ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

ทักษะวิศวกรสนาม ที่(อาจ)ไม่จำเป็นในยุค 4.0 และ ทักษะที่ยังต้องมีแม้จะ 4.0

ทักษะวิศวกรสนาม มีเยอะแยะมากมายที่ค่อนข้างจะเป็นเอกลักษณ์ บางทักษะถือว่าจำเป็นมากๆต้องมี ต้องเป็น ไม่งั้นทำงานสนาม(ในอุตสาหกรรมนี้)ไม่ได้ บางทักษะ ถ้ามี ถ้าเป็น ก็ดี ไม่มี ไม่เป็น ก็ไม่เป็นไร บางอย่างก็ไม่จำเป็น แล้ว ทักษะวิศวกรสนาม เกี่ยวกับอุตสาหกรรม 4.0 อย่างไร

อุตสาหกรรม 4.0 คือ อะไร

อุตสาหกรรม 4.0 หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 คือชื่อเรียกรูปแบบการจัดการอุตสาหกรรมที่กำลังนิยมในปัจจุบันโดยเป็นการนำสารสนเทศมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โดยประกอบด้วย cyber-physical system, Internet of things และ cloud computing โดยอุตสาหกรรม 4.0 เป็นรูปแบบของการทำงานอย่างชาญฉลาด (smart) โดยการนำข้อมูลที่หลากหลายมาผสมผสานเพื่อให้เกิดการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และทันเวลา ทั้งในรูปแบบการจัดการด้วยมนุษย์ และการจัดการด้วยระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า

ทักษะวิศวกรสนาม

ชื่อเรียก “อุตสาหกรรม 4.0” มีที่มีจากโครงการ Industrie 4.0 ของรัฐบาลประเทศเยอรมนีในกลยุทธ์การวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมที่นำระบบดิจิตัลเข้ามาเป็นแกนหลัก

(ที่มา wiki อุตสาหกรรม 4.0)

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

พักหลังๆนี้มีหลายภาคส่วน หลายๆ กูรู และ กูไม่รู (555) ออกมาพูดถึงการปรับตัวของแรงงาน และ ผู้ประกอบการในยุคที่อะไรๆก็ 4.0 ไปหมด

ด้วยความกลัวจะตก trend 🙂 และ ในฐานะที่ผมเป็นซากความทรงจำของวิศวกรสนามยุคไดโนเสาร์ (สมัย 2.0) ที่อยู่รอดจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆมาจนถึงยุค 4.0 ผมจึงอุปโลกภ์ คิดเองเออเองเอาว่าเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบหนึ่งของผมที่ควรจะเล่าสู่กันฟังว่า ในทัศนะผม ทักษะวิศวกรสนาม อะไรนะที่แต่ก่อนเคยจำเป็นในสายงานสนามของเรา แต่ตอนนี้ไม่จำเป็น หรือ สำคัญน้อยลง และ ทักษะอะไรที่ยังไงๆก็ยังจำเป็นต่อให้เป็นยุค 4.0 หรือ 5.0

ลิงค์เรื่องราวใกล้เคียงกัน …

สาวที่อยากส่งแฟนมาทำงานออฟชอร์ควรทราบตามนี้นะครับ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

วิศวกรสนาม Field Engineer สัมภาษณ์อะไรกัน ตอบอย่างไรให้โดนใจ

อย่างไรก็ตาม ผมก็ต้องขอออกตัว(อ้วนๆ)ก่อนนะว่า ผมก็เคยเป็นวิศวกรสนามทุกงานบนแท่นขุดเจาะฯ เอาเป็นว่า ผมจะแบ่งปันกันในบริบทของ wireline field engineer ก็แล้วกันครับ

ขั้นตอนการรับสมัคร Wireline field engineer (รุ่นไดโนเสาร์) Schlumberger

ทักษะวิศวกรสนาม ที่(อาจ)ไม่จำเป็นในยุค 4.0

ภาษาอังกฤษ

ผมเริ่มทำงานในยุค 2.0 สมัยนั้นเรียกว่าภาษาอังกฤษเป็นภาคบังคับเลยครับ ต้องอ่านออกเขียนได้พูดฟังได้รู้เรื่อง ถ้าบ.ได้บุคลากรที่ถูกตาต้องใจแต่ยังพูดภาษาอังกฤษได้ไม่ดีพอแล้วล่ะก็ บางบ.ถึงกับลงทุนส่งให้ไปเรียนภาษาอังกฤษฟรีๆเป็นเดือนๆก็มี

วิศวกรจากบางประเทศที่อนุรักษ์การใช้ภาษาของตนเองในการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีวิศวกรรม ภาษาอังกฤษจึงมักจะเป็นข้อจำกัดเบอร์ต้นๆของแรงงานที่จะเข้าทำงานในบริษัทฯข้ามชาติในอุตสาหกรรมเรา

ด้วยเทคโนโลยี 4.0 นี้ ผมเชื่อว่า เรื่องนี้จะมีความสำคัญน้อยลงๆ เพราะเรามีความสามารถการแปลภาษาโดยคอมฯ ไม่ว่าจะภาษาพูด หรือ ภาษาเขียน ที่รวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกไม่นานคิดว่าน่าจะมีล่ามเป็นคอมฯแบบ real time

อีกทั้งการสื่อสารต่างๆในชีวิตประจำวันในยุคนี้ก็อยู่ในรูปของภาษาอังกฤษมากขึ้น (แม้แต่ในประเทศที่ครั้งหนึ่งสมัย 2.0 แทบจะหาป้ายบอกทางภาษาอังกฤษริมถนนไม่เจอ) และ โปรแกรมทางวิศวกรรมต่างๆ ก็มีเวอร์ชั่นหลากหลายภาษามาก

ภาษาอังกฤษอาจจะไม่สำคัญมากมายอย่างในอดีต แต่ก็ยังสำคัญอยู่นะครับ ส่วนจะหมดไปเลยหรือไม่นั้น ผมว่าคงอีกนานครับ

สุขภาพและความแข็งแรงของร่างกาย

อย่างแรกเลยคือเครื่องทุ่นแรงเกิดขึ้นมากมาย อีกทั้งฉลาดๆ ทั้งล้ำๆ ขนาดออกคำสั่งได้ด้วยเสียงก็มีใช้กันแล้ว นอกจากนี้ อุปกรณ์ต่างๆ ก็ถูกออกแบบมาให้เบาลง แต่แข็งแรงเท่าเดิม หรือ แข็งแรงกว่าเดิม หมดยุคที่พวกเราต้องล่ำๆ กล้ามโตๆ ซิกแพค แบกๆหามๆ เป็นพี่บึ๊กอีกต่อไป

เรื่องต่อมา ความสามารถในการอดหลับอดนอนแบบบ้าบอข้ามวันข้ามคืนจนกว่างานจะเสร็จนั้นก็ไม่จำเป็น เพราะกฏกติกาอาชีวะอนามัย และ ความปลอดภัยได้รับความสำคัญมากขึ้น รวมไปถึงแท่นเจาะที่ขนาดใหญ่ ทันสมัยมากขึ้น รองรับจำนวนคนที่มากขึ้นได้ การเดินทางที่สะดวก ทำให้ไม่จำเป็นต้องให้วิศวกรสนามทำงานกันแบบข้ามวันข้ามคืนกันอีกต่อไป

ที่เด็ดก็คือบางงานสามารถทำงานได้จากระยะไกล (remote) บางงานที่เคยต้องใช้พวกเราทำก็เป็นงานอัตโนมัติไปแล้ว คือ ให้หุ่นยนต์ ให้คอมฯ ทำไป คนก็ไปนอน ไปพัก หรือ ถ้าจำเป็น ก็ทำงานกันเป็นกะๆไป มีวิศวกรมาเปลี่ยนกันไรกัน

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ทักษะการแก้ปัญหา หรือ ซ่อมแซม เชิงลึก

สมัย 2.0 การสื่อสาร การคมนาคม ยากลำบากมาก การจะซ่อมแซมอะไรสักอย่าง เราไม่มีตัวช่วย ต้องทำกันเองหน้างาน ต้องใช้ความเข้าใจเครื่องไม้เครื่องมือนั้นจริงๆ ไม่ต่างกับช่างเฉพาะทางที่อยู่ใน workshop (ที่ปกติเราจะส่งของเสียไปให้ซ่อม)

เราต้องทำ ต้องซ่อมกันเอง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือกล อิเลคทรอนิกส์ ไฮดรอลิกส์ ฯลฯ ไม่ต้องคร่ำครวญว่า เฮ้ย … จบไฟฟ้ามานะ ช่อมเครื่องยนต์ดีเซลไม่ได้หรอก ถ้าเครื่องยนต์ดีเซล มันเป็นส่วนหนึ่งของงาน ก็ต้องหัดซ่อมหัดแก้ปัญหาให้เป็นให้ได้

สมัยนี้ 4.0 ไม่ต้องแล้วครับ ไม่ต้องมานั่งถอดออกมาซ่อม ใช้หัวแร้งบัดกรี ขันน๊อต ดัดสปริง หาว่าชิ้นไหน มันเป็นอะไรกันแล้วครับ เปลี่ยนมันยกบอร์ด หรือ ยกทั้งชิ้น (tool) เลยครับ การตรวจสอบอย่างเก่งก็ทำการตรวจสอบเบื้องต้น (basic trouble shooting) เพื่อให้ช่างบนฝั่งทำงานได้ง่ายขึ้นเร็วขึ้นเท่านั้น

บางทีนะครับ ด้วยเทคโนโลยี และ การสื่อสารแบบ 4.0 เราซ่อมทางไกลกันยังได้ คิดอย่างนี้เลยครับว่า วงการแพทย์ เขายังผ่าตัดทางไกลกันได้ แค่ให้ผู้เชี่ยวชาญบนฝั่งซ่อมเครื่องมือทางไกล ไม่ยากอะไรหรอกครับ ออนไลน์กันได้หมดแล้ว

ไมโครฟิล์ม (Microfiche) และ เครื่องพิมพ์ไอระเหยแอมโมเนีย (Ammonia printer)

ทักษะวิศวกรสนาม

ทักษะวิศวกรสนาม

 

ใครเคยเห็น หรือ เคยได้ใช้บ้างครับ สมัยผมทำงานสนามนี่เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย เพราะการจะขน drawing หรือ คู่มือซ่อม หนังสือ ตำรา ฯลฯ ไปบนแท่นเจาะฯนี่มันเยอะมาก ซีดีรอมก็ไม่มี คอมฯ ก็ไม่มี ก็ต้องอาศัยเจ้านี่แหละครับ เครื่องอ่านฟิล์มข้อมูล ตำรา คู่มือซ่อมอุปกรณ์ต่างๆ ก็อยู่ในรูปของฟิล์มเล็กๆ ต้องใช้เครื่องอ่านเอา

ไม่ต้องบอกว่า สมัยนี้ก็นะ ไม่จำเป็นอีกต่อไป เครื่องพวกนี้ก็หาดูได้ในพิพิธภัณฑ์ครับ 🙂

ส่วนเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งก็ ammonia printer นี่แหละครับ

ทักษะวิศวกรสนาม

สมัย 2.0 เวลาเราหยั่งธรณีด้วยเครื่องมือที่หย่อนลงไปในหลุมด้วยสายเคเบิ้ล (wireline logging) เครื่องแสดงผลจะฉายแสงลงบนฟิล์ม เป็นเส้นกราฟ เหมือนเราถ่ายรูปแบบขาวดำน่ะครับ แต่ฟิล์มของเราจะเป็นม้วนๆ เหมือนม้วนผ้าน่ะครับ หน้ากว้างราวๆ  10 นิ้ว ยาวก็ราวๆ 6 – 10 ฟุต ขึ้นกับว่าหลุมที่เราส่งเครื่องมือลงไปหยั่งธรณีนั้นลึก(ยาว)แค่ไหน

แล้วเราจึงเอาฟิล์ม (กว้าง 10 นิ้ว ม้วนๆยาว 10 ฟุต) ที่ว่า ไปล้างในห้องมืด ตากลมให้แห้งสนิท แล้วเอาไปทาบประกบลงบนกระดาษอาบสารเคมีขนาดเดียวกับฟิล์ม แล้วบรรจงสอดเข้าเครื่องพิมพ์หน้าตาคล้ายๆรูปข้างบนน่ะครับ

นึกภาพ เอาแผ่นพลาสติกยาวเป็นหางว่าวประกบกับกระดาษขนาดเดียวกัน แล้วใส่ประคองใส่เข้าลูกกลิ้งบดปลาหมึกนั่นแหละครับ อารมณ์นั้น ถ้ามือสั่น หรือ เผลอนิดเดียว กระดาษกับแผ่นพลาสติกจะเยื้องกันแยกออกเป็นสองแฉกแบบลิ้นงูทันที ฟิล์มไปทาง กระดาษไปทาง ซึ่งแปลว่า เสียของ ต้องดึงออกมา ประกบกระดาษใหม่

ส่วนที่ไม่มีสีดำบนฟิล์ม แสงสีม่วงเข้มๆจะส่องทะลุผ่านลงไปทำปฏิกริยากับสารเคมีที่เคลือบกระดาษ ทำให้สารเคมีที่เคลือบหายไป ส่วนที่ฟิล์มเป็นสีดำ (คือเส้นกราฟ) แสงก็ส่องไม่ทะลุลงบนกระดาษ สารเคมีที่เคลือบกระดาษก็ไม่โดนแสง ก็ยังคงติดกระดาษอยู่แบบนั้น

แล้วกระดาษที่ผ่านแสงก็จะไปผ่านไอแอมโมเนีย แอมโมเนียก็จะทำปฏิกริยากับสารเคมีที่เหลือบนกระดาษ (ก็เส้นกราฟนั่นแหละ) เปลี่ยนสารเคมีเป็นสีน้ำเงินเข้มๆ (ที่มาของคำว่า blue print)

เมื่อผ่านเครื่องพิมพ์ที่ว่า เราก็จะได้กระดาษหน้ากว้าง 10 นิ้ว มีเส้นกราฟขยุกขยิก ยึกยือๆ ยาวเป็นหางว่าว ขึ้นกับว่าหลุมที่ลงไปเก็บข้อมูลยาวแค่ไหน (ตามมาตราส่วนนะครับ ไม่ใช่กระดาษยาวเท่ากับยาวหลุม) หน้าตาประมาณรูปข้างล่างนี่ แต่เส้นทุกเส้นจะสีน้ำเงินเข็มๆ

ทักษะวิศวกรสนาม

ทักษะวิศวกรสนาม

แน่นอนว่า ยุค 4.0 สิ่งนี้ก็ไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์พร้อมๆกับทักษะการล้างฟิล์มและการใช้เครื่องพิมพ์แบบนี้ของพวกเรา 555

ความอดทนในการรอ

ทักษะนี้ก็หายไปจากวิศวกรสนามรุ่นนี้เช่นกัน หายไปพร้อมกับคำว่า “เร็ว” ของ 4.0

จำได้ว่าสมัยนั้น นอกชายฝั่งที่ผมทำงานอยู่มีฮ.ลงมาสัปดาห์ล่ะครั้ง รับคนที่ครบเวลางานกลับ และ เอาคนชุดใหม่มาลง (crew change)

ในฮ.ก็จะมีจดหมาย วีดีโอหนังฝรั่ง 7 ม้วน หนังท้องถิ่น 7 ม้วน และ หนังโป๊ (ที่มีจำเป็นต้องมีภาษา 🙂 ) อีก 7 ม้วน (และเอาม้วนเก่า 21 ม้วนกลับไป) ตอนจะเขียนจดหมายกลับบ้านทีก็ฝากไปกับฮ.นี่แหละ กว่าจะถึงฝั่ง กว่าจะส่ง กว่าจะถึง กว่าจะตอบ (ถ้าตอบ 555) กว่าจะกลับมาที่แท่นอีกรอบก็โน้น 3 อาทิตย์

จะส่งข่าวรายงานต่างๆ ลูกจ้างบ. service อย่างพวกผม ก็ต้องรอคิวหน้าห้องวิทยุตอนบ่าย เพื่อคุยกับตัวแทนบ.ผ่านวิทยุ VHF พูดพร้อมกันก็ไม่ได้ ฟังไม่รู้เรื่อง ทำนองพูดเสร็จแล้วต้องบอกว่า “เปลี่ยน” นั่นแหละ

วันไหน สัญญาณไม่ดี ก็ต้องสะกดกันทีเดียวกว่าจะรู้เรื่อง ทำให้มีทักษะย่อยขึ้นมาอีกทักษะหนึ่ง คือ การสะกดเป็นโค้ด (NATO phonetic alphabet) และ การสรุปย่อเรื่องราวต่างๆให้กระชับที่สุด ทำให้นึกถึงวิชาย่อความสมัยเรียนมัธยมต้นเลย 555

อะไรหมด อะไรเสีย จะเอาอะไร จะส่งอะไรกลับ อยากได้อะไรลงเรือ ใส่ฮ.มา บลาๆ ก็ต้องพูดกันตอนนั้น นอกจากเวลานั้น ก็ไม่ต้องคุยกับฝั่งอีกเลย ต้องรอพรุ่งนี้ ยกเว้นกรณีฉุกเฉินจริงๆ เพราะฉะนั้นต้องรอบคอบ และ ต้องครบถ้วน

มันก็สบายไปอีกแบบเนอะ 555 เมื่อเทียบกับสมัยนี้ที่มี wifi กันทั้งแท่นฯ ถึงห้องนอน ทั้งงานทั้งเรื่องส่วนตัว จะเล่นหุ้น หรือ งานราษฎ์งานหลวง เข้าถึงได้ตลอด จะขาด จะเกิน จะลืม ก็เปิดมือถือ ไลน์บอกกันทวงกันถามกันได้ …

ทักษะวิศวกรสนาม เรื่องการอดทนรอคอย ถือว่าเป็นทักษะอย่างหนึ่งเหมือนกันครับ วิศวกรสนามยุค 4.0 ไม่ค่อยมี ซึ่ง(คง)ไม่ผิด(มัง) เพราะจะมีไปทำไม ในเมื่อทุกอย่างมันเร็วแบบ 4.0 นี่นา

ดังนั้น วิศวกรน้องๆรุ่น 4.0 ก็ไม่ต้องใจร้อนนะ เวลาทำงานกับพี่ๆ 2.0 (โดยเฉพาะผม) ไม่เปิด LINE ไม่เปิด Facebook ไม่เปิด e-mail บ้าง ถ้านอกเวลางาน เพราะมันไม่ชินน่ะครับ 555 ช้าจนเคยตัว … หุหุ

ทักษะการคาดเดาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นหน้างาน

ผลพวงของความเร็ว การเข้าถึงข้อมูลที่สะดวกสบาย และ ตัวช่วยทางไกลต่างๆ การสื่อสารที่สะดวก จากในสนาม ทำให้ทักษะนี้ของวิศวกรรุ่น 4.0 น้อยกว่า รุ่น 2.0 อย่างผม อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก็คงไม่ผิดอะไร เพราะสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีมันเปลี่ยนไป

สมัย 2.0 อะไรๆก็ช้า ลืมอะไร ขาดอะไร ก็ไม่สามารถเรียกหาได้อย่างใจ ตัวช่วยก็ไม่มี ไปทำงานทีเหมือนโดนปล่อยเกาะ เวลาจัดเตรียมของออกนอกชายฝั่งหรือเอาขึ้นรถ(กรณีแท่นบก)ไปทำงานทีนึง นอกจากจะมี check list ตามปกติ แล้วยังต้องคิดถึง “เผื่อ” ด้วย เผื่อไอ้โน้นเจ๊ง ไอ้นี่พัง ไอ้นั่นเสีย

ถ้าเอาสำรองไปได้อีกชุด ก็เอาไป ถ้าไม่มีสำรอง ก็เอาอะไหล่ไป ถ้าไม่มีอะไหล่ ก็เอาอุปกรณ์ คู่มือ drawing ที่ใช่ซ่อมอะไหล่ไป ฯลฯ อะไรทำนองนี้ มีทั้ง plan B plan C plan D คิดข้ามช๊อตกันหลายช๊อตเลยทีเดียว

เพราะเมื่อไปถึงหน้างานแล้ว … อัตาหิอัตโนนาโถ … ครับ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนจริงๆ 555

แต่ถ้าคุยกับวิศวกรรุ่น 4.0 ผมก็จะโดนข้อหา นอยด์ไปป่ะลุง คิดมาก วิตกกังวลเกินเหตุ … ก็ยอมรับจ้าหลานๆ ลุงแก่แล้วววว 🙂

แล้วทักษะอะไรที่ยังคงจำเป็นแม้จะ 4.0

ส่วนมาก ทักษะวิศวกรสนาม หมวดนี้จะเป็นสิ่งที่ HR เรียกว่า soft skill  เพราะ technical skill จะถูกแทนที่ด้วย เทคโนโลยีได้ง่าย และ เร็ว ส่วน soft skill เป็นอะไรที่ติดกับตัวของวิศวกรสนามคนนั้นๆ

ความช่างสังเกตุ

แน่นอนว่าเทคโนโลยีมาแทนความช่างสังเกตุไม่ได้ครับ บางคนอาจจะแย้งว่าได้นะครับพี่(ลุง)นก โปรแกรมบางชนิดทำได้ แต่ผมว่าส่วนมากที่ทำได้ นั่นคือ technical skill ครับ เช่น ถ้าความดันจุดนี้เพิ่ม ตรงนั้นมักจะรั่วซึม แล้วตรงโน้นจะร้อน สักพัก เครื่องมือตรงนี้จะเสีย ทำให้อ่านค่าได้น้อยกว่าความเป็นจริง อย่างนี้จะเรียกว่าสังเกตุก็ได้ แต่ก็มีซอฟแวร์ทำได้เช่นกัน

ผมกำลังพูดถึง การช่างสังเกตุอื่นๆ ในเชิงพฤติกรรม ความสัมพันธ์ ทัศนคติ คนทำงานในทีม เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง ผู้รับเหมา คนรอบๆตัว อันเกี่ยวกับงานที่เรากำลังทำ เช่น ไม่ให้โดนผู้รับเหมาแหกตา ไม่ให้โดนลูกน้องโกหกว่าทำแล้วแต่ยังไม่ได้ทำ เป็นต้น

เรื่องนี้ยังไม่เห็นมีซอฟแวร์ทำได้นะครับ มีแต่ซอฟแวร์ช่วยเป็นหูเป็นตา อำนวยความสะดวก และ เพิ่มความแม่นยำในการสังเกตุ แต่ความช่างสังเกตุก็ยังต้องใช้ทักษะของคนอยู่

ความเป็นผูันำ

คงไม่ต้องอธิบายมากเรื่องความเป็นผู้นำ กล้าทำ กล้ารับ กล้าตัดสินใจ ชัดเจน ตรงไปตรงมา ไม่มีเทคโนโลยีไหนแทนได้

การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

เทคโนโลยยี 4.0 ให้คำตอบ (ที่อาจจะเป็นไปได้) ให้ทางเลือก ให้ความสะดวก ให้ความเร็ว แต่เมื่อต้องแก้ปัญหาที่อยู่ข้างหน้าเดี๋ยวนี้ ด้วยปัจจัย ด้วยสถานการณ์ แบบนี้ มีแต่คนเท่านั้นที่ตัดสินใจได้

ยกตัวอย่างง่ายๆ เวลาสาวสายเคเบิ้ลเอาเครื่องมือขึ้นมาจากหลุม สมัย 2.0 ผมมีแต่เครื่องมือวัดแรงตึง(tension)ของสายเคเบิ้ล การแสดงผลเป็นอนาล็อก คือเป็นเข็มแกว่งๆไปมาเหมือนเข็มไมล์รถยนต์ กับ ตัวเลขหมุนๆ(odometer แบบเลขมิเตอร์น้ำ มิเตอร์ไฟฟ้า นั่นแหละ) คอยบอกว่าสายเคเบิ้ล(ที่มีเครื่องมือราคาแพงห้อยอยู่)ตอนนี้เหลืออยู่ในหลุมอีกกี่เมตร

เมื่อเครื่องมือหรือเคเบิ้ล ติดอยู่ข้างในหลุม สาวไม่ขึ้น ผมต้องตัดสินใจว่า อะไรที่มันติด เคเบิ้ล หรือ เครื่องมือ (เพราะวิธีการแก้ปัญหาจะไม่เหมือนกัน) จะดึงมากแค่ไหน จะชักกะเย่อไหม ถ้าชักกะเย่อ จะยอมเสียเวลาแค่ไหน เพราะบางชั้นหิน บางความลึก ยิ่งนาน ยิ่งแย่ เพราะจะยิ่งดูดติด ในบางสถานะการณ์ อุณหภูมิ น้ำหนัก ชนิด ของ น้ำโคลน รวมไปถึง ราคาของเครื่องมือที่อยู่ในหลุม ก็มีผลต่อการตัดสินใจ แล้วถ้าสายเคเบิ้ลขาดล่ะ บลาๆ

สมัย 2.0 ผมมีแค่ เข็มๆหนี่งกระดิกๆไปมา กับ ตัวเลขบอกความลึก จบข่าวเท่านั้น ตัวเจ้าของหลุม คือ บ.น้ำมัน ก็นั่งหน้ายักษ์ กดดันอยู่ ทำนองว่า mึงจะเอาไง …

สมัย 4.0 มีซอฟแวร์ประมวลผล วิเคราะห์ ให้หมดว่าเคเบิ้ลเก่าใหม่แค่ไหน ความทนแรงดึงเหลือเท่าไร เคเบิ้ล หรือ เครื่องมือกันแน่ที่ติด น่าจะติดที่ความลึกเท่าไร ถ้าขาดตรงนั้นตรงนี้ ผลพวงจะเป็นอย่างไร มูลค่าเครื่องมือ ประมาณเวลา และโอกาสสำเร็จที่ถ้าจะกู้ขึ้นมา (fishing) บลาๆ

แสดงผลออกมาเป็นกราฟเลย เป็นพล๊อตสีๆ สวยงามเลย แถมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนๆ และ หัวหน้า บนฝั่งนั่งในห้องแอร์ก็ยังเห็น ออนไลน์ คุยกัน แนะนำกันได้ เหมือนนั่งจิบคาปูชิโน่ข้างๆกันในห้องทำงาน (logging unit)

แต่ท้ายที่สุดแล้ว การตัดสินใจว่าจะแนะนำลูกค้าคือตัวแทนบ.น้ำมัน (company man) ว่าดึงให้ขาดเลยไหม หรือ ลองโน้นลองนี้ อะไรยังไง ก็ต้องเป็นคนอยู่ดี เทคโนโลยี 4.0 ให้แค่ทางเลือก การวิเคราะห์ การอ่านค่าต่างๆ ที่มากขึ้น ละเอียด แม่นยำ สะดวกขึ้น เท่านั้น

จะเป็นว่ายุค 4.0 นี้ ทักษะและความมั่นใจในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหายไปจมเลย เพราะตัวช่วยที่เยอะ (ราวกับว่ามานั่งข้างๆ 555) นี่แหละ แต่อย่าเข้าใจผมผิดนะครับว่า ตัวช่วยไม่ดี ตัวช่วยดีครับ

แต่เหรียญมีสองด้านครับ ประคองมากไป ช่วยมากไป เมื่อไรเด็กจะขี่จักรยานเป็น แต่จักรยานก็ไม่ล้มเสียหาย เด็กก็ไม่เจ็บตัวทะลอกปอกเปิก

กว่าผมจะเป็นจะชำนาญในงานที่ผมรับผิดชอบ ก็โดนไปหลายดอกหลายแผลครับ ทั้งแผลที่ตัว แผลที่ใจ และ ความเสียหายของเครื่องไม้เครื่องมือ แต่ยังดีที่ไม่เกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บ หรือ เสียหลุม

เลยเถิดมาถึงประเด็นนี้ก็ถือโอกาสฝากถึงน้องๆพี่ๆที่เป็นผู้บริหารด้วยครับ

ถ้าอยากให้เด็กเป็นเร็ว ต้องให้โอากาส หาเวทีให้เขาเร็วๆ ให้ตัวช่วยน้อยๆ ปล่อยมือเร็วๆ ยอมรับความเสียหายได้บ้าง บริหารจัดการความเสี่ยงไปตามสมควร แล้วจะได้วิศวกรที่เก่งที่เป็นงานเร็ว

ถ้ามัวแต่ play safe หรือ too conservative ก็ไม่มีวันจะได้คนเก่งๆเร็วๆหรอกครับ จะให้ไปทำอะไรทีก็มัวแต่ดูว่า เฮ้ย เด็กคนนี้เคยทำงานแบบนี้มาหรือเปล่า ถ้าไม่เคยทำงานแบบนี้มา ก็ไม่ให้ทำ ถ้าตรรกะแบบนี้ก็คงไม่มีวันได้ฝึกเด็กใหม่

บางงานมันก็ไม่ต้องมีประสบการณ์ตรงๆแป๊ะๆก็ได้ ถ้าหน่วยก้านดี พื้นฐานโอเค ให้ขึ้นชกเลย หาพี่เลี้ยงดีๆเจ๋งๆหน่อยประกบ เจ็บลงมาก็ไล่ขึ้นไปใหม่ โดนสอย โดนน๊อค สักครั้งสองครั้ง ก็เป็นเองแหละ สำคัญต้องเลือกเด็กที่มันพื้นฐานวิศวกรรมดีๆแม่นๆ ทัศนคติดี และ ใจสู้ เท่านั้นแหละ

There is no such thing as a free lunch – No pain no gain ครับ

ทัศนคติที่ดีต่อปัญหา

ในงานสนาม หน้างานเราเจอปัญหาล้านแปด ทั้งปัญหาจากคน จากของ จากลมฟ้าอากาศ จากใต้ดิน สารพัด ไม่ว่าเทคโนโลยี 4.0 จะเริ่ดสะแมนแตนแค่ไหนก็ตาม ปัญหาบ้าบอพวกนี้ มันก็ยังมีของมันอยู่ และ จะมีต่อไป

ทัศนคติที่ดีต่อปัญหาเป็นทักษะหนึ่งที่หัดที่ฝึกกันได้ครับ สมัยทำงานแรกๆ ผมมองปัญหาว่าเป็นสิ่งต้องกำจัด งานไหนมีปัญหาเยอะ งานนั้นซวย งานนั้นแย่ งานนั้นห่วย พอตีนกามากขึ้น ผมกลับมองปัญหาอีกแบบ ผมมองว่าปัญหามันเป็นส่วนหนึ่งของงาน พูดง่ายๆคือ ปัญหานั่นแหละคือตัวเนื้องาน

ถ้างานไม่มีปัญหาเลย เขาไม่ต้องจ้างผมมาทำหรอก เอาเด็กที่ไหนมาทำก็ได้ มีปัญหาจึงเท่ากับมีงาน งานกับปัญหาคือสิ่งเดียวกัน ถ้าหาทางป้องกันได้ ก็ป้องกันมันไป ป้องกันแล้ว ยังเกิดปัญหาอีก ก็แก้มันไป ก็เท่านั้น

การตีโพยตีพาย ใส่อารมณ์ โทษโน้นโทษนี่ ไม่ทำให้ปัญหาถูกแก้ได้ ทักษะที่ดี ที่จะรับมือกับปัญหา จึงเป็นทักษะที่ผมคิดว่า ยังจำเป็นสำหรับวิศวกรสนามในยุค 4.0 นี้

การทำงานเป็นทีม

สมัยนั้นงานสนามของผม พวกเราทำงานกันเป็นทีม ทีมล่ะ 3 – 5 คน แล้วแต่ขนาดของงาน นั่นพูดถึงแค่ทีมของบ.service ผู้ซึ่งคือนายจ้าง แต่ทีมในที่นี้ผมขยายความถึงลูกค้า และ ทุกคนบนแท่นเจาะฯ ที่มีความสัมพันธ์กันไปหมด เป็นทีมเดียวกัน

สมัย 4.0  ผมว่าคำว่า “ทีม” ยิ่งขยายออกไปใหญ่เลย โดยเฉพาะมีตัวช่วยประเภท “ทางไกล” ที่เข้ามาช่วยกันแบบเผาขน ช่วยแบบถึงลูกถึงคน ทั้งฝั่งบ.service บ.แท่นเจาะฯ และ บ.น้ำมันผู้เป็นลูกค้า ทุกฝ่ายมีตัวช่วยทางไกลกันหมด 555

ติดกันทั้งเซ็นเซอร์ต่างๆ ออนไลน์ทุกรูปแบบ กล้องวงจรปิด จอมอนิเตอร์ก็พ่วงกัน เราเห็นอะไร บนฝั่งก็เห็นด้วย จะหาว เรอ ไอ จาม หรือ ตด คนบนฝั่งก็ยังได้ยิน ทีมที่ว่าเลยใหญ่โตขึ้นอย่างช่วยไม่ได้ ทักษะในการทำงานเป็นทีม ยิ่งต้องสำมะคัญมากๆ

ยิ่งมากตัวช่วย ยิ่งมากความเห็น แล้ววิศวกรสนามจะทำงานอยู่ได้อย่างไรในสภาวะแบบนี้

พูดตรงๆผมก็ยังพัฒนา ทักษะวิศวกรสนาม เรื่องนี้ได้ไม่ดีนักถ้าต้องทำงานสนามที่มีตัวช่วยระยะเผาขนแล้วต้องตัดสินใจอะไรเดี๋ยวนั้น ผมไม่คุ้นเคย บอกตรงๆ เพราะสมัยผม ผมทำงานแบบ solo flyer คือ บินเดี่ยว มีลูกทีม 2 – 3 คน มีลูกค้า มีความเห็นก็คุยกันถกกัน จบตรงนั้น คนน้อย ความเห็นก็น้อยตาม ความคล่องตัวในการตัดสินใจมากกว่าเยอะ แต่แน่นอนย่อมมีโอกาสผิดพลาดบ้าง แต่แล้วไง เหรียญมีสองด้านเสมอ อย่างที่ชวยคุยไปแล้ว

ผมกำลังจะบอกว่า เทคโนโลยี 4.0 ทำให้ความเป็นทีมใหญ่มากขึ้น ทักษะวิศวกรสนามในการทำงานเป็นทีม จึงต้องพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามให้ทัน ผมไม่มีคำแนะนำหรอกครับ ไม่มีประสบการณ์ตรง ได้แต่มโนเอา ปล. โชคดีที่ผมออกจากงานสนามมาแล้ว 555 🙂

แล้วจะจบยังไงดีบทความตอนนี้

ผมไม่ได้จะบอกว่า ทักษะวิศวกรสนาม ไหนสำคัญ ไม่สำคัญ จำเป็น ไม่จำเป็น เพราะทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในงานหนึ่งๆ ไม่ว่าจะทักษะทางเทคนิค และ ไม่ใช่เทคนิด (soft skill) มักจะเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยี

เดี๋ยวนี้คนขับรถเกียร์ธรรมดาก็คงไม่มีแล้ว ทักษะเรื่องนี้ก็จะหายไป ช่างที่ซ่อมเครื่องคาร์บิวเรเตอร์ ถอดประกอบจานจ่าย ก็หายไปด้วย การก่อไฟหุงหาอาหารก็ไม่ต้อง เพราะมีเตาแก๊ส เตาไฟโครเวฟ การจดชวเลข ความเร็วในการพิมพ์ดีด ปัจจุบันก็ไม่ได้ใช้ … ฯลฯ … เป็นต้น

จะเห็นว่าปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดเฉพาะ ทักษะวิศวกรสนาม

เทคโนโลยีทำให้ทักษะทางเทคนิคหลายทักษะหายไป ไม่สำคัญ ไม่จำเป็น ทักษะทางเทคนิคที่หายไป มักจะพาเอาทักษะที่ไม่ใช่เทคนิค หรือ soft skill ส่วนหนึ่งจากไปด้วยเช่นกัน เพราะอะไรครับ เพราะทักษะทางเทคนิคที่หายไปมันถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้เราทำงานได้ เร็วขึ้น เปลี่ยนใจได้ง่ายขึ้นเร็วขึ้น ต้นทุนของการเปลี่ยนใจ ค่าความไม่รอบคอบ น้อยลง ถูกลง ทักษะการสื่อสารบางอย่างก็หายไป ถูกแทนที่ด้วยการสื่อสารในรูปแบบใหม่ วิธีสื่อสารแบบใหม่ เป็นต้น

ถ้าปิดเตาแก๊ส เตาไมโครเวฟ ก่อนที่จะอุ่นกับข้าว หรือ ทำกับข้าวเสร็จ หรือ ทำอาหารไว้ไม่พอ ก็แค่กดปุ่ม แล้วก็ทำใหม่ หรือ แม้แต่ใช้มือถือสั่งให้มาส่งได้ ในขณะที่สมัยก่อน ต้องผ่าฟืน ก่อไฟกันใหม่ หรือ ขูดมะพร้าว คั้นกะทิ อีกรอบ … งานวิศวกรรมสนามมันก็ไม่ต่างกัน อารมณ์ประมาณเดียวกัน

ในฐานะที่เราเป็นหน่วยหนึ่งของระบบ เป็นผู้ใช้งานเทคโนโลยี เราก็ต้องปรับทักษะของเรา ให้กับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป

ทฤษฎีวิวัฒนาการของ ชาร์ ดาวิน บอกว่าอวัยวะอะไรที่ไม่ได้ใช้ ใช้น้อย ไม่จำเป็นต่อการอยู่รอด ก็จะเล็ก ฝ่อลง และ หายไปในที่สุด อวัยวะใดที่ใช้บ่อย ใช้มาก จำเป็นต่อการอยู่รอด ก็จะใหญ่ขึ้น แข็งแรงขึ้น

ทักษะ นิสัย ทัศนคติ ก็เช่นกัน เมื่อไม่ได้ใช้ ใช้น้อย ก็จะทะยอยๆหายๆไปเช่นกัน ทักษะ นิสัย ทัศนคติ ที่ใช้มากๆบ่อยๆ (เพราะเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป) ก็จะโดดเด่น ฝังแน่น เป็นนิสัย เป็นค่านิยม มากขึ้น

บรรทัดสุดท้าย

ผมอยากจะบอกว่า ให้อยู่กับเทคโนโลยีอย่างเข้าใจ มองมันอย่างเข้าใจ รู้ที่มา เข้าใจที่ไป อย่าไปฝืนต่อต้านไม่ใช้เทคโนโลยี แต่ใช้มันให้ตอบโจทย์ของเรา ในเวลาที่เรากำหนดเอง อย่าต้องเปลี่ยนชีวิตเราเพื่อไปตอบโจทย์ของมัน เพราะในที่สุดแล้ว เราต่างหากคือ “มนุษย์” คือ ผู้สร้างเทคโนโลยีเหล่านั้นขึ้นมา

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------