ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

การซีเมนต์หลุมเจาะ Entry level กรอบความรู้ วิศวกรรมการขุดเจาะหลุม ตอนที่ 9

การซีเมนต์หลุมเจาะ เป็นเรื่องสำคัญมากๆเลยครับ ที่ผมคิดว่าสำคัญมากๆเพราะว่า ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนเกือบๆจะสุดท้ายของสุดท้ายของกระบวนการการขุดการสร้างหลุมเจาะ และ ถ้าการซีเมนต์หลุมผิดพลาด สารพัดเงิน และ เวลาที่ลงไปกับกลุม ก็จบเห่กัน

ธรรมชาติของซีเมนต์เองนี่ก็เป็นเรื่องที่ปวดตับพวกเรา เพราะอะไรครับ เพราะว่า ซีเมนต์เป็นของเหลวตอนที่เราปั๊มมันลงไป แต่เราใช้งานมันตอนมันแข็ง อีตอนที่มันจะเปลี่ยนสภาพจากของเหลวเป็นของแข็งนี่แหละ มันไม่แป๊ะๆ ไม่ว่าจะเวลาที่ใช้ อุณหภูมิ ความป็นกรด ด่าง และ สัดส่วนสารเคมีที่ใช่ผสม

ผมจะติ๊ต่าง ให้พวกเรามโนปัญหาปวดตับพวกเรา

เคยเห็นงานก่อสร้างเขาเทปูนกันไหมครับ ไม่ว่าจะเป็น สะพาน ตึก บ้าน ฯลฯ ถ้าผสมไม่ดี ไม่ได้สัดส่วน บลาๆ แล้วมันแข็งระหว่างที่กำลังเทลงไป หรือ เทลงไปแล้วมันไม่แข็ง หรือ แข็งแบบครึ่งๆกลางๆ ไม่สม่ำเสมอ อย่างเก่งก็ทุบส่วนนั้นๆทิ้ง ความเสียหายไม่มากมายอะไร

แต่สำหรับพวกเรา ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนั้น หมายถึงว่า เราเสียหลุมนั้นไปเลย ราคาหลุมๆหนึ่งมันก็ไม่ถูกเลยนะ และ ขั้นตอนนี้มันก็เป็นขั้นตอนสุดท้ายๆด้วย แปลว่าเราทุ่มเงินทองเวลาไปมากมายแล้ว

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ดังนั้น ตอนทำซีเมนต์ พวกเรามักจะลุ้นกันตัวโก่ง ไม่ได้หลับไม่ได้นอน เหมือนเลี้ยงลูกฟุตบอลมาจากกลางสนามอย่างยากลำบาก แล้วมาเสียอีตอนยิงประตูวืด

ไม่เหมือนกับงานก่อสร้างทั่วๆไปที่การเท ก่อ หล่อ ซีเมนต์ เป็นขั้นตอนต้นๆของงานก่อสร้าง คือถ้าพลาดเรื่องงานซีเมนต์ก็ยังไม่เท่าไร เพราะเงินทองเวลาที่ลงไปกับการก่อสร้างยังไม่มากมายอะไร

ร่ายมายาวแล้วว่า การซีเมนต์หลุม มันสำคัญอย่างไร เรามาดูเรื่องการทำซีเมนต์ในภาพใหญ่ๆกันก่อนว่าทำอย่างไร

เทคนิคการปั๊มซีเมนต์ให้ไปอยู่หลังท่อกรุ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ต่อมาก็ดูว่า เราคำนวนปริมาตรซีเมนต์กันอย่างไร

การคำนวนปริมาตรซีเมนต์หลุมน้ำมันอย่างง่ายๆ

พอเราคำนวนซีเมนต์เป็นแล้ว ก็ไปดูว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรซีเมนต์ที่เราอุตส่าห์ปั๊มไปน่ะ มันไปอยู่ตรงไหนหลังพนังหลุม

หลักการคำนวน TOC (Top Of Cement)

ส่วนสุดท้ายคือภาพรวมทั้งหมด ซึ่งอ่านได้จากลิงค์ข้างล่างนี้

บทที่ 3 การซีเมนต์หลุม

เนื่องจากส่วนนี้เป็นส่วนสุดท้ายที่สภาวิศวกรฯต้องการเช็คความรู้เราในขั้น entry level ก็จะขอแปะเรื่องทั้งหมดทุกเรื่องในงานวิศวกรรมการขุดเจาะหลุมไว้ตอนนี้เลย

ทุกเรื่องเกี่ยวกับวิศวกรรมการขุดเจาะหลุม

เอาล่ะ เมื่ออ่านทั้งหมดในลิงค์ที่ว่ามาแล้ว เราไปดูเนื้อหากันเลยครับ

การซีเมนต์หลุมเจาะ

1.9) ออกแบบโปรแกรมการใช้ซีเมนต์เพื่อการยึดผนังหลุมกับท่อกรุ

ก) เข้าใจกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ซีเมนต์ยึดท่อกรุ และเข้าใจพื้นฐานการใช้สารเคมีที่ใช้เติมในซีเมนต์พื้นฐานเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในแต่ละสภาพสิ่งแวดล้อมในการเจาะหลุมนั้นๆ

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ข) ออกแบบสูตรการผสมซีเมนต์ และกระบวนการและแนวทางปฏิบัติอื่นในการใช้ปั๊มอัดซีเมนต์เข้าไปเพื่อยึดผนังหลุมเจาะกับผนังท่อกรุเพื่อให้การยึดตัวแข็งแรงและไม่เกิดการรั่วซึมของของไหล หรือก๊าซในชั้นใต้ดินผ่านขึ้นมาตามแนวซีเมนต์ที่ยึดไม่สมบูรณ์ได้

ค) สามารถออกแบบงานซีเมนต์ในการยึดผนังหลุมเจาะกับท่อกรุในหลุมลักษณะพิเศษ เช่นหลุมที่มีแรงดันใต้ดินสูงมาก หลุมที่มีการไหลของชั้นน้ำใต้ดิน หรือมีการทรุดตัวของชั้นหินใต้ดิน เป็นต้น

กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง สารเคมี

ก) เข้าใจกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ซีเมนต์ยึดท่อกรุ และเข้าใจพื้นฐานการใช้สารเคมีที่ใช้เติมในซีเมนต์พื้นฐานเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในแต่ละสภาพสิ่งแวดล้อมในการเจาะหลุมนั้นๆ

เดาใจท่านสภาวิศวกรยากจริงๆ ไม่รู้ว่าท่านจะสอบเราลึกแค่ไหนใน การซีเมนต์หลุมเจาะ แค่กฏระเบียบที่เกี่ยวข้องก็บานตะโก้แล้ว งานนี้ผมก็ขอเดาอีก

จุดประสงค์ของการยึดซีเมนต์ติดท่อกรุเนี้ย มันก็มี 2 เรื่องใหญ่ กับ 2 เรื่องย่อย(ที่ไม่เกี่ยวกับการยึดท่อกรุกับชั้นหิน)

เรื่องใหญ่ก็คือ การยึดเชิงกล (Mechanical Support) กับ กั้นการไหลของของไหล (Hydraulic isolation / seal)

เรื่องย่อย  2 เรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการยึดท่อกรุกับชั้นหิน คือ 1) กั้นไม่ให้ของไหลไหลเข้าไปในชั้นหิน 2) อุดฝังกลบหลุม (การฝังกลบและสละหลุม (Well Plug and Abandon – P&A))

งั้นเรามาสนใจเรื่องใหญ่ๆ 2 เรื่องกัน

การยึดเชิงกล (Mechanical Support)

คุณสมบัติของซีเมนต์ที่เกี่ยวข้องคือ ความแข็งของซีเมนต์ ที่เรียกว่า Compressive Strength หน่วย เป็น psi แต่ล่ะบ.ก็จะมีกฏกติกาว่า ซีเมนต์ที่ใช้ยึดท่อกรุแต่ล่ะชนิด (surface – intermediate – production) นั้นจะต้องมีเจ้า compressive strength เท่าไร

แล้วจะรู้ได้ไงว่าซีเมนต์ที่จะใช้นั้นจะมี Compressive Strength เท่าไร

เรารู้ได้โดยทดลองหาสูตรส่วนผสมต่างๆของซีเมนต์ภายใต้สภาวะจริงของการใช้งานในหลุม (อุณหภูมิ ความดัน กรด ด่าง เวลา ฯลฯ)

เราทำการนี้ในห้องทดลอง แล้วหา Compressive Strength ว่า สูตรนั้น สูตรนี้ ได้ Compressive Strength เท่าไร ในเวลา เท่าไร วิธี และ เครื่องมือ วัดนั้น ไปอ่านใน ลิงค์ บทที่ 3 ที่ให้ไว้ข้างบน

กั้นการไหลของของไหล (Hydraulic isolation / seal)

เรื่องนี้ก็สำคัญกับ การซีเมนต์หลุมเจาะ ไม่แพ้กัน เราไม่ต้องการให้ของไหล ไหลข้ามไปข้ามมาระหว่างใต้ซีเมนต์ และ เหนือซีเมนต์ เราสามารถควบควมเรื่องนี้ได้ 3 วิธี คือ

1 วางท่อกรุให้อยู่กลางๆหลุม โดยใช้ centralizer หน้าตาก็ประมาณรูปข้างล่าง ไม่ได้ไฮเทคอะไร

การซีเมนต์หลุมเจาะ

ที่ต้องให้ท่อกรุอยู่กลางๆหลุม ก็เพราะว่าจะได้มีซีเมนต์รอบๆท่อกรุเท่าๆกัน ถ้าท่อกรุไปตกท้องช้าง แนบติดกับผนังหลุมด้านใดด้านหนึ่ง ตรงนั้นก็จะไม่มีซีเมนต์ยึด หรือ มีน้อย ของไหลมันก็เล็ดลอดผ่านไปมาได้

แต่ถ้าเราใส่เจ้า centralizer เยอะๆ ก็จะหย่อนท่อกรุลงหลุมยาก เพราะมันจะฝืด ก็ต้องใส่เท่าที่จำเป็นตรงช่วงที่ต้องการให้ซีเมนต์ดีจริงๆ ช่วงที่เหลือก็ช่างหัวมัน เรามีซอฟแวร์คำนวนครับ ว่าควรใส่ centralizer ตรงช่วงไหนของท่อกรุ และ ควรใส่เท่าไร ท่อกรุถึงจะอยู่กลางหลุม โดยที่ไม่ฝืดมาก พอหย่อนท่อกรุลงหลุมได้

2 วิธีที่สองนี่คือการขยับท่อกรุขึ้นลง (reciprocate) และ หมุนไปมาเล็กน้อยระหว่างทำซีเมนต์ เป็นทฤษฎีน่ะครับ ในทางปฏิบัติไม่มีใครเขาทำกัน เพราะว่ามี centralizer ติดอยู่เยอะแยะ และ มีความเสียงที่ท่อกรุจะเสียหาย แต่ผมก็เอามาบอกไว้เพื่อความสมบูรณ์ของบทความเท่านั้น

3 ใส่สารเคมีพิเศษ อันนี้ก็สูตรใครสูตรมันของแต่ล่ะ service company ที่ให้บริการด้านนี้ ก็อ้าง ก็ขายกันไป ว่าถ้าผสมเคมีนี่นั่นของเขาแล้วจะยึดติดดี ไม่มีอะไรไหลข้ามไปมาได้ ก็อารมณ์ไม่ต่างกับโฆษณาปูนยาแนว หรือ ปูนยายึดกระเบื้องห้องน้ำนั่นแหละครับ

เอาล่ะ มี 3 วิธีนั่นแหละ

แล้วจะรู้ได้ไงว่า ซีเมนต์นั้น คุณภาพเชิงกล และ การกั้นการไหล เนี้ยบแค่ไหน มันก็ต้องมีวิธีวัดใช่ป่ะ นี่เลยครับ ไปอ่านนี่เลย … CBT CET USIT CCL เครื่องมือวัดคุณภาพซีเมนต์ในหลุมเจาะ

ยังไม่จบข้อ ก) ครับ ข้อ ก) นี้บอกว่าเราต้องรู้พื้นฐานการใช้สารเคมี (additive) ที่ผสมซีเมนต์นี่ด้วย

งั้นเรามาเรียนวิชาเคมีกัน บอกก่อนนะว่าผมไม่เก่งเคมีเลย ห่วยขั้นเทพ ที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้คือ จำขี้ปาก service company มาเล่า + อ่านจาก text book + เรียนมาจากคอร์สต่างๆนิดหน่อยๆ ยำๆรวมๆกัน ผิดถูกอย่างไรก็ขออภัยไว้ล่วงหน้า

สารเคมี (additive) หลักๆที่ใช้กันก็มี

ตัวปรับน้ำหนัก (density)

ตัวที่ปรับเวลาการแข็งตัวของซีเมนต์ (ตัวเร่งให้แข็งเร็ว (accelerator) ตัวหน่วงให้แข็งช้า (retarder))

ตัวปรับความหนืดของซีเมนต์ (Viscosity additive)

ตัวอุดไม่ให้ซีเมนต์รั่วเข้าไปในชั้นหิน(ระหว่างปั๊ม) (loss circulation)

ตัวกั้นไม่ให้น้ำในซีเมนต์รั่วเข้าไปในชั้นหิน(ระหว่างปั๊ม) (filtration control)

สารเคมีพิเศษอื่นๆ

มาไล่ดูกันทีล่ะตัว

ตัวปรับน้ำหนัก (density)

ก็แบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ ผสมลงไปแล้วทำให้หนักขึ้น กับ ผสมลงไปแล้วทำให้เบาลง

โดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะผสมลงไปให้หนักขึ้นหรือเบาลง จะทำให้ซีเมนต์มีความแข็ง (compressive strength) ลดลง เพราะมันปนเปื้อนไงครับ แต่จะได้ปริมาตรมากขึ้น (ประหยัดดี)

ทำไมถึงต้องการทำน้ำหนักของซีเมนต์ให้แตกต่างกัน ก็เพราะตอนปั๊ม เราไม่ต้องการให้ความดันเนื่องจากน้ำหนักของซีเมนต์ขณะไหลไปกระเทือนอัดชั้นหินจนปริแตก (fracture) แต่ก็ต้องหนักพอที่จะทำให้ได้ความแข็งแรงที่เราต้องการ ซึ่งเราคำนวนได้ครับว่าควรหนักเท่าไร

รายละเอียดต่างๆของตัวทำน้ำหหนักนี่ มีเยอะมาก แต่ล่ะตัวก็มีข้อดีข้อไม่ดีต่างกัน ต้องช่วยตัวเองด้วยการไปอ่านในบทที่ 3 (หัวข้อง 3.4.1 หน้า 92)

ตัวเร่งให้แข็งเร็ว (accelerator) และ  ตัวหน่วงให้แข็งช้า (retarder)

Setting time control 3.4.11 หน้า 98 

สรุปง่ายๆว่า ถ้าเติมเกลือลงไป ซีเมนต์จะแข็งเร็วขึ้น สัดส่วนความเข้มข้นของเกลือชนิดต่างๆที่มีผลต่อความเร็วในการแข็งตัวก็ค่อนข้างแม่นยำคงที่ เพราะเกลือเป็นสารอนินทรีย์ ปฏิกริยาก็ค่อนข้างคาดเดาได้แม่น

ตรงข้าม ที่ปวดตับพวกเราคือตัวหน่วงให้แข็งช้าเนี้ย เป็นสารอนินทรีย์ ส่วนมากก็ถ่านหินป่นนั่นแหละครับ แต่ปัญหาคือ คุณสมบัติมันไม่คงเส้นคงวา ทำให้การควบคุมความหน่วงมันยาก เข้าใจว่าปัจจุบันมีบ. service ได้พัฒนาตัวหน่วงที่เป็นสารอนินทรีย์ขึ้นมา ไม่ทราบเหมือนกันว่าตอนนี้พัฒนาไปถึงไหนแล้ว

นอกจากนี้อุณหภูมิก็ยังมีผลกับทั้งตัวเร่ง และ ตัวหน่วง ใน การซีเมนต์หลุมเจาะ ทำให้ต้องทดลองในห้องทดลองกันอย่างระมัดระวัง

ตัวอุดไม่ให้ซีเมนต์รั่วเข้าไปในชั้นหิน(ระหว่างปั๊ม) (loss circulation) ตัวกั้นไม่ให้น้ำในซีเมนต์รั่วเข้าไปในชั้นหิน(ระหว่างปั๊ม) (filtration control) ตัวปรับความหนืดของซีเมนต์ (Viscosity additive)

เรียงไปเลยครับ 3.4.17, 18, 19 หน้า 101

พูดง่ายๆคือ ใช้สารเคมีเดียวกับน้ำโคลนเลยครับ

สารเคมีพิเศษอื่นๆ เช่น ตัวเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะ (gas tight หรือ gas seal)

3.4.20 หน้า 102

อันนี้ก็นะ เหมือนอย่างที่ผมยกตัวอย่างไปแล้วเรื่องการยึดเกาะกับท่อกรุ แต่ล่ะบริษัทฯก็มีสูตรความลับทางการค้าเฉพาะตัวกันไป เช่น ช่วยเรื่อง อุณหภูมิ หน่วงช้าพิเศษ ช่วงเปลี่ยนจากของเหลวเป็นของแข็งเร็ว(ทำให้กันก๊าซแทรกเข้ามาทำลายคุณสมบัติซีเมนต์ที่ได้ ที่เราเรียกกันติดปากว่า gas tight additive) หรือ ผสมสารทำให้เบาเป็นพิเศษ ใช้ในงานเฉพาะกิจ ฯลฯ ก็ว่ากันไป

บางครั้งเราก็ผสมทราย (silica) ความละเอียดแตกต่างกัน เพื่อเพิ่มความแข็งแรง คล้ายๆกับที่เราผสมหิน ทราย ในคอนกรีตก่อสร้างนั่นแหละครับ

ทั้งนี้และทั้งนั้น สารเคมีแต่ล่ะชนิด เมื่อเอามาผสมกันที่สัดส่วนต่างๆกัน ก็จะได้ซีเมนต์เหลว (slurry) ที่แตกต่างคุณสมบัติกัน แต่นอนว่า ชนิดชั้นหิน ความเนี้ยบของผนังหลุม ความดัน การเปลี่ยนอุณหภูมิจากก้นหลุมไปปากหลุม บลาๆ ก็มีผล ดังนั้น สูตรซีเมนต์พวกนี้ มันก็มีหลักคร่าวๆกันเท่านั้น

เวลาใช้งานจริง ก็ต้องไปทดสอบกันในห้องทดลอง แม้กระทั่งน้ำที่ใช้ผสมสร้างสูตรซีเมนต์ ยังจะต้องเก็บตัวอย่างน้ำจากหน้างานไปจริงๆ ไปทดลองกัน เพื่อให้ได้สูตรที่เชื่อถือได้

สูตรการผสมซีเมนต์ กระบวนการ แนวทางปฏิบัติ

ข) ออกแบบสูตรการผสมซีเมนต์ และกระบวนการและแนวทางปฏิบัติอื่นในการใช้ปั๊มอัดซีเมนต์เข้าไปเพื่อยึดผนังหลุมเจาะกับผนังท่อกรุเพื่อให้การยึดตัวแข็งแรงและไม่เกิดการรั่วซึมของของไหล หรือก๊าซในชั้นใต้ดินผ่านขึ้นมาตามแนวซีเมนต์ที่ยึดไม่สมบูรณ์ได้

ข้อ ข) นี้ หินมากเลยครับ เอาเรื่องแรก การออกแบบสูตร ผมสอบเองก็ตกแล้วครับ ผมก็ผสมได้คร่าวๆแหละ ว่าต้องใช้อะไร แต่จะบอกว่า ปริมาณอย่างล่ะเท่าไร ใช้ในสภาวะไหนได้ ก็ไปต่อไม่เป็นแล้ว เพราะต้องใช้ความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน มีฐานข้อมูล และ ต้องใช้ห้องทดลอง

แต่ถ้าจะคำนวนแบบเทียบบรรยัติไตรยางค์ มันก็ได้ เช่น ใช้เกลือชนิดนี้ เข้มข้นเท่านี้ ซีเมนต์เหลวจะแข็งตัวเร็วขึ้นเท่านั้น ถ้าอยากให้แข็งตัวภายในเวลาเท่าโน้น ต้องใช้เกลือชนิดนี้เท่าไร แบบนี้มันก็ได้ แต่ความเป็นจริงหน้างาน มันก็ไม่อย่างนั้น ยิ่งสารเคมีหลายๆตัวรวมๆกันก็นะ

ข้อย่อยต่อมา แนวทางปฏิบิติ อันนี้ผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของ cement placement technique ข้อ 3.5 หน้า 103

ซึ่งก็มีหลายเทคนิคที่ผมคงไม่สามารถแปลเอามาไว้ในนี้ได้หมด ก็คงต้องให้พวกเราไปอ่านเอาเองครับ มีภาพประกอบพอสมควร ประกอบกับ ลิงค์ต่างๆที่ผมให้ไว้ตอนต้น ก็คงพอให้คลำทางได้บ้าง

สงสัยอะไรตอนไหนยังไง ก็หลังไมค์มาถามมาคุยกันได้ครับ ที่ nongferndaddy@hotmail.com

ออกแบบงานซีเมนต์ลักษณะพิเศษ

ค) สามารถออกแบบงานซีเมนต์ในการยึดผนังหลุมเจาะกับท่อกรุในหลุมลักษณะพิเศษ เช่น หลุมที่มีแรงดันใต้ดินสูงมาก หลุมที่มีการไหลของชั้นน้ำใต้ดิน หรือมีการทรุดตัวของชั้นหินใต้ดิน เป็นต้น

เอานะ ว่ากันตรงๆ ผมว่าข้อ ค) นี้สภาวิศวกรขอเกินไปหน่อยสำหรับระดับ entry level เอาแค่เรื่องสูตรผสมสารเคมี กับ เทคนิคในการทำซีเมนต์พื้นฐานก็จะอ้วกแล้วสำหรับมือใหม่ เจอข้อนี้เข้าไป ผมว่าวิศวกรขุดเจาะที่ไม่ใช่เน้นมาทางนี้ ไม่ทุกคนที่จะทราบ

เช่น หลุมที่แรงดันใต้ดินสูง คร่าวๆคือ ก็ต้องใช้ซีเมนต์เหลวน้ำหนักเยอะๆถึงจะกดความดันนั้นอยู่ คราวนี้พอน้ำหนักเยอะ มันก็จะไปทำให้ชั้นหินปริแตกง่าย

ตอนปั๊มซีเมนต์เหลวลงไป ก็ต้องค่อยๆปั๊ม คำนวนอัตราการปั๊มให้พอดี (จำเรื่อง ECD ตอนก่อนได้ไหม นั่นก็ต้องเอามาคิด) ไหนจะความหนืดอีก ยิ่งหนักยิ่งหนืด ปั๊มยาก ปั๊มช้า ระวังไม่ให้แข็งตัวไว ยิ่งถ้าอุณหภูมิสูงอีก ยิ่งยาก เพราะจะทำให้ซีเมนต์แข็งตัวเร็วขึ้น

แต่ถ้าไม่ไหว แรงปั๊ม + น้ำหนักซีเมนต์เหลว เกินขีดจำกัดของความดันชั้นหินที่จะทนได้ ก็ต้องไปทำ 2 stage ซีเมนต์อีก โอ้ยยยย บลาๆ เยอะครับ ผมว่าถ้าสภาวิศวกรจะเอาจริงขนาดนี้ก็ยอมๆไปเถอะ 555

สรุปส่งท้ายสำหรับทุกๆตอน

เนื่องจากการสอบวัดความสามารถ entry level นี้ ยังเป็นเพียงดำหริ แค่เป็นการตั้งไข่ กรอบต่างๆก็ยังเป็นอะไรที่หลวมๆ และ กว้าง มากๆ ดังนั้น ผมคงไม่สามารถแนะแนวทางให้ครอบไปหมดได้ในเว็บไซด์นี้

อนึ่ง ผมก็ย้ำตลอดมาเกือบทุกตอนว่า หลายๆอย่างในกรอบที่ว่านี้ มันคลุมเครือๆ ผมก็เดาใจสภาวิศวกรเอา ว่าท่านจะว่าไง ซึ่งผมก็อาจจะเดาผิด

แต่ที่ผมขอเน้น และ ย้ำว คือ ลิงค์ต่างๆที่ประกับกันในบทความแต่ล่ะตอนนั้น เป็นส่วนหนึ่งของบทความที่คุณ ต้องอ่าน ถ้าอยากจะทำความเข้าใจในเรื่องนั้นๆอย่างจริงจัง เพราะลำพังบทความผมคงไม่สามารถสอน หรือ อธิบายอะไรไหมหมด

สุดท้ายนี้ ถ้ามีความกระจ่างชัดของกรอบความรู้ที่จะทดสอบกัน ผมก็จะมาเขียนเพิ่มเอาไว้เสริมเป็นครั้งคราวเป็นหัวข้อๆไปก็แล้วกันครับ

🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------