจนถึงการเจาะหลุมใช้เวลาประมาณ 3 ปี และใช้เงินลงทุนมากถึง 400-900 ล้านบาท

ในขั้นตอนการเจาะหลุมสำรวจที่มีความลึก 2-3 กิโลเมตร ถ้าไม่พบปิโตรเลียมก็ถือว่าเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าและบริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานก็ต้องรับภาระความเสี่ยงการลงทุนในส่วนนี้ไป

แต่หากสำรวจพบปิโตรเลียม ในขั้นต่อไปก็จะต้องใช้ระยะเวลาอีกประมาณ 4 ปี ในการประเมินปริมาณและความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์

ซึ่งถ้าพบปิโตรเลียมแต่ประเมินแล้วไม่คุ้มค่ากับการผลิตขึ้นมา ผู้รับสัมปทานก็ต้องรับความเสี่ยงจากเงินลงทุนที่จะสูญเสียไปราว 1,200-2,700 ล้านบาท ธุรกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจึงถือว่าเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ โดยทั่วไป

ในกรณีที่สำรวจพบปิโตรเลียมและประเมินแล้วว่ามีความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ เอกชนผู้รับสัมปทานก็จะพัฒนาต่อให้เป็นแหล่งผลิตปิโตรเลียม โดยจะมีการสั่งทำแท่นผลิต แท่นที่อยู่อาศัย ท่อส่งก๊าซ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังเช่นที่ “เอราวัณ คอมเพล็กซ์” ในปัจจุบัน

รวมทั้งมีการทำสัญญาซื้อขายก๊าซกับผู้รับซื้อ ซึ่งขั้นตอนนี้ จะใช้เวลาอีกประมาณ 2 ปี และใช้เงินลงทุนรวมๆกันทั้งหมดประมาณ 9,000-60,000 ล้านบาท และเมื่อดำเนินการผลิตไปแล้ว ปริมาณปิโตรเลียมในหลุมลดลง ก็จำเป็นต้องมีการสำรวจและเจาะหลุมผลิตเพิ่มเติม เพื่อรักษาระดับปริมาณการผลิตปิโตรเลียมให้เป็นไปตามสัญญาที่กำหนดไว้กับผู้ขาย

ยกตัวอย่างกรณีของแหล่งปิโตรเลียมเอราวัณที่สำรวจพบก๊าซธรรมชาติครั้งแรกในปี 2516 นั้น ก็ต้องใช้เวลาอีกถึง 8 ปี กว่าจะสามารถผลิตและซื้อขายในเชิงพาณิชย์ได้เป็นครั้งแรกในปี 2524 แล้วนับจากนั้นก็ต้องสำรวจและเจาะหลุมผลิตอย่างต่อเนื่อง

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

คุณไพโรจน์ กวียานันท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด อธิบายว่า โครงสร้างธรณีวิทยาใต้ท้องทะเลอ่าวไทยนั้นเป็นชั้นหินทรายที่เกิดจากการสะสมตัวกันของตะกอน และมีรอยเลื่อนตัดผ่านทำให้เกิดเป็นลักษณะของหินกักเก็บปิโตรเลียมกระเปาะเล็กๆ กระจัดกระจายและไม่มีความต่อเนื่องเป็นแผ่นเดียวกัน

ก๊าซจากเอราวัณ

จึงมีความซับซ้อน อีกทั้งแต่ละกระเปาะยังมีอัตราการเสื่อมถอยของผลผลิตสูง ดังนั้นการเจาะหลุมผลิตจึงต้องการนักธรณีวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญในการแปลผลข้อมูลให้ได้ความแม่นยำสูง ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อให้สามารถเจาะหลุมเพียงครั้งเดียว แต่สามารถที่จะเข้าถึงแหล่งกักเก็บซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในกระเปาะต่างๆ ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้สามารถนำก๊าซธรรมชาติขึ้นมาในปริมาณที่คุ้มกับการลงทุน ซึ่งถือเป็นความท้าทายของโอเปอร์เรเตอร์ทุกรายในอ่าวไทย

เทคนิคการขุด แบบอ่าวไทย ของเรา เท่านั้น (Thailand Only)

เทคนิคการขุด แบบอ่าวไทย ของเรา เท่านั้น (Thailand Only)

“สิ่งที่บริษัทผู้รับสัมปทานอย่างเชฟรอนพยายามทำมาโดยตลอดคือการพัฒนาเทคโนโลยีการขุดเจาะหลุมผลิตให้สามารถเจาะแต่ละหลุมได้รวดเร็ว เพราะแต่ละปีเราต้องใช้จำนวนหลุมเยอะ เพื่อรักษาระดับปริมาณการผลิตเอาไว้ให้ได้ตามสัญญา เพราะผลผลิตลดลงไปทุกวัน จึงต้องหาจากแหล่งใหม่มาเติมอยู่เรื่อยๆ ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี ต้องวางแผนล่วงหน้า ซึ่งทั้งหมด ผู้รับสัมปทานต้องลงทุนล่วงหน้าไปก่อน เป็นความเสี่ยงของบริษัท ดังนั้นการทำงานทุกขั้นตอนจึงต้องให้มั่นใจ” คุณไพโรจน์ บอกกับทีมข่าว ENC

ปัจจุบันเชฟรอนเป็นโอเปอเรเตอร์อยู่ในแหล่งผลิตปิโตรเลียมทั้งหมดจำนวน 12 แปลงซึ่งรวมทั้งแหล่งผลิตเอราวัณ และเป็นผู้ร่วมทุนอีก 4 แปลง ผลิตก๊าซธรรมชาติป้อนภายในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า ปริมาณ 1,750 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน และผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลวหรือคอนเดนเสทอยู่ที่ 61,695 และ 61,484 บาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ (ข้อมูล ณ เดือน พ.ค. 2561) โดยปริมาณก๊าซที่เชฟรอนผลิตได้ คิดเป็น 1 ใน 3 ของความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศ นับเป็นหนึ่งในเฟืองจักรสำคัญของการขับเคลื่อนความมั่นคงทางพลังงานของไทย

————————

recta sapere

ทุกคนคงรู้จัก “ที่จอดรถผู้บริหาร” นะครับ ผู้บริหารที่มีรถประจำตำแหน่ง แบ่งออกเป้น 2 ประเภทใหญ่ๆ ประเภทแรกคือ รถประจำตำแหน่งแบบมีคนขับประจำ แบบที่สองคือ ท่านผู้บริหารขับเอง

ต่อไปนี้ เพื่อความไม่ดราม่า ผมขอผู้ถึงประเภทแรกเท่านั้น คือ ผู้บริหารที่มีรถประจำตำแหน่งและคนขับแถมพกมาด้วย

อย่างที่บางคนทราบ ก่อนผมจะมาทำงานเป็นวิศวกรขุดเจาะปิโตรเลียม ผมเคยทำงานอยู่กับบ.ฝรั่งข้ามชาติแห่งหนึ่ง ด้วยตำแหน่งที่มีเฟอร์นิเจอร์ผู้บริหารครบ เครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์ทำงานอิเลคทรอนิกส์ที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น เลขาส่วนตัว บินชั้นธุรกิจ และ ที่ขาดไม่ได้คือ รถประจำตำแหน่งพร้อมคนขับ

ก่อนหน้าที่ทุกข์ลาภตำแหน่งผู้บริหารหล่นทับหัวแม่เท้าบวมนั้น ผมก็พนักงานคนหนึ่งที่ต้องขับรถวน 9 – 10 ชั้น (ซึ่งก็คือ 18 – 20 ชั้น เพราะที่จอดรถมันมีชั้นครึ่ง) แน่นอนว่าชั่นหนึ่งที่จอดง่ายที่สุดตึกสงวนไว้ให้เป้นที่จอดรถท่านผู้บริหาร

ผมก็งงๆว่า รถท่านก็มีคนขับ มาส่งจ่ออยู่หน้าลิฟท์ ผมเคยเดินนับก้าวจากประตูรถท่านไปถึงลิฟท์ ได้ 18 ก้าว แล้วท่านไปไปโผล่หน้าห้องทำงาน คนขับก็ขับรถประจำตำแหน่งไปอีก ไม่ถึง 50 เมตร จอดดับเครื่อง ลงมากินกาแฟ ปาท่องโก๋ โขกมากรุก … ในขณะที่พนักงานอย่างผม และ หลายๆคน วนรถ 20 รอบ เช้า 20 รอบเย็น

น้อยเนื้อต่ำใจเป็นยิ่ง ถามใครๆก็ไม่ได้คำตอบ ว่าที่จอดรถผู้บริหารนั้น เป้นประโยชน์ต่อผู้บริหาร หรือ มีประโยชน์ต่อคนขับนถท่านผู้บริหารกันแน่

ผมจำได้ว่ามีคำตอบหนึงที่น่าจะฟังขึ้นถึงความจำเป้นที่ต้องมีที่จอดรถผู้บริหารอยู่ชั้นล่างสุด เพื่อความสะดวกในการออกไปทำธุระ (เพื่อความเป็นความตายความอยู่รอดบริษัท) แบบเร่งด่วน คนขับรถจะได้เอารถออกมารับได้ในเวลาที่น้อยที่สุด

ทำให้ผมนึกถึงเพื่อนนักบินกองทัพอากาศคนหนึ่งที่เล่าให้ฟังว่า ถ้าสัญญานเตือนภัยทางอากาศดัง เครื่องบินรบทุกลำจะถึงขึ้นสู่ท้องฟ้าให้ได้ภายในเท่านั้นเท่านี้วินาที …

แต่คำถามของผมคือ

  1. การออกไปทำธุระ (เพื่อความเป็นความตายความอยู่รอดบริษัท) แบบเร่งด่วน คนขับรถจะได้เอารถออกมารับได้ในเวลาที่น้อยที่สุด … ปีนึงเกิดกี่หน และ ถ้าผู้บริหารเป็นผู้บริหารที่ไม่สามารถบริหารงานตัวเองเพื่อไม่ให้มีเหตุการคอขาดบาดตายขนาดนี้ได้ ก็ไม่น่าจะเป็นผู้บริหาร
  2. ในวันปกติที่ไม่มีธุระด่วนอะไร ท่านผู้บริหารที่สามารถจริงๆ ก็ความจะสามารถบริหารเวลากลับบ้านหรือออกไปไหนของท่านได้ โดยให้เลขา หรือ ตัวท่านเองแหละ โทรฯบอกคนขับรถล่วงหน้า ให้เอารถลงมาจากชั้น 20 มันก็แค่นั้นเอง

ผมก็ไม่รู้หรอกว่าผมคิดถูกหรือผิด  ถ้าผมยังไม่เคยใส่รองเท้าของเขา ผมจะไม่มีความชอบธรรมเท่าไรนักในการไปวิจารณ์ท่าเดินของเขา

จนวันหนึ่งทุกข์ลาภหล่นทับหัวแม่เท้าอย่างที่ว่าไว้ตอนต้น ผมได้เป็นผู้บริหาร และ มีรถประจำตำแหน่งกับเขาบ้าง

ผมก็ลองตามน้ำไปเดือนนึง เพื่อพิสูจน์ว่าที่ผมคิดไว้มันผิด คือพิสูจน์ว่าที่จอดรถผู้บริหารนั้นมีความจำเป็นอยู่นะ

เดือนหนึ่งผ่านไป ผมไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ที่จอดรถผู้บริหารนั้นมีความจำเป็น ไม่ว่าจะในมิติไหนๆ

สิ่งที่ตามมาคือ ผมไปเจรจากับตึกที่บ.เช่าอยู่ว่าจะสลับที่เอาที่จอดรถผู้บริหารของผมที่แหละไปให้กับพนักงานคนหนึ่งที่เขาบ้านอยู่ไกล ไม่สามารถมาทำงานเช้าเพื่อหาที่จอดชั้นล่างๆได้จริงๆ

ส่วนรถประจำตำแหน่งของผมนะเหรอ ผมให้คนขับผมเล่นเก้าอี้ดนตรีไป ไม่มีที่จอดรถประจำ ซึ่งเขาก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร เพราะจอดรถเสร็จก็ไปโขกหมากรุก กินกาแฟ นั่งอ่านหนั่งสือพิมพ์ (สมัยนั้นไม่ม่สมาร์ทโฟน) ไม่ต้องมาบรรยายสรุป หรือ ทำรายงานประจำวันทุกเช้าส่งให้แผนกขายให้ตรงเวลา

ตอนแรกคนขับรถผมก็คงเคืองๆผม แต่เมื่อผมอธิบายถึงความสมเหตุสมผลที่ต้องทำแบบนี้ เขาก็เข้าใจ เพราะเขาคือคนที่มีเวลาว่างมากที่สุดในบ. การจะให้ขับรถ(ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของเขาอยู่แล้ว) เพิ่มขึ้นสัก 10 – 15 นาที ต่อการนำไปจอด หรือ นำลงมารับผม ก็ไม่ได้ทำให้เสียอะไร

อาจจะว่าผมจู้จี้ จุกจิก คิดเล็กคิดน้อย แต่ผมคิดว่าเป้นเรื่องพื้นฐานของพื้นฐานที่สุดของผู้บริหารสักคนที่จะไม่เป็นเพียงแค่ผู้บริหาร แต่ ต้องเป็นผู้นำ ที่รู้จักที่จะเอาใจเขามาใส่ใจและ และ คิดนอกกรอบ ใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้มีประสิทธิผลมากที่สุด เพื่อให้ลูกน้อง คนในบังคับบัญชา นับถือด้วยใจจริง ไม่ใช่คิดเพียงแต่ว่า ฉํนมี ฉันควรได้ โดยไม่คิดเลยว่า ไอ้ที่ฉันมี ฉํนควรได้ น่ะ ฉันได้(ประโยชน์)จริงๆหรือเปล่า หรือ คนอื่นได้ไปในนามของฉัน ฉันเอาไปทำประโยชน์ให้คน(ลูกน้อง)ที่สมควรจะได้มากกว่าฉัน จะดีกว่าไหม …

ฝากไว้ให้คิดนะครับว่า วัหนึ่งข้างหน้า คุณจะเป็นแค่ผู้บริหาร หรือ เป็นผู้นำ …

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------